หลักศิลาจารึกที่ ๑ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ พ่อขุนรามคำแหง มรดกแห่งความทรงจำของโลก

.

เมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๔๖ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศขึ้นทะเบียนศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นมรดกแห่งความทรงจำของโลก (The Memory of the World Register) เนื่องในโอกาสนี้เราจะนำทุกท่านมาทำความรู้จักกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ 

.

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ หรือจารึกพ่อขุนรามคำแหง ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ.๒๓๗๖ หรือตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓  โดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ เมื่อครั้งยังทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ได้เสด็จจาริกธุดงค์ไปทางหัวเมืองแถบเหนือของประเทศไทย เมื่อถึงเมืองเก่าสุโขทัย ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ที่บริเวณเนินปราสาทเมืองเก่าสุโขทัย ทอดพระเนตรเห็นเป็น “โบราณวัตถุที่สำคัญ” จึงโปรดให้นำลงมาที่กรุงเทพมหานคร พร้อมกับศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง ภาษาเขมร (สท.๓) หลักที่ ๔ และพระแท่น มนังคศิลาบาตร ปัจจุบันศิลาจารึกหลักที่ ๑ ถูกเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร 

.

เนื้อความของศิลาจารึกหลักที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวชได้ทรงอ่านศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระองค์แรก ซึ่งถือว่าเป็นการอ่านจารึกภาษาไทยโบราณ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมามีนักปราชญ์ราชบัณฑิตอีกหลายท่านได้ทำการอ่านและแปลความ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง สามารถสรุปเนื้อหาได้ ๓ ตอนดังนี้ ตอนที่ ๑ กล่าวถึงเรื่องราวส่วนพระองค์ของพ่อขุนรามคำแหงตั้งแต่ประสูติจนได้เสวยราชสมบัติ สันนิษฐานว่าตอนที่ ๑ นั้นจารึกขึ้นโดยพระราชดำรัสของพ่อขุนรามคำแหงเอง สังเกตได้จากการใช้ว่า “กู” ในการเล่าเรื่องราว ตอนที่ ๒ เล่าเรื่องราวเหตุการณ์ต่าง ๆ และธรรมเนียมในเมืองสุโขทัย การสร้างพระแท่นมนังคศิลาเมื่อ มหาศักราช ๑๒๑๔ (พ.ศ.๑๘๓๕) การสร้างพระธาตุเมืองศรีสัชนาลัย เมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๗ (พ.ศ.๑๘๒๘) และการประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นเมื่อ มหาศักราช ๑๒๐๕ (พ.ศ.๑๘๒๖) ตอนที่ ๓ สันนิษฐานว่าจารึกขึ้นภายหลังหลายปี เพราะตัวหนังสือไม่เหมือนกับตอนที่ ๑ และที่ ๒ คือตัวพยัญชนะลีบกว่าทั้งสระที่ใช้ก็ต่างกันบ้าง เนื้อหาของตอนที่ ๓ นี้ เป็นคำสรรเสริญ และยอพระเกียรติคุณของพ่อขุนรามคำแหง และกล่าวถึงอาณาเขตเมืองสุโขทัย 

.

(จำนวนผู้เข้าชม 3886 ครั้ง)

          ���Ҩ��֡�����������ͤ��������§ 124 ��÷Ѵ ���è�����ͧ��Ƿ���ش����¤س��ҷҧ�Ԫҡ�������Ң� ���㹴�ҹ�Ե���ʵ�� �Ѱ��ʵ�� ���ɰ�Ԩ�ѧ�� ����ѵ���ʵ�� ������ʵ�� ������ʵ�� ��ó��� ��ʹ� ��Ш��յ���ླ� ��ҹ�Ե���ʵ�� ���Ҩ��֡��ѡ����Ҩ������ �繡������Ѱ�����٭��º��Ѻ�Ѱ�����٭��Ѻ�á�ͧ�ѧ��� �ա�á�˹��Է�������Ҿ�ͧ��ЪҪ� ����ѡ���Է������ª� �����ҡ��ͤ���������Ƕ֧ �ա�ä�����ͧ����֡ �͡�ҡ��� �ѧ�բ�ͤ�������͹�繺��ѭ�ѵ�㹡������ú����к��ѭ�ѵ�㹡��������ѡɳФ�ͺ��������ô� ��ʹ����þԨ�óҤ����������ҭ�

          ����Ƕ֧����Ҫ�ó�¡Ԩ ��Т����������㹡�ا��⢷�� ����ͧ�ͧ������ҧ�������ѧ���Һҵ����������ѡ�Ҫ 1214 ����ͧ������ҧ�����Ҹҵ����ͧ����Ѫ��������������ѡ�Ҫ 1207 �������ͧ��û�д�ɰ��ѡ���¢�����������ѡ�Ҫ 1205 �͹������������ "��" ��� �����Ҿ�͢ع������˧ 

หลักศิลาจารึกที่ ๑ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์ แม่กูชื่อนางเสือง พี่กูชื่อบานเมือง...ขึ้นต้นมาแบบนี้ เพื่อน ๆ คงรู้แล้วใช่ไหมว่าสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงคือ ศิลาจารึก หลักที่ ๑ นั่นเอง โดยบันทึกเรื่องราวพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง และยังรวมไปถึงเรื่องราวในด้านอื่น ๆ อีกหลายด้าน เช่น สภาพสังคม การเมือง การปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ของผู้คนในสมัยสุโขทัย เป็นต้น ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาติดตามกันต่อเลย

นอกจากในบทความนี้ เพื่อน ๆ ยังสามารถเรียนรู้กันได้แบบจุใจในรูปแบบแอนิเมชันได้ที่แอปพลิเคชัน StartDee เลย

หลักศิลาจารึกที่ ๑ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

ประวัติความเป็นมาของศิลาจารึก หลักที่ ๑

รัชกาลที่ ๔ ทรงค้นพบศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่ปราสาทเมืองสุโขทัย ซึ่งนักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ได้จารึกขึ้นเมื่อประมาณปีพ.ศ. ๑๘๒๖ เป็นต้นมา จนกระทั่งหลัง พ.ศ. ๑๘๓๕ จึงจารึกครบทั้ง ๔ ด้าน ทั้งนี้ ในหนังสือจารึกสมัยสุโขทัย ได้กำหนดเป็น “ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. ๑๘๓๕ ” ตามปีศักราชที่ระบุไว้ในจารึก ลักษณะของจารึกพ่อขุนรามคำแหง เป็นแท่งศิลารูปสี่เหลี่ยมยอดแหลมปลายมนสูง ๑ เมตร ๑๑ เซนติเมตร มีถ้อยคำจารึก ๔ ด้าน 

ด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ มีจารึกด้านละ ๓๕ บรรทัด ด้านที่ ๓ และด้านที่ ๔ มีจารึกด้านละ ๒๗ บรรทัด รวมทั้งสิ้น ๑๒๔ บรรทัด ผู้แต่งศิลาจารึกหลักที่ ๑ สันนิษฐานว่า อาจมีมากกว่า ๑ คน สำหรับตอนที่ ๑ เชื่อว่าผู้แต่ง คือ พ่อขุนรามคำแหง เพราะใช้สรรพนามแทนตนว่า “กู” อยู่ในเนื้อความ ส่วนตอนที่ ๒ และ ตอนที่ ๓ สันนิษฐานว่า ผู้อื่นแต่งเพิ่มเติมภายหลัง

ลักษณะคำประพันธ์ในศิลาจารึก หลักที่ ๑

แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนใหญ่เป็นประโยคความเดียวที่สื่อความหมายตรงตัว เข้าใจง่าย อีกทั้งบางตอนมีเสียงสัมผัสคล้องจอง เช่น ในนํ้ามีปลา ในนามีข้าว ทำให้เกิดความไพเราะ

จุดประสงค์ในการแต่งศิลาจารึก หลักที่ ๑

เพื่อบันทึกเรื่องราวสำคัญในสมัยกรุงสุโขทัย ลักษณะการปกครอง วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของราษฎร ตลอดจนบรรยายถึงความเจริญรุ่งเรือง และความสมบูรณ์พูนสุขของกรุงสุโขทัย เนื้อความในศิลาจารึก ทำให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบพระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหงแต่เพียงคร่าวๆ ไม่ได้บ่งบอกถึงรายละเอียดชัดเจนนักว่า ทรงพระราชสมภพแต่เมื่อปีพุทธศักราชใดแน่ชัด บอกแต่เพียงว่าพระองค์ทรงมีพี่น้อง ๕ คน โดยพ่อขุนรามคำแหงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระองค์มีพระเชษฐา ๒ พระองค์ และพระขนิษฐา ๒ พระองค์ พระเชษฐาพระองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาพระองค์ที่สองทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า "พระยาบานเมือง" ซึ่งได้เสวยราชสมบัติต่อ จากพระราชบิดา และเมื่อพ่อขุนบานเมืองได้เสด็จสวรรคตแล้ว พ่อขุนรามคำแหงจึงเสวยราชสมบัติต่อมา

หากเพื่อน ๆ อยากรู้เรื่องราวความเป็นมาของพ่อขุนรามคำแหง และพระมหากษัตริย์พระองค์อื่น ๆ แห่งอาณาจักรสุโขทัย สามารถอ่านได้ที่บทเรียนออนไลน์เรื่องการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย แม้จะเป็นของน้อง ๆ ป.4 แต่ข้อมูลจัดเต็มน้า

ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ แบ่งออกได้ ๓ ตอน

นักวิชาการหลายท่านได้แบ่งเรื่องราวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่

ตอนที่ ๑ ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑ ถึงบรรทัดที่ ๑๘ กล่าวถึงพ่อขุนรามคำแหงที่เล่าพระราชประวัติของพระองค์เองว่าเป็นใคร อีกทั้งเล่าถึงการสู้รบกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์พระราชบิดา เมื่อพระราชบิดาเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงทรงปรนนิบัติรับใช้พระเชษฐาคือพ่อขุนบานเมือง เฉกเช่นเดียวกับที่เคยปรนนิบัติรับใช้พระราชบิดา จนกระทั่งเมื่อพระเชษฐาเสด็จสวรรคต พ่อขุนรามคำแหงได้เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นลำดับต่อมา

ในส่วนของตอนที่ ๒ นับตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘ จนจบด้าน ด้านที่ ๒ ทั้งหมด และด้านที่ ๓ ถึงบรรทัดที่ ๑๐ เนื้อความไม่ปรากฏสรรพนาม "กู" แต่ใช้คำว่า “พ่อขุนรามคำแหง” ในส่วนนี้จะเล่าถึงเหตุการณ์บ้านเมือง และความเจริญรุ่งเรืองในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงการค้าขายเสรี การร้องทุกข์ สภาพภูมิศาสตร์ ตลอดจนขนบธรรมเนียม และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นของเมืองในขณะนั้น ในส่วนนี้ผู้ที่ศึกษาศิลาจารึกได้คาดเดาออกเป็นสองทางว่า

๑. มีผู้บันทึกไว้หลังจากสิ้นรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เนื่องจากในตอนที่ ๒ นี้ เริ่มที่ว่า "เมื่อชั่วพ่อขุนรามคำ แหง..."

๒. พ่อขุนรามคำแหงทรงเป็นผู้รับสั่งให้มีการบันทึกต่อเพื่อกล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยที่พระองค์กำลังครองราชย์ 

ตอนที่ ๓ ตั้งแต่ด้านที่ ๓ บรรทัดที่ ๑๐ ถึงด้านที่ ๔ บรรทัดสุดท้าย เป็นส่วนสรรเสริญพระเกียรติคุณพ่อขุนรามคำแหง กล่าวถึงพระราชกรณียกิจที่สำคัญต่าง ๆ ของพระองค์ อีกทั้งกล่าวถึงการที่พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยตามแบบที่ใช้จารึกบนหลักศิลานี้ และยังมีการบันทึกว่าพระองค์ทรงมีความรู้เฉลียวฉลาดกล้าหาญ จนหาใครเปรียบได้ยาก สามารถปราบข้าศึกและขยายอาณาเขตได้อย่างกว้างขวาง บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์และทรงปกครองบ้านเมืองโดยธรรม

ทั้งนี้เนื้อความในตอนที่ ๓ นี้ สันนิษฐานกันว่าได้บันทึกโดยคนรุ่นหลัง ซึ่งมีระยะเวลาห่างจากการบันทึกในตอนที่ 2 แล้วหลายปี

จารึกพ่อขุนรามคำแหงหรือศิลาจารึกหลักที่ ๑ นับเป็นศิลาจารึกหลักสำคัญของประเทศไทย และได้รับการยกย่องว่าเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทยที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร แม้เนื้อความสั้นเพียง ๑๒๔ บรรทัด แต่ได้บันทึกเรื่องราวที่บริบูรณ์ด้วยคุณค่าทางวิชาการหลากหลายสาขาเอาไว้ องค์กรยูเนสโก (UNESCO) ซึ่งประชุมกันระหว่างวันที่ ๒๘-๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๖ ณ ประเทศโปแลนด์ จึงมีมติสนับสนุนเป็นเอกฉันท์ให้ขึ้นทะเบียนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงเป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก

นับเป็นเรื่องน่าดีใจจริง ๆ ที่เพื่อนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ ได้มีโอกาสเรียนวรรณคดีเรื่องแรกของประเทศไทยแบบนี้ ใครอ่านจบแล้ว ไปต่อกันได้เลยที่บทเรียนออนไลน์วิชาคณิตศาสตร์ บทกลับของทฤษฎีบทพีทาโกรัส และการนำไปใช้ หรือจะย้ายไปเรียนวิชาสังคมศึกษากับบทเรียนเรื่ององค์ประกอบของแผนที่ ส่วนวิชาภาษาไทย ยังมีบทเสภาสามัคคีเสวก ตอนวิศวกรรมาและสามัคคีเสวก สำหรับใครที่อยากข้ามขั้นเรียนของชั้น ม.๓ ลองอ่านบทเรียนเรื่องพระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรดูสิ สนุกไม่แพ้กัน

อ่านจบแล้ว อย่าลืมไปสนุกกันต่อกับแอปพลิเคชัน StartDee คลิกแบนเนอร์ด้านล่างเลย

หลักศิลาจารึกที่ ๑ ด้านที่ ๑ กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

ศิลาจารึกที่ 1 มีความสำคัญอย่างไร

ศิลาจารึกหลักนี้ช่วยให้เราได้ทราบถึงประวัติความรุ่งเรืองชองชาติไทยในยุคสุโขทัย และประวัติเรื่องราวอื่นๆ เช่น ประวัติราชวงศ์สุโขทัย ประวัติการรวบรวมอาณาจักรไทยให้เป็นปึกแผ่น ประวัติการค้าโดยเสรี ประวัติการสืบสร้างพระพุทธศาสนา และการประดิษฐ์ลายสือไทย ด้านภูมิศาสตร์

ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้านที่ 1 กล่าวถึงเรื่องใด

ตั้งแต่ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๑ – ๑๘ เป็นพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหง ตั้งแต่ประสูติ จนถึงเสด็จขึ้ครองราชย์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงพระจริยวัตรที่พระองค์ทรงปฏิบัติต่อพระราชบิดา พระราชมารดา และพระเชษฐา

หลักศิลาจารึกที่ 1 ด้านที่ 3 กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ

หลักศิลาจารึกที่ ๑ ด้านที่ ๓ กล่าวถึงสิ่งใดเป็นสำคัญ การกล่าวสรุปสรรเสริญ และยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระราชประวัติของพ่อขุนรามคำแหง

ศิลาจารึกหลักที่ 1 มีอะไรบ้าง

เนื้อหาของจารึกแบ่งได้เป็นสามตอน ตอนที่หนึ่ง บรรทัดที่ 1 ถึง 18 เป็นการเล่าพระราชประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราชตั้งแต่ประสูติจนเสวยราชย์ ใช้คำว่า "กู" เป็นหลัก ตอนที่ 2 ไม่ใช้คำว่า "กู" แต่ใช้ว่า "พ่อขุนรามคำแหง" เล่าถึงเหตุการณ์และธรรมเนียมในกรุงสุโขทัย และตอนที่สาม ตั้งแต่ด้านที่ 4 บรรทัดที่ 12 ถึงบรรทัดสุดท้าย มี ...