ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์กับวงเครื่องสายต่างกันอย่างไร

เป็นวงดนตรีที่ใช้เครื่องดนตรีที่มีสายประเภทเครื่องดีดและเครื่องสีเป็นหลัก และมีเครื่องเป่า และเครื่องตีร่วมบรรเลงอยู่ด้วย ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงในงานมงคลไม่นิยมใช้บรรเลงในงานอวมงคล วงเครื่องสายมี 3 ประเภท1. วงเครื่องสาย มี 2  ขนาด
วงเครื่องสายวงเล็ก เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย




1.ซอด้วง, 2 ซออู้, 3.จะเข้, 4.ขลุ่ยเพียงออ, 5.โทน - รำมะนา, 6.ฉิ่ง

วงเครื่องสายเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลง ประกอบด้วย

1.ซอด้วง 2 คัน , 2.ซออู้ 2 คัน  , 3.จะเข้ 2 ตัว , 4.ขลุ่ยเพียงออ , 5. ขลุ่ยหลิบ , 6.โทน – รำมะนา ,

 7.ฉิ่ง



2. วงเครื่องสายปี่ชวา
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่างแต่ใช้ปี่ชวาแทนขลุ่ยเพียง และใช้กลองแขกแทนโทน-รำมะนา
1.ซอด้วง, 2.ซออู้, 3.จะเข้, 4 .ปี่ชวา ,  5. ขลุ่ยหลีบ, 6.กลองแขก, 7.ฉิ่ง


3. วงเครื่องสายผสม
มีเครื่องดนตรีในวงบรรเลงเหมือนกับวงเครื่องสายทุกอย่าง แต่เพิ่มเครื่องดนตรีประเภททำทำนองเข้ามาผสม 1 ชิ้น เช่น ขิม เรียกว่าเครื่องสายผสมขิม
 


วงมโหรี


     วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องดนตรีผสมทั้งดีด สี ตี เป่า เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงเพื่อขับกล่อม ไม่นิยมบรรเลงในการแสดงใด ๆ
วงมโหรีมี 5 แบบ คือ

1.วงมโหรีเครื่องสี่ เป็นวงมโหรีที่รวมเอาการบรรเลงพิณและการขับไม้ ซึ่งมีมาแต่โบราณเข้าด้วยกัน เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา มีเครื่องดนตรี 4 ชิ้น คือ
1.1  โทน เป็นเครื่องควบคุมจังหวะ

1.2 ซอสามสาย
1.3 กระจับปี่
1.4 กรับพวงวงมโหรีเครื่องสี่นี้เดิมผู้ชายเป็นผู้บรรเลง ต่อมาเมื่อนิยมฟังมโหรีกันแพร่หลาย ผู้มีบรรดาศักดิ์จึงนิยมให้ผู้หญิงฝึกหัดบรรเลงบ้างและได้รับความนิยมสืบต่อมา


ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์กับวงเครื่องสายต่างกันอย่างไร



2. วงมโหรีเครื่องหก คือ วงมโหรีเครื่องสี่ซึ่งเพิ่มเครื่องดนตรีอีก 2 อย่าง คือ รำมะนา สำหรับตีกำกับจังหวะคู่กับทับ และขลุ่ยเพียงออสำหรับเป่าดำเนินทำนอง  และเปลี่ยนใช้ฉิ่งแทนกรับพวง  นับเป็นการบรรเลงที่มีเครื่องดนตรีครบทั้งดีด สี ตี และเป่า
เกิดขึ้นในตอนปลายสมัยอยุธยา




ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์กับวงเครื่องสายต่างกันอย่างไร



3. วงมโหรีเครื่องเดี่ยว หรือ มโหรีเครื่องเล็ก คือ วงมโหรีที่ได้เพิ่มเครื่องดนตรีและเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครั้งแรกเพิ่มระนาดเอกและฆ้องวง (ภายหลังเรียกว่า ฆ้องกลางหรือฆ้องมโหรี)  ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วงและซออู้ ส่วนกระจับปี่นั้นเปลี่ยนเป็นใช้จะเข้แทน เนื่องจากเวลาบรรเลงจะเข้วางราบไปกับพื้น ซึ่งต่างกับกระจับปี่ที่ต้องตั้งดีด ทั้งนมที่ใช้รองรับสายและบังคับเสียงก็เรียงลำดับมีระยะเหมาะสมกว่ากระจับปี่ เวลาบรรเลงจึงทำให้ใช้นิ้วดีดได้สะดวกและแคล่วคล่องกว่า นอกจากนี้จะเข้ยังสามารถทำเสียงได้ดังและทำเสียงได้มากกว่ากระจับปี่

วงมโหรีเครื่องเดี่ยวประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1.ซอสามสาย 1 คัน   2. ซอด้วง 1 คัน  3.ซออู้ 1 คัน  4.จะเข้ 1 ตัว  5.ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา  6.ระนาดเอก 1 ราง

7.ฆ้องวง    8.โทน 1 ลูก รำมะนา 1 ลูก    9.ฉิ่ง 1 คู่

ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์กับวงเครื่องสายต่างกันอย่างไร



4. วงมโหรีเครื่องคู่ คือ วงมโหรีเครื่องเดี่ยวที่ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กเข้าในวง ทั้งนี้เนื่องด้วยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็กรวมเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรีจึงเพิ่มเครื่องดนตรีดังกล่าวบ้าง นอกจากนั้นยังเพิ่มซอด้วงและซออู้ขึ้นเป็นอย่างละ