ความหลากหลายทางสังคมไทยมีอะไรบ้าง

ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เราต่างเข้าใจว่าโลกใบนี้เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย ในบริบทสังคมไทยก็เต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลายเช่นกัน หลังจากที่บ้านเราเผชิญหน้ากับวิกฤติความขัดแย้งที่เกิดจากการไม่ยอมรับความหลากหลาย คำว่า ‘ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ ก็กลายเป็นคำที่สำคัญและถูกพูดถึงบ่อยๆ ทั้งในเวทีวิชาการและสื่อต่างๆ แต่ความขัดแย้งในสังคมก็ยังคงร้าวลึกและพร้อมจะปะทุขึ้นมาได้เสมอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการไม่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายอย่างแท้จริง

ปัญหาจึงอาจอยู่ที่คำว่า ‘ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ ซึ่งเป็นแนวคิดและแนวทางที่เราหวังใจกันว่าจะใช้แก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ในสังคม แต่ดูเหมือนว่าคำว่า ‘ความหลากหลาย’ และ ‘การยอมรับความหลากหลาย’ ของเรากลับมีปัญหาในตัวเอง เรามักบอกว่าสังคมไทยเป็นสังคมพหุวัฒนธรรม มีความแตกต่างหลากหลายมายาวนาน แต่ภายใต้ความหลากหลายที่เรายอมรับต้องมีคำว่า ความสามัคคี ความเป็นชาติ และความเป็นไทยกำกับอยู่เสมอ

โครงการ ‘ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ ภายใต้ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย สนับสนุนโดยกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) เป็นชุดงานศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของนักวิชาการจากสถาบันชั้นนำของไทยซึ่งพาเราไปสำรวจคำว่า ‘ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ ในมิติที่หลากหลาย โดยศึกษาตัวบท ความคิด และปรากฏการณ์จากผลงานของมนุษย์ในช่วงเวลาและสถานที่ที่ต่างกัน ความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงมีความหลากหลายในตัวเอง แนวคิดเรื่องความหลากหลายไม่ได้เป็นไปในทิศทางเดียวกันหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หากแต่มีพัฒนาการ มีการถกเถียง โต้แย้ง และมีแง่มุมที่แตกต่างกันไปตามบริบทนั้นๆ
งานศึกษาทั้ง 9 ชิ้น ภายใต้โครงการ ‘ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ความหลากหลายทางวัฒนธรรม’ เป็นกลุ่มงานศึกษาวิจัยที่ไม่ได้บอกเราโดยตรงว่าอะไรคือความสำคัญของความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือสังคมไทยยอมรับความหลากหลายหรือไม่ แต่ด้วยวิธีการอ่านตัวบทแบบมนุษยศาสตร์โดยมีประเด็นเรื่องความหลากหลายเป็นที่ตั้ง

งานศึกษาทั้ง 9 ชิ้นจึงแสดงให้เห็นถึงเงื่อนไข ข้อจำกัด และความเป็นไปได้ในการสร้างสังคมที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตัวบทเชิงปรัชญาด้วยการสำรวจข้อจำกัดและเงื่อนไขของ “ความอดกลั้น” จากข้อเขียนของจอห์น ล็อค การศึกษาตัวบทวรรณกรรมในหลายช่วงสมัยนับตั้งแต่วรรณคดีเก่าแก่ เช่น นางนพมาศถึงพระราชพิธีสิบสองเดือน รวมถึงนวนิยายร่วมสมัย เช่น เกียวโตซ่อนกลิ่น เรื่องสั้นของอุทิศ เหมะมูล นอกจากตัวบทแบบคลาสสิกแล้วยังรวมถึงการศึกษาพื้นที่ที่เป็นรูปธรรมเช่นพื้นที่ “ซอย” ในฐานะพื้นที่แห่งความหลากหลายในแบบไทยๆ’

อะไรคือความหลากหลาย และเราจะยอมรับความหลากหลายได้อย่างไร

สังคมไทยโดยเฉพาะฝ่ายชาตินิยมเชื่อกันว่า เราเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมกันมาเนิ่นนาน แต่ความจริงแล้วคำว่าพหุวัฒนธรรมที่เข้าใจกันนั้นจำกัดอยู่เพียงความหลากหลายทางเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม

ปัญหาของสังคมไทยไม่ได้อยู่ที่สังคมไทยยอมรับความแตกต่างหรือไม่ แต่อยู่ที่สังคมไทยจะยอมรับความแตกต่างหลากหลายก็ต่อเมื่อตนมีอำนาจเหนืออีกฝ่ายและอีกฝ่ายต้องยอมรับอำนาจตน อีกทั้งรัฐไทยยังสร้างเงื่อนไขในการยอมรับความแตกต่างหลากหลายว่า จะยอมรับความแตกต่างหลากหลายได้ก็ต่อเมื่ออยู่ภายใต้องค์รวมเดียวกันคือ “ความเป็นไทย” ที่สงบสามัคคีและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

วิธีการอ่านหรือศึกษาตัวบทของนักมนุษยศาสตร์นำไปสู่สังคมที่เปิดกว้างให้ความหลากหลายได้อย่างไร

คำว่า “ตัวบท” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงเพียงสิ่งที่เป็นตัวหนังสือ อย่างความเรียงหรือวรรณกรรมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลผลิตทางวัฒนธรรม เช่น ภาพเขียน ภาพถ่าย ดนตรี ไปจนถึงพื้นที่ทางสังคม เช่น เมือง ถนน และอาคารด้วย

นักมนุษยศาสตร์จะให้ความสำคัญกับตัวบทด้วยการอ่านอย่างละเอียดระมัดระวัง ไม่ได้อ่านเพื่อมุ่งวิเคราะห์วิพากษ์เท่านั้นเพราะต้องตระหนักถึงปัจจัยมากมาย ทั้งบริบทแวดล้อมที่ตัวบทนั้นกำเนิดขึ้น ความสัมพันธ์กับตัวบทอื่น และความเป็นไปได้เมื่อตัวบทถูกตีความและให้คุณค่า ดังนั้น การอ่านอย่างนักมนุษยศาสตร์จึงต้องอาศัยทั้งความรู้ ความเข้าอกเข้าใจ และการมีมุมมองที่เปิดกว้างต่อความแตกต่างหลากหลาย

บทความทั้ง 9 บทความในโครงการวิจัยนี้ใช้วิธีการอ่านอย่างนักมนุษยศาสตร์มาอ่านตัวบทที่ซับซ้อนและมีหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งตัวบททางประวัติศาสตร์ ข้อเขียนทางปรัชญา และงานวรรณกรรม ไปจนถึงพื้นที่สาธารณะของเมือง ซึ่งจะช่วยให้เราเห็นความซับซ้อนและความหลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย จึงอาจนำไปสู่การสร้างสังคมที่ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรมในที่สุด

จุดเริ่มต้นของความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทย

ปลายศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 เป็นช่วงเวลาที่ชนชั้นนำสยามสถาปนาอำนาจตนเองด้วยการกำหนดและจัดลำดับชั้นทางวัฒนธรรมของตนให้อยู่เหนือกลุ่มชาติพันธุ์อื่นๆ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการกดทับและครอบงำทางวัฒนธรรม นำไปสู่ความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยที่ส่งผลต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

บทความวิจัย 3 เรื่องในโครงการถกเถียงเรื่องคุณค่า 2 ได้ชวนเรากลับไปทบทวนและถกเถียงถึงช่วงเวลาและผลของการสถาปนาอำนาจที่ส่งผลต่อเนื่องมาอย่างยาวนาน ผ่านการอ่านตัวบทวรรณกรรมและการศึกษาบริบทและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ 1) บทความ “ยังไม่ซึมซาบในใจลาวนัก” : จ้าวโลก เจ้าวัฒนธรรมใน “ไพร่ฟ้า” ของลาว คำหอม 2) ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์กับความแตกต่างทางวัฒนธรรมในช่วงเปลี่ยนผ่าน, ทศวรรษ 2440–2450 และ 3) จินตภาพพหุอารยธรรมสยาม: จากนางนพมาศถึงพระราชพิธีสิบสองเดือน โดยทั้ง 3 บทความศึกษาร่องรอยของความพยายามกดทับและครอบงำทางวัฒนธรรมของสังคมไทยที่มีต่อกลุ่มคนอื่นๆ จึงช่วยให้เห็นจุดเริ่มต้นของความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมในสังคมไทยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ทำอย่างไรจึงจะสร้างสังคมที่ยอมรับความหลากหลายด้านภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์ ไปจนถึงความคิด

การขบคิดและทบทวนทางปรัชญาและจริยศาสตร์เป็นวิธีการทำความเข้าใจที่นำไปสู่การยอมรับความแตกต่างหลากหลายของผู้อื่น โดยเฉพาะการตั้งคำถามถึงคำและประเด็นสำคัญที่จำเป็นต่อการยอมรับความหลากหลาย เช่น คำว่า “ความอดกลั้น” อย่างไรก็ตาม มีคำถามตามมาเรื่องขอบเขตของการอ้างสิทธิเพื่อคุ้มครองคนกลุ่มน้อยทางวัฒนธรรม เนื่องจากหลายครั้งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิจนเกิดความขัดแย้งกัน ทางออกจึงเป็นการอดกลั้นในเรื่องที่เกี่ยวกับสาธารณประโยชน์ของสังคมเพื่อก้าวข้ามผ่านอคติและขจัดความวุ่นวายต่างๆ

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรื่อง “คนอื่น” ที่เกี่ยวข้องกับการยอมรับและเคารพในความแตกต่างหลากหลาย นักทฤษฎีเช่น ปอล ริเกอร์ (Paul Ricoeur) บอกว่าเราจะยอมรับและเคารพคนอื่นได้ผ่านตัวกลางคือภาษาโดยเฉพาะการแปล เพราะการแปลเป็นการนำความทรงจำจากวัฒนธรรมอื่นเข้ามาสู่วัฒนธรรมของเรา ทำให้เกิดความเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน

การสร้างความเข้าใจย่อมต้องมีรากฐานจากการถกเถียงและขบคิด บทความวิจัย 3 เรื่องในโครงการถกเถียงเรื่องคุณค่า 2 ได้แก่ 1) จะต้องทนไปอีกนานแค่ไหน?: ขีดจำกัดและการข้ามผ่านขีดจำกัดในคุณค่าเรื่อง ความอดกลั้นของจอห์น ล็อค 2) จะอยู่ร่วมกันอย่างไรในความต่าง: ข้อพิจารณาจากปรัชญาการแปลของปอล ริเกอร์ และ 3) การผสมผสานทางวัฒนธรรม: ครอบงำหรือเพิ่มโอกาสการมีส่วนร่วมแบบประชาธิปไตย? อาจช่วยสร้างสังคมที่ยอมรับความแตกต่างหลากหลายได้ผ่านการถกเถียง

ความซับซ้อนและยอกย้อนในความหลากหลาย

ในด้านหนึ่ง ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับอัตลักษณ์อันแตกต่างหลากหลายก็อาจทำให้เราละเลยลักษณะร่วมของมนุษย์ เช่น เรื่องสิทธิเสรีภาพ แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมจึงอาจเปรียบได้ทั้งยาพิษและยารักษา นอกจากนี้ในการศึกษาตัวบทร่วมสมัยก็ทำให้เราเห็นกระบวนการกดทับที่ซับซ้อน เช่น การกดทับทางเพศสถานะและเพศวิถีผ่านตัวบทวรรณกรรม และความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างผู้อาศัยและอำนาจของรัฐผ่านตัวบทพื้นที่ซอย

บทความวิจัยกลุ่มสุดท้ายในโครงการถกเถียงเรื่องคุณค่าที่แสดงให้เห็นถึงความยอกย้อนและเงื่อนไขในการยอมรับความหลากหลาย ได้แก่ 1) ความย้อนแย้งของพหุวัฒนธรรมนิยมในฐานะฟาร์มากอนของแดร์ริดาในเรื่องสั้นชื่อ “ทุกสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้เกี่ยวกับยุโรปกลางนิยม (ด้วยความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ เปี่ยมไมตรีจากเมืองโอโลโมตซ์และกามู)” ของ ปาเวล วิลิคอฟสกี สะท้อนให้เห็นต้นเหตุของความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรมของยุโรปกลางหรือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อป้องกันไม่ให้รัฐล่มสลาย

2) บทความวิจัยเรื่อง “เกียวโตซ่อนกลิ่น”: มิติของ “น้ำ” ท่ามกลางความ (ไม่) หลากหลายทางวัฒนธรรม นำเสนอการใช้ชีวิตในสังคมวัฒนธรรมที่กดทับความแตกต่างหลากหลายให้เป็นไปตามบรรทัดฐานเดียวกัน

และ 3) บทความวิจัยเรื่อง พื้นที่ซอย: ความหลากหลายในพื้นที่สาธารณะแบบไทยๆ สะท้อนภาพชีวิตประจำวันตามวิถีไทยที่คนในซอยจัดการพื้นที่ซอยโดยอาศัยช่องว่างจากการควบคุมของรัฐ จนซอยกลายเป็นพื้นที่สาธารณะกึ่งส่วนตัว ซึ่งเปิดโอกาสให้เกิดความหลากหลายผ่านการปฏิสัมพันธ์ของผู้คนกับพื้นที่และแสดงให้เห็นการปรับเปลี่ยนต่อรองกับพื้นที่อีกด้วย

โปรดติดตามการนำเสนอบทความวิจัยทั้ง 9 ชิ้นได้ในคราวต่อไป

ความหลากหลายทางสังคมมีอะไรบ้าง

Diversity คือ ความหลากหลายของผู้คนในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ เพศกำเนิด ศาสนา เชื้อชาติ สัญชาติ ชาติพันธุ์ สีผิว การศึกษา วัฒนธรรม สังคม ความพิการ ความเจ็บป่วย รสนิยมทางเพศ สถานภาพการสมรส สถานภาพทางสังคม หรือความเห็นทางการเมือง

ความหลากหลายทางสังคมคืออะไร

2. ความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคต่างๆ ของโลก เนื่องจากสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ทำให้เกิดความแตกต่างด้านเชื้อชาติและศาสนา และรูปแบบเศรษฐกิจที่หลากหลาย จึงทำให้ภูมิภาคต่างๆ มีลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และเกิดลักษณะเฉพาะในแต่ละพื้นที่เรียกว่า “บริเวณ

พหุวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

พหุวัฒนธรรม (MULTICULTURAL) คือ การอยู่รวมกลุ่มของคนที่มีความหลากหลายทางด้านต่างๆ เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย หรือสิ่งที่มีความหลาหลายมาผสมกลมกลืนกัน แต่อาจจะไม่กลมกลืนกันสักทีเดียว ซึ่งพหุวัฒนธรรมถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นสิ่งต่างๆเพื่อให้เกิดภาพอย่างชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบว่าเป็น พิซซ่า ที่มีการผสมโดยใช้ส่วนผสมต่างๆ ...

สังคมพหุวัฒนธรรมคืออะไร ตัวอย่าง

สังคมพหุวัฒนธรรม หมายถึง สังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติศาสนา วิถีชีวิต ความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนในสังคมนั้นๆ เพื่อแสวงหาชีวิตที่ดีอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขสามัคคี และการเปิดรับ การไหลบ่าทางวัฒนธรรม