การศึกษาอบรมของพระสงฆ์ข้อใดสมบูรณ์ที่สุด เฉลย

-การที่บุคคลหนึ่งเกรงกลัวต่ออำนาจของอีกบุคคลหนึ่งจนทำให้การตัดสินคดีเป็นไปโดยไม่ยุติธรรมนั้นเรียกว่าโทสาคติ

-พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่เน้นความเท่าเทียมกัน

 

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ข้อใดเป็นสาเหตุของปัญหาทางจิตของคนในสังคมปัจจุบัน
    1. ปัญหาจราจรติดขัด
    2. การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลอยู่เสมอ
    3. สภาพสังคมปัจจุบันที่เน้นวัตถุและการแข่งขันกัน
    4. สภาพการเมืองการปกครองที่แข่งขันกันมีอำนาจ
    5. สภาพเศรษฐกิจที่เน้นการส่งออกทำให้สินค้าราคาแพง
  2. ปัญหาทางจิตของนักเรียนส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากข้อใด
    1. ทำการบ้านไม่ได้
    2. ไม่ชอบครูผู้สอน
    3. เพื่อนไม่ให้ความสำคัญ
    4. ตื่นสายไปโรงเรียนไม่ทัน
    5. อ่านหนังสือไม่ทัน กลัวสอบตก
  3. หลักสูตรการศึกษามีส่วนในการสร้างปัญหาทางจิตอย่างไร
    1. ทำให้คนเห็นแก่ตัวมากขึ้น เพราะเน้นการแข่งขัน
    2. เน้นการให้ความรู้ด้านอาชีพมากกว่าการเป็นคนดี
    3. ให้ความสำคัญแก่วิชาศีลธรรมน้อยกว่าวิชาด้านเทคโนโลยี
    4. การให้ความสำคัญด้านคะแนนจริยธรรมมากกว่าคะแนนสอบ
    5. เปิดโอกาสให้ผู้มีฐานะดีมีโอกาสทางการศึกษามากกว่าผู้มีฐานะยากจน
  4. บิดามารดาที่มีบุตรอยู่ในช่วงวัยรุ่นมักจะมีปัญหาทางจิตเกี่ยวกับเรื่องใด
    1. การใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย
    2. การกลับบ้านไม่ตรงเวลา
    3. การกินเหล้า สูบบุหรี่
    4. การคบเพื่อนต่างเพศ
    5. ถูกทุกข้อ
  5. การหาทางออกที่ดีที่สุดของคนที่มีปัญหาทาจิตคือข้อใด
    1. หนีปัญหา
    2. ปล่อยให้หายเอง
    3. ปรึกษาผู้มีประสบการณ์
    4. หาสาเหตุและคิดวิธีแก้ไข
    5. ใช้วิธีหนามยอกเอาหนามบ่ง
  6. หากไม่มีปัญหาที่เกิดจากสภาพสังคม ปัญหาทางจิตของคนอาจะเกิดจากสาเหตุข้อใดได้อีก
    1. การขาดผู้นำที่ดี
    2. การขาดการศึกษา
    3. การไม่รู้จักพอของคนเรา
    4. มีแหล่งอบายมุขมากเกินไป
    5. การขาดแคลนสถานที่พักผ่อน
  7. สังคมในปัจจุบันประกอบด้วยคนที่เป็นโรคจิตประภทใดมากที่สุด
    1. ขูดขีดรถยนต์ทีจอดอยู่ตามที่สาธารณะ
    2. ชอบลวนลามหญิงสาวบนรถเมล์
    3. ชอบขีดเขียนตามห้องน้ำ
    4. ทำลายของสาธารณะ
    5. ถูกทุกข้อ
  8. ถ้าสังคมใดประกอบด้วยคนที่มีปัญหาทางจิตมากๆ สังคมนั้นจะเป็นอย่างไร
    1. สินค้าจะขึ้นราคา
    2. คนรวยจะลดน้อยลง
    3. ขอทานจะมีอยู่เต็มเมือง
    4. บ้านเมืองขาดความสงบ
    5. จะมีการซื้อเสียงในการเลือกตั้งผู้แทนราษฏร
  9. วิธีขจัดปัญหาพวกโรคจิตที่ชอบทำลายของสาธารณะควรทำอย่างไร
    1. ปล่อยให้หายเอง
    2. ใช้กฏหมายลงโทษ
    3. จับไปอบรมความประพฤติ
    4. ให้ผู้พบเห็นจัดการได้ทันที
    5. จับมาอบรมสั่งสอนให้รู้สึกถึงการทำดีและชั่ว
  10. ทำอย่างไรจึงจะลดจำนวนคนที่มีปัญหาทางจิตให้น้อยลง
    1. พยายามให้ทุกคนทำงานโดยไม่มีวันหยุด
    2. ไม่สนใจต่อปัญหาใดๆ ทั้งปวง
    3. ไม่ติดต่อกับบุคคลอื่นใด
    4. ใช้หลักธรรมะเข้าช่วย
    5.  ไม่มีข้อใดถูก
  11. คนเราจะใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดี ต่อเมื่อมีสิ่งใดเป็นสำคัญ
    1. ศีล
    2. สมาธิ
    3. ปัญญา
    4. ความรู้
    5. ประสบการณ์
  12. จิตไม่เป็นสมาธิก่อให้เกิดผลที่ถูกต้องที่สุดข้อใด
    1. จิตไร้กังวล
    2. จิตวอกแวก
    3. จิตไม่พัฒนา
    4. จิตไม่เป็นสุข
    5. จิตขาดคุณภาพ
  13. การฝึกอบรมให้เกิดปัญญาควรเริ่มต้นที่ข้อใดก่อน
    1. ศีล
    2. สมาธิ
    3. ปัญญา
    4. ไตรสิกขา
    5. ปาติโมกข์
  14. จากข้อ 13 มีส่วนในการแก้ปัญหาทางจิตได้ดังข้อต่อไปนี้ ยกเว้น
    1. ลดปัญหาทางใจ
    2. ลดาความเห็นแก่ตัว
    3. ลดการเอารัดเอาเปรียบ
    4. ลดความเห็นดีเห็นชั่วในชีวิต
    5. ลดความหมกมุ่นในสิ่งที่เป็นภัยต่อชีวิต
  15. ประโยชน์สูงสุดทางพระพุทธศาสนาของการฝึกสมาธิคือข้อใด
    1. จิตใจผ่อนคลาย
    2. มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
    3. สามารถพัฒนาบุคลิกภาพ
    4. มีความสามารถพิเศษมากกว่าคนอื่น
    5. การหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง
  16. การฝึกจิตให้เป็นสมาธิจนถึงระดับฌานสมาบัตินั้นทำให้ผู้ฝึกได้รับประโยชน์ในข้อใด
    1. หายตัวได้
    2. ระลึกชาติได้
    3. อยู่ยงคงกระพัน
    4. อดอาหารได้หลายวัน
    5. เป็นที่น่าเสื่อมใสของผู้ที่พบเห็น
  17. การฝึกสมาธินอกจากจะช่วยให้จิตใจสงบแล้วยังมีประโยชน์ในข้อใดอีก
    1. ได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
    2. แก้ปัญหาต่างๆ ได้ีด
    3. ทำให้มองโลกในแง่ดี
    4. ร่าเริงแจ่มใส
    5. ถูกทุกข้อ
  18. การฝึกสมาธิเหมาะสมกับบุคคลในข้อใด
    1. นักเรียน
    2. ชาวบ้าน
    3. ครูอาจารย์
    4. พระภิกษุสามเณร
    5. ทุกคนสามารถฝึกได้เท่ากัน
  19. การฝึกสมาธิถ้าจะได้ผลดีควรฝึกเวลาใด
    1. เวลาที่จิตใจสบาย
    2. เวลาที่ครูสั่งให้ทำ
    3. เวลาทาี่ไม่มีอะไรจะทำ
    4. เวลากลางคืนก่อนนอน
    5. เวลามีปัญหาที่จะต้องแก้ไข
  20. การฝึกสมาธิมีประโยชน์ต่อนักเรียนอย่างไร
    1. มีจิตใจสงบเยือกเย็น
    2. มีความสามารถเหนือสามัญชน
    3. มีความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา
    4. มีสุขภาพร่างกายพลานามัยสมบูรณ์
    5. มีจิตใจที่แน่วแน่ไม่วอกแวกเลื่อนลอย
  21. บุคคลผู้มีปกติเสื่อมใสโดยง่ายควรฝึกสมาธิกรรมฐานในข้อใด
    1. สีลานุสติ
    2. ธัมมานุสติ
    3. พุทธานุสติ
    4. กายคตาสติ
    5. อานาปานสติ
  22. การฝึกสมาธิตามหลักอานาปานสติคือข้อใด
    1. การเพ่งอยู่ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    2. การกำหนดลมหายใจเข้า ออก
    3. การตามระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    4. การระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้า
    5. การนึกถึงสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวเพื่อปลง
  23. การฝึกสมาธิตามหลักพุทธานุสติ คือข้อใด
    1. การเพ่งอยู่ทีสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
    2. การกำหนดลมหายใจเข้าออก
    3. การตามระลึกถึงศีลเป็นอารมณ์
    4. การระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า
    5. การนึกถึงสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัวเพื่อปลง
  24. ข้อใดหมายถึง การระลึกถึงพระพุทธคุณ 3
    1. พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ
    2. สฺวากขาโต ภควตา ธัมฺโม
    3. มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ รกฺขณตถาย
    4. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ
    5. นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
  25. ข้อใดหมายถึงการระลึกถึงพระปัญญาคุณ
    1. อรหโต
    2. ภควโต
    3. อิติปิโส
    4. นโน ตสฺส
    5. สมฺมาสมฺพุทฺโธ
  26. ข้อใดแสดงถึงผู้มีปัญญา
    1. มานะสอบได้ที่ 1
    2. มานีซ่อมวิทยุเองได้
    3. มนูญใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เก่ง
    4. สกลจำสูตรเคมีได้ตั้งแต่อายุ 3 ขวบ
    5. มนัสเป็นคนมีเหตุผล รู้จักผิดชอบชั่วดี
  27. ข้อใดแสดงถึงการใช้ปัญญาในการแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
    1. สุนทรไปต่อว่าครูที่โรงเรียนที่ไม่ยอมให้บุตรตนได้เลื่อนชั้น
    2. ครูลงโทษนักเรียนทีไม่ทำการบ้านด้วยการให้ยืนขาเดียว
    3. นายแดงตามไปฆ่าคนร้ายทีทำร้ายร่างกายบิดาของตน
    4. บิดาห้ามบุตรดูโทรทัศน์เมือ่อยู่ในช่วงเวลาสอบ
    5. ไม่มีข้อถูก
  28. ข้อใดเป็นการแก้ปัญหาไม่ถูกวิธี
    1. มารดากลับบ้านไม่ตรงเวลาเพราะยังทำงานไม่เสรจ
    2. ถ้าบุตรไม่ตั้งใจเรียนบิดาก็จะไม่พาไปเที่ยว
    3. บุตรอดอาหารประท้วงที่บิดาไม่ให้ดูทีวี
    4. พี่ตีน้องที่ทำเครื่องคอมพิวเตอร์เสีย
    5. ถูกทุกข้อ
  29. การใช้จิตที่ฝึกอย่างดีแล้วมาพิจารณาชีวิต หมายถึงข้อใด
    1. การภาวนา
    2. การค้นคว้า
    3. การฝึกสมาธิ
    4. กาารกำหนดสติ
    5. การเจริญปัญญา
  30. หลักปถมนสิการ หมายถึงข้อใด
    1. การคิดคราวละหลายๆ เรื่อง
    2. การคิดอย่างต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
    3. การคิดโดยคำนึงถึงอนาคตเป็นที่ตั้ง
    4. การคิดพิจารณาเปรียบเทียบของ 2 สิ่ง
    5. การคิดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเพียงเรื่องเดียว
  31. คนที่ยึดหลักปถมนสิการประจำใจจะช่วยลดปัญหาข้อใดลงได้
    1. การยึดติดในรูป เสียง กลิ่น รส
    2. ความกลัวในสิ่งที่ยังไม่เห็น
    3. ความเป็นคนเกียจคร้าน
    4. ความเป็นคนเผอเรอ
    5. ข้อ ก และ ข ถูก
  32. การดับความกระวนกระวายใจจะต้องดับที่ความอยาก เป็นการคิดแบบปถมนสิการวิธีใด
    1. คิดแบบแก้ปัญหา
    2. คิดแบบสามัญลักษณ์
    3. คิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย
    4. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
    5. คิดแบบพิจารณาหลักการกับความมุ่งหมาย
  33. ข้อใดกล่าวได้ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักปถมนสิการ
    1. อุราตัดเสื้อดี แต่เราตัดได้ดีกว่า
    2. เบื่ออุดรจังเลยคุยอะไรก็ไม่สนุกตามเราก็ไม่ทัน
    3. เราไม่น่าทะเลาะกับอนุชาเลยเรื่องนิดเดียวแท้ๆ
    4. วีระเป็นนักสะสมหนังสือ แต่ของเราน่าจะมีมากกว่า
    5. ที่ประชุมมีมติให้พนักงานแต่งเครื่องแบบแต่ไม่เหมาะกับเราเลย
  34. การที่เราเข้าใจในสิ่งต่างๆ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลานั้น แสดงว่าเรามีความิดแบบปถมนสิการวิธีใด
    1. คิดแบบแก้ปัญหา
    2. คิดแบบสามัญลักษณ์
    3. คิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย
    4. คิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ
    5. คิดแบบพิจารณาหลักการกับความมุ่งหมาย
  35. พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เราแก้ปัญหาโดยอาศัยหลักธรรมในข้อใด
    1. มงคล 38
    2. อริยสัจ 4
    3. อายตนะ 4
    4. อิทธิบาท 4
    5. สังคหวัตถุ 4

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. บุคคลผู้ที่จะได้รับการยอมรับว่าเป็นพุทธศาสนิกชนได้ต้องมีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบด้วย
    1. เคยบวชมาแล้ว
    2. มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา
    3. มีพิ้นฐานจิตใจเป็นคนดีมาก่อน
    4. มีบิดามารดาเป็นพุทธศาสนิกชน
    5. เคยไปประเทศอินเดียและเนปาล
  2. จากข้อ 1 มีเกณฑ์อย่างไร
    1. บวชครบ 2 พรรษา
    2. มีศรัทธาครบ 4 ประการ
    3. ไปบูชาสังเวชนียสถานครบทุกแห่ง
    4. เป็นที่ยอมรับของคนมากกว่า 2 คนในการเป็นผู้มีจิตใจดี
    5. บิดามารดาเป็นพุทธศาสนิกชนและพาบุตรไปวัดทุกวัน
  3. หลักศรัทธา 4 ข้อใดไม่ปรากฏในศาสนาพราหมณ์
    1. กัมมัสสกตาสัทธา
    2. ตถาคตโพธิสัทธา
    3. วิปากสัทธา
    4. กัมมสัทธา
    5. มีหมดทุกข้อ
  4. การกำหนดหลักกรรมในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าได้มาอย่างไร
    1. สำนักครูวิศวามิตร
    2. ระหว่างบำเพ็ญทุกรกริยา
    3. ทรงเห็นแจ้งด้วยพระองค์เอง
    4. ดัดแปลงคำสอนของศาสนาพราหมณ์
    5. ระหว่างการเผยแผ่คำสอนของพระองค์
  5. ข้อใดเป็นพื้นฐานความเชื่อของพุทธศาสนิกชนที่จะมีความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาได้ดี
    1. เชื่อในเรื่องกรรม
    2. เชื่อว่าผลของกรรมมีจริง
    3. เชื่อในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    4. เชื่อในเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    5. เชื่อว่ากรรมใดใครก่อก็เป็นของคนนั้นเอง
  6. เรื่องกรรมในพระพุทธศาสนาต่างจากศาสนาพราหมณ์ในด้านใด
    1. ที่มา
    2. ผลกรรม
    3. การกระทำ
    4. เจ้าของกรรม
    5. ลักษณะของกรรม
  7. การเชื่อในเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีผลต่อพุทธศาสนิกชนในด้านใด
    1. เข้าใจหลักธรรมคำสอนด้วยแก่นแท้ของปัญญา
    2. มีศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา
    3. ปฏิบัติตามคำสั่งสอนได้ดี
    4. ศึกษาธรรมะได้รวดเร็ว
    5. ถูกทุกข้อ
  8. คำว่ากรรม สัมพันธกับข้อใดมากที่สุด
    1. บาป
    2. วิปาก
    3. ความดี
    4. ความชั่ว
    5. พฤติกรรม
  9. มาลีเชื่อในผลของกรรม แสดงว่ามาลีมีศรัทธาในข้อใด
    1. กัมมสัทธา
    2. วิปากสัทธา
    3. เจตนาสัทธา
    4. ตถาคตโพธิสัทธา
    5. กัมมัสสกตาสัทธา
  10. ในฐานะที่เป็นชาวพุทธ การอธิบายให้เกิดความเชื่อในพระพุทธศาสนา ควรเริ่มต้นที่ข้อใดก่อน
    1. ความเชื่อในเรื่องกรรม
    2. ความเชื่อในเรื่องผลกรรมสนอง
    3. ความเชื่อในเรื่องทุกคนมีผลกรรมติดตัว
    4. ความเชื่อในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    5. ความเชื่อในเรื่องการตรัสรูของพระพุทธเจ้า
  11. ทวิชาติเป็นข้าราชการที่ฉ้อราษฏรบังหลวงแต่ก็มั่งมีความสุข ความเจริญ บุตรชายบุตรสาวเรียนจบจากต่างประเทศ จากข้อความดังกล่าว อธิบายตามหลักวิปากสัทธาได้อย่างไร
    1. ทวิชาติทำชั่วแต่ได้ดี
    2. การกระทำของทวิชาติไม่มีผลกรรมตอบสนอง
    3. ทวิชาติทำชั่วแต่ก็จับไม่ได้ เพราะผู้ใต้บังคับบัญชารับกรรมแทน
    4. ทวิชาติแลกความสุขความเจริญมั่งคั่งด้วยเงินที่ฉ้อราษฏร์บังหลวง
    5. ทวิชาติทำชั่วในปัจจุบันก็จริง แต่ผลบุญจากการทำกรรมดีในอดีตส่งผลให้สุขสบาย
  12. ความเชื่อตามวิปากสัทธามีผลต่อการปฏิบัตของชาวพุทธอย่างไร
    1. เลือกทำความดีไว้ก่อน
    2. เห็นว่าทำผิดเป็นถูกได
    3. ทำความดีมากกว่าความชั่ว
    4. จะทำความดีหรือความชั่วมีผลเท่ากัน
    5. ทำความชั่วก็ไม่เป็นไรคนอื่นรับแทนได้
  13. เชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วหรือบุญบาปที่ตนทำเป็นของตน ตรงกับศรัทธาข้อใด
    1. กัมมสัทธา
    2. วิปากสัทธา
    3. เจตนาสัทธา
    4. ตถาคตโพธิสัทธา
    5. กัมมัสสกตาสัทธา
  14. ศรัทธา 4 หน้าที่สำคัญของชาวพุทธทั้งหลายเกิดขึ้นได้อย่างไร
    1. ครูสอน
    2. นั่งสมาธิอานาปานสติ
    3. มีความเข้าใจอย่างแท้จริง
    4. เกิดด้วยตนเองหรือผู้อื่นชักจูง
    5. ศรัทธาตามที่บอกเล่าสืบต่อกันมา
  15. การเกิดศรัทธาด้วยตนเองจะมั่นคงกว่าเกิดด้วยวิธีการอื่น ทั้งนี้ต้องมีปัจจัยสำคัญข้อใดสนับสนุน
    1. มีผลบุญในอดีต
    2. มีความพากเพียร
    3. มีสติปัญญา ความรู้
    4. มีความกระตือรือร้น
    5. มีสติและความคิดรอบคอบ
  16. ข้อใดต่อไปนี้แสดงถึงการมีตถาคตโพธิสัทธา ยกเว้นข้อใด
    1. เชื่อว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้จริง
    2. ใคร่ครวญการกระทำว่าควรทำแต่ความดี
    3. ไม่แสดงความดูหมิ่นการปฏิบัติตามหลักพุทธธรรม
    4. ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนโดยปราศจากข้อสงสัย
    5. เชื่อว่าหลักพุทธธรรมได้มาจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  17. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตามหลักกัมมสัทธา
    1. สวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนทุกคืน
    2. ยอมรับเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้น
    3. เชื่อว่าหากปฏิบัติตามคำสอนแล้วผลดีจะตามมา
    4. เชื่อว่ากรรมคือการกระทำของตนเองจึงควรเลือกทำแต่กรรมดี
    5. กระทำแต่กรรมดี ละเว้นกรรมชั่ว เพราะกรรมดีนั้นต้องเป็นของตนเอง
  18. ข้อต่อไปนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติตนตามหลักศรัทธา 4 ยกเว้นข้อใด
    1. ไม่ทำควาามชั่ว ทำแต่ความดี
    2. ไม่ปฏิเสธผลของกรรมที่จะเกิดขึ้น
    3. ไม่ดูหมิ่นหลักธรรมของพระพุทธเจ้า
    4. ยอมรับผิดที่จะต้องรับผลดีและผลร้ายที่เกิดขึ้น
    5. ไม่เชือ่ว่าผลสำเร็จจะเกิดจากการกระทำเพียงอย่างเดียวต้องมีโชคด้วย
  19. ข้อใดให้ความหมายของคำว่า ศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้อง
    1. เชื่อในเรื่องสำคัญ
    2. เชื่อในสิ่งที่เกิดขึ้น
    3. เชื่อในเรื่องที่มีเหตุผลจริง
    4. เชื่อในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า
    5. เชื่อเฉพาะในเรื่องที่มีในพระไตรปิฏกเท่านั้น
  20. การเชื่อเรื่องผลของกรรมว่ามีจริง จะมีผลต่อผู้เชื่อด้านใดมากที่สุด
    1. ผู้คนจะทำสิ่งใดก็ทำด้วยการพิจารณาก่อน
    2. ผู้ทำความชั่วหวาดกลัวมากขึ้น
    3. ผู้คนเข้าใจในเรื่องกรรมมากขึ้น
    4. ผู้ทำความชั่วลดน้อยลง
    5. ถูกทุกข้อ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ข้อใดให้ความหมายของคำว่า พระไตรปิฏก ได้ถูกต้องที่สุด
    1. ตระกร้าสามใบอันประเสริฐ
    2. หลักธรรมของพระพุทธศาสนา
    3. ตระกร้าที่บรรจุธรรม 3 หมวด
    4. คัมภีร์ที่บรรจุธรรม 3 ประการ
    5. คัมภีร์ที่บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 3 หมวด
  2. พระไตรปิฏกประกอบด้วย 3 หมวดใหญ่ๆ ได้แก่ข้อใด
    1. วิภังค์ สังคณี สังยุตต์
    2. ขันธกะ อังคุตตร วิภังค์
    3. พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม
    4. พระปาติโมกข์ สิกขาบท มหาวรรค
    5. พระอภิธรรม ธาตุกถา พระสุตตันตปิฏก
  3. คัมภีร์ที่ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับวินัยและความประพฤติของพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุสงฆ์คือคัมภีร์ใด
    1. สังยุตตนิกาย
    2. พระวินัยปิฏก
    3. อังคุตตรนิกาย
    4. พระสุตตันตปิฏก
    5. พระอภิธรรมปิฏก
  4. ข้อใดมีความสัมพันธ์กันอย่างถูกต้อง
    1. ธัมมสังคณะ:จุลวรรค :สังฆกรรม
    2. ปริวาร : พระอภิธรรม : จัดลำดับกรรม
    3. พระสูตร:ขันธกะ : สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์
    4. พระวินัยปิฏก : วิภังค์ : สิกขาบทในพระปาติโมกข์
    5. พระธรรมเทศนา : สังยุตต์ : บัญญัติเรียกบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรม
  5. บทบัญญัติเกี่ยวกับสังฆกรรม พิธีกรรม วัตรปฏิบัติต่างๆ ของพระสงฆ์ อยู่ในพระไตรปิฏกหมวดใด
    1. พระสูตร
    2. พระวินัยปิฏก
    3. พระปาติโมกข์
    4. พระสุตตันตปิฏก
    5. พระอภิธรรมปิฏก
  6. คู่มือพระวินัยปิฏกทั้งหมด คือข้อใด
    1. วิภังค์
    2. ปริวาร
    3. ขันธกะ
    4. สังยุตต์
    5. สุตตวิภังค์
  7. ประมวลพระสูตรเกี่ยวกับบุคคล สถานที่ หรือธรรมเรื่องเดียวกัน หมายถึงข้อใด
    1. ทีฆนิกาย
    2. ขุททกนิกาย
    3. มัชฌิมนิกาย
    4. สังยุตตนิกาย
    5. อังคุตตรนิกาย
  8. หากต้องการศึกษาเกี่ยวกับหลักธรรมที่อธิบายทัศนะของนิกายต่างๆ ของพระพุทธศาสนา ควรศึกษาจากคัมภีร์ข้อใด
    1. ปริวาร
    2. ปัฏฐาน
    3. พระสูตร
    4. กถาวัตถุ
    5. ทีฆนิกาย
  9. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับความสำคัญของพระไตรปิฏกได้ถูกต้องที่สุด
    1. ตำราคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    2. ข้อบัญญัติเกี่ยวกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา
    3. คำสอนของพระพุทธองค์สืบทอดต่อกันมาอย่างถูกต้อง
    4. คัมภีร์ที่บันทึกและรวบรวมคำสอนที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
    5. ประมวลเกี่ยวกับพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าที่ตกทอดถึงปัจจุบัน
  10. ก่อนมีการใช้คำว่าพระไตรปิฏก คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามีชื่อเรียกว่าอะไร
    1. พระวินัย
    2. พระสูตร
    3. พระธรรม
    4. พระอภิธรรม
    5. พระธรรมวินัย
  11. ในสมัยพุทธกาลวิธีการถ่ายทอดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าใช้วิธีใด
    1. ใช้วิธีมุขปาฐ
    2. บันทึกบนใบไม้
    3. บันทึกบนแผ่นหินทิ้งไว้
    4. ใช้วิธีสลักธรรมบนแผ่นศิลา
    5. มอบหน้าที่การท่องจำให้กับพระสงฆ์สาวกแต่ละรูป
  12. ข้อใดมีความสัมพันธ์กับการสังคายนาครั้งที่ 1
    1. แบ่งพระธรรมวินัยออกเป็น 3 ปิฏก
    2. แบ่งพระธรรมวินัยออกเป็นปิฏกต่างๆ
    3. หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 5 เดือน
    4. เริ่มต้นจัดหมวดหมู่พระธรรมวินัยอย่างเป็นระบบ
    5. มอบหมายพระสงฆ์สาวกที่สำคัญรับผิดชอบในการสอบทานพระธรรมวินัย
  13. พุทธสาวกทีเ่ป็นผู้สืบทอดคำสอนของสำนักวินัยปิฏกคือข้อใด
    1. พระอุบาลี
    2. พระอานนท์
    3. พระสารีบุตร
    4. พระมหากัสสปะ
    5. พระโมคคัลลานะ
  14. การจารึกพระไตรปิฏกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกจารึกด้วยภาษาใด
    1. บาล
    2. โรมัน
    3. สิงหล
    4. สันสกฤต
    5. เทวนาครี
  15. ผู้ริเริ่มการทำสังคายนาพระธรรมวินัยเป็นองค์แรกคือใคร
    1. พระเจ้าสุภัททเถระ
    2. พระอานนท์เถระ
    3. พระมหากัสสปะเถระ
    4. พระเทวานัมปิยติสสเถระ
    5. พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ
  16. การสังคายนาครั้งที่ 1 อยู่ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของกษัตริย์องค์ใด
    1. พระเจ้าพิมพิสาร
    2. พระเจ้าสุทโธทนะ
    3. พระเจ้าอชาตศัตรู
    4. พระเจ้าปเสนทิโกศล
    5. พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ
  17.  พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเป็นองค์อุปถัมภ์การสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่เท่าไร
    1. 2
    2. 3
    3. 4
    4. 5
    5. 6
  18. เพื่อวางรากฐานพระพุทธศาสนาในมั่นคงในลังกาเป็นสาเหตุของการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่
    1. 1
    2. 2
    3. 3
    4. 4
    5. 5
  19. การจารึกพระไตรปิฏกเป็นลายลักษณ์อักษรจัดทำในสมัยการทำสังคายนาครังที่เท่าไร
    1. 1
    2. 2
    3. 3
    4. 4
    5. 5
  20. การจารึกพระไตรปิฏกเป็นลายลักษณ์อักษร จัดขึ้นที่ใด
    1. วาลิการาม กรุงเวสาลี อินเดีย
    2. ถูปาราม กรุงอนุราธบุรี ศรีลังกา
    3. อโศการาม กรุงปาฏลีบุตร อินเดีย
    4. สัตตบรรณคูหา กรุงราชคฤห์ อินเดีย
    5. อาโลกเลณสถาน มตเลชนบท ศรีลังกา
  21. การศึกษาธรรมแล้วมิได้ไตร่ตรองด้วยปัญญา เมือนำไปใช้อาจเป็นโทษได้ พระพุทธองค์ตรัสเปรียบเทียบว่าเหมือนกับข้อใด
    1. จับงูพิษไม่ถูกวิธีอาจถูกงูกัดตาย
    2. บ่มผลไม้ไม่ถูกวิธีผลไม้เน่าเสียได้
    3. จิตไม่มีความมั่นคง ฝึกสมาธิไม่สำเร็จ
    4. ป้อนอาหารเสือไม่ถูกวิธี ถูกเสือกัดตาย
    5. เตรียมการสอนไม่ดี นักเรียนฟังไม่ตั้งใจ
  22. การเรียนรู้วิชาการต่างๆ ต้องเรียนอยา่งไรจึงจะได้ประโยชน์
    1. เข้าใจได้อย่างถูกต้องก่อนนำไปใช้
    2. นำไปใช้ให้ถูกต้องตามกาละเทศะ
    3. ไตร่ตรองด้วยปัญญา
    4. ศึกษาด้วยใจมีสมาธิ
    5. ถูกทุกข้อ
  23. ข้อใดแสดงถึงการมีความรู้แต่นำไปใช้ไม่ถูกต้อง
    1. เรียนพิมพ์ดีดเพื่อรับจ้างพิมพ์รายงาน
    2. เรียนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อทอนเงินได้ถูกต้อง
    3. เรียนวิชาเสริมสวยเพือหารายได้พิเศษ
    4. เรียนภาษาอังกฤษเพื่ออ่านหนังสือจากต่างประเทศ
    5. เรียนวิชาเคมีเพื่อทำระเบิดขวดไปขว้างโรงเรียนคู่อริ
  24. การกล่าววาจาที่เป็นที่รักของคนหมู่มาก หมายถึงวาจาเช่นไร
    1. คำพูดจริง มีประโยชน์ คนชอบ
    2. คำพูดไม่จริง มีประโยชน์ คนชอบ
    3. คำพูดจริง ไม่มีประโยชน์ คนไม่ชอบ
    4. คำพูดไม่จริง ไม่มีประโยชน์ คนชอบ
    5. คำพูดไม่จริง ไม่มีประโยชน์ คนไม่ชอบ
  25. วาจาในข้อใดที่พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่าควรกล่าว
    1. วาจาสัตย์
    2. วาจาที่คนชอบ
    3. วาจาที่เป็นประโยชน์
    4. วาจาที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์
    5. วาจาที่คนชอบแต่ไม่เป็นประโยชน์
  26. ข้อควรพิจารณาในการกล่าววาจาใดๆ ของพระพุทธองค์คือข้อใด
    1. สถานที่
    2. กาลเทศะ
    3. ความจริง
    4. ความสนุกสนาน
    5. ความชอบของผู้ฟัง
  27. วาจาในข้อใดควรกล่าว
    1. อรณีเธอนี่โง่มาก เรียนตกตั้งหลายวิชา ควรปรับปรุงตัวนะจ๊ะ
    2. ประเทศไทยควรเน้นการแก้ปัญหาความยากจนของประชากร
    3. วิชัยผมเธอยาวผิดระเบียบแล้วนะ มันไม่ทำให้เธอหล่อขึ้นหรอก
    4. สมาชิกสภาผู้แทนราษฏรที่ได้รับการเลือกตั้งส่วนใหญ่ได้โดยการซื้อเสียง
    5. ประเทศไทยควรหาตลาดใหม่ๆ เพื่อการส่งออกให้มากขึ้น เพราะตลาดเดิมเอารัดเอาเปรียบจนเกินไป
  28. ข้อใดอ่านบาลีต่อไปนีได้ถูกต้อง ยํ เว เสวติ ตาทิโส
    1. ยะ เว เสวติ ตาทิโส
    2. ยัง เว เสวะติ ตาทิโส
    3. ยุง วเว สะเวติ ตาทิโส
    4. ยัง เว สะเวติ ตาทิสโส
    5. ยะ วเว เสวะติ ตาทิสโส
  29. พุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส ให้ข้อคิดในแง่ใด
    1. การเลือกคู่ครอง
    2. การสรรหาบุคคลที่ดี
    3. การปรับตัวเข้ากับเพื่อน
    4. การให้อภัยซึ่งกันและกัน
    5. การคบเพื่อนที่มีประโยชน์
  30. ความหมายของพุทธศาสนสุภาษิตที่ว่า ยํ เว เสวติ ตาทิโส ตรงกับสำนวนไทยข้อใดมากที่สุด
    1. รกคนดีกว่ารกหญ้า
    2. รักดีหามจั่ว รักชั่วหามเสา
    3. คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ
    4. เสียน้อยเสียมาก เสียมากเสียง่าย
    5. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง
  31. ทุกโข พาเลหิ สํวาโส ตรงกับข้อใด
    1. อยู่ร่วมกับคนดีไม่มีทุกข์
    2. อยู่ร่วมกับคนชั่วมีแต่ทุกข์
    3. ประพฤติตนเป็นคนพาลมีแต่ทุกข์
    4. ความทุกข์เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์
    5. ถ้าจะมีทุกข์อยูกับคนดีหรือคนชั่วก็มีทุกข์
  32. คนโง่แม้อยู่ใกล้ปราชญ์ก็อาจฉลาดได้ ตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
    1. ยํ เว เสวติ ตาทิโส
    2. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
    3. กลฺยาณการี กลฺยาณํ
    4. อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
    5. เสฏฺฐมุปคมญฺจ อุเปติ ชิปฺปํ
  33. จุดใต้พยัญชนะในภาษาบาลี เรียกว่าอะไร
    1. ธนิต
    2. สถิล
    3. พินทุ
    4. อาคม
    5. นิคหิต
  34. ข้อใดใส่นิคหิต ไม่ถูกต้อง
    1. ยํ
    2. มยํ
    3. วิสุํ
    4. พุทฺธํ
    5. ทุกฺขํ
  35. ภาษาบาลีมีข้อสังเกตุที่ผิดจากภาษาไทยมากที่สุดคือข้อใด
    1. ภาษาบาลีมีแต่เสียงสูง
    2. ภาษาบาลีมีจุดจบประโยช
    3. ภาษาบาลีไม่มีการประวิสรรชนีย์
    4. ภาษาบาลีไม่มีเสียงโฆสะและอโฆสะ
    5. ภาษาบาลีมีพยัญชนะและสระน้อยกว่า
  36. มะยัง ภันเต วิสุง วิสัง รักขะณัตถายะ เขียนเป็นภาษาบาลีตรงกับข้อใด
    1. มย ภนเต วิสํ วิสํ รกขณตถาย
    2. มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ รกฺขณตฺถาย
    3. มยงฺ ภตฺเต วิสุง วิสุ รักขณัตถยะ
    4. มะยํ ภันเต วิสํง วิสํง รกฺขะณตฺถา
    5. มะยัง ภันเต วิสํง วิสํง รักขณัตถายะ
  37. ข้อใดที่มีผลให้พระพุทธเจ้าทรงตัดสินพระทัยแสดงธรรมหลังจากตรัสรู้แล้ว
    1. วิปตฺตฺปฏิพาหาย
    2. ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ
    3. สนฺติธ สตฺตาปฺปรชกฺขชาติกา
    4. รกฺขณถฺถาย ติสรเณน สห ปญฺจ
    5. สพฺพโรควินาสาย ปริตฺตํ พรูถ มงฺคลํ
  38. การอาราธนาธรรมมีกำเนิดมาจากบุคคลในข้อใด
    1. สุภัททะ
    2. อริฏฐภิกขุ
    3. พระเจ้าพิมพิสาร
    4. พระเจ้าอชาตศัตรู
    5. ท้าวสหัมบดีพรหม
  39. การสวดพระปริตร มีจุดมุ่งหมายที่ถูกต้องคือข้อใด
    1. เพื่อมีเมตตา
    2. เพื่อป้องกันภัย
    3. เพื่อความร่ำรวย
    4. เพื่อเป็นสิริมงคล
    5. เพื่อให้เป็นส่วนประกอบพิธีกรรม
  40. ผู้เห็นภัย คือภัยในสังสารวัฏ หรือความทุกข์ หมายถึงผู้ใด
    1. พระ
    2. ภิกษุ
    3. สมณะ
    4. ดาบส
    5. ถูกทุกข้อ
  41. คำศัพท์ใดต่อไปนี้ไม่ใช้กับพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
    1. พระ
    2. ภิกษุ
    3. สมณะ
    4. ดาบส
    5. ถูกทุกข้อ
  42. คำว่า สมณะ หมายถึง ผู้มีใจสงบจากสิ่งใด
    1. จากเสียงของผู้คน
    2. จากความชั่วทั้งปวง
    3. จากบุคคลผู้ทำความชั่ว
    4. จากรูปและเสียงของสตรี
    5. จากสิ่งเร้าอารมณ์ทุกอย่าง
  43. เพราะความเชื่อในข้อใดดาบสจึงบำเพ็ญเพียรด้วยการบูชาไฟ
    1. ความร้อนทำให้เกิดสุข
    2. ตายด้วยความร้อนเป็นสุข
    3. ความร้อนทำให้เกิดความพยายาม
    4. ความร้อนสามารถเผาผลาญกิเลสได้
    5. ความร้อนสามารถทำให้มองเห็นวิธีการหมดทุกข์ได้
  44. นักเรียนจะคบเพื่อน แต่ไม่รู้จะคบคนไหนดี นักเรียนจะนำพุทธศาสนสุภาษิตบทใดเข้าไปใช้ในการเลือกคบเพื่อน
    1. ยํ เว เสวติ ตาทิโส
    2. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
    3. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
    4. อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
    5. กลฺยาณการี กลฺยาณํ ปาปการี จ ปาปกํ
  45. การอาศัยอยู่ในหอพักนักศึกษา หากเพื่อนร่วมห้องมีนิสัยเห็ฯแก่ตัว ไม่มีระเบียบ สกปรก ชอบลักเล็กขโมยน้อย จะตรงกับพุทธศาสนสุภาษิตข้อใด
    1. ยํ เว เสวติ ตาทิโส
    2. กมฺมุนา วตฺตตี โลโก
    3. ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส
    4. อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ
    5. เสฎฺฐมุปคมญฺจ อุเปติ ชิปฺปํ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. เหตุใดพุทธศาสนิกชนจึงต้องให้ความเคารพบูชาต่อพระภิกษุสงฆ์
    1. มีความอดทนต่อความยากลำบากสูง
    2. เป็นผู้อนุรักษ์ศาสนวัตถุเพื่อเรา
    3. ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี
    4. เป็นผู้สืบทอดศาสนา
    5. ข้อ ค และ ง ถูก
  2. บทบาทของพระสงฆ์ต่อสังคมในปัจจุบัน ข้อใดสำคัญที่สุด
    1. การรักษาสภาพแวดล้อม
    2. ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี
    3. ให้ที่พักอาศัยแก่ผู้เดินทาง
    4. เป็นผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น
    5. สั่งสอนอบรมประชาชนให้เป็นคนดี
  3. พระสงฆ์ในขอใดที่ควรแก่การเคารพบูชามากที่สุด
    1. พระบวชใหม่
    2. พระที่ทำพิธีกรรมเก่ง
    3. พระที่อธิบายธรรมเก่ง
    4. พระที่บวชมาหลายพรรษา
    5. พระที่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด
  4. บทบาทของพระสงฆ์ข้อใดที่จัดว่าเป็นผู้นำทางด้านจิตใจ
    1. เป็นผู้นำในการพัฒนาท้องถิ่น
    2. ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดี
    3. ช่วยพัฒนาประเทศ
    4. ให้การศึกษา
    5. ถูกทุกข้อ
  5. ข้อใดต่อไปนี้หมายถึง บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อสังคมมากที่สุด
    1. วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย
    2. บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย
    3. บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย
    4. หากขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง
    5. ไม่มีข้อถูก
  6. ข้อใดต่อไปนี้ หมายถึงความสำคัญของพุทธศาสนิกชน
    1. วัดจะดีมีหลักฐานเพราะบ้านช่วย
    2. บ้านจะสวยเพราะมีวัดดัดนิสัย
    3. บ้านกับวัดผลัดกันช่วยยิ่งอวยชัย
    4. หากขัดกันก็บรรลัยทั้งสองทาง
    5. ไม่มีข้อถูก
  7. ทำไมชาวพุทธจึงต้องมีมารยาทปฏิบัติต่อพระสงฆ์
    1. เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติชอบ
    2. เพราะพระสงฆ์ถือศีลมากกว่าคฤหัสถ์
    3. เพราะพระสงฆ์เป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา
    4. เพราะพระสงฆ์มีบทบาทในการสงเคราะห์ชาวบ้าน
  8. เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ประพฤติปฏิบัติชอบแล้ว สอนให้ผู้อื่นประพฤติปฏิบัติตาม
    1. ข้อใดแสดงให้เห็นว่าพระสงฆ์มีฐานะสูงกว่าฆราวาส
    2. พระสงฆ์เป็นทิศเบื้องบน ฆราวาสเป็นทิศเบื้องล่าง
    3. การจัดที่นั่งให้พระสงฆ์แยกต่างหากจากผู้อื่น
    4. การพูดคุยกับพระสงฆ์ต้องใช้ภาษาสุภาพ
    5. บิดาต้องไหว้บุตรที่บวชเป็นพระสงฆ์
    6. ถูกทุกข้อ
  9. ข้อใดเป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมต่อพระสงฆ์
    1. หลักเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
    2. หลักเกี่ยวกับมารยาทไทย
    3. พระวินัยของพระสงฆ์
    4. ฐานะของพระสงฆ์
    5. ข้อ ก และ ข ถูก
  10. การปฏิบัติระหว่างฆราวาสกับพระสงฆ์ในข้อใดที่ไม่ถูกต้อง
    1. บิดาต้องไหว้บุตรที่เป็นพระสงฆ์
    2. เมื่อพระสงฆ์เดินมาก็หลีกทางให้
    3. นางพยาบาลตรวจโรคให้พระสงฆ์
    4. ใช้คำยกย่องเมื่อกล่าวถึงพระสงฆ์
    5. บุตรที่เคยบวชเป็นพระสงฆ์รับของจากมือโยมแม่
  11. ข้อใดนับเป็นวิธีที่ปฏิบัติต่อพระสงฆ์โดยเฉพาะ
    1. สนทนาธรรม
    2. ล้างและเช็ดเท้า
    3. ประเคนปัจจัย 4
    4. ไหว้พระสวดมนต์
    5. แต่งกายเรียบร้อย
  12. การติดต่อกับพระสงฆ์จะต้องปฏิบัติตนอย่างไรให้เหมาะสม
    1. ใช้คำพูดที่เหมาะสมกับตำแหน่งของพระสงฆ์
    2. หากท่านจำวัดควรให้ลูกศิษย์เรียนท่านก่อน
    3. สตรีไม่ควรไปพบพระสงฆ์ตามลำพัง
    4. แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย
    5. ถูกทุกข้อ
  13. การปฏิบัติตนในการตักบาตรพระสงฆ์ ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1. ถอดรองเท้าก่อนตักบาตร
    2. ตั้งจิตอธิษฐานก่อนทุกครั้ง
    3. ถามท่านแล้วใส่เฉพาะของที่ท่านชอบ
    4. ใส่แล้วนั่งไหว้หรือยืนไหว้ด้วยใจที่เคารพ
    5. เสร็จแล้วควรอุทิศส่วนกุศลด้วยใจหรือกรวดน้ำ
  14. การจัดที่นั่งสำหรับพระสงฆ์ที่ถูกต้องควรทำอย่างไร
    1. ถ้าที่ชุมนุมนั้นจัดให้นั่งกับพื้นจะต้องปูพรมให้เต็มห้องนั้นเสียก่อนพระสงฆ์จึงจะนั่งได้
    2. คฤหัสถ์ชายถ้าจะต้องนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์ ควรนั่งด้านขวาของท่าน
    3. ห้ามสตรีนั่งเก้าอี้แถวเดียวกับพระสงฆ์เด็ดขาด แม้ว่าจะมีบุรุษคั่นอยู่ก็ตาม
    4. ถ้าในที่ชุมนุมนั้นจัดให้นั่งเก้าอี้ควรให้พระสงฆ์นั่งแถวหน้า
    5. ถูกทุกข้อ
  15. ข้อใดเป็นการปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ที่ไม่ถูกต้อง
    1. ก่อนเข้าพบพระสงฆ์ควรขออนุญาตท่านก่อน
    2. ขณะที่พระสงฆ์อยู่ข้างล่างเราควรขึ้นไปรอท่านบนกุฏิ
    3. การเข้าพบพระสงฆ์เมื่อเสร็จกิจธุระแล้วควรรีบลากลับ
    4. ควรประนมมือทุกครั้งเมื่อพูดและรับคำพูดของพระสงฆ์
    5. เมื่อท่านนั่งบนอาสนะเรียบร้อยแล้ว จึงกราบท่านด้วยเบญจางคประดิษฐ์
  16. เมื่อพูดกับพระสงฆ์ ข้อใดปฏิบัติได้ถูกต้องทีสุ่ด
    1. ส่ายตัวไปมา
    2. ยืนตรงไขว้มือไว้ข้างหลัง
    3. ยืนตรงประสานมือไว้ข้างหน้า
    4. ประนมมือไหว้ตลอดเวลาที่ีพูดด้วย
    5. ไม่สบตาพระสงฆ์ ค่อมตัวท่อนบนลงเล็กน้อย
  17. การกราบแบบเบญจางคประดิษฐประกอบด้วยอะไรบ้าง
    1. เข่า 2 ศอก 2 มือ 1
    2. เข่า 2  แขน 2  มือ 1
    3. เข่า 2 มือ 2 หน้าผาก 1
    4. เข่า 2 แขน 2 หน้าผาก 1
    5. เขา 2 ศอก 2 หน้าผาก 1
  18. การนั่งเก้าอี้ต่อหน้าพระสงฆ์ ในสว่นของฆราวาสมีการจัดที่นั่งอย่างไร
    1. แยกระหว่างสตรีกับบุรุษ
    2. ให้ผู้ใหญ่นั่งอยู่ด้านหน้า
    3. ใครจะนั่งตรงไหนก็ได้
    4. นั่งเรียงตามลำดับไหล่
    5. ถูกทุกข้อ
  19. ข้อใดถูกต้องที่สุดในการถวายสังฆทาน
    1. ถวายได้เฉพาะพระผู้ใหญ่เท่านั้น
    2. ถ้าหลังเที่ยงคืนแล้วต้องแยกเอาอาหารออก
    3. ของที่ถวายต้องเป็นของบริโภคได้เท่านั้น
    4. ถ้าเป็นตอนเช้าควรถวายเฉพาะอาหารเท่านั้น
    5. การถวายสังฆทานจำกัดพระสงฆ์ที่รอจะรับเพียง 4 รูป
  20. การประเคนของให้พระสงฆ์ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1. การยกของประเคนต้องยกให้สูงประมาณ 1 คืบ
    2. ห้ามพระภิกษุหยิบของก่อนโดยที่ยังไม่ได้ประเคน
    3. เมื่อประเคนแล้วผู้ประเคนจับของนั้นอีกก็ไม่ต้องประเคนใหม่
    4. กรณีทีผู้ประเคนเป็นสตรี จะต้องวางของลงบนผ้าทีท่านปูรองรับ
    5. น้ำทีบริสุทธิ์ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่จำเป็นต้องประเคนก็ได้

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. หลักธรรมในข้อใดที่ใช้สร้างความสามัคคีในสังคม
    1. พละ 4
    2. สัปปุริสธรรม 7
    3. อปริหานิยธรรม  7
    4. กัลยาณมิตรธรรม
    5. ธรรมอันเป็นอุดมมงคล
  2. ข้อใดคือความหมายของอปริหานิยธรรมที่ถูกต้องที่สุด
    1. คุณธรรมที่ไม่มีความเสื่อม
    2. คุณธรรมที่ห่างจากความเสื่อม
    3. ธรรมอันเป็นเหตุแห่งความเจริญปราศจากความเสื่อม
    4. ธรรมเป็นเหตุเสริมสร้างให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้า
  3. ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม ธรรมที่เป็นไปเพื่อเน้นความเจริญ
    1. ข้อใดไม่จัดอยู่ในหลักอปริหานิยธรรม
    2. จักหมั่นประชุมกันอยู่เสมอ
    3. จักไม่ข่มขืนบังคับสตรีทั้งหลาย
    4. จักเคารพนับถือท่านผู้ใหญ่ทั้งหาย
    5. จักเคารพสักการะปูชนียสถานทั้งภายในและภายนอก
  4. อปริหานิยธรรม 7 ข้อใดที่จัดอยู่ในกลุ่มของการสร้างความเข้าใจและความยึดเหนี่ยว
    1. การซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
    2. การขยันขันแข็งประกอบอาชีพ
    3. การไม่ข่มขืนบังคับสตรีทั้งหลาย
    4. การเคารพปูชนียสถานและทำพลีกรรม
    5. การไม่บัญญัติสิ่งที่มิได้ทรงบัญญัติ ไม่ยกเลิกสิ่งที่ดีงามที่ทรงบัญญัติไว้แล้ว
  5. อปริหานิยธรรม 7 ข้อใดที่จัดอยู่ในกลุ่มของการระงับความแตกแยก
    1. การซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น
    2. การขยันขันแข็งประกอบอาชีพ
    3. การไม่ข่มขืนบังคับสตรีทั้งหลาย
    4. การเคารพบูชาปูชนียสถานและทำพลีกรรม
    5. การพร้อมเพรียงกันประชุมและพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม
  6. ข้อใดไม่จัดอยู่ในหลักการเคารพอาวุโส
    1. วัยวุฒิ
    2. คุณวุฒิ
    3. ชาติวุฒิ
    4. เกรียติวุฒิ
    5. ไม่มีข้อใดถูก
  7. ข้อใดสอดคล้องกับหลักการเคารพอาวุโสในด้านวัยวุฒิ
    1. สีนวลปฏิบัติตามกฏศีลธรรมอย่างเคร่งครัด
    2. แชมป์ขอบเสียสละให้แก่ผู้ที่ด้อยฐานะกว่าเสมอ
    3. เอ๋คอยตักเตือนน้องๆ เสมอเมื่อเห็นว่าจะเกิดอันตราย
    4. นนท์เคารพผู้มีอายุมากกว่าทุกคนที่รู้จักโดยไม่มีการยกเว้น
  8. พิชัยเกิดในตระกูลสูง มีฐานะร่ำรวย ถึงแม้ว่าจะเล่นการพนัน แต่ก็ได้รับการนับถือจากผู้คนรอบข้าง
    1. หมั่นประชุมกันอยู่เสมอ มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
    2. ประชุมตามระเบียบวาระการประชุมในเหตุการณ์ปกติ
    3. ประชุมทุกครั้งเมื่อมีปัญหา
    4. ประชุมกันพร้อมเพรียง
    5. ประชุมกันทุกวัน
    6. ถูกทุกข้อ
  9. เมื่อประชุมและเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกัน การทำกิจการทั้งหลายก็พร้อมเพรียงกัน มีความหมายตรงกับข้อใด
    1. ป้องกันการแตกแยกของคนในสังคม
    2. การตรงต่อเวลาย่อมนำประโยชน์มาสู่ตน
    3. พร้อมเพรียงกันทั้งเวลาประชุมและเลิกประชุม
    4. พร้อมเพรียงกันทำงาน เมื่อหมดเวลาก็พร้อมเพรียงกันเลิก
    5. ประชุมและเลิกประชุมพร้อมเพรียงกันทุกคน หากมีกิจการอะไรก็ช่วยกันทำให้เสร็จเรียบร้อยโดยเกียงงานกัน
  10. ไม่ลุอำนาจตามความสะดวกและความพอใจของตน มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
    1. เคารพเงื่อนไขต่งๆ ที่กำหนดไว้แล้ว
    2. ไม่ละเมิดกฏเกณฑ์ต่างๆ ตามชอบใจ
    3. ไม่เลิกถอนหลักการเดิม จนกว่าจะมีหลักการใหม่มาใช้แทน
    4. ผู้ปฏิบัติพึงเคารพในสิ่งที่บัญญัติและสิ่งที่ยกเลิกการบัญญัติ
    5. ไม่บัญญัติสิ่งที่ที่ประชุมยังไม่บัญญัติ ไม่เลิกถอนของเดิมที่ที่ประชุมบัญญัติไว้แล้วและปฏิบัติตามหลักการเดิม
  11. เคารพเชื่อฟังท่านผู้ใหญ่ผู้เป็นหัวหน้าตามความเคารพมีความหมายตรงกับข้อใด
    1. เคารพในผู้ใหญ่ที่มีอายุสูง
    2. เคารพในผู้ใหญ่ที่เจริญด้วยคุณวุฒิ
    3. เคารพในผุ้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือมานาน
    4. เคารพผู้ใหญ่ตามขั้นตอนในทางการงาน
    5. เคารพผู้ใหญ่ที่มีอายุและการศึกษามากกว่า
  12. ไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยานที่เกิดขึ้นจนเป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายเดือดร้อนในสังคมมีความหมายตรงกับข้อใด
    1. ไม่โลภอยากได้เมื่อมีโอกาส
    2. ไม่มักได้ถ่ายเดียวให้มีความเสียหาย
    3. ไม่ถือพรรคถือพวก ทำตนเสมอกันทุกคน
    4. แม้อยากได้ แต่ไม่ทำอะไรให้ผิดขั้นตอนเพราะเห็นแก่ความสงบสุขของส่วนรวม
    5. ไม่อยากได้ แต่เพื่อเห็นแก่เพื่อนฝูงและสังคม จึงต้องรับไว้ก่อน แต่ก็ไม่ถือพรรคถือพวกในทางปฏิบัติแต่อย่างใด
  13. เคารพในเจดีย์หรืออนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งความดี มีความหมายตรงกับข้อใด
    1. เคารพนับถือความดีของบรรพบุรุษของตน
    2. ยกย่องเทิดทูนบุคคลที่บรรพบุรุษยกย่องเทิดทูน
    3. ยกย่องผู้กระทำความดีตามแบบอย่างที่บรรพบุรุษได้เคยปฏิบัติมาแล้ว
    4. เคารพกราบไว้เจดีย์หรืออนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้ช่วยกันสร้างกันมา
    5. ยกย่องนับถือผู้ที่ริเริ่มการสร้างอนุสาวรีย์ที่ระลึกถึงคุณความดีของบรรพบุรุษ
  14. ตั้งความปรารถนาดีต่อมิตรสหาย มีความหมายตรงกับข้อใดมากที่สุด
    1. คอยช่วยเหลือเพื่อนในทุกกรณี
    2. ให้ความร่วมมือแก่ผู้ตั้งใจจริงทุกคน
    3. ไม่รังแกเพื่อนที่อ่อนแอกว่าตนทุกคน
    4. ให้ความรักและความจริงใจต่อเพือ่นที่ดี
    5. ให้ความช่วยเหลือต่อมิตรสหายอย่างเท่าเทียมกัน
  15. ข้อใดไม่ใช่หลักอปริหานิยธรรม
    1. หมั่นประชุมกันอยู่เสมอ
    2. ประชุมเสร็จแล้วก็เลิกพร้อมเพรียงกัน
    3. มีกิจการอะไรเกิดขึ้นก็พร้อมเพรียงกันทำ
    4. ยึดถือแนวทางปฏิบัติที่ตัวเองเห็นว่าถูกต้อง
    5. เมื่อก่อการสำเร็จลุล่วงกันดีแล้วก็ร่วมกันแสดงความยินดี
  16. การที่พนักงานของบริษัทหรือโรงงานมีการหยุดงานประท้วงคณะผู้บริหาร ต่างฝ่ายต่างก็กล่าวหาซึ่งกันและกันจนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายกับบริษัทหรือโรงงาน ทั้งนี้เพราะขาดหลักธรรมข้อใด
    1. สามัคคีธรรม
    2. สาราณียธรรม
    3. ฆราวาสธรรม
    4. อปริหานิยธรรม
    5. ทศพิธราชธรรม
  17. เมื่อถึงวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา พุทธศาสนิกชนต่างก็ไปพร้อมเพรียงกันที่วัดเพื่อทำการบูชา จัดเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด
    1. สามัคคีธรรม
    2. สาราณียธรรม
    3. อปริหานิยธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม
    5. ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
  18. การที่นักเรียนบางคนไม่ชอบเข้าแถวเคารพธงชาติ ร้องเพลงชาติและกล่าวคำปฏิญาณตนต่อหน้าเสาธง จัดเป็นผู้ขาดหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การเคารพเชื่อฟังท่านผู้ใหญ่
    2. การไม่ถืออำนาจตามความสะดวก
    3. การไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
    4. การทำตามอำเภอใจล้มล้างสิ่งที่ได้บัญญัติไว้แล้ว
    5. การเคารพในเจดีย์หรืออนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
  19. การที่นักเรียนบางคนไม่ค่อยพอใจเพื่อนนักเรียนต่างห้องเรียนเข้ามาเป็นสมาชิกในกลุ่มกีฬากับพวกตน จัดเป็นผู้ขาดหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การเคารพเชื่อฟังท่านผู้ใหญ่
    2. การตั้งความปรารถนาดีต่อมิตร
    3. การไม่ถืออำนาจตามความสะดวก
    4. ความทะเยอทะยานและความริษยา
    5. การไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
  20. การที่นักเรียนเห็นว่าตนเป็นหัวหน้าชั้นจึงชอบตัดสินปัญหาต่างๆ ด้วยตนเอง โดยไม่ยอมถามความเห็นของเพื่อนๆ เช่นนี้จัดว่านักเรียนขาดหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การเคารพเชื่อฟังท่านผู้ใหญ่
    2. การไม่ถืออำนาจตามอำนาจ
    3. การตั้งความปรารถนาดีต่อมิตรสหาย
    4. การไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
    5. การสักการะนับถือบุคคลผู้พึงเคารพนับถือ
  21. การที่นักเรียบางคนชอบกีดกันเพื่อนมิให้มีโอกาสเข้าสอบแข่งขันชิงรางวัลการศึกษาของโรงเรียน จัดเป็นผู้ขาดหลักธรรมข้อใด
    1. พละ 4
    2. สามัคคีธรรม
    3. สาราณียธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม
    5. อริหานิยธรรม
  22. การที่นักเรียนไม่เคยคิดฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการสอบแข่งขัน แม้มีโอกาสให้กระทำทุจริตได้แต่ก็ไม่คิดที่ทำ จัดเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใด
    1. สามัคคีธรรม
    2. สาราณียธรรม
    3. อปริหานิยธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม
    5. ธรรมอันเป็นอุดมมงคล
  23. การที่นักเรียนไม่ยอมถอดรองเท้าก่อนเข้าห้องตามหัวห้องขอร้อง จัดว่านักเรียนขาดหลักธรรมข้อใด
    1. สามัคคีธรรม
    2. สาราณียธรรม
    3. อปริหานิยธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม
    5. อโลภ อโทสะ อโมหะ
  24. การที่นักเรียนบางคนขณะอยู่โรงเรียนก็แต่งกายดีถูกต้องตามระเบียบของโรงเรียน แต่เมื่อโรงเรียนเลิกได้แอบไปเปลี่ยนเป็นเครื่องแต่งกายที่ไม่เรียบร้อย เดินออกจากโรงเรียนด้วยเหตุผลส่วนตัว จัดเป็นผู้ขาดหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การเคารพเชือฟังผู้ใหญ่
    2. ไม่ถืออำนาจตามความสะดวก
    3. ไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
    4. ความพร้อมเพรียงกันในสิ่งที่ควรกระทำ
    5. ความเคารพในอนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
  25. นักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจากเพื่อนร่วมห้องให้เป็นหัวหน้าห้องเรียน แต่มีเหตุบางอย่างทำให้ไม่สามารถปฏิบัติ หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างเต็มที่ จึงเปิดโอกาสให้เพื่อนที่มีความสามารถทำหน้าที่แทนตน จัดเป็นผู้ปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การเคารพเชื่อฟังผู้ใหญ่
    2. การไม่ถืออำนาจตามความสะดวก
    3. การตั้งความปรารถนาดีต่อมิตรสหาย
    4. การไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
    5. ความเคารพในอนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
  26. การที่นักเรียนมีความประทับใจในครูอาจารย์บางท่าน ที่ได้ช่วยเหลือชี้แนะในการเลือกแขนงวิชาจนสอบแข่งขันเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้สำเร็จสมความตั้งใจ แลได้ให้ความยกย่องเทิดทูนครูอาจารย์อย่างไม่รู้ลืม จัดเป็นการปฏิบัติตามหลักอปริหานิยธรรมข้อใด
    1. การไม่ถือตามอำเภอใจ
    2. การเคารพเชื่อฟังท่านผู้ใหญ่
    3. การไม่ถืออำนาจตามความสะดวก
    4. การไม่ลุอำนาจแก่ความทะเยอทะยาน
    5. การเคารพในเจดีย์หรืออนุสาวรีย์ที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้
  27. พละ 4 มีความหมายตามข้อใด
    1. หลักธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จ
    2. หลักธรรมที่ใช้ในการสร้างความสามัคคี
    3. หลักธรรมที่ก่อให้เกิดความสุขความเจริญ
    4. หลักรรมที่เป็นกำลังทำให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ
    5. หลักธรรมที่เป็นกำลังก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม
  28. ความสามารถในทางปัญญามีความหมายว่าอย่างใด
    1. การใช้กำลังเป็นการแสดงถึงปัญญา
    2. การรู้จักถือเอาประโยชน์ทางปัญญา
    3. การใช้ปัญญาให้เกิดประโยชน์แก่ตนเอง
    4. การนำปัญญาไปใช้แก้ไขปัญหาให้แก่พวกพ้อง
    5. การรู้จักหลีกเว้นจากปัจจัยแห่งความชั่ว แล้วประกอบปัจจัยแห่งความเจริญอยู่เสมอ
  29. การหาประสบการณ์จากสิ่งที่ได้พบเห็นในชีวิตประจำวัน เป็นปัญญาที่เกิดขึ้นจากอะไร
    1. การฝึกปฏิบัติ
    2. การฟังหรือศึกษา
    3. การคิดหาเหตุผล
    4. การฝึกอบรมตัวเอง
    5. การสอบถามจากครูอาจารย์ผู้ชำนาญการ
  30. ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติจนสามารถรู้หรือเข้าใจในสิ่งนั้นได้อย่างแจ่มแจ้งคือความหมายในข้อใด
    1. การฟัง
    2. การฝึกปฏิบัติ
    3. การคิดหาเหตุผล
    4. การฝึกอบรมตัวเองได้
    5. การเพียรพยายามศึกษา
  31. เจ้าชายสิทธัตถะทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้า เพราะทรงอาศัยความรู้ในข้อใดมากที่สุด
    1. การฟัง
    2. การเลียนแบบ
    3. การทรมานตน
    4. การคิดหาเหตุผล
    5. การฝึกอบรมตัวเองได้
  32. ความมั่นใจหรือหมดสิ้นความสงสัยว่า เราบรรลุธรรมพิเศษ ของเจ้าชายสิทธัตถะ พระองค์ทรงอาศัยพลธรรมข้อใดมากทีสุด
    1. ความอดทน
    2. ความสามารถในทางปัญญา
    3. ความสามารถในความเพียร
    4. ความสามารถในการกระทำที่ไม่มีโทษ
    5. ความสามารถในการสงเคราะห์หรือเสียสละเพื่อนิพพาน
  33. ข้อใดเป็นวิธีขจัดความเกียจคร้านโดยใช้หลักของพละ 4
    1. ปลูกฝังพลังปัญญา
    2. ปลูกฝังพลังความเพียร
    3. ปลูกฝังการตรงต่อเวลา
    4. ปลูกฝังความรับผิดชอบ
    5. การปลูกฝังการปฏิบัติด้วยตนเอง
  34. พระพุทธเจ้าแม้จะทรงประสบความยากลำบากในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในระยะเริ่มแรก แต่ก็ไม่ทรงล้มเลิกพระปณิธานจัดเป็นผู้ยึดมั่นพลธรรมข้อใด
    1. วิริยพละ
    2. สังคหพละ
    3. ปัญญาพละ
    4. อนวัชชพละ
    5. สมานัตตตา
  35. ในกรณีที่นักเรียนมีความตั้งใจว่า จะเรียนหนังสือให้ดีที่สุดเท่าที่มีความสามารถ จัดเป็นผู้ยึดมั่นในพลธรรมข้อใด
    1. เพียรละบาปทุจริตที่เกิดขึ้นแล้วในจิตใจ
    2. เพียรระวังมิให้บาปทุจริตเกิดขึ้นแล้วในจิตใจ
    3. เพียรสร้างความดีที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นใตจิตใจ
    4. เพียรรักษาคุณความดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ในจิตใจ
    5. เพียรกำหนดความตั้งใจจริงเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเมื่อมีโอกาส
  36. ในกรณีที่นักเรียนเรียนหนังสือไม่เก่ง แต่ก็สามารถสอบผ่านการวัดผลในแขนงวิชาที่เรียนได้ จัดเป็นผู้มีพลธรรมข้อใดมากทีสุด
    1. วิริยพละ
    2. สังคหพละ
    3. ปัญญาพละ
    4. อนวัชชพละ
    5. สมานัตตตา
  37. ในกรณีทีนักเรียนสามารถปฏิบัติตัวเองให้เป็นคนดีและเป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อนร่วมโรงเรียน จัดเป็นผู้มีพลธรรมข้อใดมากที่สุด
    1. วิริยพละ
    2. สังคหพละ
    3. ปัญญาพละ
    4. อนวัชชพละ
    5. สมานัตตพละ
  38. วิธีที่จะทำให้คนรัก จัดอยู่ในหมวดธรรมข้อใด
    1. พละ 4
    2. สังคหวัตถุ 4
    3. สัปปุริสธรรม 7
    4. อปริหานิยธรรม 7
    5. ธรรมอันเป็นอุดมมงคล
  39. มงคลแห่งชีวิต หมายความว่าอย่างไร
    1. ความเจริญแห่งชีวิต
    2. เหตุให้ถึงความเจริญแห่งชีวิต
    3. เหตุที่ทำให้ชีวิตอยู่รอดปลอดภัย
    4. แนวทางปฏิบัติที่ทำให้ผู้ปฏิบัติประสบความสำเร็จในการทำงาน
  40. ข้อใดต่อไปนี้ที่ตรงกับลักษณะของคนพาล
    1. ฝักใฝ่ในทางทุจริต
    2. ประพฤติผิดในกาม
    3. คิดโลภอยากได้ของเขา
    4. ชอบพูดโกหกหลอกคนอื่น
    5. ชอบเบียดเบียนผู้อื่นเป็นนิจ
  41. การกระทำในขอใดที่ไม่ถือว่าเป็น กายทุจริต ของคนพาล
    1. ฆ่าสัตว์
    2. ลักทรัพย์
    3. ดื่มทรัพย์ สูบบุหรี่
    4. ประพฤติผิดในกาม
    5. ข่มเหงผู้อ่อนแอกว่า
  42. ข้อใดเป็นลักษณะความชั่วทางใจของคนพาล
    1. เป็นคนเห็นแก่ได้
    2. ชอบให้ร้ายต่อมิตร
    3. ชอบคิดแต่สิ่งทีผิดๆ
    4. ชอบชักชวนในทางที่ผิด
    5. ชอบพูดเท็จทวนสาบาน
  43. ขอ้ใดมิใช่โทษของคนพาล
    1. เกิดโรค
    2. เสียชีวิต
    3. เสียทรัพย์
    4. มีเพื่อนฝูงมาก
    5. เป็นนักเลงการพนัน
  44. บุคคลใดที่จัดว่าเป็นบัณฑิตที่ถูกต้อง
    1. ธนวัฒน์เรียนจบปริญญาตรีร
    2. ประภาสเป็นผู้รู้จักผิดชอบชั่วดี
    3. ธรรมนูญผ่านการบวชเรียนมาแล้ว
    4. นรินทร์ทำงานเป็นราชบัณฑิตยสถาน
    5. พรชัยกำลังจะเข้ารับพระราชทานปริญญา
  45. ข้อใดเป็นลักษณะของบัณฑิตตามแนวพุทธธรรมที่ถูกต้องที่สุด
    1. มีการศึกษาสูง
    2. เมื่อมีภัยมาถึงตนจึงคิดช่วยเหลือ
    3. ผู้ชอบช่วยเหลือเพื่อนในทุกกรณี
    4. เรื่องที่คิด กิจที่ทำ คำที่พูด ดีเป็นปกติ
    5. ผู้ชอบพูดคำที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความพอใจ
  46. ข้อต่อไปนี้เป็นลักษณะของบัณฑิต ยกเว้นข้อใด
    1. พูดมีสติ
    2. พุดจริงทำจริง
    3. พูดดีๆ ก็โกรธ
    4. พูดประสานสามัคคี
    5. พูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์
  47. ข้อใดมิใช่การคบบัณฑิตตามแนวพุทธธรรม
    1. หมั่นไปมาหาสู่
    2. หมั่นเข้าใกล้ชิด
    3. ฟังคำแนะนำของท่าน
    4. ช่วยงานทุกอย่างของท่าน
    5. ถ่ายทอดความรู้ของท่าน
  48. ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของการคบบัณฑิตในพุทธธรรม
    1. มีฐานะมั่นคง
    2. ทำให้เกิดปัญญา
    3. เป็นคนมีเหตุผล
    4. ได้ความรู้ความดี
    5. หลุดพ้นจากความทุกข์
  49. การแสดงกิริยา วาจาและใจสุภาพ เพื่อบูชาบุคคลและวัตถุที่ควรบูชา จัดเป็นวิธีบูชาในข้อใด
    1. มานนา
    2. คุรุการะ
    3. สักการะ
    4. วันทนาและอภิวาท
    5. คุรุการะและวันทนา
  50. การแสดงความรักความห่วงใย เช่น บุตรธิดามีความรักความห่วงใยในบิดามารดา เป็นต้น จัดเป็นการบูชาในข้อใด
    1. มานนา
    2. คุรุการะ
    3. สักการะ
    4. วันทนาและอภิวาท
    5. อภิวาทและสักการะ
  51. การกำหนดความดีชองบุคคลว่าเขามีความดีอย่างนั้นอย่างนี้ ความเชื่อถือและยกย่อง เป็นต้นแล้วประพฤติตนดีต่อเขาจัดเป็นการบูชาในข้อใด
    1. มานนา
    2. คุรุการะ
    3. สักการะ
    4. วันทนาและอภิวาท
    5. มานนาและวันทนา
  52. การบุตรธิดากล่าวสรรเสริญบิดามารดาศิษย์กล่าวยกย่องคุณของครูอาจารย์ ตลอดจนพุทธศาสนชนกล่าวสรรเสริญคุณของพระรัตนตรัย ที่เรียกว่าทำวัตรไหว้พระสวดมนต์ จัดเป็นการบูชาในข้อใด
    1. อัญชลี
    2. วันทนา
    3. มานนา
    4. คุรุการะ
    5. สักการะ
  53. อามิสบูชา หมายถึง การบูชาในข้อใด
    1. การบูชาด้วยวัตถุสิ่งของ
    2. การบูชาด้วยการเป็นคนดี
    3. การบูชาด้วยการกราบไหว้
    4. การบูชาด้วยการปฏิบัติสมาธิ
    5. การบูชาด้วยการปฏิบัติตามคำสั่งสอน
  54. ข้อใดเป็นลักษณะของอามิสบูชา
    1. การเคารพบิดามารดา
    2. การทำจิตให้เป็นสมาธิ
    3. การฟังเทศน์ในวันพระ
    4. การบูชาพระด้วยดอกไม้ประดิษฐ์
    5. การประพฤติตามคำสอนของบิดามารดา
  55. ข้อใดเป็นลักษณะของการปฏฺบัติบูชา
    1. การทำบุญตักบาตร
    2. การเสียภาษีเงินได้
    3. การรักษาศีลฟังธรรม
    4. การกราบไหว้พระสงฆ์
    5. การเสียภาษีให้ประเทศชาติ
  56. ข้อใดไม่ใช่ปูชนียวัตถุตามแนวพุทธธรรม
    1. พระพุทธรูป
    2. คัมภีร์พระธรรม
    3. หลักฐานทางโบราณวัตถุ
    4. พระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ไทย
    5. พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
  57. ข้อใดไม่จัดเป็นมงคลในการบูชาบุคคลที่ควรบูชา
    1. ทำให้จิตใจผ่องใส
    2. ทำใหจิตใจสงบเยือกเย็น
    3. ทำให้เกิดศรัทธาแบบภักดี
    4. ความชั่วไม่กล้ำกลายเข้ามาในจิตใจ
    5. ทำให้จิตมีอิสระเกิดปัญญารู้ความตามเป็นจริง
  58. มงคลที่เกิดขึ้นจากการบูชาบุคคลที่ควรบูชา (คือบิดามารดา) ที่ถูกต้องที่สุดคือข้อใ
    1. เป็นเหตุให้ได้รับความเมตตากรุณา
    2. เป็นเหตุให้ไม่ทำชั่ว ตั้งอยู่ในความดี
    3. เป็นเหตุให้ได้รับคำแนะนำดี ได้เรียนดี
    4. เป็นเหตุให้มีฐานะมั่งคั่งร่ำรวยทำบุญได้มากขึ้น
    5. เป็นเหตุให้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติเป็นธรรม
  59. เป็นเหตุให้ได้รับคำแนะนำทีดีและเรียนดี เป็นมงคลที่เกิดขึ้นจากการบูชาบุคคลในข้อใด
    1. พระสงฆ์
    2. บิดามารดา
    3. ครูอาจารย์
    4. ญาติผู้ใหญ่
    5. ผู้บังคับบัญชา
  60. คำว่า พาหุสัจจะ มีความหมายตรงกับขอใด
    1. ความเป็นผู้พูดแต่ความจริง
    2. ความเป็นผู้สดับตรับฟังมาก
    3. ความเป็นผู้เรียนวิชาชีพมาก
    4. ความเป็นผู้มีความจริงใจมาก
    5. ความเป็นผู้เรียนทางธรรมมาก
  61. ความเป้นผู้สดับตรับฟังมามากเป็นคุณสมบัติของผู้ใด
    1. ชาวพุทธทั่วไป
    2. พระภิกษุสามเณร
    3. นักเรียน นักศึกษา
    4. สัตบุรุษและบัณฑิต
    5. ครูอาจารย์ พระสงฆ์
  62. ข่อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่เป็นพหุสูต
    1. ผู้ท่องบนอยู่เสมอ
    2. ผู้ได้เล่าเรียนมามาก
    3. ผู้เล่าเรียนตามหลักสูตร
    4. ผู้จำได้ทั้งอรรถะและพยัญชนะ
    5. ผู้ฟังด้วยความตั้งใจและเข้าใจด้วยปัญญา
  63. ความเป็นผู้คงแก่เรียนเป็นคุณสมบัติของผู้ใด
    1. ชาวพุทธทั่วไป
    2. พระภิกษุสามเณร
    3. ผู้สดับตรับฟังมาก
    4. นักเรียน นักศึกษา
    5. นักวิชาการ นักเขียน
  64. ข้อใดเป็นวิธีปฏิบัติเพื่อความเป็นพหูสูต
    1. สะสมตำรา
    2. เรียนด้วยตนเอง
    3. เรียนจากครู อาจารย์
    4. เรียนจากครูแลเรียนด้วยตนเอง
    5. เรียนจากสื่อมวลชน เช่น ฟังวิทยุและดูโทรทัศน์
  65. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของผู้ที่เป็นพหูสูต
    1. เป็นผู้ได้ยินได้ฟังมามาก
    2. เข้าใจได้ตลอดด้วยปัญญา
    3. จำได้ทั้งพยัญชนะและอรรถะ
    4. อ่านเนื้อความได้ถูกต้องแม่นยำ
    5. เป็นผู้จดจำได้เฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์
  66. ช่วงเวลาที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตการณ์แตกแยกออกเป็นหลายฝ่ายนั้น เราควรใช้หลักพุทธธรรมข้อใดในการระงับเหตุการณ์ดังกล่าว
    1. พละ 4
    2. สัปปุริสธรรม 7
    3. อปริหานิยธรรม 7
    4. กัลยาณมิตรธรรม 7
    5. ธรรมอันเป็นมงคง
  67. วิธีการที่ดีที่สุดในการแก้นิสัยของคนพาล คือข้อใด
    1. ปล่อยให้หายเอง
    2. การไม่พูดจาด้วย
    3. พูดให้เห็นถึงผลดีผลเสีย
    4. ปล่อยให้กฏหมายลงโทษ
    5. ร่วมกันลงมติคว่ำบาตรทุกอย่าง
  68. อาชีพใดต่อไปนี้ไม่ควรสนับสนุนให้มีในสังคมมากที่สุด
    1. โรงงานนรก
    2. การขายบุหรี่
    3. วงดนตรีคนตาบอด
    4. ขายพวงมาลัยตามสี่แยก
    5. ขายหนังสือพิมพ์ตามสี่แยก
  69. บุคคลใดต่อไปนี้ที่เราไม่ควรคบด้วยมากที่สุด
    1. วิชัยชอบพูดเล่น
    2. ปูชอบพูดส่อเสียด
    3. โจ้ชอบพูดเพ้อเจ้อ
    4. นัทชอบพูดจาหยาบคาย
    5. ต้องชอบพูดโกหกหลอกลวงเพื่อน
  70. การทีเราเห็นเพื่อนเรียนหนังสือไม่เก่ง เราจะใช้วิธ๊การช่วยเหลืออย่างไรดีที่สุด
    1. ให้เพื่อนลอกเวลาสอบ
    2. อธิบายในส่วนที่เพื่อนไม่เข้าใจให้ฟัง
    3. พูดจาเยาะเย้ยจนเพื่อนเกิดความขยัน
    4. ช่วยตักเตือนให้เพื่อนขยันอ่านหนังสือ
    5. แนะนำเพื่อให้ไปขอครูให้งานเพิ่มเติม
  71. ข้อใดสำคัญทีสุดในการดำรงพระพุทธศาสนา
    1. ซื้อเทปธรรมะมาฟัง
    2. ไหว้พระทุกครั้งทีเจอ
    3. ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอน
    4. ทำบุญตักบาตรทุกวันโดยไม่ขาด
    5. ประดับธงชาติในวันสำคัญทางศาสนา
  72. การกระทำในข้อใดที่แสดงถึงการขาดหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
    1. วรรณชอบเบียดเบียนเพื่อน
    2. ดำโลภอยากได้ของคนอื่น
    3. ชาวพุทธพูดเพ้อเจ้อ
    4. แสดงชอบยิงนก
    5. ถูกทุกข้อ
  73. บุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาจะประสบผลอย่างไร
    1. ไม่มีใครคบด้วย
    2. ไม่มีศาสนาให้นับถือ
    3. ครอบครัวจะยากจนลง
    4. ไม่มีที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ
    5. จะไม่พบความสุขสบายในชีวิต
  74. การที่นักเรียนเป็นผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ และปฏิบัติธรรม เป็นมงคลที่เกิดจากการบูชาบุคคลใด
    1. พระสงฆ์
    2. เพื่อนสนิท
    3. บิดามารดา
    4. ครูอาจารย์
    5. ผู้บังคับบัญชา
  75. การศึกษาธรรมอันเป็นมงคลมีผลดีต่อนักเรียนอย่างไร
    1. ประสบความเจริญก้าวหน้าในชีวิต
    2. สามารถเลือกคบคนได้ถูกต้อง
    3. ประพฤติดี
    4. มีความรู้ดี
    5. ถูกทุกข้อ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. พระชาติกำเนิดของพระพุทธเจ้า คือข้อใด
    1. วรรณศูทธ
    2. วรรณะแพศย์
    3. วรรณะกษัตริยฺ์
    4. วรรณะจัณฑาล
    5. วรรณะพราหมณ์
  2. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับพระชาติภูมิของเจ้าชายสิทธัตถะได้ถูกต้องที่สุด
    1. นักบวช
    2. แคว้นสักกะ
    3. มาจากสกุลกษัตริย์
    4. มีความบริสุทธิ์ทางวรรณะ
    5. มีฐานะทางพระชาติกำเนิดสูงมาก
  3. เพราะเหตุใดจึงกล่าวว่าเจ้าชายสิทธัตถะมีความบริสุทธิ์ทางวรรณะ

    1. บิดามารดาเป้นกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่
    2. ผู้ทำคลอดมีฐานะเป็นวรรณะกษัตริย์
    3. ศากยะวงศ์มีเชื้อชาติเป็นกษัตริย์แว่นแคว้นต่างๆ
    4. เชื่อสายศากยวงศ์ไม่เคยมีการปะปนกับวรรณะอื่น
    5. เชื่อสายของศากยวงศ์เคยมีกษัตริย์เป็นเจ้าจักรพรรดิ
  4. ทานผู้ใดที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ถวายพระอักษรแด่เจ้าชายสิทธัตถะเป็นคนแรก
    1. วิศวามิตร
    2. อสิตดาบส
    3. อาฬารดาบส
    4. กาฬเทวิลดาบส
    5. โกณฑัญญะพราหมณ์
  5. จากข้อ 4 จุดประสงค์ของพระราชบิดาที่ให้เจ้าชายสิทธัตถะศึกษาในสำนักดังกล่าว คือข้อใด
    1. ให้เรียนรู้ศิลปศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
    2. ให้เรียนรู้เกี่ยวกับวิชาการปกครองตนเอง
    3. เป้นโรงเรียนสำหรับวรรณะกษัตริย์โดยตรง
    4. ให้ศึกษาวิชาที่เหมาะสมกับตำแหน่งประมุขของรัฐ
    5. ฝึกวิทยาการการต่อสู้เหมาะสมกับตำแหน่งจักรพรรดิ
  6. เพราะเหตุใดการออกผนวชของเจ้าชายสิทธัตถะจึงเป็นข่าวใหญ่ในสมัยนั้น
    1. สมัยนั้นไม่เคยมีนักบวช
    2. เพราะเป็นกษัตริย์ที่ละความสุขทางโลกได้
    3. การออกบวชถือเป็นคุณอันยิ่งใหญ่ในสมัยนั้น
    4. แปลกใจที่เจ้าชายไม่อยู่เพื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ
    5. ประชาชนยินดีและตื่นเต้นที่จะได้ฟังธรรมของศาสดาเอก
  7. พระเจ้าสุทโธทนะทรงสร้างปราสาท 3 หลังเพื่อประทับ 3 ฤดูให้แก่เจ้าชายสิทธัตถะนั้น ทรงมีจุดประสงค์ในขอใดมากที่สุด
    1. เป็นประเพณีของพระมหากษัตริย์
    2. เพื่อเป็นเรือนหอของเจ้าชายสิทธัตถะ
    3. เพื่อรองรับตำแหน่งพระเจ้าจักรพรรดิ
    4. ให้เจ้าชายได้รับความอบอุ่นตามฤดูกาล
    5. ให้เจ้าชายติดอยู่ในความสุขจะได้ไม่ออกบวช
  8. เจ้าชายสิทธัตถะมีความสุขสมบูรณ์ทุกประการในชีวิตฆราวาส แต่ความสุขชนิดใดที่เจ้าชายทรงต้องการและออกแสวงหาด้วยพระองค์เอ
    1. ความสุขที่เปลี่ยนแปลงได้
    2. ความสุขที่เกิดจากการสัมผัส
    3. ความสุขผิวเผินในระยะเวลาหนึ่ง
    4. ความสุขที่ไม่ถูกรบกวนด้วยอารมณ์สัมผัสใดๆ
    5. ความสุขที่เกิดจากความพอใจตามความปรารถนาของอารมณ์
  9. เจ้าชายสิทธัตถะทรงค้นพบความสุขอันประณีตที่เกิดจากจิตสงบครั้งแรกเมื่อใด
    1. ประสูติใหม่ๆ ที่สวนลุมพินี
    2. สำเร็จการศึกษาจากครูวิศวามิตร
    3. ตามพระราชบิดาเสด็จไปทำพิธีแรกนาขวัญ
    4. เสด็จออกผนวชพร้อมกับม้ากัณฑกะและนายฉันนะ
    5. สาวก 1250 รูปมาประชุม และทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์
  10. การปฏิบัติจิตตามข้อ 9 ตรงกับข้อใด
    1. สีลานุสติ
    2. พุทธานุสติ
    3. กายคตาสติ
    4. อานาปานสติ
    5. วิปัสสนากรรมฐาน
  11. ช้อใดเป็นลักษณะการมองโลกของเจ้าชายสิทธัตถะ
    1. ทุกคนในโลกยังมัวเมาและยังแสวงหาไม่ถูกต้อง
    2. ความสุขทางโลกมิใช่ความสุขที่แท้จริง
    3. ชีวิตชาวโลกควรได้รับการช่วยเหลือ
    4. ชีวิตฆราวาสคับแคบ ไม่มีอิสระ
    5. ถูกทุกข้อ
  12. เจ้าชายสิทธัตถะทรงมองความสุขทางวัตถุมาในรูปใด
    1. เป็นสิ่งไร้สาระ
    2. เป็นสิ่งที่ควรอภิรมย์
    3. เป็นสิ่งต้องแข่งขันแย่งชิง
    4. เป็นสิ่งที่ให้ความสมอยาก
    5. เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา
  13. เจ้าชายสิทธัตถะทรงมองเห็นว่าภาวะชีวิตแบบใดที่อำนวยให้การค้นหาความจริงต่างๆ ดำเนินไปได้ดีที่สุด
    1. ภาวะชีวิตที่มั่งคั่งสมบูรณ์
    2. ภาวะชีวิตที่มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ
    3. ภาวะชีวิตที่เต็มไปด้วยความมีเหตุผล
    4. ภาวะชีวิตที่ตัดขาดจากสังคมอย่างเด็ดขาด
    5. ภาวะชีวิตที่เผชิญกับปัญหาความคับแค้นยากจน
  14. การบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้าตรงกับข้อใด
    1. บำเพ็ญตบะ
    2. สัมมาปฏิปทา
    3. มัชฌิมาปฏิปทา
    4. อัตตกิลมถานุโยค
    5. กามสุขัลลิกานุโยค
  15. ระบบการดำเนินคิดค้นทางปฏิบัติด้วยตนเองของพะพุทธเจ้าภายหลังเรียกหลักปฏิบัตินี้ว่าอย่างไร
    1. มัชฌิมทฤษฏี
    2. สัมมาทฤษฏี
    3. อัตตกิลมถานุโยค
    4. กามสุขขัลลิกานุโยค
    5. การบำเพ็ญทุกรกริยา
  16. ก่อนจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา โกณฑัญญะอยู่ในวรรณะใด
    1. ศูทร
    2. แพศย์
    3. กษัตริย์ฺ
    4. พราหมณ์
    5. ไม่มีวรรณะ
  17. ก่อนได้รับฟังธรรมของพระพุทธเจ้า โกณฑัญญะยึดถือการปฏิบัติแบบใด
    1. เอกัคคตา
    2. สัมมาปฏิปทา
    3. มัชฌิมาปฏิปทา
    4. อัตตกิลมถานุโยค
    5. กามสุขัลลิกานุโยค
  18. พระธรรมเทศนาสูตรใดที่ทำให้ปัญจวัคคีย์ยอมรับว่าพระองค์ทรงบรรลุธรรมจริงๆ
    1. อริยสัจจสูตร
    2. อนัตตลักขณสูตร
    3. อาทิตตปริยายสูตร
    4. โอวาทปาติโมกขสูตร
    5. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร
  19. พระอัญญาโกณฑัญญะได้เป็นพระโสดาบันตรงกับวันใด
    1. มาฆบูชา
    2. วิสาขบูชา
    3. เข้าพรรษา
    4. ออกพรรษา
    5. อาสาฬหบูชา
  20. พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับการยกย่องจากพระศาสดาให้เป็นเอตทัคคะทางด้านใด
    1. เป็นเลิศทางธิติ
    2. เป็นเลิศทางอุปัฏฐาก
    3. เป็นเลิศในทางแสดงธรรม
    4. เป็นเลิศในทางมีปัญญามาก
    5. เป็นเลิศในทางรู้แบบแผนของหมู่คณะ
  21. ข้อใดเป็นคุณสมบัติที่แสดงถึงการเป็นผู้ใฝ่รู้อย่างยิ่งของพระอัญญาโกณฑัญญะ
    1. ความแม่นยำในการทำนาย
    2. การอุทิศชีวิตเข้าสู่เพศสมณะ
    3. ไม่เชื่อถือสิ่งใดโดยไม่มีการพิสูจน์
    4. การเรียนจบไตรเพทตั้งแต่ยังหนุ่ม
    5. ความเป็นผู้รู้แบบแผนพิธีการต่างๆ
  22. สตรีผู้เข้าเฝ้าทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุณีสงฆ์คนแรกในพระพุทธศาสนา คือผู้ใด
    1. นางวิสาขา
    2. นางกุณฑลา
    3. นางธัมมทินนา
    4. นางอุบลวรรณา
    5. นางปชาบดี
  23. ข้อความว่า เมื่อสตรีมีปัญญาสามารถบรรลุธรรมได้เหมือนบุรุษเพศ เป็นการสมควรอนุญาตให้สตรีบวชได้ เป็นคำกราบทูลของท่านผู้ใด
    1. พระอัสสชิ
    2. พระอานนท์
    3. พระอนุรุทธ
    4. พระสารีบุตร
    5. พระโมคคัลลานะ
  24. ข้อใดไม่ใช่ความเกี่ยวข้องกันระหว่างพระพุทธเจ้ากับพระนางปชาบดี
    1. โคตตโคตร
    2. อัครสาวิกา
    3. พระมาตุฉา
    4. เป็นพระสหชาติ
    5. พระมารดาเลี้ยง
  25. สาเหตุใดที่ทำให้พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้สตรีอุปสมบทประพฤติพรหมจรรย์
    1. สตรีเป็นผู้ศรัทธามากกว่าบุรุษ
    2. สตรีสามารถบรรลุพระอรหันต์ได้
    3. สตรีสามารถบำรุงพระภิกษุสงฆ์ได้
    4. สตรีสามารถเผยแผ่พระศาสนาได้ดีกว่าบุรุษ
    5. เสียงสตรีบรรยายธรรมโน้นน้าวใจได้ดีกว่าเสียงบุรุษ
  26. พระนางปชาบดีได้รับพุทธานุญาตให้อุปสมบทแต่มีเงื่อนไขใดที่พระนางต้องปฏิบัติก่อน
    1. ปฏิบัติขันติธรรม
    2. ปฏิบัติครุธรรม 8 ประการ
    3. ปฏิบัติธรรมให้ได้สมาบัติ 8
    4. ให้เหล่าสตรีศากยะกลับนครก่อน
    5. บวชแล้วต้องปฏิบัติครุธรรม 8 ประการ
  27. เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงไม่ทรงอนุญาตให้พระนางปชาบดีอุปสมบทในครั้งแรกที่พระนางทูลขออนุญาต
    1. สตรีมีร่างกายอ่อนแอกว่าบุรุษ
    2. ต้องการเห็นความอดทนของพระนาง
    3. สตรีจะทำให้พระศาสนาตั้งอยู่ได้ไม่นาน
    4. ไม่เคยมีสตรีอุปสมบทในศาสนาใดมาก่อน
    5. สตรีต้องได้รับการอุปสมบทโดยพระภิกษุณีสงฆ์ก่อน
  28. ในสมัยพุทธกาลหลังจากมีพระภิกษุณีสงฆ์แล้ว สตรีทีจะอุปสมบทต้องเป็นสิกขมานาเป็นเวลานานเท่าใดจึงขออุปสมบทได้
    1. 1 ปี
    2. 2 ปี
    3. 3 ปี
    4. 4 ปี
    5. 5 ปี
  29. การอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์ในสมัยพุทธกาล จักต้องปฏิบัติอย่างไร
    1. อุปสมบทโดยอุปัชฌาย์
    2. อุปสมบทโดยพระภิกษุสงฆ์ก่อน
    3. อุปสมบทโดยพระภิกษุณีสงฆ์ก่อน
    4. อุปสมบทโดยมีพิธีกรรมเช่นเดียวกับอุปสมบทพระภิกษุสงฆ์
    5. อุปสมบทโดยพระภิกษุณีสงฆ์แล้วจึงอุปสมบทโดยพระภิกษุสงฆ์อีกครั้ง
  30. พระภิกษุณีสงฆ์ต้องถือสิกขาบทกี่ข้อ
    1.  8
    2. 10
    3. 15
    4. 227
    5. 311
  31. ข้อใดมิใช่ครุธรรม8
    1. พระภิกษุณีสงฆ์ต้องกราบไหว้พระภิกษุสงฆ์
    2. พระภิกษุณีสามารถว่ากล่าวพระภิกษุณีสงฆ์ได้
    3. พระภิกษุณีสงฆ์สามารถมีวัตดของตนเป็นเอกเทศได้
    4. พระภิกษุณีสงฆ์ต้องถามวันอุโบสถจากพระภิกษุสงฆ์
    5. พระภิกษุณีสงฆ์ต้องเข้าฟังโอวาทจากพระภิกษุสงฆ์ทุกครึ่งเดือน
  32. การอุปสมบทของพระนางปชาบดีตรงกับข้อใด
    1. เอหิภิกขุณี
    2. การรับครุธรรม 8
    3. พระภิกษุสงฆ์อุปสมบทให้
    4. พระอานนท์ทำการอุปสมบทให้
    5. การยอมรับสิกขาบท 311 ข้อ
  33. การที่พระนางปชาบดีได้อุปสมบทในพระพุทธศาสนานั้น แสดงถึงพระนางเป็นบุคคลเช่นไร
    1. มีเหตุผลรอบคอบ โดยไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่
    2. มีศรัทธาแน่วแน่ไม่สั่นคลอน
    3. เป็นผู้หนักในความเพียร
    4. มีขันติธรรมมาก
    5. ถูกทุกข้อ
  34. ข้อใดมิใช่คุณสมบัติของพระนางปชาบดี
    1. มีความพยายาม
    2. มีความตั้งใจแน่วแน่
    3. มีเหตุผล ไม่ใช่อารมณ์
    4. เป็นผู้มีระเบียบแบบแผน
    5. มีความสามารถในการแสดงธรรม
  35. กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมคธในสมัยพุทธกาลคือข้อใด
    1. พระเจ้าอัญชนะ
    2. พระเจ้าพิมพิสาร
    3. พระเจ้าสุทโธทนะ
    4. พระเจ้าจันฑปัชโชติ
    5. พระเจ้าปเสนทิโกศล
  36. การถวายทานประเภทใดที่พระเจ้าพิมพิสารทรงกระทำไว้ และสอบเนื่องมาถึงมาถึงปัจจุบัน
    1. สังฆทาน
    2. อสทิสทาน
    3. ปาฏิบุคคลิกทาน
    4. ปุพพเปตพลีทาน
    5. ปุพเพกตพลีทาน
  37. ข้อใดแสดงให้เห็นว่าพระเจ้าพิมพิสารทรงคำนึงถึงผู้อื่นก่อนตนเอง
    1. การถวายทานแด่ผู้ยากจน
    2. การยกราชสมบัติให้พระโอรส
    3. การถวายพระราชอุทยานให้เป็นสังฆาราม
    4. การปรนนิบัติรับใช้พระพุทธเจ้าด้วยพระองค์เอง
    5. การไม่ถือโทษพระเจ้าอชาตศัตรูที่กระทำต่อพระองค์
  38. วัดข้อใดที่มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าพิมพิสาร
    1. วัดเวฬวัน
    2. วัดเชตวัน
    3. วัดอัมพวัน
    4. วัดพุทธคยา
    5. วัดบุพพาราม
  39. ข้อใดเป็นคุณสมบัติของพระเจ้าพิมพิสารที่ควรยึดถือเป็นตัวอย่าง
    1. การทำบุญอุทิศแก่ผู้ตาย
    2. ความอ่อนน้อมถ่อมตน
    3. การคำนึงถึงผู้อื่น
    4. ความไม่พยาบาท
    5. ถูกทุกข้อ
  40. การทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ตายเป็นธรรมเนียมที่ริเริ่มโดยผู้ใด
    1. นางสุชาดา
    2. พระอานนท์
    3. พระสารีบุตร
    4. พระนางปชาบดี
    5. พระเจ้าพิมพิสาร

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ชมพูทวีปที่เกียวข้องกับพระพุทธประวัติคือดินแดนใด
    1. อินเดีย และภูฏาน
    2. อินเดียและเนปาล
    3. อินเดียและศรีลังกา
    4. อินเดียและปากีสถาน
    5. อินเดียและบังคลาเทศ
  2. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับสภาพการเมืองการปกครองของชมพูทวีปในสมัยก่อนพุทธกาลได้ถูกต้องที่สุด
    1. เป็นอาณาจักรที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
    2. แบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ มากกว่า 10 แคว้น
    3. แบ่งออกเป็นแคว้นต่างๆ และแย่งชิงอำนาจกัน
    4. มีแคว้นขนาดใหญ่และมีอำนาจมากเพียง 5 แคว้น
    5. แบ่งออกเป็นแคว้นมีเจ้าขุนนางปกครองแบบศักดินาสวามิภักดิ์
  3. การปกครองที่ชนชั้นผู้ปกครองตัดสินกรณียกิจของแว่นแคว้นด้วยการพิจารณาร่วมกันในที่ประเชุมคือการปกครองในระบอบใด
    1. เผด็จการ
    2. สังคมนิยม
    3. ราชาธิปไตย
    4. สามัคคีธรรม
    5. สมบูรญาณาสิทธิราช
  4. ในบรรดารูปแบบการปกครองในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าทรงยกย่องการปกครองแบบใด
    1. เผด็จการ
    2. สังคมนิยม
    3. ราชาธิปไตย
    4. สามัคคีธรรม
    5. สมบูรญาณาสิทธิราช
  5. แคว้นที่มีการปกครองระบอบสามัคคีธรรมที่มีอำนาจมากที่สุดคือแคว้นใด และในท้ายที่สดได้ตกอยู่ในอำนาจของแคว้นใดตามลำดับ
    1. แคว้นวัชชี-แคว้นมคธ
    2. แคว้นสักกะ-แคว้นวัชชี
    3. แคว้นมัลละ-แคว้นวังสะ
    4. แคว้นโกศล-แคว้นสักกะ
    5. แคว้นอวันตี-แคว้นมัลละ
  6. ข้อใดคือสภาพสังคมในชมพูทวีปในสมัยพุทธกาล
    1. มีการแบ่งชั้นวรรณะ
    2. เป็นสังคมของเจ้าขุนนาง
    3. มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
    4. มีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ
    5. ทุกคนมีความเท่าเทียมกันทางกฏหมาย
  7. ผู้ที่ทำหน้าที่สั่งสอนวิทยาการต่างๆ จัดอยุ๋ในวรรณะใด
    1. วรรณะศูทร
    2. วรรณะแพศย์
    3. วรรณะกษัตริย์
    4. วรรณะพราหมณ์
    5. อวรรณะ
  8. ภายหลังการตรัสรู้ พระพุทธเจ้าทรงแก้ไขปัญหาระบบวรรณะของอินเดียอย่างไร
    1. ประกาศยกเลิกระบบวรรณะ
    2. ไม่ยอมรับบิณฑบาตจากพวกวรรณะสูงๆ
    3. ชี้แจงพวกวรรณะศูทรว่าเป็นการชดใช้กรรมเก่า
    4. อนุญาตให้คนทุกวรรณะบวชในพระพุทธศาสนาได้
    5. เทศนาโปรดเจ้าผู้ปกครองแคว้นให้ยกเลิกระบบวรรณะ
  9. ในวงการค้าของกลุ่มชนต่างๆ ในสมัยพุทธกาล หากเกิดกรณีพิพาทกันขึ้นจะให้ผู้ใดเป็นผู้ตัดสินคดี
    1. เศรษฐี
    2. นักบวช
    3. กษัตริย์
    4. เจ้าผู้ปกครองแคว้น
    5. เจ้าผู้ปกครองแคว้นร่วมกับเศรษฐี
  10. เพราะเหตุใดชนพื้นเมืองจึงยอมรับนับถือภูเขาและต้นไม้ว่าเปรียบเสมือนพระเจ้า
    1. คิดว่ามีวิญญาณสิงอยู่
    2. เป็นผู้ให้กำเนิดสิ่งต่างๆ
    3. มีคุณประโยชน์ต่อมนุษย์
    4. ทำให้ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงได้
    5. มีความเกรงกลัวในปรากฏการณ์ธรรมชาติ
  11. ความเชื่อของพวกพราหมณ์ในเรื่องใดที่ตรงกับความเชื่อในพระพุทธศาสนา
    1. เชื่อว่าพระเจ้ามีจริง
    2. กงกรรม กงเกวียน
    3. ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
    4. การเวียนว่ายตายเกิด
    5. การบูชายัญเพื่อขอสิ่งทีตนปรารถนา
  12. การบวงสรวงโดยใช้ชีวิตสัตว์บูชายัญเพื่อขอพรในสิ่งที่ตนปรารถนาตรงกับความเชื่อในข้อใด
    1. ศาสดา
    2. พระเจ้า
    3. พระเวท
    4. สสารนิยม
    5. วิญญาณนิยม
  13. ครูคนใดใน 6 คน ตามความเชื่อลัทธิอิสระที่เชื่อในเรื่องผลบุญและบาปเหมือนพระพุทธศาสนา
    1. มักขลิโคสาล
    2. อชิตเกสกัมพล
    3. ปกุทธกัจจายนะ
    4. นิครนถนาฏบุตร
    5. สัญชัยเวลัฏฐบุตร
  14. ข้อใดกล่าวเกี่ยวกับความเื่อในด้านศาสนาของชมพูทวีปในสมัยพุทธกาลได้ถูกต้องที่สุด
    1. มีลัทธิความเชื่อไม่มากนัก
    2. ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา
    3. ผู้ปกครองมีสิทธิกำหนดลัทธิศาสนาของแคว้น
    4. ลัทธิอิสระเป็นความเชื่อที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
    5. ศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่ฝังลึกในความเชื่อของประชาชน
  15. การที่คนๆ หนึ่งยึดถือเอาความคิดของตนเป็นหลักแม้ว่าจะขัดกับเหตุผลก็ตาม จัดอยู่ในหลักอธิปไตยข้อใด
    1. ราชาธิปไตย
    2. โลกาธิปไตย
    3. อัตตาธิปไตย
    4. ประชาธิปไตย
    5. ธรรมาธิปไตย
  16. คนที่ยอมรับคำสรรเสริญหรือคำติฉินจากคนส่วนใหญ่ไม่ว่าสิ่งนั้นจะดีหรือชั่วก็ตาม จัดอยู่ในหลักอธิปไตยข้อใด
    1. ราชาธิปไตย
    2. โลกาธิปไตย
    3. อัตตาธิปไตย
    4. ประชาธิปไตย
    5. ธรรมาธิปไตย
  17. ยึดความจริงหรือความถูกต้องเป็นหลักแม้จะชัดกับหมู่มากก็ตาม ข้อความดังกล่าวตรงกับข้อใด
    1. ราชาธิปไตย
    2. โลกาธิปไตย
    3. อัตตาธิปไตย
    4. ประชาธิปไตย
    5. ธรรมาธิปไตย
  18. ข้อใดไม่ถูกต้อง
    1. พระพุทธเจ้าทรงพยายามให้ใช้ธรรมในการปกครอง
    2. พระพุทธเจ้าใช้ธรรมาธิปไตยเป็นหลักการปกครง
    3. พระพุทธเจ้าไม่ทรงเห็นความจำเป็นที่จะต้องสอนเกี่ยวกับระบอบการปกครอง
    4. พระพุทธเจ้าทรงเสนอให้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นแบบธรรมาธิปไตย
    5. พระพุทธเจ้าทรงสอนทศพิธราชธรรมแก่กษัตริย์ผู้ปกครองแบบสมบูรญาณาสิทธิราช
  19. หลักธรรมข้อใดที่ใช้สอนพวกพระราชาในแคว้นมคธและโกศล
    1. ฆราวาสธรรม
    2. หิริ โอตัปปะ
    3. สัปปุริสธรรม 7
    4. ทศพิธรราชธรรม
    5. อปริหานิยธรรม
  20. เพราะเหตุใดแต่ละประเทศจึงมีระบอบการปกครองที่แตกต่างกัน
    1. สภาพแวดล้อมทางสังคมแตกต่างกัน
    2. สภาพแวดล้อมทางการเมืองแตกต่างกัน
    3. สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจแตกต่างกัน
    4. สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติแตกต่างกัน
    5. สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์แตกต่างกัน
  21. การที่เปรียบเทียบแต่ละวรรณะว่าเกิดจากส่วนต่างๆของร่างกายพรหมนั้น แสดงให้เห็นถึงข้อใดเป็นสำคัญ
    1. ความไม่เท่าเทียมกันโดยกำเนิด
    2. ความสำคัญของคนในแต่ละวรรณะ
    3. หน้าที่ที่แตกต่างกันของแต่ละวรรณะ
    4. ความสามารถของคนในแต่ละวรรณะ
    5. ความก้าวหน้าทางสังคมของแต่ละวรรณะ
  22. ในทัศนะของพระพุทธศาสนาการเปลีย่นฐานะหรือชั้นของคนเป็นสิ่งที่ทำได้ทั้งนี้จะต้องขึ้นอยู่กับสิ่งใด
    1. โอกาส
    2. อภิสิทธิ์
    3. ผลกรรม
    4. การกระทำ
    5. ชาติกำเนิด
  23. ข้อใดหมายถึงสภาในความหมายทางพระพุทธศาสนา
    1. ที่ประชุมของคนดี
    2. ที่ประชุมของผู้อาวุโส
    3. ที่ประชุมของวรรณะพราหมณ์
    4. ที่ประชุมของพวกวรรณะกษัตริย์
    5. ที่ประชุมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร
  24. สมาชืกสภาในความหมายทางพระพุทธศาสนา จักต้องปฏิบัติตามหลักธรรมข้อใดเป็นสำคัญ
    1. หิริ โอตัปปะ
    2. พรหมวิหาร 4
    3. สัปปุริสธรรม 7
    4. ทศพิธราชธรรม
    5. อปริหานิยธรรม 7
  25. สภาในระบอบประชาธิปไตยที่พระพุทธศาสนายอมรับ คือข้อใด
    1. สมาชิกสภาที่มีการศึกษาสูง
    2. สมาชิกสภาประกอบด้วยสัตบุรุษ
    3. สมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งจากคนดี
    4. สมาชิกสภามีอายุอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
    5. สมาชิกสภาผ่านการบวชเรียนมาแล้วทุกคน
  26. ในการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทิราช พระุพทธเจ้าทรงให้ความสำคัญแก่บุคคลใดเป็นอันดับแรก
    1. ประชาชน
    2. มติของสภา
    3. สมาชิกสภา
    4. บริวารแวดล้อม
    5. พระมหากษัตริย์
  27. พลักธรรมข้อใดเป็นแนวปฏิบัติของการปกครองแบบสามัคคีธรรม
    1. สังคหวัตถุ 4
    2. ฆราวาสธรรม 4
    3. หิริ โอตัปปะ
    4. สัปปุริสธรรม 7
    5. อปริหานิยธรรม
  28. หลักธรรมสำคัญที่ผู้นำในระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชพึงยึดถือคือข้อใด
    1. หิริโอตัปปะ วาชเปยะ
    2. ทศพิธราชธรรม สังหวัตถุ 4
    3. สัปปุริสธรรม 7 ฆราวาสธรรม
    4. ทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร
    5. จักรวรรดิวัตร อปริหานิยธรรม
  29. การปกครองของกษัตริย์ตามระบอบสมบูรญาญาสิทธิราช พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญต่อข้อใด
    1. โอรสธิดา
    2. พระมเหสี
    3. พระมหาอุปราช
    4. เสนาบดีผู้ดู้แลพระคลัง
    5. แก้ว 7 ประการของพระราชา
  30. การให้ความรู้ในด้านต่างๆ รวมทั้งการจัดการสาธารณประโยชน์ให้แก่ราษฏร จัดอยู่ในหลักทศพิธราชธรรมข้อใด
    1. ตปํ
    2. ทานํ
    3. มทฺทวฺ
    4. อาชฺชวํ
    5. ปริจฺจาคํ
  31. ความมีอัธยาศัยอ่อนโยน ไม่อวดอำนาจควรแก่การเป็นที่รักของราษฏร จัดอยู่ในหลักทศพิธราชธรรมข้อใด
    1. ทานํ
    2. มทฺทวํ
    3. อวิหิงฺสา
    4. อาชฺชวํ
    5. ปริจฺจาคํ
  32. การที่บิดามารดาปล่อยให้บุตรเลือกเรียนตามความรู้ความสามารถของบุตรเองนั้น แสดงว่าใช้หลักการสงเคราะห์ของผู้ปกครองในข้อใด
    1. ปุริสเมธํ
    2. อสฺสเมธํ
    3. อวิโรธนํ
    4. สมฺมาปาสํ
    5. วาจาเปยฺยํ
  33. โครงการศิลปาชีพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถตรงกับราชสังคหะข้อใด
    1. ปุริสเมธํ
    2. อสฺสเมธํ
    3. อวิโรธนํ
    4. สมฺมาปาสํ
    5. วาจาเปยยํ
  34.  ข้อใดมิใช่หลักการสงเคราะห์ของผู้ปกครอง
    1. การรู้จักใช้คนดี
    2. การส่งเสริมอาชีพ
    3. การพากเพียรในการปฏิบัติหน้าที่
    4. การชีแจงความเข้าใจให้แก่ราษฏร
    5. การแก้ปัญหาความยากจนของราษฏร
  35. การแสดงพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันเป็นการปฏิบัติตามข้อใด
    1. ราชสังคหะ-อสฺสเมธํ
    2. ราชสังคหะ-วาจาเปยฺยํ
    3. ทศพิธราชธรรม – อาชฺชวํ
    4. ทศพิธราชธรรม – อวิหิงสา
    5. จักรวรรดิวัตร – เมตฺตตานํ
  36. พระวินัยธร ตรงกับข้อใด
    1. ครู
    2. ทนาย
    3. วิศวกร
    4. ตุลาการ
    5. สถาปนิก
  37. ในทัศนะของพระพุทธศาสนา ผู้ที่ทำหน้าที่รักษาความยุติธรรมจักต้องงดเว้นการปฏิบัติในข้อใด
    1. อคติ 4
    2. โทสาคติ
    3. อริยสัจ
    4. อิทธิบาท
    5. หิริ โอตัปปะ
  38. สุวิทย์ไม่ยอมติววิชาคณิตศาสตร์ให้วิทยา เพราะไม่พอใจที่วิทยาหน้าตาดีกว่า การกระทำดังกล่าวตรงกับข้อใด
    1. ภยาคติ
    2. โลภาคติ
    3. โมหาคติ
    4. โทสาคติ
    5. ฉันทาคติ
  39. ความลำเอียงเพราะความเขลาหรือขาดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง ตรงกับข้อใด
    1. ภยาคติ
    2. โลภาคติ
    3. โทสาคติ
    4. โมหาคติ
    5. ฉันทาคติ
  40. พระพุทธเจ้าทรงให้หลักในการปกครองระบอบประชาธิปไตยไว้อย่างไร
    1. การเน้นความเป็นสัตบุรุษของมนุษย์
    2. การให้ความเท่าเทียมกันของมนุษย์
    3. การแบ่งแยกอำนาจการปกครอง
    4. การให้โอกาสในการปกครอง
    5. ถูกทุกข้อ
  41. ข้อใดจัดว่าเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยการถือศีล
    1. การไม่เบียดเบียนผู้อื่น
    2. การสละทรัพย์สิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้
    3. ความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงผู้อื่น
    4. การไม่ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนอื่น
    5. มีความประพฤติดีงามทั้งกาย วาจาและใจ
  42. การบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จได้นั้นผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงข้อใดบ้าง
    1. ระยะเวลาที่มอบหมายงาน
    2. ความเหมาะสมของงาน
    3. อุปกรณ์ในการทำงาน
    4. บุคคลที่อยู่แวดล้อม
    5. ถูกทุกข้อ
  43. บุคคลในข้อใดที่สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขที่สุด
    1. รู้จักใช้คำพูดเพื่อเอาตัวรอด
    2. อดทนต่อความยากลำบากได้
    3. ดำรงชีวิตตามลำพังไม่ใส่ใจต่อผู้อื่น
    4. ยอมรับสภาพความจริงของตนเองได้
    5. ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
  44. การประกอบอาชีพในข้อใดที่ควรงดเง้นอคติ 4
    1. ครู
    2. แพทย์
    3. ผู้พิพากษา
    4. บิดามารดา
    5. ถูกทุกข้อ
  45. หลักการสำคัญในการปฏิบัติงานของผู้บังคับบัญชาคือข้อใด
    1. ตปํ
    2. ทานํ
    3. อคติ 4
    4. ปุริสเมธํ
    5. อสฺสเมธํ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ปัจจุบันทวีปเอเซียมีผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนามากเป็นอันดับที่เท่าไร
  2. กษัตริย์อินเดียพระองค์แรกที่ประกาศใหพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติคิอใคร
    1. พระเจ้ากนิษกะ
    2. พระเจ้าพิมพิสาร
    3. พระเจ้าสุทโธทนะ
    4. พระเจ้าอโศกมหาราช
  3. พระพุทธศาสนานิกายใดในประเทศเนปาลที่ใช้คาถาอาคมและพิธีกรรมแบบไสยศาสตร์
    1. นิกายตันตระ
    2. นิกายการมิกะ
    3. นิกายเถรวาท
    4. นิกายยาตริกะ
  4. การที่ประเทศเนปาลมีนิกายของพระพุทธศาสนาถึง ๔ นิกาย และยังแยกเป็นสาขาอีกจำนวนมาก แสดงถึงความติดในเรื่องใด
    1. ความเสื่อมของพระพุทธศาสนาในประเทศเนปาล
    2. การแยกแยกกันทางความคิดในการนับถือศาสนา
    3. ความเป็นอิสระในการสร้างสาขานิกายใหม่ๆ ตามความพึงพอใจ
    4. การผนวกความคิดทางปรัชญาอิทธิพลของพระพุทธศาสนา
  5. ข้อใดผิดเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในศรีลังกา
    1. พระพุทธศาสนาในเนปาลยุคแรกเป็นพระพุทธศาสนานิกายแบบเถรวาท
    2. พระสงฆ์สำนักสยามวงศ์หรืออุบาลีวงศ์ในลังกาเป้นพระสงฆ์ที่ไปจากอินเดีย
    3. ชาวสิงหลโดยทั่วไปนับถือพระพุทธศาสนา แต่ชาวทมิฬไม่นับถือพระพุทธศาสนา
    4. พระเจ้ากิติสิริราชสีห์ส่งราชฑูตมาขอพระสงฆ์จากประเทศไทยไปประดิษฐานสมณวงศ์ในลังกา
  6. คำว่าพุทธชยันตี สัมพันธ์กับข้อใด
    1. คาถาบทสวดของพระชาวธิเบต
    2. บทนำสวดพระธรรมของชาวเนปาล
    3. คณะพระธรรมฑูตทั้ง ๙ สายสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
    4. การจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ ๒๕ พุทธศตวรรษในประเทศอินเดีย
  7. พระพุทธศาสนาในประเทศจีนรุ่งเรืองที่สุดในสมัยใด
    1. ราชวงศ์ถัง
    2. ราชวงศ์ฮั่น
    3. ราชวงศ์จิ๋น
    4. ราชวงศ์ซ้อง
  8. กิจกรรมที่คณะสงฆ์ในประเทศเกาหลีใต้กระทำกันอย่างจริงจัง และได้ผลคือเรื่องใด
    1. สังคม
    2. การเมือง
    3. การศึกษา
    4. เศรษฐกิจ
  9. ศาสนาพุทธเผยแผ่เข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นโดยผ่านทางประเทศใด
    1. จีน
    2. ลังกา
    3. เนปาล
    4. เกาหลี
  10. พระพุทธศาสนานิกายใดของญี่ปุ่นที่พระสงฆ์มีความเป็นอยู่คล้ายฆราวาส
    1. นิกายเซน
    2. นิกายโจโต
    3. นิกายเทนได
    4. นิกายซินงอน
  11. นายโกโบริ สวดภาวนาว่า มะมึ เมียว โพเพง เงเกี่ยว หลังบรรลุโพธิญาณ แสดงว่านายโกโบรินับถือพระพุทธศาสนานิกายใด
    1. เซน
    2. เทนได
    3. นิซิเรน
    4. ซินงอน
  12. ข้อใดไม่สัมพันธ์กัน
    1. เซอร์เอ็ดวิน อาร์โนล์ด  ประทีปแห่งเอเซีย
    2. ทีดับเบิลยู ริส เดวิส  สมาคมบาลีปกรณ์
    3. สเปนเซอร์ อาร์คี  ศาสนจักรแห่งบูรพาทิศ
    4. พันเอก เอช.เอส ออลคอตต์ หนังสือพุทธวจนะ
  13. การจัดตั้งสมาคมบาลีปกรณ์ ในประเทศอังกฤษ เพื่อวัตถุประสงค์ใด
    1. เพื่อจัดพิมพ์พระไตรปิฏกเป็นภาษาอังกฤษ
    2. เพื่อส่งเสริมการศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนา
    3. เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา
    4. เพื่อเป็นสถานที่จัดแสดงปาฐกถาธรรมและสนทนาธรรม
  14. ท่านญาณดิลก มีความสำคัญอย่างไร
    1. เป็นภิกษุชาวไทยรูปแรกที่ไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเยอรมัน
    2. เป็นภิกษุชาวพม่าที่เดินทางไปแสดงปาฐกถาธรรมที่เยอรมัน
    3. เป็นผู้แปลหนังสือพระพุทธวจนะจากภาษาบาลีเป้นเยอรมัน
    4. เป็นภิกษุชาวเยอรมันทีี่จัดตั้งสมาคเพื่อการเผยแพร่พุทธศาสนาในเยอรมัน
  15. สถานที่ใดในเยอรมันที่ใช้ประกอบพิธีกรรมที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
    1. มหาวิทยาลัยเฮล
    2. พุทธสมาคมในมิวนิก
    3. ศาสนสภาแห่งกรุงเบอร์ลิน
    4. สถานฑูตไทยประจำประเทศเยอรมัน
  16. ข้อใดเป็นสื่อที่องค์การพุทธศาสนานานาชาติในประเทศสหรัฐอเมริกาใช้เผยแผ่พระพุทธศาสนา
    1. วารสารนวสูตร
    2. วารสารพุทธศาสตร์ปริทัศน์
    3. การบรรยายธรรมในแถบบันทึกเสียง
    4. หนังสือปุจฉาวิสัชนาทางพระพุทธศาสนา
  17. ข้อใดไม่ใช่กิจกรรมของวัดไทยในอเมริกา
    1. เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีไทย
    2. ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ
    3. สอนอาชีพให้คนไทยที่อยู่ในอเมริกา
    4. เป้นแหล่งพบปะสังสรรค์ระหว่างชาวพุทธในอเมริกา
  18. พระพุทธศาสนาเข้าไปเผยแพร่ในประเทศแคนาดาเป็นครั้งแรกโดยชนกลุ่มใด
    1. พระภิกษุชาวพม่าไปปาฐกถาธรรม
    2. กลุ่มคนชาวเอเซียที่ไปตั้งถิ่นฐานในแคนาดา
    3. ชาวแคนาดาที่สนใจในหลักธรรมของศาสนาพุทธ
    4. พระสฆ์ชาวแคนนาดาที่บวชจากประเทศลังกา
  19. ข้อใดคือจุดประสงค์หลักในการจัดตั้งสหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งออสเตรเลีย
    1. เพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาอย่างมีระบบ
    2. เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพุทธศาสนา
    3. เพื่อพบปะสังสรรค์กันระหว่างชาวพุทธ
    4. เพื่อวิเคราะห์พุทธศาสนาาตามแนววิทยาศาสตร์
  20. รัฐใดในประเทศออสเตรเลยมีจำนวนของวัดไทยตั้งอยู่มากที่สุด
    1. รัฐวิคตอเรีย
    2. รัฐควีนแลนด
    3. รัฐนิวเซาท์เวสส์
    4. รัฐออสเตรเลียใต้
  21. องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ตังอยู่ที่ประเทศใด
    1. ไทย
    2. อินเดีย
    3. อังกฤษ
    4. อเมริกา
  22. การศึกษาพุทธประวัติ ให้ความรู้ในเรื่องใด
    1. ประวัติของพระพุทธเจ้า
    2. ประวัติของพระสาวกในสมัยพุทธกาล
    3. ประวัติศาสตร์บางช่วงของประเทศอื่นเดีย
    4. ถูกทุกข้อ
  23. พระเวท ที่ว่าด้วยการบูชายัญเรียกว่าอะไร
    1. ฤคเวท
    2. ยชุรเวท
    3. สามเวท
    4. อถรรพเวท
  24. ข้อใดให้ความหมายผิด
    1. โชยติศาสตร์ คือวิชาดูดวงดาว
    2. มายาศาสตร์ คือวิชานิสัยสงคราม
    3. โยคศาสตร์ คือ วิชาปรุงยาสมุนไพร
    4. สัตวศาสตร์ คือวิชาดูลักษณะและเสียงของสัตว์
  25. วิธีการใดที่ใช้เป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุธรรมของลัทธิเซน
    1. การบำเพ็ญฌาณ
    2. การทรมานร่างกาย
    3. การเพ่งจิตที่พระพรหม
    4. การใช้ปัญหาขบคิดปัญหา
  26. ธรรมะในข้อใดที่สามารถดับทุกข์ได้
    1. ไตรลักษณ์
    2. ไตรรรัตน์
    3. อกุศลมูล
    4. อริยมรรคา
  27. การรู้ถึงกระบวนการเกิดและการดับทุกข์ เรียกว่ารู้ตามหลักอะไร
    1. อริยสัจ ๔
    2. อิทธิบาท ๔
    3. ไตรลักษณ์
    4. พรหมวิหาร ๔
  28. อานาปานสติ หมายถึงอะไร
    1. การเพ่งกสิณ
    2. การแผ่เมตตา
    3. การกำหนดลมหายใจ
    4. การใช้สติปัญญาไตร่ตรอง
  29. ผู้ที่เกิดมาแล้วจะต้อง แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น เป็นการคิดในลักษณะใด
    1. คิดตามข้อเท็จจริง
    2. คิดแบบวิทยาศาสตร์
    3. คิดหาเหตุผลในมุมกลับ
    4. คิดโดยการวิเคราะห์บุคคลและธรรม
  30. สมุทัยในอริยสัจ ๔ เปรียบได้กับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์ในขั้นใด
    1. กำหนดปัญหา
    2. ตั้งสมมติฐาน
    3. วิเคราะห์และสรุปผล
    4. ทดลองและเก็บข้อมูล
  31. ข้อใดเป็นความหมายของอนุปุพพิกถา
    1. วิธีคิดตามข้อเท็จจริงของโลก
    2. วิธีสอนหลักธรรมจากง่ายไปหายาก
    3. พระอรหันต์ที่ไม่สามารถสอนผู้อื่นได้
    4. การวิเคราะห์บุคคลที่เรียนธรรมออกเป็นประเภทต่างๆ
  32. ข้อใดเป็นทางนำไปสู่ความดับทุกข์
    1. ศีล ๕
    2. โพฌชงค์ ๗
    3. อายตนะภายใน ๖
    4. อริยมรรคมีองค์ ๘
  33. สถานที่ที่ดีงามตามบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณที่ว่า สุคโต คือที่ใด
    1. สวรรค์
    2. อนัตตา
    3. พระนิพพาน
    4. ความว่างเปล่า
  34. ตลอดเวลา ๔๕ ปี นับแต่ตรัสรุ็ พุทธจริยาของพระพุทธเจ้าส่วนใหญ่บำเพ็ญเพื่อจริยวัตรใด
    1. โลกัตถจริยา
    2. อัตตัตถจริยา
    3. ญาตัตถจริยา
    4. พุทธัตถจริยา
  35. ข้อใดเป็นความหมายของคำว่า พุทโธ
    1. พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ
    2. พระพุทธเจ้าทรงมีพระกรุณาคุณต่อมนุษยโลก
    3. พระพุทธเจ้าทรงทราบเวลาที่พระองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน
    4. พระพุทธเจ้าทรงฝึกคนดีให้ดีมากยิ่งขึ้นและฝึกคนที่ไม่ดีให้ดีขึ้นมาได้
  36. ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ คำว่า อรหันต์ หมายถึงอะไร
    1. บุคคลที่ไม่มีกิเลส
    2. ผู้เฒ่าที่มีคนเคารพ
    3. อาจารย์ที่มีศิษย์จำนวนมาก
    4. สัตว์ชนิดหนึ่งในป่าหิมพานต์
  37. ผู้ใดได้ชื่อว่าเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวาของพระพุทธเจ้า
    1. พระอานนท์
    2. พระสารีบุตร
    3. พระโมคคัลลานะ
    4. พระอัญญาโกณฑัญญะ
  38. พระพุทธเจ้าทรงใช้เวลาใดให้โอวาทแก่ภิกษุุสงฆ์
    1. เช้า
    2. บ่าย
    3. เย็น
    4. กลางคืน
    5. ข้อใดถูก้อง
  39. ปาฏิหารย์เป้นผลพลอยได้จากการฝึกจิต
    1. พระภิกษุทุกรูปสามารถแสดงปาฏิหารย์ได้
    2. จุดมุ่งหมายของการฝึกสมาธิคืออิทธิปาฏิหารย์
    3. อิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ทำให้คนเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา
  40. ข้อใดคือความหมายของอาเทสนาปาฏิหารย์ง
    1. หายตัวได้
    2. ทายใจผู้อื่นได้
    3. การสอนให้ผู้อื่นรู้แล้วเห็นจริงได้
    4. การบรรลุอรหันต์จากการฟังธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้า
  41. ใครเป็นผู้สืบต่อพระพุทธศาสนา
    1. ภิกษุสงฆ์
    2. พุทธบริษัท
    3. พระอรหันต์
    4. พระธรรมวินัย
  42. ข้อใดคือความหมายของพุทธบริษัท
    1. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    2. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสถ อุบาสิกา
    3. พระสงฆ์ พระธรรมวินัย พุทธศาสนิกชน
    4. พุทธสถาน พุทธปฏิมากรรม พุทธศาสนิกชน
  43. เหตุใดหลักธรรมคำสั่งสอนทางพุทธศาสนาจึงมีหลายระดับ
    1. เพื่อให้ศึกษาตามความสนใจ
    2. เพื่อให้ศึกษาจากง่ายไปหายาก
    3. เพื่อให้ศึกษาตามระดับสติปัญญา
    4. เพื่อให้ศึกษาอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
  44. ข้อใดเป็นลักษณะของมิตรแนะนำประโยชน์
    1. หทัยภัทร ให้เพื่อนยืมเงิน
    2. ดวงจันทร์ โต้เถียงแทนเพื่อน
    3. ปรเมศร์ ช่วนเพื่อนไปทำบุญ
    4. สุชาดา ปลอบโยนเมื่อเพื่อนมีความทุกข์
  45. บุคคลเช่นไรที่ควรคบเป็นเพื่อน
    1. คนที่ไม่เคยขัดใจเรา
    2. คนที่ยกย่องเอาใจเรา
    3. คนที่แนะนำแต่สิ่งที่ดีให้แก่เรา
    4. คนที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกับเรา
  46. มิตรประเภทใดที่มีลักษณะเหมือขอนญาติไว้วางใจซึ่งกันและกันเกื้อกูลกัน
    1. มิตรมีอุปการะ
    2. มิตรมีความรักใคร่
    3. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
    4. มิตรแนะนำประโยชน์
  47. ข้อใดเป็นลักษณะของคนหัวประจบ
    1. พึ่งพาไม่ได้
    2. พูดเรื่องไร้สาระ
    3. คิดเล็กคิดน้อย
    4. นินทาเพื่อนลับหลัง
  48. ข้อใดผิด
    1. การศึกษาเล่าเรียนจัดเป็นปฏิบัติธรรม
    2. ปฏิเวธคือผลของการปฏิบัติธรรม
    3. การปฏิบัติธรรมต้องให้ครบทั้ง กาย วาจา และใจ
    4. หลักของการปริยัติคือการศึกษาใหรุ้จริงจนสอนผู้อื่นได้
  49. เพื่อนที่ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อเพื่อน จัดเป็นมิตรประเภทใด
    1. มิตรมีอุปการะ
    2. มิตรมีความรักใคร่
    3. มิตรร่วมทุกข์ร่วมสุข
    4. มิตรแนะนำประโยชน์
  50. ข้อใดเป็นลักษณะของเพื่อนที่จะชักชวนไปในทางฉิบหาย
    1. มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก
    2. ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ
    3. มีเงินนับว่าน้อง มีทองนับว่าพี่
    4. เช้าฮา เย็นเฮ ค่ำเฮ ดึกสร้าง สว่างซ้ำ
  51. ข้อใดเป็นการแสดงความเคารพพระพุทธเจ้าโดยพระคุณ
    1. ตั้งใจสวดมนต์
    2. เวียนเทียนในวันสำคัญทางพุทธศาสนา
    3. บูชาพระพุทธรูปด้วยดอกไม้ ธุป เทียน
    4. กราบพระพุทธรูปด้วยเบญจางคประดิษฐ์
  52. ถ้าต้องการไปนมัสการสถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้าควรไปที่ใด
    1. วิหารลุมพินี ประเทศเนปาล
    2. วิหารพุทธคยาประเทศอินเดีย
    3. ธรรมเมกกะสถูป ประเทศอินเดีย
    4. วิหารที่เมืองกุสินารา ประเทศอินเดีย
    5. การฝึกสมาธิโดยการภาวนาคำว่า
  53. การฝึกสมาธิโดยภาวนาคำว่า พุทโธ เป็นการปฏิบัติตามหลักการใด
    1. มรณสติ
    2. พุทธานุสสติ
    3. สังฆานุสสติ
    4. อานาปานสติ
    5. ข้อใดผิด
  54. ข้อใดผิด
    1. พระธรรมเป็นสิ่งที่มีเหตุผลพิสูจน์ได้
    2. พระธรรมช่วยรักษาผู้ปฏิบัติธรรมให้ได้รับความสุข
    3. พระธรรมคือคัมภีร์ที่บันทึกคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
    4. พระธรรมเป็นสิ่งที่ควรเคารพ จึงต้องกราบไหว้พระไตรปิฏก
  55. ผู้ที่เขียนคำอธิบายพระไตรปิฏกเรียกว่าอะไร
    1. พระสาวก
    2. พระฏีกาจารย์
    3. พระอนุฏีกาจารย์
    4. พระอรรถกถาจารย์
  56. อรรถกถามีความหมายอย่างไร
    1. คัมภีร์ที่อธิบายฏีกา
    2. คัมภีร์จารึกพระพุทธพจน์
    3. คัมภีร์ที่อธิบายพระไตรปิฏก
    4. คัมภีร์ที่ขยายตามหลักธรรมบ่อยๆ
  57. ข้อใดเป็นการแสดงความเคารพวิธีการศึกษา
    1. ตั้งใจฟังอาจารย์
    2. ไม่ทุจริตในการสอบ
    3. ไม่เหยียบหรือเดินข้ามตำราเรียน
    4. แสดงความเคารพเมื่อครูเดินผา่น
  58. ข้อใดจัดเป็นธรรมปฏิสันถาร
    1. ให้คำแนะนำเพื่อนผู้หลงผิด
    2. ให้ที่พักแก่ผู้ประสบอัคคีภัย
    3. ให้การต้อนรับแขกด้วยน้ำเย็นๆ
    4. ให้บริจาคเงินช่วยผู้ประสบอุทกภัย
  59. ข้อใดไม่จัดอยุ่ในไตรสิกขา
    1. ศีล
    2. สมาธิ
    3. ขันติ
    4. ปัญญา
  60. ข้อใดคือแนวทางในการปฏิบัติตามหลักของความเคารพในปฏิสันถาร
    1. ไปมาลาไหว้
    2. เข้าตามตรอก ออกตามประตู
    3. ใครมาถึงเรือนชานต้องต้อนรับ
    4. อยู่บ้านท่านอย่านิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควาย
  61. ข้อใดเรียงลำดับความคิดประทุษร้ายตามความรุนแรงจากน้อยไปหามากถูกต้อง
    1. โกธะ พยาบาท ปฏิมา อุปนาหะ
    2. โกธะ ปฏิฆะ อุปนาหะ พยาบาท
    3. ปฏิฆะ โกธะ อุปนาหะ พยาบาท
    4. ปฏิฆะ อุปนาหะ โกธะ พยาบาท
  62. ข้อใดเป็นความโลภอยากอย่างลามก
    1. อิจฉา
    2. ปาปิจฉา
    3. มหิจฉตา
    4. อภิชฌาวิสมโลภะ
  63. ข้อใดไม่ใช่กิเลสสที่เกิดจากโมหะ
    1. มานะ
    2. มักขะ
    3. ปมาทะ
    4. ปาปิจฉา
  64. ข้อใดแสดงถึงความหมายของอโทสะที่ถูกตอง
    1. รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย
    2. ปัญญาประดุจดังอาวุธ
    3. นกน้อยทำรังแต่พอตัว
    4. จงพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่
  65. ข้อใดคือความหมายของโยนิโสมนสิการ
    1. รอบรู้ในทุกเรื่อง
    2. เชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ
    3. ศึกษามากรับฟังมาก
    4. ตรึกตรองให้รู้จักสิ่งดีสิ่งชั่ว
  66. ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อโลภะคือข้อใด
    1. ปัญญา
    2. เมตตา
    3. สันโดษ
    4. พาหุสัจจะ
  67. ความอดทนต่อความเจ็บใจเรียกว่าอะไร
    1. อวิหิงสา
    2. อนภิชฌา
    3. พาหุสัจจะ
    4. ตีติกขาขันติ
  68. ผู้ที่ปฏิบัติตามหลักกุศลมูลจะมีลักษณะอย่างใด
    1. จิตใจมีแต่อโลภะ อโทสะ อโมหะ
    2. มีกายสุจริต วจีสุจริตและมโนสุจริต
    3. สามารถอบรมจิตให้เป็นสมาธิ และเกิดปัญญา
    4. ถูกทุกข้อ
  69. ข้อใดไม่จัดอยู่ในอกุศลมูล
    1. โลภะ
    2. โมหะ
    3. โทสะ
    4. ราคะ
  70. ผู้มีโทสะมาก ควรจะเจริญธรรมในข้อใด
    1. เมตตา
    2. สันโดษ
    3. พาหุสัจจะ
    4. หิริ โอตัปปะ
  71. ผู้ที่จะทำคุณงามความดีได้จะต้องมีธรรมในข้อใดเป็นพื้นฐาน
    1. กุศลมูล
    2. อกุศลมูล
    3. อิทธิบาทธรรม
    4. พรหมวิหารธรรม
  72. ข้อใดคือความหมายของคำว่า จาตุปาริสุทธิศีล
    1. ศีลที่เป็นข้อห้ามไม่ให้ล่วงละเมิด
    2. พระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติ
    3. ศีลที่พระสงฆ์ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ 4 ประเภท
    4. ศีลที่พระสงฆ์ต้องศึกษาเพื่อนำไปถ่ายทอดแก่พุทธศาสนิกชน
  73. ข้อใดคือความหมายของคำว่า ปาฏิโมกขสังวรศีล
    1. การดำรงชีวิตด้วยปัจจัย 4
    2. การสำรวมในพุทธบัญญัติ
    3. การดำรงชีวิตตามวิธีที่พระพุทธเจ้ากำหนด
    4. ความไม่ยินดีในรูป รส กลิ่น เสียงและสัมผัส
  74. ข้อใดไม่จัดเป็นกิจวัตรของพระสงฆ์ที่ต้องปฏิบัติประจำ
    1. การลงอุโบสถ
    2. การทำวัตรเช้า-เย็น
    3. การทำความสะอาดลานวัด
    4. การศึกษาเล่าเรียนระดับมหาวิทยาลัยสงฆ์
  75. การแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยใช้ธรรมะเรียกว่าอะไร
    1. สีลสิกขา
    2. จิตตสิกขา
    3. ธรรมสิกขา
    4. ปัญญาสิกขา
  76. ข้อใดไม่ใช่หลักการศึกษาของพระสงฆ์
    1. สีลสิกขา
    2. สมาธิสิกขา
    3. ปัญญาสิกขา
    4. ไตรภูมิสิกขา
  77. ข้อใดไม่ใช่จุดประสงค์ของการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
    1. เยาวชนมีสถานที่ใช้พบปะกันในวันอาทิตย์
    2. พระสงฆ์มีโอกาสนำความรู้ด้านศาสนามาเผยแผ่
    3. เยาวชนมีโอกาสศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง
    4. พระสงฆ์มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมร่วมกับเยาวชน
  78. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
    1. ทำหน้าที่พระอุปัชฌาย์
    2. เผยแผ่และสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
    3. จัดตั้งศูนย์บำบัดผู้ติดยาเสพย์ติดภายในวัด
    4. สำรวมกาย วาจาและใจให้เป็นที่เสือ่มใสศรัทธา
  79. ข้อใดเป็นการทำหน้าที่ต่อสังคมโดยตรงของพระสงฆ์
    1. ทำวัตรสวดมนต์ทุกวัน
    2. ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
    3. ออกรับบิณฑบาตทุกเช้า
    4. จัดอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่เยาวชน
  80. พระสงฆ์ผู้ที่ทำหน้าที่ในการอุปสมบทแก่กุลบุตรผู้เสื่อมใสเรียกว่าอะไร
    1. คณะสงฆ์
    2. พระอุปัชฌาย์
    3. พระอนุสาวนาจารย์
    4. พระกรรมวาจาจารย์
  81. พระสงฆ์ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองในระดับวัดเรียกว่าอะไร
    1. สมภาร
    2. เจ้าคณะ
    3. เจ้าอาวาส
    4. เจ้าคณะตำบล
  82. ข้อใดเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของพระสงฆ์ในการส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามไว้
    1. นำประชาชนจัดงานสงกรานต์
    2. นำประชาชนทอดผ้าป่าเพื่อสร้างวัด
    3. นำประชาชนปกป้องป่าไม้ของประเทศชาติ
    4. นำประชาชนสร้างวัตถุมงคลเพื่อแจกแก่ทหาร
  83. การนิมนต์พระสงฆ์ควรเขียนเป็นฏีกาเพื่อเหตุใด
    1. เพื่อสืบทอดประเพณีนิยม
    2. เพื่อให้ชัดเจนและกันลืม
    3. เพื่อให้ทางวัดเก็ฐรวบรวม
    4. เพื่อให้พระสงฆ์ดูฤกษ์ยาม
  84. ข้อใดจัดเป็นเครื่องรับรองพระสงฆ์ตามประเพณีนิยม
    1. น้ำดื่ม บุหรี่ กระโถน
    2. น้ำร้อน น้ำเย็น บุหรี่
    3. น้ำร้อน น้ำเย็น กระโถน
    4. น้ำปานะ ดอกไม้ กระโถน
  85. การทำฏีกานิมนต์พระสงฆ์ต้องระบุอะไรบ้าง
    1. ชื่อวัด จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์ สถานที่วันเวลา
    2. ชนิดของงานพิธี สถานที่ วันเวลา ชื่อผู้นิมนต์
    3. จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์ สถานที่ วันเวลาชื่อผู้นิมนต์
    4. ชนิดของงานพิธี จำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์สถานที่ วันเวลา
  86. เครื่องบูชาบนโต๊ะหมู่บูชาอย่างน้อยต้องประกอบด้วยอะไร
    1. ดอกไม้ 1 ที่ เทียน 1 ที่ ธูป 1 ที่
    2. ดอกไม้ 2 ที่ เทียน 1 ที่ ธูป 1 ที่
    3. ดอกไม้ 2 ที่ เทียน 1 ที่ ธูป 1 ที่
    4. ดอกไม้ 2 ที่ เทียน 1 ที่ ธูป 1 ที่
  87. ห้ามใช้ภาชนะสำหรับใส่ทำน้ำมนต์ที่ทำด้วยวัตถุอะไร
    1. เงิน
    2. สำริด
    3. ทองแดง
    4. ทองเหลือง
  88. การวงด้ายสายสิณจน์ให้เริ่มต้นที่ใด
    1. หน้าบ้าน
    2. พระพุทธรูป
    3. หัวหน้าพระสงฆ์
    4. เริ่มที่ใดก็ได้ไม่เคร่งครัด
  89. สายสิญจน์ ที่ใช้ในงานมงคลทั่วไปนิยมใช้กี่เส้น
    1. 3
    2. 6
    3. 9
    4. 12
  90. ข้อใดคือเหตุการณ์ที่สัมพันธ์กับการประกอบศาสนพิธีพระสงฆ์กล่าวคาถา อะเสวะนา จะ พาลานัง
    1. ประเคนภัตตาหาร
    2. พิธีกรบูชาข้าวพระพุทธ
    3. เจ้าภาพถวายไทยธรรม
    4. เจ้าภาพจุดเทียนที่ภาชนะทำน้ำมนต์
  91. การกรวดน้ำเพื่ออุทิศส่วนกุศล จะเริ่มรินน้ำเมื่อใด
    1. เมื่อพระสงฆ์ให้พร
    2. เมื่อพระสงฆ์รูปแรกว่า ยถา…
    3. เมื่อพระสงฆ์ขัดบทชุมนุมเทวดา
    4. เมื่อพระสงฆ์ทั้งหมดเริ่มสวดพร้อมกัน
  92. ในงานมงคลทั่วๆ ไป  เมื่อพิธีอาราธนาศีล 5 และร่วมกันสมาทานศีล 5 แล้วขั้นตอนต่อไปต้องปฏิบัติอย่างไร
    1. อาราธนาธรรม
    2. อาราธนาเทศน์
    3. อาราธนาพระปริตร
    4. จัดบทชุมนุมเทวดา
  93. ในการประกอบพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ผู้ที่ควรจะเป็นผู้จุดเทียนที่โต๊ะหมู่บูชาคือใคร
    1. พิธีกร
    2. เจ้าภาพ
    3. ประธานสงฆ์
    4. ผู้ไปร่วมงาน
  94. ข้อใดเป็นคำกล่าว เริ่มต้น ของคำบูชาข้าวพระพุทธ
    1. พุทฺธํ สรณํ
    2. อิมานิ มยํ ภนฺเต
    3. มยํ ภนฺเต วิสุํ วิสุํ
    4. อิมํ สูปพยญฺชนสมฺปนฺนํ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ข้อใดผิด
    1. พระสงฆ์คือนักบวชในพระพุทธศาสนา
    2. พระธรรมวินัยบัญญัติให้พระสงฆ์ถือศีล ๒๒๗ ข้อ
    3. พระสงฆ์ต้องใช้เครื่องนุ่งห่มด้วยผ้าจีวรเหลือง
    4. พระสงฆ์ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า
  2. ข้อใดเป็นกิจของพระสงฆ์ตามพระธรรมวินัย
    1. สร้างวัตถุมงคล
    2. ศึกษาพระธรรมวินัย
    3. บอกบุญเรี่ยไรสร้างกุฏิ
    4. จัดผลประโยชน์ในศาสนสมบัติ
  3. ข้อใดเป็นหน้าที่ที่พระสงฆ์พึงปฏิบัติ
    1. การใบ้หวย
    2. การทำนายทายทัก
    3. การรดน้ำมนต์
    4. การทำวัตรสวดมนต์
  4. พระสงฆ์ผู้มีอำนาจจัดการบริหารความสงบเรียบร้อยภายในวัดเรียกว่าอะไร
    1. เจ้าอาวาส
    2. เจ้าคณะตำบล
    3. เจ้าคณะอำเภอ
    4. เจ้าคณะจังหวัด
  5. พระสงฆ์ลงอุโบสถเพื่อจุดประสงค์ใด
    1. สวดทบทวนพระปาติโมกข์
    2. สวดมนต์สรรเสริญพระพุทธคุณ
    3. สวดมนต์สรรเสริญพระสังฆคุณ
    4. สวดมนต์สรรเสริญพระธรรมคุณ
  6. จิตตสิกขามีประโยชน์สำหรับพระสงฆ์ในด้านใด
    1. ศึกษาจิตเพื่อให้รู้จิตใจผู้อื่น
    2. ศึกษาจิตเพื่อให้จิตหยั่งรู้อนาคต
    3. ศึกษาจิตเพื่อให้บังคับจิตใจผู้อื่นได้
    4. ศึกษาจิตเพื่อให้จิตสงบระงับจากกิเลส
  7. ข้อใดไม่ใช่หน้าที่ของพระสงฆ์ที่เป็นพระสุปฏิปันโน
    1. ปลุกเสกวัตถุมงคล
    2. ศึกษาพระธรรมวินัย
    3. อบรมธรรมะแก่พุทธบริษัท
    4. ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด
  8. ข้อใดจัดว่าเป็นงานอวมงคล
    1. งานแต่งงาน
    2. งานทำบุญอายุ
    3. งานทำบุญอิฐ
    4. งานโกนผมไฟ
  9. พิธีทำบุญเนื่องในงานมงคลนิยมนินต์พระสงฆ์อย่างไร
    1. นิมนต์จำนวนคู่แต่ไม่ต่ำกว่า ๔ รูป
    2. นิมนต์จำนวนคี่แต่ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป
    3. นิมนต์จำนวนคี่แต่ไม่ต่ำกว่า ๖ รูป
    4. นิมนต์จำนวนคู่แต่ไม่ต่ำกว่า ๗ รูป
  10. ข้อใดคืิอการตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่ถูกต้อง
    1. ตังที่ไหนก็ได้ตามสะดวก
    2. ตั้งทางซ้ายมือของพระสงฆ์
    3. ตั้งทางขวามือของพระสงฆ์
    4. ตั้งข้างหน้าตรงข้ามกับพระสงฆ์
  11. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของโต๊ะหมู่บูชาคืออะไร
    1. เชิงเทียน
    2. กระถางธูป
    3. พระพุทธรุป
    4. แจกันดอกไม้
  12. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับการจัดอาสนะของพระสงฆ์
    1. จัดด้านหลังโต๊ะหมู่บูชา
    2. จัดด้านหน้าโต๊ะหมู่บูชา
    3. จัดด้านซ้ายมือของพระพุทธรูป
    4. จัดด้านขวามือของพระพุทธรูป
  13. การถวายบุหรี่แก่พระสงฆ์สมควรหรือไม่อย่างไร
    1. ไม่สมควรเพราะมีพุทธบัญญัติห้ามไว้
    2. ไม่สมควรเพราะเป็นสิ่งที่มีโทษไม่มีประโยชน์
    3. สมควรเพราะพระสงฆ์บางรูปยังสูบบุหรี่กันอยู่
    4. สมควรเพราะเป็นประเพณีที่เคยถวายกันมานาน
  14. ข้อใเป็นความเชื่อในเรื่องการโยงด้ายสายสิญจน์
    1. ให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ
    2. กำหนดอาณาเขตของศาสนพิธี
    3. รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี
    4. เกิดความเป็นสิริมงคลและป้องกันอันตราย
  15. เมื่อพระสงฆ์มาถึงสถานที่จัดพิธี เจ้าภาพต้องปฏิบัติตามข้อใดก่อน
    1. ถวายน้ำ
    2. ถวายภัตตาหาร
    3. ถวายข้าวพระพุทธ
    4. ถวายเครื่องไทยธรรม
  16. เมื่อเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยแขกในงานพิธีควรปฏิบัติอย่างไร
    1. นั่งคุยกันตามสบาย
    2. นั่งดูด้วยอาการสงบ
    3. จัดเตรียมภัตตาหารถวายพระสงฆ์
    4. พนมมือไหว้พระรัตนตรัยด้วยอาการสงบ
  17. ข้อใด ไม่ควร ปฏิบัติในขณะกรวดน้ำ
    1. รินน้ำโดยไม่ขาดสาย
    2. เอามือรองน้ำในขณะที่รินน้ำ
    3. นำน้ำที่กรวดแล้วไปค่อยๆ รดที่โคนไม้ใหญ่
    4. เอามือขวาจับภาชนะรินน้ำ มือซ้ายประคองภาชนะใส่น้ำ

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. ข้อใดคือประเภทของมิตรที่คอยใหความช่วยเหลือ แนะนำให้ความรู้แก่เพื่อนๆ
    1. มิตรมีอุปการะ
    2. มิตรมีความรักใคร่
    3. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
    4. มิตรแนะนำประโยชน์
  2. ข้อใดเป็นลักษณะของมิตรที่ไม่ควรคบหา
    1. มิตรที่ห้ามไม่ให้เราทำชั่ว
    2. มิตรที่คอยป้องกันเมือ่เราประมาท
    3. มิตรที่ช่วยเหลือเมื่อเราเดือดร้อน
    4. มิตรที่เอาใจทุกอย่าง โดยไม่เคยขัดใจเลย
  3. เพื่อนที่คล้อยตามเรา ไม่ว่าจะทำดีหรือชั่ว ไม่เคยห้ามปรามจัดเป็นมิตรประเภทใด
    1. คนดีแต่พูด
    2. คนปอกลอก
    3. คนหัวประจบ
    4. คนชักชวนในทางฉิบหาย
  4. ข้อใดไม่จัดอยู่ในคารวะ 6
    1. เคารพในการศึกษา
    2. เคารพในพระรัตนตรัย
    3. เคารพในการปฏิสันถาร
    4. เคารพในองค์พระมหากษัตริย์
  5. อามิสปฏิสันถาร หมายถึงข้อใด
    1. การต้อนรับด้วยการไหว้
    2. การต้อนรับด้วยวัตถุสิ่งของ
    3. การต้อนรับการเชิญให้นั่ง
    4. การต้อนรับด้วยการพูดจาทักทายฉันมิตร
  6. ข้อใดจัดเป็นอกุศลมูล 3
    1. โลภะ โทสะ โมหะ
    2. อิจฉา โกธะ อโมหะ
    3. มานะ อโทสะ อโลภะ
    4. อโลภะ อโทสะ อโมหะ
  7. กุศลธรรมข้อใดที่สนับสนุน ไม่ใ้หมีการเบียดเบียนชีวิตสัตว์
    1. ทาน การให้
    2. ศรัทธา ความเสื่อมใส
    3. สันโดษ ความพึงพอใจในสิงที่ตนเองมี
    4. เมตตา กรุณา ความสงสารช่วยเหลือ
  8. ข้อใด ไม่ใช่ องค์ะรรมของการให้ทานที่มีอานิสงส์มาก
    1. บุคคลบริสุทธิ์
    2. เจตนาบริสุทธิ์
    3. พิธีกรรมบริสุทธิ์
    4. วัตถุทานบริสุทธิ์
  9. เมื่อเธอสุขฉันก็สุขด้วย เมื่อเธอทุกข์ฉันก็ทุกข์ด้วย ข้อความดังกล่าวจัดเป็นลักษณะของมิตรประเภทใด
    1. มิตรมีอุปการะ
    2. มิตรมีความรักใคร่
    3. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
    4. มิตรแนะนำประโยชน์
  10. ข้อใดจัดอยู่เป็นพฤตกรรมของมิตรเทียมประเภท คนดีแต่พูด
    1. แดงมักทำตามที่ดำบอกเสมอเพื่อเป็นการเอาใจ
    2. ดำแนะให้แดงไปยืมเงินเขียวเพื่อพาดำไปเที่ยวต่างจังหวัด
    3. แดงไม่เคยออกค่าอาหารเมื่อไปรับประทานร่วมกับเพื่อนๆ
    4. ขาวชอบนำผลสำเร็จในอดีตของตนเองมาเล่าให้เพื่อนๆ ฟัง
  11. วิเชียรคบกับสมพร เพราะเห็นว่าสมพรมีฐานะดี พฤติกรรมของวิเชียรดังกล่าวจัดเป็นพฤติกรรมของมิตรเทียมประเภทใด
    1. คนดีแต่พูด
    2. คนปอกลอก
    3. คนหัวประจบ
    4. คนชักชวนในทางฉิบหาย
  12. พฤติกรรมของบุคคลในข้อใดที่แสดงถึงความเคารพในความไม่ประมาท
    1. ทุกครั้งที่พบต้นโพธิ์ในวัดหน่อยจะยกมือไหว้
    2. ทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เป้าจะสวดคาถาชินบัญชร
    3. น้องและครอบครัวไปพักผ่อนโดยการทัศนศึกษาที่สังเวชนียสถาน 4 ตำบาล
    4. อ้อนจะนั่งสมาธิก่อนนอนและก่อน
  13. คนในชุมชนต่างรู้ว่าคำมีพฤติกรรมลักเล็กขโมยน้อยในชุมชน ข้อความดังกล่าวแสดงว่าดำมีมูลเหตุของอกุศลมูลในเรื่องใด
    1. โลภะ
    2. อโลภะ
    3. โมหะ
    4. อโมหะ
  14. ชาวหมู่บ้านท่าวังหินเป้นคนที่มีจิตใจเอื้ออารี ให้อภัยซึ่งกันและกัน ข้อความดังกล่าวแสดงว่าคนในหมู่บ้านท่าวังหินนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ปฏิบัติ
    1. โลภะ
    2. อโลภ
    3. โทสะ
    4. อโทสะ
  15. ในการคบมิตร เราควรเลือกคบมิตรประเภทใดมากที่สุด
    1. มิตรที่พูดดีกับเรา
    2. มิตรที่ทำดีกับเรา
    3. มิตรที่คิดดีกับเรา
    4. มิตรที่เอาใจเราทุกอย่าง
  16. พระภิกษุในข้อใดที่ควรได้รับการเคารพนับถือมากที่สุด
    1. พระหมอดู
    2. พระเทศนา
    3. พระสะเดาะเคราะห์
    4. พระปลุกเสกพระเครื่อง
  17. ถ้าต้องการไปนมัสการสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าควรเดินทางไปที่ใด
    1. วิหารลุมพินีวันที่ประเทศเนปาล
    2. วิหารพุทธคยาที่ประเทศอินเดีย
    3. วิหารที่กุสินาราในประเทศอินเดีย
    4. ธรรมเมกะสถูปที่สารนาถในประเทศอินเดีย
  18. นักเรียนจะปฏิบัติตนตามข้อใดจึงจะได้ชื่อว่ามีความเคารพในการศึกษา
    1. เจริญพุทธานุสติเป้นประจำทุกวัน
    2. ฟังเทศนาของพระสงฆ์ด้วยความตั้งใจ
    3. อ่านและศึกษาพระไตรปิฏกให้จบเมื่อมีโอกาส
    4. เข้าร่่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาทุกครั้งเมื่อมีโอกาส
  19. หากเพื่อนของนักเรียนมาปรึกษาว่าชอบขโมยสิ่งของคนอื่นแล้วมีความสุข นักเรียนจะปฏิบัติต่อเพื่อนอย่างไร
    1. บอกให้คนอื่นรู้พฤติกรรมของเพื่อน
    2. ชี้ให้เพื่อนเห็นถึงโทษที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ
    3. เลิกคบหาสมาคมด้วย เพราะจำนำภัยมาสู่เราด้วย
    4. แจ้งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจคอยติดตามพฤติกรรมของเพื่อน
  20. นักเรียนรู้สึกว่าตนเองเป็นคนโมโหง่าย หากต้องการแก้ไขพฤติกรรมดังกล่าว นักเรียนจะนำหลักธรรมเรื่องใดมาใช้ปฏิบัติ
    1. มิตรแท้ ๔
    2. มิตรเทียม ๔
    3. กุศลมูล ๓
    4. อกุศลมูล ๓

Rate this:

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

Like Loading...

  1. มูลเหตุสำคัญข้อใดที่ทำให้เจ้าชายสิทธัตถเสด็จออกบรรพชา
    1. ทรงต้องการให้พ้นจากโลก
    2. ทรงเบื่อหน่ายชีวิตในราชสำนัก
    3. ทรงเบื่อหน่ายที่จะอยู่เป็นฆราวาส
    4. ทรงพิจารณาเมื่อเห็นเทวฑูต 4
  2. เมื่อเสด็จออกบรรพชาเจ้าชายสิทธัตถะ ได้ศึกษาวิธีบำเพ็ญเพียรทงจิตจากสำนักอาจารย์ใด
    1. นิครนถนาฏบุตร
    2. สัญชัยเวลลัฏบุตร
    3. อาฬารดาบสและอุททกดาบส
    4. อุรุเวลกัสสปะและคยากัสสปะ
  3. ข้อใด ผิด
    1. เจ้าชายสิทธัตถะทรงศึกษาศิลปศาสตร์ครบ 18 ประการ
    2. เจ้าชายสิทธัตถะศึกษาศิลปวิชาการจากสำนักอาจารย์วิศวามิตร
    3. เจ้าชายสิทธัตถะเป็นวรรณกษัตริย์จึงไม่ได้ศึกษาคัมภีร์พระเวท
    4. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธราพิมพาเมื่อพระชนมายุ 16 พรรษา
  4. ข้อใดไม่ จัดอยู่ในวิธีการบำเพ็ญทุกรกิริยาของพระพุทธเจ้า
    1. เดินลุยไฟ
    2. อดพระกระยาหาร
    3. กลั้นลมหายใจเข้า ออก
    4. กดพระทนต์กับพระทนต์แล้วเอาลิ้นกดที่เพดานปาก
  5. ข้อใดไม่ จัดอยู่ในกระบวนการแสวงหาหนทางตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    1. ใช้วิธีพิสูจน์สอบสวนด้วยพระองค์เอง
    2. ใช้วิธีทดลองให้ประจักษ์ด้วยพระองค์เอง
    3. ใช้ปัญญาพิจารณาไตร่ตรองหาเหตุและผล
    4. สรุปความรู้ของอาจารย์สำนักต่างๆ มาเป็นทฤษฏี
  6. กระบวนการแสวงหาหนทางตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าสัมพันธ์กับพระบวนการของวิชาใดมากที่สุด
    1. ศิลปศาสตร์
    2. คณิตศาสตร์
    3. วิทยาศาสตร์
    4. สังคมศาสตร์
  7. ตามวิธีคิดของพระพุทธเจ้า อะไรเป็นสิ่งทีทำให้วิถีชีวิตของคนต่างกัน
    1. เชื้อชาติ
    2. ชาติตระกูล
    3. การกระทำ
    4. รูปร่างหน้าตา
  8. วิธีคิดแบบใดของพระพุทธเจ้าที่สอดคล้องกับวิธีคิดแบบวิทยาศาสตร์
    1. อริยสัจ 4
    2. อิทธิบาท 4
    3. สังคหวัตถุ 4
    4. พรหมวิหาร 4
  9. บุคคลใดมีวิธีคิดตามหลักพระพุทธศาสนา
    1. สุชาดา คิดว่าการสอบตกเป็นเรื่องกรรมเก่า
    2. ดวงจันทร์ คิดว่าสอบได้คะแนนดีเป็นเรื่องของโชคช่วย
    3. ประเมศร์ คิดหาอุบายลอกข้อสอบเพื่อนเพื่อให้สอบได้
    4. สุชาดา นำข้อสอบที่สอบแล้วได้คะแนนไม่ดีมาศึกษาหาเหตุว่าทำไมจึงสอบได้คะแนนต่ำ
  10. พื้นที่ป่าไม่ในชุมชนลดลงส่งผลให้เกิดการขาดความสมดุลทางธรรมชาติในชุมชน การก้ไขปัญหาคนในชุมชนได้ร่วมใจกันปลูกป่าไม้ชุมชนเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความสมดุล

    การศึกษาอบรมของพระสงฆ์ให้ครบสมบูรณ์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

    ๑.๑ การศึกษาอบรม.
    ด้านศีล การศึกษาอบรมด้านศีล คือ การควบคุมกายและวาจาให้เป็นระเบียบ เรียบร้อยหรือปกติ ศีลของพระภิกษุสงฆ์ มี ๒ ประเภท คือ ... .
    ด้านสมาธิ คือ การฝึกพัฒนาจิตให้มีคุณภาพ จิตที่ผ่านการฝึกฝนอบรมแล้วจะ ... .
    ด้านปัญญา พระสงฆ์จะต้องศึกษาอบรมให้เป็นผู้มีปัญญา เพื่อให้เป็นที่.

    การปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์ข้อใดเหมาะสมที่สุด *

    ๑. ถ้านั่งเก้าอี้อยู่หากพระสงฆ์เดินมานิยมลุกขึ้นยืนรับ เมื่อท่านเดินผ่านมาตรงหน้า นิยมน้อมตัวลงยกมือไหว้ เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วจึงนั่งลงตามเดิม ๒. ถ้าคฤหัสถ์ (อุบาสก-อุบาสิกา) นั่งกับพื้น ไม่นิยมลุกขึ้นยืนรับเมื่อท่านเดินผ่านมาเฉพาะหน้า นิยมยกมือไหว้หรือกราบตามความเหมาะสมแก่สถานที่นั้น

    การอบรมด้านศีลของพระภิกษุเป็นไปเพื่ออะไร

    ประโยชน์ของศีลในขั้นพื้นฐานคือทำให้กาย วาจา ใจ สงบไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ทำให้สามารถที่จะทำให้จิตสงบได้ง่ายในการทำสมาธิ ในระดับของบรรพชิต ศีลจะมีจำนวนมาก เพื่อกำกับให้พระภิกษุสงฆ์สามเณรสามารถครองตนในสมณภาวะได้อย่างสมบูรณ์ และเอื้อต่อการประพฤติพรหมจรรย์ในขั้นสูงต่อไปได้

    แนวทางการธำรงรักษาพระธรรมที่ดีที่สุดคือข้อใด

    ในการปกป้อง คุ้มครอง และธํารงรักษาพระพุทธศาสนานั้น พุทธบริษัทในสังคมไทยสามารถทำได้ดังนี้ - ประพฤติตนตามหลักศีล 5 อย่างเคร่งครัด คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราและเสพของมึนเมาทุกชนิด - นำหลักธรรมมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิต คือ ดำเนินชีวิตตามทางสายกลาง หรืออริยมรรคมีองค์แปด