จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุดเดือดของธาตุหรือสสารเป็นอุณหภูมิซึ่งความดันไอของของเหลวเท่ากับความดันของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบของเหลวนั้น[1][2]

ของเหลวในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสุญญากาศมีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศ ของเหลวในสิ่งแวดล้อมความดันสูงจะมีจุดเดือดสูงกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศ จึงอาจกล่าวได้ว่า จุดเดือดของของเหลวมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความดันของสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมักแตกต่างกันไปตามความสูง) ในความดันเท่ากัน ของเหลวต่างชนิดกันย่อมเดือดที่อุณหภูมิต่างกัน

จุดเดือดปกติ (หรือเรียกว่า จุดเดือดบรรยากาศหรือจุดเดือดความดันบรรยากาศ) ของของเหลวเป็นกรณีพิเศษซึ่งความดันไอของของเหลวเท่ากับความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล คือ 1 บรรยากาศ[3][4] ที่อุณหภูมินั้น ความดันไอของของเหลวจะมากพอที่จะเอาชนะความดันบรรยากาศและให้ฟองไอก่อตัวภายในความจุของเหลว จุดเดือดมาตรฐานปัจจุบัน (จนถึง ค.ศ. 1982) นิยามโดย IUPAC ว่าเป็นอุณหภูมิซึ่งเกิดการเดือดขึ้นภายใต้ความดัน 1 บาร์[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. David.E. Goldberg (1988). 3,000 Solved Problems in Chemistry (1st ed.). McGraw-Hill. ISBN 0-07-023684-4. Section 17.43, page 321
  2. Louis Theodore, R. Ryan Dupont and Kumar Ganesan (Editors) (1999). Pollution Prevention: The Waste Management Approach to the 21st Century. CRC Press. ISBN 1-56670-495-2. Section 27, page 15
  3. General Chemistry Glossary Purdue University website page
  4. Kevin R. Reel, R. M. Fikar, P. E. Dumas, Jay M. Templin, and Patricia Van Arnum (2006). AP Chemistry (REA) - The Best Test Prep for the Advanced Placement Exam (9th ed.). Research & Education Association. ISBN 0-7386-0221-3.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Section 71, page 224
  5. Notation for States and Processes, Significance of the Word Standard in Chemical Thermodynamics, and Remarks on Commonly Tabulated Forms of Thermodynamic Functions See page 1274

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร

จุดหลอมเหลว คือ จุดที่สารเปลี่ยนสถานะจากของแข็งเป็นของเหลว จุดหลอมเหลวนี้มีค่าเท่ากับจุดเยือกแข็ง เพียงแต่จุดเยือกแข็งใช้เรียกเมื่อสารเปลี่ยนสถานะจากของเหลวเป็นของแข็ง ตัวอย่างเช่น น้ำ มีจุดหลอมเหลว เป็น 0 องศาเซลเซียส (Celsius) หมายความว่า น้ำแข็ง ซึ่งเป็นสถานะของแข็งของน้ำจะกลายสถานะเป็นของเหลวเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 0 องศาเซลเซียส และน้ำก็มีจุดเยือกแข็งที่ 0 องศาเซลเซียส อธิบายว่า น้ำสถานะของเหลวจะกลายสถานะเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส

ขั้นตอนการหาจุดหลอมเหลว[แก้]

ขั้นตอนการหาจุดหลอมเหลว มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. บรรจุสารลงในหลอดแคปิลารี (Capillary melting point tube) ประมาณ 0.5-1.0 เซนติเมตร จากปลายหลอดแคปิลลารี และมัดติดกับเทอร์โมมิเตอร์ โดยยางวง (Rubber band)

2. เสียบเทอร์โมมิเตอร์เข้ากับจุกคอร์ก และยึดติดกับแคลมพ์ (Clamp)

3. เทน้ำมันพาราฟินหรือกลีเซอรอล (หรือสารชนิดอื่น ๆ ที่มีอุณหภูมิสูงมาก ๆ ) ลงในบีกเกอร์ (Beaker) และจุ่มปลายเทอร์โมมิเตอร์ลงในบีกเกอร์ อย่าให้ปลายกระเปาะเทอร์โมมิเตอร์อยู่ติดกับผนังบีกเกอร์

4. ให้ความร้อนอย่างช้า ๆ บันทึกอุณหภูมิเมื่อเห็นสารในหลอดแคปิลลารีเริ่มหลอมเหลว อุณหภูมินั้น คือ จุดหลอมเหลว (Melting point)[1]

ดูเพิ่ม[แก้]

  • จุดเดือด

อ้างอิง[แก้]

  1. https://sites.google.com

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร
จุดเดือดของธาตุหรือสสารเป็นอุณหภูมิซึ่งความดันไอของของเหลวเท่ากับความดันของสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบของเหลวนั้น  ของเหลวในสิ่งแวดล้อมที่เป็นสุญญากาศมีจุดเดือดต่ำกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศของเหลวในสิ่งแวดล้อมความดันสูงจะมีจุดเดือด  สูงกว่าของเหลวที่ความดันบรรยากาศ จึงอาจกล่าวได้ว่า จุดเดือดของของเหลวมีได้หลากหลายขึ้นอยู่กับความดันของสิ่งแวดล้อม (ซึ่งมักแตกต่างกันไปตามความสูง) ในความดันเท่ากัน ของเหลวต่างชนิดกันย่อมเดือดที่อุณหภูมิต่างกัน
        จุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุ ขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรืออะตอม ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลหรืออะตอมมาก จะมีจุดหลอมเหลวสูง แต่ถ้าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อย จุดเดือดจุดหลอมเหลวจะต่ำ
              ธาตุโลหะ แรงดึงดูดระหว่างอะตอม เป็นพันธะโลหะ มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง ความแข็งแรงของพันธะโลหะขึ้นอยู่กับขนาดของอะตอม
               -ถ้าอะตอมมีขนาดเล็กพันธะโลหะจะมีความแข็งแรงมากกว่าขนาดอะตอมใหญ่    
              -ธาตุที่มีระดับพลังงานเท่ากัน ความแรงของพันธะโลหะขึ้นอยู่กับจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอน คือ โลหะที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากกว่าจะมีความแรงของพันธะโลหะมากกว่า โลหะใดมีความแรงของพันธะโลหะมาก จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็จะสูงและถ้าโลหะใดมีความแรงของพันธะโลหะน้อย มาก จุดเดือดจุดหลอมเหลวก็จะต่ำด้วย

                                                                                                                                                    
                                                                             

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร
                                                           
              รูปที่ 1 กราฟจุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุในตารางธาตุ


               จากกราฟแนวโน้มจุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุในหมู่เดียวกัน จากบนลงล่าง เป็นดังนี้
                1. ธาตุที่เป็นโลหะ
                    - จุดเดือดจุดหลอมเหลวลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นเนื่องจากขนาดอะตอมมีขนาดใหญ่ขึ้น
                   -โลหะทุกชนิดมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวกว้าง คือห่างกันมาก
                2. ธาตุเป็นอโลหะ
                   - จุดเดือดจุดหลอมเหลวเพิ่มขึ้นเมื่อเลขอะตอมลดลง เนื่องจากมวลอะตอมมีค่าเพิ่มขึ้น ทำให้แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลเพิ่มขึ้น
                  - อโลหะทุกชนิดมีจุดเดือดจุดหลอมเหลว คือห่างกันน้อย เช่น Cl มีจุดเดือดห่างจากจุดหลอมเหลว-จุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุในหมู่ IA IIA IIIA และ IVA เป็นโลหะ ยึดเหนี่ยวดัวยพันธะโลหะ มีแนวโน้มสูงขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะหมู่ IVA จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงที่สุด เมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้น จะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนมากขึ้น มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างนิวเคลียสกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่อิสระแข็งแรงขึ้น ธาตุหมู่ IVA บางธาตุมีโครงสร้างเป็นผลึกร่างตาข่ายจึงทำให้มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง

                                  

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร
        

                 รูปที่ 2 ตารางจุดเดือดจุดหลอมเหลวของธาตุในตารางธาตุ


            - หมู่ VA VIA VIIA VIIIA เป็นอโลหะยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์ มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลของธาตุกลุ่มนี้มีค่าต่ำมาก
                   - ธาตุที่มีความเป็นโลหะกับอโลหะปนกันเรียกว่ากึ่งโลหะมี 8 ตุ คือ B, Si, Ge, As, Sb, Te, Po และ At

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร

จุดเดือด จุดหลอมเหลว ต่างกันอย่างไร
https://th.wikipedia.org/wiki/จุดเดือด
              https://dangwansri.wordpress.com/หน้าแรก/กิจกรรม-2/