Tka กับ tkr ต่าง กัน อย่างไร

Tka กับ tkr ต่าง กัน อย่างไร
ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
เจ็บน้อย ฟื้นไว เดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง*
โทรปรึกษา 1719 หรือสอบถามผ่าน [email protected]
*ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

ถ้าผิวของข้อเข่าได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงจากการอักเสบของข้อเข่าหรือจากอุบัติเหตุ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเวลาเดินหรือขึ้นลงบันได ถ้ามีความเสียหายรุนแรงขึ้นจะรู้สึกปวดแม้ขณะนั่งหรือนอน การรักษาอาจเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งานของเข่า ยาลดการอักเสบ หรือการใช้ไม้เท้าช่วยพยุงเดิน ถ้าการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้ไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้องรักษาโดยวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม (Total Knee Replacement) ซึ่งเป็นการผ่าตัดตัดผิวที่เสียหายออกใส่ผิวใหม่ที่เรียบมันซึ่งทำจากโลหะและพลาสติกเข้าไปแทน เพื่อให้เข่ากลับไปใช้งานได้ตามเดิมอีกครั้ง การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นการผ่าตัดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเริ่มมีการผ่าตัดครั้งแรกในปี 1968 หลังจากนั้นการผ่าตัดนี้ได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งในด้านวัสดุที่ใช้และวิธีการผ่าตัด ทำให้การผ่าตัดให้ผลดีขึ้น

กายวิภาคของข้อเข่า

เข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ประกอบด้วยส่วนกระดูก 3 ชิ้น คือ

  1. ส่วนปลายของกระดูกต้นขา (Femur)
  2. ส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia)
  3. กระดูกสะบ้าหัวเข่า (Patella)

โดยมีเอ็นยึดกระดูกทั้ง 3 ไว้ให้มั่นคง และมีกล้ามเนื้อเกาะตามกระดูกเพื่อความเคลื่อนไหว บริเวณผิวของกระดูกทั้ง 3 ชิ้นจะคลุมด้วยกระดูกอ่อน (Articular Cartilage) ซึ่งมีลักษณะสีขาวมันเรียบ กระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นเบาะกันการกระแทกกันของกระดูก และผิวที่เรียบทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ส่วนที่เหลือของข้อเข่าที่ไม่ได้คลุมด้วยกระดูกอ่อน จะถูกคลุมด้วยเยื่อหุ้มข้อ (Synovial Membrane) ซึ่งมีลักษณะบางและเรียบทำหน้าที่สร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อ ซึ่งน้ำหล่อเลี้ยงข้อจะช่วยหล่อลื่นบริเวณผิว

Tka กับ tkr ต่าง กัน อย่างไร

ทำไมจึงปวดเข่าและเข่าสูญเสียการทำงาน

สาเหตุที่พบบ่อยที่สุด คือ ภาวะข้อเข่าอักเสบ (Arthritis) ที่อาจเกิดจากภาวะข้อเข่าเสื่อม โรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ (Rheumatoid) และการอักเสบจากอุบัติเหตุ

  • ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis)
    มักเกิดในผู้ป่วยอายุมากกว่า 50 ปี เกิดจากการเสื่อมของผิวกระดูกอ่อนและหมอนรองกระดูก ทำให้กระดูกที่แข็งและไม่เรียบถูเสียดสีกัน ทำให้เกิดเสียงเวลาขยับเข่า มีอาการปวด และติดขัดเวลางอเข่า
  • ข้ออักเสบเรื้อรัง
    ที่พบบ่อย คือ ข้ออักเสบรูมาตอยด์ โดยข้ออักเสบเรื้อรังจะทำให้เยื่อหุ้มข้ออักเสบหนาตัวขึ้น มีการสร้างน้ำหล่อเลี้ยงข้อมากขึ้นทำให้เข่าบวมแดง เมื่อมีการอักเสบนานจะทำให้ส่วนกระดูกถูกทำลายไป
  • ข้ออักเสบจากอุบัติเหตุ
    กระดูกอ่อนผิวข้อถูกทำลายจากอุบัติเหตุ จากแรงกระแทกที่รุนแรง หรือจากการแตกร้าวของกระดูกและกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นผลทำให้ผิวข้อเสียไม่เรียบ

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม

การรักษาข้อเข่าอักเสบเริ่มจากเปลี่ยนวิธีการใช้งาน ลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดและกระแทกที่เข่า เช่น การนั่งยอง ๆ, คุกเข่า, ขึ้นลงบันได, วิ่ง หรือการยกของหนัก ทานยาเพื่อลดการอักเสบในเข่า การบริหารกล้ามเนื้อเพื่อให้เข่ามีการเคลื่อนไหวที่มั่นคง ถ้าการรักษาเหล่านี้ไม่ได้ผล อาจพิจารณาฉีดยาเข่าในข้อเข่าเพื่อลดการอักเสบและเพื่อเพิ่มการหล่อลื่นในเข่า เช่น ยาพวกสเตียรอยด์ (Steroid) หรือน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมสังเคราะห์ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้วิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมอาจทำให้ผู้ป่วยลดการเจ็บปวดและสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

ตรวจรักษาเข่า

ผลการรักษาโดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมมากกว่า 90% ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมจะรู้สึกเจ็บปวดลดลง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับปกติ กิจกรรมควรเลี่ยงหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ได้แก่ กีฬาที่มีแรงกระแทกรุนแรงที่ข้อเข่า เช่น การวิ่งหรือกระโดด ซึ่งแรงกระแทกจะทำให้ส่วนที่เป็นพลาสติกเสื่อมสภาพเร็วขึ้น การนั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนั่งส้วมแบบนั่งยองๆ ควรหลีกเลี่ยงเด็ดขาด

ปกติผู้ป่วยจะนอนโรงพยาบาลตอนเช้าของวันผ่าตัด หลังจากนั้นวิสัญญีแพทย์จะมาเยี่ยมผู้ป่วยและแนะนำวิธีการระงับความรู้สึกระหว่างการผ่าตัด ซึ่งมี 2 วิธี คือ การดมยาสลบ และการฉีดยาเข้าไขสันหลัง ซึ่งวิธีที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของวิสัญญีแพทย์

การผ่าตัดใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง โดยการผ่าตัดจะตัดเอาผิวข้อที่เสียออกและใช้ผิวข้อเทียมที่ทำด้วยโลหะและมีส่วนพลาสติกกันระหว่างผิวโลหะ เพื่อกันการกระแทกและลดแรงเสียดสีระหว่างผิวข้อ หลังการผ่าตัดผู้ป่วยจะอยู่ในห้องพักฟื้นเป็นเวลา 1 – 2 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยฟื้นตัวจากยาสลบแล้วจะย้ายกลับไปห้องพักผู้ป่วย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะอยู่โรงพยาบาล 5 – 7 วันหลังผ่าตัด โดยในช่วงแรกหลังผ่าตัด

ส่วนใหญ่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมจะทำในผู้ป่วยอายุ 60 – 80 ปี การพิจารณาผ่าตัดจะพิจารณาเป็นราย ๆ ไปขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค

TKA คือโรคอะไร

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด หรือเรียกสั้นๆ ว่า TKA/TKR คือ การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดเอาผิวข้อเข่าส่วนที่เสียหรือเสื่อมสภาพออกทั้งหมด ทั้งส่วนปลายของกระดูกต้นขา (Femur) และส่วนบนของกระดูกหน้าแข้ง (Tibia) ทั้งฝั่งด้านในและด้านนอก (Medial and Lateral Compartment) แล้วแทนที่ด้วยผิวข้อเข่าเทียมที่ทำจาก ...

ข้อเข่าเทียม คืออะไร

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (Joint replacement surgery) เป็นการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยการผ่าตัดที่ตัดผิวข้อส่วนที่เสื่อมออกแล้วทดแทนด้วยโลหะสังเคราะห์ โลหะที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ ได้แก่ ไทเทเนียม โคบอลต์โครเมียม เซรามิก และพลาสติกพิเศษ ปัจจุบันเป็นวิธีที่นิยมที่สุด ประโยชน์ของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ลดอาการปวด

ปกติงอเข่าได้กี่องศา

จากการศึกษาใน gait laboratory ของคนปกติพบว่า ในขณะเดินแล้วยกขาขึ้นมีความต้องการงอเข่าอย่างน้อย 67 องศา ขณะที่ขึ้นบันไดมีความต้องการงอเข่า 83 องศา ขณะลงบันไดต้องการงอเข่า 90 องศา10 ขณะลุกจากนั่งเพื่อยืนต้องการงอเข่าอย่างน้อย 93 องศา การปั่นจักรยานต้องการงอเข่า 110 องศา การขึ้นลงบันไดโดยสลับก้าวเดินต้องการงอเข่า 105 องศา ...

เปลี่ยนข้อเข่าเทียม อยู่ได้กี่ปี

ตามสถิติ โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 10 ปี ประมาณร้อยละ 5 โอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะหลวมเสียภายใน 20 ปี ประมาณร้อยละ 10-15 และโอกาสที่ข้อเข่าเทียมจะอยู่นานกว่า 20 ปี ประมาณร้อยละ 80 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การใช้งานของผู้ป่วย ความเชี่ยวชาญของศัลยแพทย์กระดูก คุณสมบัติของข้อเทียม