มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร ลู่วิ่ง

เมื่อพูดถึงวิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เครื่องออกกำลังกายประเภทคาดิโอ โดยการออกกำลังกายด้วยการวิ่งหรือเดิน ทั้งแบบเดินราบพื้นธรรมดาหรือแบบปรับความชันเสมือนการเดินขึ้นภูเขา ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้าหรือวิ่งที่สวนสาธารณะ การวิ่งและการเดินนั้น นอกจากจะทำให้เรามีสุขภาพที่เเข็งแรง เผาผลาญไขมัน อีกทั้งยังส่งผลถึงการทำงานของระบบการหายใจ ระบบหัวใจ และกล้ามเนื้อในส่วนต่าง ๆ มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นอีกด้วย

Show

สารบัญ
• ข้อแตกต่างของมอเตอร์
• สายพาน
• ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้า
• ความชัน
• ระบบลดแรงกระแทก
• หน้าจอและโปรแกรม
• การรองรับน้ำหนัก
• การพับเก็บ
• การรับประกันสินค้าและการบริการหลังการขาย
• การบริการจัดส่ง

North Fitness ขอใช้บทความนี้เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจก่อนการเลือกซื้อของคุณลูกค้า ทุกท่านค่ะ

1. มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร

 

ลู่วิ่งไฟฟ้าจะมีมอเตอร์ 2 แบบ คือ

1) มอเตอร์แบบ DC เป็นมอเตอร์สำหรับวิ่งเบาๆ ในช่วงเวลาที่ไม่นาน

2) มอเตอร์แบบ AC เป็นมอเตอร์สำหรับผู้ที่ต้องการวิ่งต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ มีอายุการใช้งานได้นานกว่ามอเตอร์ DC และราคาของมอเตอร์ AC นี้ก็จะมี ราคาที่สูงขึ้นเช่นกัน

มอเตอร์ของลู่วิ่งไฟฟ้ามีหน่วยคือ “แรงม้า” หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “Horsepower” ตัวย่อ “HP”

  • มอเตอร์ DC 1.0 HP สำหรับเดินออกกำลังกาย
  • มอเตอร์ DC 2.0 HP สำหรับจ๊อกกิ้ง วิ่งเบาๆ
  • มอเตอร์ DC 3.0 HP ขึ้นไปสำหรับวิ่งเร็ว

 

2. สายพาน(พื้นที่สำหรับเดินและวิ่ง)

ความกว้าง = ความสบายเพราะยิ่งสายพานกว้างก็จะทำให้การออกกำลังกายสบายยิ่งขึ้น
ความยาว = ความสูงของคนวิ่ง เพราะถ้าผู้วิ่งรูปร่างสูงช่วงก้าวก็จะยาว เพราะฉะนั้นจึงต้องเลือกลู่วิ่งที่มีขนาดสายพานที่ยาวเป็นพิเศษเพื่อกันการวิ่งออกนอกลู่วิ่งไฟฟ้า
** สายพานหรือพื้นที่วิ่ง ต้องสอบถามให้แน่ชัดว่าสายพานหรือพื้นที่วิ่งนั้นไม่นับรวมขนาดของที่พักเท้า ยิ่งสายพานของลู่วิ่งกว้างและยาวเท่าไร ราคาก็จะสูงขึ้น
ดังนั้น ควรเลือกขนาดของสายพานที่เหมาะสมกับร่างกายของผู้วิ่ง อย่าให้แคบหรือมีพื้นที่น้องจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้ตอนออกกำลังกายไม่สนุกรู้สึกอึดอัดได้ค่า

 

3. ความเร็วของลู่วิ่งไฟฟ้า

ลู่วิ่งไฟฟ้าสำหรับใช้ที่บ้านส่วนใหญ่แล้วจะนิยมที่ความเร็วระหว่าง 8-10 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งถือว่าเร็วระดับหนึ่ง ไม่เร็วและไม่ช้าจนเกินไป

  • ความเร็ว 0-5 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ เดิน
  • ความเร็ว 6-9 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเบา ๆ หรือจ็อกกิ้ง
  • ความเร็ว 10-14 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็ว
  • ความเร็ว 15-22 กิโลเมตร/ชั่วโมง สำหรับ วิ่งเร็วมาก(HIIT Cardio)

 

4. ความชัน

ความชันทำให้การออกกำลังกายของคุณมีประสิทธิภาพมากขึ้น เปรียบเสมือนการวิ่งขึ้นภูเขา ยิ่งปรับความชันสูงขึ้นมากเท่าไหร่ จะยิ่งเผาผลาญ ไขมัน มากขึ้นเท่านั้น ลู่วิ่งไฟฟ้าสามารถปรับระดับความชันได้ 2 รูปแบบ

1) ความชันแบบ Auto (สั่งการด้วยปุ่ม) (ราคาจะสูงกว่าแบบ Manual)

2) ความชันแบบ Manual (ปรับด้วยตัวผู้วิ่งเอง)

* ข้อสังเกตุของความชันแบบ Manual ส่วนท้ายของเครื่องจะมีที่ปรับระดับส่วนมากจะมี 3 รู คือ ปรับได้ด้วยมือ 3 ระดับเท่านั้น

** ลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่นจะไม่สามารถปรับความชันได้

ความชันของลู่วิ่ง

 

5. ระบบลดแรงกระแทก
ระบบลดแรงกระแทกจะติดตั้งอยู่ในส่วนของใต้กระดานของลู่วิ่งไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดแรงกระแทก ลดอัตราการเกิดการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่า

ชนิดของระบบลดแรงกระแทกจะมีอยู่ 3 ชนิด เพิ่มการอธิบายการทำงาน หรือลักษณะของแต่ละระบบทั้งสามระบบด้วยค่า

  1. ระบบลดแรงกระแทกแบบโช้ค – ควบคุมการยุบตัว และการยืดตัวของสปริง ลดแรงกระแทกในขณะวิ่ง
  2. ระบบลดแรงกระแทกแบบ Air Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบอากาศที่อัดอยู่ภายในยางใต้สายพาน ความรู้สึกเสมือนรองเท้ากีฬา ช่วยป้องกันการบาดเจ็บของข้อเท้าและหัวเข่าได้เป็นอย่างดี
  3. ระบบลดแรงกระแทกแบบ Soft Cushion – ระบบลดแรงกระแทกในรูปแบบยาง มีความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพในการคืนตัวสูง

* บางรุ่นมีระบบลดแรงกระแทก แต่ไม่สามารถมองเห็นจากด้านนอก เนื่องจากการออกแบบที่แตกต่างกันของแต่ละรุ่น

6. หน้าจอและโปรแกรม

Function แสดงรายละเอียดพื้นฐานที่จะต้องมีในการออกกำลังกายทั้งหมด คือ

  • ค่าความเร็ว
  • ค่าความชัน
  • แคลอรี่ที่เผาผลาญ
  • ระยะทางที่วิ่ง
  • การเต้นของหัวใจ
  • เวลาในการวิ่ง

* บางรุ่นจะมีลำโพงสำหรับฟังเพลง Mp3 หรือ บางรุ่นหน้าจอสามารถสัมผัสและเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เพื่อใช้งาน Internet ได้เลย

** บางรุ่นจะมีโปรแกรมในการวิ่ง คือ ระบบอัตโนมัติที่จะปรับความเร็วและความชันให้ตามระยะเวลาที่เลือก โดยที่จะคล้ายกับภารกิจที่ต้องทำในแต่ละช่วงเวลาของการวิ่ง เช่น 5 นาทีวิ่งเร็ว 15 นาทีวิ่งเร็วมาก ซึ่งจะเพิ่มความสนุกและท้าทายในการวิ่งมากยิ่งขึ้น

 

7.การรองรับน้ำหนัก

ลู่วิ่งไฟฟ้าแต่ละรุ่นจะสามารถรับน้ำหนักของผู้วิ่งได้ต่างกัน จึงต้องคำนวณจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักของผู้วิ่ง น้ำหนักของเครื่องและขนาดของมอเตอร์

  1. มอเตอร์ 1-2.5 HP สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 50-80 กิโลกรัม
  2. มอเตอร์ 3.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 80-100 กิโลกรัม
  3. มอเตอร์ 4.0 HP ขึ้นไป สำหรับผู้วิ่งที่มีน้ำหนัก 100-150 กิโลกรัม

* ถ้าหากน้ำหนักผู้วิ่งมากกว่าน้ำหนักที่มอเตอร์รองรับ ลู่วิ่งไฟฟ้าจะทำงานหนักและชำรุดได้

** ควรจะเผื่อน้ำหนักเพื่อรองรับการกระแทกประมาณ 15-20 กิโลกรัม

*** อายุการใช้งานของมอเตอร์ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวของผู้วิ่งด้วย หากเลือกมอเตอร์ไม่เหมาะสมกับน้ำหนักลู่วิ่ง แล้วมอเตอร์รับไม่ไหว จะทำให้ต้องเปลี่ยนมอเตอร์บ่อยได้ค่า

8. การพับเก็บ

ลู่วิ่งไฟฟ้ามีทั้งแบบที่สามารถพับเก็บได้(การพับเก็บของแต่ละรุ่นจะไม่เหมือนกันทั้งหมด)และแบบที่ไม่สามารถพับเก็บได้ส่วนใหญ่ จะเป็นรุ่นที่มีขนาดใหญ่

ระบบพับเก็บจะมีอยู่ทั้งหมด 2 รูปแบบ คือ

  • ระบบสลักล๊อค ยกส่วนท้ายของลู่วิ่งขึ้น จากนั้นใช้สลักยึดตัวลู่วิ่ง ระบบนี้จะเหมาะกับลู่วิ่งที่มีขนาดใหญ่มาก เนื่องจากต้องใช้แรงในการยก และบางรุ่นอาจจะไม่สามารถพับเก็บเป็นแนวตั้งได้
  • ระบบไฮดรอลิค จะเป็นระบบไฮดรอลิคที่ช่วยในการพยุงน้ำหนักของลู่วิ่งในการขึ้นและลง ช่วยลดการใช้แรงในการยกตัวลู่วิ่ง

9. การรับประกันสินค้าและการบริการหลังการขาย

สินค้าจะมีการรับประกันที่แตกต่างกันไป เช่น ลู่วิ่งไฟฟ้า จะมีประกันมอเตอร์ไฟฟ้า 5 ปี ประกันสินค้า 1 ปี

** ผู้วิ่งควรสอบถามเรื่องการรับประกันและขั้นตอนการดูแลลู่วิ่งไฟฟ้า ระยะเวลาที่ใช้ในการบริการซ่อม อะไหล่ที่มีสำรอง ค่าใช้จ่ายในการบริการต่างๆ สามารถขอคืนสินค้าได้หรือไม่

คำเตือน บางร้านและบางรุ่นอาจจะไม่มีบริการหลังการขาย ควรสอบถามทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ

10. การบริการจัดส่ง

คนส่วนใหญ่จะยังไม่ทราบว่าลู่วิ่งไฟฟ้าบางรุ่น(ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง) สามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองและใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากประกอบใส่กล่องสำเร็จมาแล้ว การจัดส่งสินค้าของแต่ละร้านจะแตกต่างกันไป ผู้วิ่งควรสอบถามให้แน่ชัดว่า มีบริการจัดส่งและติดตั้งให้หรือไม่ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไหม ส่งสินค้าจากที่ไหน ใช้เวลาในการจัดส่งกี่วัน และแนะนำวิธีการใช้งานด้วยหรือไม่ ฯลฯ

สรุป

10 วิธีการง่ายๆ สำหรับการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า ไม่ใช่เพียงแต่คุณลูกค้าจะได้ลู่วิ่งไฟฟ้าที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวนะคะ ยังช่วยในการประเมินค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าของราคาในงบที่ตั้ง และที่สำคัญได้ทั้ง “ความสุข” และ “สุขภาพที่ดี” ด้วยค่ะ พบกันใหม่ในบทความหน้า เรื่องวิธีการเลือกซื้อเครื่องออกกำลังกาย แต่จะเป็นประเภทอะไร แอดมินขออุบไว้ก่อนะคะ แล้วพบกันค่า

สนใจสินค้า สอบถามข้อมูลตัวแทนจำหน่าย NorthFitness  ติดตามข้อมูลข่าวสาร สาระดีๆ หรือ ต้องการเปิดธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ออกกำลังกายต่างๆ คลิกด้านล่างได้เลยนะคะ

Website : https://www.northfitness.co.th
Facebook Inbox : https://m.me/NorthFitnessTH
Line OA : 
https://line.me/R/ti/p/%40northfitness​
Instagram : https://www.instagram.com/NorthFitness.th

เรื่องอื่น ๆ ที่คุณอาจสนใจ

มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร ลู่วิ่ง

9 เคล็ดลับน่ารู้ !! วิธีการเลือกซื้อเครื่องเดินวงรี

สำหรับการเลือกซื้อเครื่องเดินวงรีที่เหมาะสมเพียงอย่างเดียวนะคะ ยังสามารถช่วยทั้งในการประเมินค่าใช้จ่าย ความคุ้มค่าของราคาในงบประมาณที่ตั้งไว้ และที่สำคัญที่สุด

อ่านต่อ »

มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร ลู่วิ่ง

7 เคล็ดลับน่ารู้ ก่อนเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย

ความเข้าใจก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อจักรยานออกกำลังกาย หากคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว และยังมีข้อสงสัยอยู่ North Fitness ยินดีให้คำแนะนำเพิ่มเติมค่ะ

อ่านต่อ »

มอเตอร์ ac กับ dc ต่างกันอย่างไร ลู่วิ่ง

วิธีการเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า กับ 10 เคล็ดลับน่ารู้

10 เคล็ดลับน่ารู้ การเลือกซื้อลู่วิ่งไฟฟ้า เครื่องออกกำลังกายประเภทคาดิโอ ทำให้เรามีสุขภาพที่เเข็งแรง เผาผลาญไขมัน

มอเตอร์กระแสตรงและกระแสสลับแบบไหนดีกว่า

ในแง่ความนุ่มนวลในการขับขี่ ตัว ac มอเตอร์ คือมีความนุ่มนวลในการขับขี่มากกว่ามอเตอร์ DC เพราะ dc มอเตอร์ คือ มอเตอร์ที่ไม่มีความนุ่มนวล เพราะค่าการปรับแต่งในกล่องคอนโทรลเลอร์ของ AC มีมากกว่า DC ทำให้ความนุ่มนวลสูงกว่า ทำให้มอเตอร์ AC ตอบโจทย์การใช้งานได้ดีกว่ามอเตอร์ DC.

มอเตอร์ดีซีกับเอซีต่างกันอย่างไร

และสิ่งแตกต่างที่เห็นได้ชัดของสองชนิดคือ มอเตอร์ AC กินไฟกระแสสลับ 220V ส่วนมอเตอร์ DC กินกระแสตรง 12V ที่ผ่านจากแบตเตอรี่ คุณสมบัติที่ดีของ มอเตอร์ AC ให้กำลัง และทนทานสูง ใช้ได้กับประตูทุกประเภท และมอเตอร์ AC ราคาถูกกว่า มอเตอร์ DC ดังนั้นเพื่อให้ราคามอเตอร์ DC ในประตูรีโมท (เทียบเท่า มอเตอร์ AC) จะมีขนาดเล็กกว่า AC ...

ลู่วิ่งไฟฟ้า ตัวไหนดี

การเลือกมอเตอร์ของลู่วิ่งไฟฟ้าควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นด้านราคา ฟังก์ชันการใช้งาน และลู่วิ่งไฟฟ้าที่ใช้ในบ้านจะมีเฉพาะแบบ DC ยกเว้น ลู่วิ่งขนาดใหญ่ จึงมีการใช้มอเตอร์ AC ทั้งนี้ มอเตอร์ DC หากมีการใช้งานที่ถูกต้องตามประเภทการใช้งาน ก็สามารถใช้งานได้ยาวนานเช่นกัน ลู่วิ่งไฟฟ้า Johnson รุ่นไหนดี ?

ลู่วิ่งไฟฟ้ามีกี่ประเภท

แบ่งลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ.
ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ = ลู่วิ่งขนาดเล็ก หรือลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 2 HP..
ฝึกซ้อมวิ่งเพื่อเพิ่มทักษณะ = ลู่วิ่งโค้ง หรือวิ่งลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 4 HP หรือสูงขึ้นไป.