หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัยมีอะไรบ้าง

การศึกษาประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัย เท่าที่เผยแพร่ออกมาแล้วนั้น มักจะมุ่งหน้าศึกษาแต่เรื่องลำดับกษัตริย์ในราชวงศ์สุโขทัยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตีความจากศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหง นับว่ามีผู้ทำการค้นคว้ามากที่สุด ไม่ได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับการศาสนา การปกครอง หรือการเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลที่จะทำให้อาณาจักรแห่งนั้นรุ่งเรืองหรือล้มเหลวแต่ประการใด ประวัติศาสตร์สมัยสุโขทัยนั้น แม้จะมีช่วงระยะเวลาอันสั้นเพียงร้อยปีเศษก็ตาม แต่หลักฐานอันเป็นข้อมูลในการศึกษาประวัติศาสตร์ช่วงนี้ มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยจากศิลาจารึกซึ่งก็มีไม่มากนัก ประกอบกับตำนาน พงศาวดาร ทั้งของเมืองเชียงใหม่ และเมืองอยุธยา ดังนั้นจึงมีปัญหาเกี่ยวกับการตีความ และการค้นคว้าเชื่อมต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก ในการค้นคว้าคราวนี้ ได้นำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ประกอบกับรายงานการขุดค้น การสำรวจ ซึ่งได้มีผู้ทำมาแล้วและการสำรวจด้วยตนเอง รวมทั้งจากบทความของท่านผู้ทรงความรู้หลายท่านมาประกอบการพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตาม จากการค้นคว้าจะเห็นได้ว่า อาณาจักรสุโขทัยไม่ใช่อาณาจักรที่มีอำนาจ และรุ่งเรืองอยู่ได้นาน ทั้งนี้เพราะตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิรัฐศาสตร์ของเมืองหลวง อันเป็นจุดศูนย์กลางของอาณาจักร ไม่อำนวยให้ประชากรสามาระรวมตัวกันได้เพราะพื้นที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ขาดการคมนาคมที่ดีมายังจุดศูนย์กลาง ทั้งยังถูกปิดล้อมจากอาณาจักรที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารมากกว่าด้วย ดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า อาณาจักรสุโขทัย อยู่ในฐานะเป็นรัฐกันชน ซึ่งจะต้องถูกอาณาจักรที่ใหญ่กว่า พยายามแพร่อิทธิพลเข้ามาเพื่อต้องการผนวกดินแดนเข้าไว้ด้วย ทำให้อาณาจักรสุโขทัยดำเนินนโยบายทางการเมืองด้วยความไม่มั่นใจนัก ทางด้านการจัดลำดับกษัตริย์ ปีที่ขึ้นครองราชย์สมบัติกับปีที่สวรรคตก็เป็นเรื่องสับสนมาก ทั้งนี้เพราะข้อความในศิลาจารึกมักขาดหาย และมีเชื่อมต่อกันไม่มากพอที่จะกล่าวได้โดยเด็ดขาดว่าเป็นปีใดแน่นอน แม้พงศาวดารและตำนานต่าง ๆ ก็เช่นกัน เป็นเหตุให้มีช่วงว่างในการตึความได้มาก ในการค้นคว้าครั้งนี้ได้แสดงหลักฐานอย่างละเอียดประกอบการค้นคว้าเพิ่มเติมขึ้นด้วย ทางด้านศาสนา ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องราวการเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่น่าสนใจ และนิกายย่อยที่ได้เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งแต่เดิมกล่าวกันแต่เพียงว่า ได้รับพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์เท่านั้น แต่ไม่ได้กล่าวละเอียดถึงนิกายย่อย และบทบาทของพระสงฆ์ไปมากกว่านั้น กล่าวโดยสรุป เหตุสำคัญที่ทำให้อาณาจักรสุโขทัย หมดอำนาจ และสิ้นสุดความเป็นอาณาจักรนั้น อยู่ที่พื้นฐานทางภูมิศาสตร์และพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินการทางการเมืองนั่นเอง จึงทำให้ทางฝ่ายอยุธยาสามารถผนวกดินแดนสุโขทัยได้สำเร็จStudies of the Sukhodaya period which have been published deal mostly with the succession of the Sukhodaya dynasty king and the various interpretations of the decipherings of King Ramkhamhaeng’s Stone inscription, while the religious, governmental and economic conditions of the period have received very little attention despite their importance to an understanding of the prosperity and decline of the kingdom. Since the Sukhodaya period lasted only a little over a hundred years and owing to the scarcity of stone inscriptions (the primary source of evidence, supplemented with legends and chronicles of Chiang Mai and Ayudhaya, of this period), there are a lot of problems in research and interpretations of the chronology of Sukhodaya history. In this study, all of the above mentioned primary sources, plus reports on previous excavations and surveys as well as articles written by specialists in the field and my own surveys have been considered. The study has indicated that the Sukhodaya kingdom was unable to maintain power and prosperity for very long because of problems of political geography. Sukhodaya, the capital and center of the kingdom lacked fertile land or good communication routes, and therefore attracted little migration. Furthermore, Sukhodaya was surrounded by kingdoms whose economic and political stability and military strength was superior to its own. Thus we can say that Sukhodaya served as a kind of buffer state, vunerable to dismemberment by more powerful kingdom. Consequently, Sukhodaya could not pursue a confident political policy. In regard to the succession of the Sukhodaya kings, it has proved difficult to correctly order them because the information derived from the stone inscriptions, legends and chronicles is not complete enough to place the exact dates. The years indicating accension to the throne and deaths are most complicated, and the incompleteness of information gives rise to problems of interpretation. In this report, all details of the evidence offered, including my own research, is shown. In respect to religion, most of the information deals with the spread of Buddhism and other minor sects which existed in Sukhodaya during that period. Prior to this, available research mentions only the Ceylon Sect, without offering details on the other small sects and the role of Buddhist monks. In conclusion, the main causes of the Sukhodaya kingdom’s collapse can be traced to problems of political geography and economics. Both of these hampered development of political policy. As a result, Ayudhaya succeeded in the expansion of its territory though the conquest of Sukhodaya.

พงศาวดารหงวนฉบับเก่า   เล่มที่  18   กุบไลข่านได้ส่งคณะทูตชุดที่สามมาสุโขทัย   โดยได้อัญเชิญพระบรมราชโองการให้พ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปเฝ้า หากมีเหตุขัดข้องให้ส่งโอรสหรือพระอนุชาและอำมาตย์ผู้ใหญ่เป็นตัวประกัน   ซึ่งปรากฏว่าพ่อขุนรามคำแหงก็มิได้ปฏิบัติตาม แต่ส่งคณะทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปแทน[1]

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัยที่พบมากที่สุดคืออะไร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์สำคัญที่พบในสมัยสุโขทัย ได้แก่ 1. ศิลาจารึก จำนวนประมาณ 40 หลัก ถือว่าเป็นหลักฐานชั้นต้นที่สำคัญที่สุดสำหรับศึกษาค้นคว้า

เหตุการณ์ใดเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย

สมัยกรุงสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหง ขึ้นครองราชสมบัติเมื่อพระชนมายุได้ 38 พรรษา อาณาจักรไทยในสมัยนั้น แผ่กว้างใหญ่ไพศาลมาก พ.ศ.1826. พ่อขุนรามคำแหง ทรงประดิษฐ์แบบลายสือไทยขึ้นเป็นครั้งแรก

นักเรียนจะใช้หลักฐานใดเพื่อศึกษาเกี่ยวกับวิถีชีวิตของคนในสมัยสุโขทัย

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ใช้ศึกษาวิถีชีวิตของคนไทยสมัยสุโขทัยได้จากหลายทาง เช่น ศิลาจารึก ไตรภูมิพระร่วง ผู้คนสมัยสุโขทัยแบ่งชนชั้นการปกครองคือ ขุน ชนชั้นผู้ใต้การปกคริง คือ ไพร่ ต่ำลงไป คือ ทาส พระสงฆ์ได้รับการยกย่อง ในสมัยสุโขทัยคนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยเกี่ยวกับการค้าขายในสมัยสุโขทัยคืออะไร

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราทราบว่า ในสมัยสุโขทัยได้มีตลาดเกิดขึ้นแล้ว เรียกว่า "ตลาดปสาน" เป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ทั้งของชาวเมืองสุโขทัยและชาวเมืองใกล้เคียง ในศิลาจารึกระบุไว้ว่า สินค้าที่ซื้อขายกันในตลาดปสานมีหลายประเภท ตั้งแต่ผลไม้ เครื่องอุปโภคบริโภคต่างๆ และสัตว์ที่ใช้เป็นแรงงานเป็นพาหนะ เช่น วัวและ ...