หลักการพัฒนาตามโครงการพระราชดำริที่ทรงเน้นมากที่สุดคืออะไร

ประกาศข่าว:

  • ขนาดตัวอักษร:
  • -ก ก+

TH

EN

หลักการพัฒนาตามโครงการพระราชดำริที่ทรงเน้นมากที่สุดคืออะไร

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.)
Office of the Royal Development Projects Board (ORDPB)

หลักการพัฒนาตามโครงการพระราชดำริที่ทรงเน้นมากที่สุดคืออะไร

  1. หน้าหลัก

Warning! Get_Category_Detail(): Error: Object reference not set to an instance of an object.

ดูทั้งหมด

แบบสอบถาม

ท่านคิดว่าเว็บไซต์สำนักงาน กปร. มีข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์เพียงใด ?

มาก

ปานกลาง

น้อย

See Result

ดูทั้งหมด

We’ve updated our privacy policy so that we are compliant with changing global privacy regulations and to provide you with insight into the limited ways in which we use your data.

You can read the details below. By accepting, you agree to the updated privacy policy.

Thank you!

View updated privacy policy

We've encountered a problem, please try again.

เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ดังนี้

"……เป็นการสาธิตการพัฒนาเบ็ดเสร็จ หมายถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่าง ทุกด้านของชีวิตประชาชนที่จะหาเลี้ยงชีพในท้องที่จะทำ อย่างไร และได้เห็นวิทยาการแผนใหม่ จะสามารถที่จะหาดูวิธีการจะทำมาหากินให้มีประสิทธิภาพ….."

"……ด้านหนึ่งก็เป็นจุดประสงค์ของศูนย์ศึกษาฯ ก็เป็นสถานที่สำหรับค้นคว้าวิจัยในท้องที่ เพราะว่าแต่ละท้องที่สภาพฝนฟ้า อากาศ และประชาชนในท้องที่ต่างๆ กันก็มีลักษณะแตกต่างกันมากเหมือนกัน…."

"กรมกองต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประชาชนทุกด้าน ได้สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นปรองดองกัน ประสานกันตาม ธรรมดาแต่ละฝ่ายต้องมีศูนย์ของตน แต่ว่าอาจจะมีงานถือว่าเป็นศูนย์ของตัวเอง คนอื่นไม่เกี่ยวข้อง และศูนย์ศึกษาการพัฒนาเป็น ศูนย์ที่รวบรวมกำลังทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ทุกกรมกอง ทั้งในด้านเกษตรหรือในด้านสังคม ทั้งในด้านหางานการส่งเสริมการศึกษา อยู่ด้วยกัน ก็หมายความว่าประชาชนซึ่งจะต้องใช้วิชาการทั้งหลายก็สามารถที่จะมาดู ส่วนเจ้าหน้าที่จะให้ความอนุเคราะห์แก่ ประชาชนก็มาอยู่พร้อมกันในที่เดียวกันเหมือนกัน ซึ่งเป็นสองด้าน ก็หมายถึงว่าที่สำคัญปลายทางคือ ประชาชนจะได้รับประโยชน์ และต้นทางของผู้เป็นเจ้าหน้าที่จะให้ประโยชน์……."

จากพระราชดำรัสดังกล่าวข้างต้นก็พอจะสรุปได้ว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีแนวทางและ วัตถุประสงค์ ดังนี้คือ

๑. ดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย เพื่อแสวงหาแนวทางและวิธีการพัฒนาทางด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมสอดคล้องกับ สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ จึงเปรียบเสมือน "ต้นแบบ" ของความสำเร็จที่จะเป็นแนวทางและ ตัวอย่างให้แก่พื้นที่อื่นๆ ๒. แลกเปลี่ยนสื่อสารระหว่างนักวิชาการ นักปฎิบัติ และประชาชน การศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัยต่างๆ ที่ได้ผลแล้วควรจะ นำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่จริงได้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ควรเป็นแหล่งผสมผสานวิชาการและการปฏิบัติ เป็นแหล่งความรู้ของ ราษฎร เป็นแหล่งศึกษาทดลองของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการณ์และแนวทางแก้ไขปัญหา ระหว่าง คน ๓ กลุ่ม คือ นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ซึ่งทำหน้าที่พัฒนาส่งเสริม และราษฎร ๓. พัฒนาแบบผสมผสาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ เป็นตัวอย่างที่ดีของแนวความคิดแบบสหวิทยาการ ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ สูงสุดในพื้นที่นั้น ๆ ดังนั้นศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ แต่ละแห่งจะเป็นแบบจำลองของพื้นที่และรูปแบบการพัฒนาที่ควรจะเป็น เป็นตัวอย่างว่าในพื้นที่ลักษณะหนึ่ง ๆ นั้น จะสามารถใช้ ประโยชน์อย่างเต็มที่ได้โดยวิธีใดบ้าง มิใช่การพัฒนาเฉพาะทางใด ทางหนึ่ง แต่พยายามใช้ความรู้มากสาขาที่สุด แต่ละสาขาก็ให้เป็นประโยชน์เกื้อหนุนกับการพัฒนาสาขาอื่นๆ และระบบของศูนย์ การพัฒนาฯ ก็ควรเป็นการผสมผสานการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นระบบด้วย ๔. ประสานงานระหว่างส่วนราชการ เนื่องจากกระบวนการพัฒนาและระบบราชการไทยมีปัญหานี้โดยพื้นฐาน เป็นสิ่งบั่นทอน ประสิทธิภาพของการทำงาน การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ทุกแห่งจึงเน้นการประสานงาน ประสานแผนงาน ระหว่าง กรม กอง และส่วนราชการต่างๆ ๕. เป็นศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ กล่าวคือ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ มีการศึกษาทดลองและสาธิตให้เห็นการดำเนินงานในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านกสิกรรม ปศุสัตว์ ประมง ตลอดจนการพัฒนาทางด้านสังคมและงานศิลปาชีพในลักษณะของ "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ที่มีชีวิต" เมื่อผู้สนใจเข้าไปศึกษาดูงานในบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ก็จะได้รับความรู้รอบด้าน นอกจากนี้ยังนำผลการศึกษา ไปส่งเสริมกับหมู่บ้านเป้าหมาย เรียกว่า "หมู่บ้านรอบศูนย์ฯ" โดยการให้เกษตรกรเข้ามารับการอบรมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ หลักสูตรต่างๆ เช่น การเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ การขยายพันธุ์ การเลี้ยงสัตว์ การประมง ฯลฯ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมออก ไปแนะนำส่งเสริมในหมู่บ้าน หรือเกษตรกรเข้ามาศึกษาดูงานในศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ด้วยตนเองหรือเข้ามาเป็นหมู่คณะ

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาแต่ละศูนย์นั้น มีความเป็นมา วัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินงาน กล่าวพอสรุปได้ดังนี้

๑. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

เมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์ ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบล เขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อม เกล้าฯ ถวายที่ดินหมู่ที่ ๒ ตำบลเขาหินซ้อน เนื้อที่ ๒๖๔ ไร่ จึงมีพระราชดำริที่จะใช้ผืนดินนี้เพื่อก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาการเกษตรต่อไป โดยให้ส่วนราชการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมป่าไม้ กรม การพัฒนาชุมชน กรมปศุสัตว์ และ กรป. กลาง ร่วมกันพัฒนาพื้นที่นี้โดยจัดทำเป็นศูนย์การศึกษาด้านเกษตรกรรมและงาน ศิลปาชีพ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จังหวัด ฉะเชิงเทรา" ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรก

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ฝึกอบรมด้านศิลปาชีพ เช่น จักสาน ทอผ้า ฯลฯ - ดำเนินการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก - ดำเนินการด้านกิจการโรงสีเพื่อช่วยเหลือราษฎร - ส่งเสริมและเผยแพร่หลักการและวิธีการสหกรณ์ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๒. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

พื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบนเป็นแหล่งการประมงแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของ จังหวัดจันทบุรี บริเวณชายฝั่งก็เป็นเขตสงวนของ ป่าไม้ชายเลนที่สำคัญ แต่ทรัพยากรเหล่านี้ได้เสื่อมโทรมลงทุกด้าน ปริมาณสัตว์น้ำในธรรมชาติลดลงและป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย
ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมราชา นุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่จังหวัดจันทบุรี ได้พระราชทานพระราชดำริแก่นายบุญนาค สายสว่าง ผู้ว่าราชการ จังหวัดจันทบุรีในขณะนั้น ให้พิจารณาหาพื้นที่ที่เหมาะสมจัดทำโครงการพัฒนาด้านอาชีพการประมงและการเกษตรในเขตพื้นที่ ชายฝั่งตะวันออกของจังหวัดจันทบุรี เพื่อจัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนา ในที่สุดได้กำหนดพื้นที่บริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ตำบล สนามไชย อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ฯ โดยมีกรมประมงเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ดำเนินการค้นคว้า ทดลองและสาธิตการพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้าน ประมงชายฝั่ง เพื่อให้เกษตรกรสามารถเพิ่ม ผลผลิตเพื่อการพัฒนาตนเองได้ในระยะยาว - ศึกษาวิธีการปล่อยสัตว์น้ำชายฝั่งและการสำรวจอัตราการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน - จัดสรรพื้นที่ให้แก่ราษฎรบริเวณรอบอ่าวคุ้งกระเบนเพื่อทำเป็นแปลงสาธิตเลี้ยงหอย - ฝึกอบรม เรื่องของสหกรณ์ เพื่อสร้างอำนาจการต่อรองด้านการตลอด - ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกันจัดตั้งสหกรณ์ ชื่อ "สหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน จำกัด" เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๐ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๓. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

สภาพพื้นที่ภาคใต้โดยเฉพาะแถบจังหวัดนราธิวาส บางแห่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ มีน้ำขังตลอดปี ทำให้ดินเปรี้ยวมีสภาพเป็นกรด เรียกว่า "ดินพรุ" มีอาณาเขตกว้างขวางถึงประมาณ ๔๐๐,๐๐๐ ไร่ เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำกิน แม้เมื่อระบายน้ำออกแล้วก็ยัง ใช้ประโยชน์ไม่ได้ พระราชทานพระราชดำริแก่หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรีและนายชิต นิลพานิช ผู้ว่าราชการ จังหวัดนราธิวาสในขณะนั้นว่า ควรจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาในการศึกษาวิจัยดินพรุ เพื่อนำผลสำเร็จของโครงการไปเป็นแบบ อย่างในการพัฒนาพื้นที่พรุอื่น ๆ ต่อไป ต่อมาจึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างจังหวัดนราธิวาส กับสำนักงานคณะกรรมการ พิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์เป็นประธาน เพื่อกำหนด นโยบายเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนา ซึ่งต่อมาใช้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง" ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๕ คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้มีมติอนุมัติในหลักการดำเนินงาน ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ โดยมีกรมพัฒนาที่ดินเป็นฝ่ายอำนวยการ

ลักษณะการดำเนินงานด้านพัฒนาสังคม

- ให้ความรู้ด้านการใช้ภาษาไทยในชีวิตประจำวัน - ควบคุม ปราบปรามการระบาดของโรคเท้าช้างและโรคในสัตว์ - ฝึกอบรมการอาชีพที่น่าสนใจ เช่น ช่างไม้ ช่างจักสาน (แฝก) เป็นต้น - แนะนำให้ความรู้การประกอบอาชีพแผนใหม่ - สาธิตการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทฤษฎีใหม่ - มีการขยายผลการพัฒนาไปสู่ประชาชนในหมู่บ้านรอบศูนย์ฯ

๔. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ปัญหาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่สำคัญ คือ ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ สภาพดินเป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ เกษตรกรมีพื้นที่ เพาะปลูกน้อย ได้ผลผลิตต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะผันผวนของดินฟ้าอากาศสูงมาก

เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้หม่อมเจ้า จักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี และอธิบดีกรมชลประทาน เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ณ กรมราชองครักษ์ สวนจิตรลดา ได้พระราชทานพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาวางโครงการจัดหาน้ำสนับสนุนโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อให้มีการศึกษาทดลองงานพัฒนาการเกษตรต่าง ๆ ตามความเหมาะสม สำหรับเป็นตัวอย่าง ให้ราษฎรนำไปใช้ปฏิบัติต่อไป ต่อมาในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ คณะรัฐมนตรีได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ โดยมีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เป็นประธาน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯ จึงได้เริ่ม ดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๗ โดยมีกรมชลประทานเป็นฝ่ายอำนวยการ

หลักการที่สำคัญของโครงการพระราชดำริมีอะไรบ้าง

หลักการที่สำคัญของโครงการพระราชดำริ.
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ... .
การพัฒนาต้องเป็นไปตามขั้นตอน ... .
การพึ่งตนเอง ... .
การส่งเสริมความรู้ และเทคนิควิชาการสมัยใหม่ที่เหมาะสม ... .
การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ ... .
การส่งเสริมและปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม.

หลักการพัฒนาท้องถิ่นตามแนวพระราชดำริเป็นอย่างไร จงอธิบาย

หลักการพัฒนาชุมชนจากแนวพระราชดำริ การศึกษาพื้นฐานเดิมของสังคม และ ศึกษาข้อมูลของพื้นที่ ใช้หลักวิชาการ กระทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปเป็นขั้นตอน ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมกลุ่มประชาชน กระตุ้นให้เกิดความสามัคคีเพื่อจะได้ร่วมแรงร่วมใจกันทำงาน วางระบบการทำงานที่มีลักษณะเป็นบูรณาการ ดังมีรายละเอียดตามพระราชดำรัสดังนี้

โครงการพัฒนาคนในระยะแรกๆจะเน้นโครงการด้านใด เพราะเหตุใด

โครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้กับประชาชนในระยะแรก ๆ ล้วนแต่เป็นโครงการ ด้านสาธารณสุข เพราะพระ องค์ทรงเห็นว่า หากประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง จะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีไปด้วย พระองค์จึงทรงให้ความสำคัญกับงานด้านสาธารณสุขเป็นอย่างมาก

โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแรกของไทยคือโครงการอะไร

โครงการพระราชดำริที่นับว่าเป็นโครงการพัฒนาชนบทโครงการแรกเกิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานรถบลูโดเซอร์ ให้หน่วยตำรวจตระเวนชายแดนค่ายนเรศวรไปสร้างถนนเข้าไปยังบ้านห้วยมงคล ตำบลหินเหล็กไฟ (ซึ่งปัจจุบันคือ ตำบลทับใต้) อำเภอหัวหิน