เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย

ตามที่กล่าวไปข้างต้นว่าแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวคิดที่พึ่งพาความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและไอเดียใหม่ๆของผู้คน มาช่วยในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศ ซึ่งในประเทศไทยก็ได้นำมาประยุกต์ใช้  ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยได้มีหน่วยงานใหม่เกิดขึ้นภายใต้ชื่อ “สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน)” หรือ Creative Economy Agency (CEA)

โดยทำหน้าที่ในการช่วยในการสนับสนุน ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ผ่านการสนับสนุนต่างๆ สร้างพื้นที่ในการออกแบบที่เอื้อต่อการสร้างสรรค์และเริ่มต้นธุรกิจ 

ซึ่งในปัจจุบันมีสื่อ และสินค้าในประเทศที่ได้รับแรงขับเคลื่อนและสนับสนุนจากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เราเห็นมากมาย ตัวอย่างเช่น ละครเรื่อง “บุพเพสันนิวาส” ที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดประเพณีวิถีชีวิตอันงดงามของคนไทยในสมัยโบราณ ถ่ายทอดวัฒนธรรมการแต่งกาย อาหาร ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ชมได้รับแรงจูงใจให้อยากแต่งกาย หรือ ลิ้มรสอาหารอย่างในละคร 

หรือการเพิ่มมูลค่าผ้าขาวม้า จากการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการดัดแปลงให้เข้ากับบริบทและวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่มากยิ่งขึ้น 

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ในต่างประเทศ

อังกฤษ

เมื่อพูดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ต้องยอมรับว่าสหราชอาณาจักรถือเป็นต้นแบบที่มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การจัดตั้งทีมงานเพื่อทำการศึกษาและจำแนกประเภทอุตสาหกรรม การจัดเก็บข้อมูลและสถิติ และการวางนโยบายและแผนงานในระดับต่างๆ คือ นโยบายระดับชาติ (National Policies) นโยบายรายอุตสาหกรรม (Sectorial Policies) และนโยบายเฉพาะเรื่อง (Emerging Policies) นอกจากนี้ยังได้มีการจัดตั้งหน่วยงาน (Public Bodies) ต่างๆ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาคน การสนับสนุนทางด้านการเงิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนที่ให้กับธุรกิจขนาดย่อม และการสนับสนุนทางด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านสิทธิทางภาษีและโครงการต่างๆ มากมาย นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนและภาคการศึกษาก็มีส่วนสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของสห ราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการป้อนบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ตลอดจนการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ฮ่องกง 

ด้วยการมีตัวเลขเศรษฐกิจภาคบริการคิดเป็น 90% ของเศรษฐกิจรวมทั้งระบบ รัฐบาลฮ่องกงมีกลยุทธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยการเน้นทางด้านบริการ ซึ่งรวมถึงการจัดการ การเงิน การตลาด และลอจิสติกส์ ซึ่งเป็นจุดแข็งของเศรษฐกิจฮ่องกง ในขณะเดียวกันก็ส่งงานทางด้านการผลิตไปยังเขตเศรษฐกิจพีอาร์ดี (Pearl River Delta) ของจีน นอกจากนี้ รัฐบาลฮ่องกงยังได้มีจุดมุ่งหมายให้ฮ่องกงเป็น Creative Capital ของภูมิภาค โดยเน้นการจัดทำโครงการขนาดใหญ่เพื่อสร้างให้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของฮ่องกง เป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เช่น การจัดงานสัมมนาประจำปีที่เป็นที่รู้จักกันดีอย่าง Business of Design Week หรือการนำอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของตัวเองออกโปรโมทไปทั่วโลก เช่น งาน Creative Hong Kong ที่ลอนดอน หรืองาน Hong Kong at Cannes 2002 และอีกหลายโครงการที่ทำร่วมกับประเทศจีน เป็นต้น

ออสเตรเลีย

อีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญการการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์มานานแล้วคือ ออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรม Digital Content โดยการส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของฮ่องกงจะเน้นที่การสนับสนุนตลอดห่วง โซ่มูลค่า (Value Chain) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอย่างครบวงจร โดยมีตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมภาพยนตร์ (Film Industry)

ญี่ปุ่น

หันมาดูประเทศที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบเฉพาะตัวอย่าง ญี่ปุ่น น่าสนใจอย่างยิ่งว่า กลไกสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของญี่ปุ่นคือภาคเอกชน ในขณะเดียวกันรัฐบาลก็มีนโยบายเพื่อการสนับสนุนเรื่องต่างๆ เช่น การส่งเสริมเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมการลงทุนสำหรับกลุ่มผู้ประกอบการด้านความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Cluster) และ เมืองแห่งความคิดสร้างสรรค์ (Creative City) ด้วย ด้วยความที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมเป็นจุดแข็ง อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของญี่ปุ่นจึงเน้นไปที่อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับ เนื้อหา (Content Industry) ซึ่งรวมถึง แอนิเมชั่น ภาพยนตร์ ดนตรี และซอฟท์แวร์เกมส

จาก ChulaPedia

เนื้อหา

  • 1 เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)
  • 2 ที่มาและคำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • 3 ขอบเขตและความคลอบคลุมของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • 4 เอกสารอ้างอิง

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy)

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามความหมายของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหมายถึง แนวคิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการใช้องค์ความรู้ (Knowledge) การศึกษา (Education) การสร้างสรรค์งาน (Creativity) และการใช้ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทางวัฒนธรรม (Culture) การสั่งสมความรู้ของสังคม (Wisdom) และเทคโนโลยี/นวัตกรรมสมัยใหม่ (Technology and Innovation)(อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553)

คำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นคำภาษาไทยที่ใช้แทนคำในภาษาอังกฤษหลายๆ คำดังนี้ Creative Economy, Creative Industries, Cultural Industries โดยแต่ละคำในภาษาอังกฤษก็ถูกบัญญัตืขึ้นโดยหน่วยงานหลายๆ หน่วยงาน และมีความแพร่หลายในหลายๆ มิติ (Srisangnam, 2009)

และในร่างกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งจะนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2555 - 2559 ก็ได้มีการระบุยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาประเทศ 7 ยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์แรก "ยุทธศาสตร์การสร้างฐานการผลิตที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งและสมดุล" ที่ได้มีการกล่าวถึงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ก็เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์โดยตรง โดยสามารถสรุปใจความได้ดังนี้ ประเทศไทยจะเน้นเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยให้อยู่บนแนวคิดของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มีการกล่าวถึงการพัฒนาภาคการผลิตสินค้าและบริการบนฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยส่งเสริมการใช้ความสร้างสรรค์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ การส่งเสริมและพัฒนาสาขาธุรกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งแวดล้อมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ พัฒนาบุคลากรให้สามารถตอบสนองความต้องการของการภาคการผลิตและบริการทั้งในระดับวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์และผู้ประกอบการให้มีความคิดสร้างสรรค์ ส่งเสริมการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงลึกในสาขาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม(สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2553)

ที่มาและคำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เนื่องจากมีหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะในต่่างประเทศ ได้ให้คำจำกัดความของคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ในมิติต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจ ผู้เขียนขอยกตัวอย่างคำจำกัดความของหน่วยงาน และองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับมานำเสนอ ณ ที่นี้

คำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ถูกกล่าวถึงและเป็นที่ยอมรับอย่างเป็นทางการในระดับรัฐบาลครั้งแรกในประเทศสหราชอาณาจักร โดยในปี พ.ศ. 2544 (ค.ศ. 2001) Department of Culture, Media and Sport ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า "อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industries)" ไว้ว่า “Those industries which have their origin in individual creativity, skill and talent and which have a potential for wealth and job creation through the generation and exploitation of intellectual property.” (Department of Culture, Media and Sport, 2001, p. 04) และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แปลความหมายของคำจำกัดความนี้ว่า “เศรษฐกิจที่ประกอบด้วยอุตสาหกรรมที่มีรากฐานมาจากความคิดสร้างสรรค์ของบุคคล ทักษะความชำนาญ และความสามารถพิเศษ ซึ่งสามารถนำใช้ประโยชน์ในการสร้างความมั่งคั่งและสร้างงานให้เกิดขึ้นได้ โดยที่สามารถสั่งสมและส่งผ่านจากรุ่นเก่าสู่รุ่นใหม่ด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา” (อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553)

เมื่อคำคำนี้และแนวคิดการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เริ่มเป็นที่นิยม และเนื่องจากมีส้วนเกี่ยวข้องกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นในปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) องค์์การทรัพย์์สินทางปััญญาโลก (World Intellectual Property Organization, WIPO) จึงได้มีการให้คำนิยามของคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ว่า “Industries that include the cultural industries plus all cultural or artistic production, whether live or produced as an individual unit. The creative industries are those in which the product or service contains a substantial element of artistic or creative endeavor." (WIPO, 2003)และคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้แปลความหมายของคำจำกัดความนี้ว่า “อุตสาหกรรมทางวัฒนธรรม ประกอบด้้วยผลิตภัณฑ์์ทางวัฒนธรรมและศิลปะทั้งหมด ทั้งในรูปสินค้าและบริการที่ต้องใช้ความพยายามในการสร้างสรรค์งาน ไม่ว่าจะเป็นการทำขึ้นมาโดยทันทีในขณะนั้น หรือผ่านกระบวนการผลิต และเน้นการปกป้องผลงานผ่าน Copyright”(อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553)

องค์กรระหว่างประเทศที่ทำหน้าที่ดูแลควบคุมและส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2 องค์กรหลักได้แก่ UNESCO และ UNCTAD ต่างก็ได้ให้คำจำกัดความของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ดังนี้ คำจำกัดความของ UNESCO เศรษฐกิจสร้างสรรค์คือ “อุตสาหกรรมที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญ และความสามารถที่มีศักยภาพในการสร้างงานและความมั่งคั่งโดยการผลิตและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญา” (อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553)

ในขณะที่องค์กรที่ให้คำจำกัดความคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างละเอียด และมีการนำเสนอในรูปแบบของรายงาน อย่างเป็นทางการมากที่สุด คือ UNCTAD ในรายงาน "Creative Economy Report 2008" โดย UNCTAD ได้ให้คำนิยามของคำว่าเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไว้ดังนี้(UNCTAD, 2008)

"The creative economy is an evolving concept based on creative assets potentially generating economic growth and development. “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแนวความคิดในการสร้างความเจริญเติบโตและการพัฒนาการทางเศรษฐกิจโดยใช้สินทรัพย์ที่เกิดจากการใช้ความคิดเชิงสร้างสรรค์”

It can foster income generation, job creation and export earnings while promoting social inclusion, cultural diversity and human development. "เศรษฐกิจสร้างสรรค์ทำให้เกิดการสร้างรายได้ สร้างงาน และสร้างรายได้จากการส่งออก ในขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม สนับสนุนความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์"

It embraces economic, cultural and social aspects interacting with technology, intellectual property and tourism objectives. "เศรษฐกิจสร้างสรรค์เชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และสังคมให้มีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยี ทรัพยฺ์สินทางปัญญา และการท่องเที่ยว"

It is a set of knowledge-based economic activities with a development dimension and cross-cutting linkages at macro and micro levels to the overall economy. "เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เน้นองค์ความรู้ เกี่ยวข้องกับมิติทางด้านการพัฒนาการ เป็นการเชื่อมโยงทุกภาคส่วนทางเศรษฐกิจทั้งในระดับจุลภาค และมหภาค"

It is a feasible development option calling for innovative multidisciplinary policy responses and interministerial action. "เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเทศต้องการนโยบายที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีความหลากหลายทางแนวคิด และต้องการการปฏิบัติงานร่วมกันในทุกๆ หน่วยงาน"

At the heart of the creative economy are the creative industries." "และหัวใจสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์อยู่ที่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์"

ขอบเขตและความคลอบคลุมของเศรษฐกิจสร้างสรรค์

เนื่องจากมีหลายหน่วยงานและหลายองค์กรที่ให้คำนิยามและให้คำจำกัดความของแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ดังนั้นขอบเขตของภาคการผลิตที่่จะนับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงมีความแตกต่างกันออกไป และในกรณีของประเทศไทยนั้น ปัจจุบันขอบเขตและความคลอบคลุมของภาคการผลิตที่่จะนับเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก ดังนั้นผู้เขียนจึงขอใช้การนำเสนอของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในกิจกรรม ปรับกระบวนทัศน์ของประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งจัดโดย กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับศนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเป็นหลักในการนำเสนอในหัวข้อนี้

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ คืออะไร

จากรูปภาพจะเห็นได้ว่า ในกรณีของประเทศไทยนั้น คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความพยายามที่จะเพิ่ม 2 ภาคการผลิตซึ่งแตกต่างจากในกรณีของประเทศอื่นๆ เข้าไปในเศรษซกิจสร้างสรรค์นั่นคือ ภาคการผลิตอาหารไทย และการบริการการแพทย์แผนไทย ซึ่งทั้ง 2 ภาคการผลิตเป็นภาคการผลิตที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางการแข่งขันที่สูงเพื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในเวทีการค้าโลก

--Spiti 05:21, 30 กรกฎาคม 2553 (BST)

เอกสารอ้างอิง

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2553, "ร่างกรอบทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11" [1] Access [29/7/2010].

อาคม เติมพิทยาไพสิฐ, 2553 "Thailand’s Creative Economy" รองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอในกิจกรรม ปรับกระบวนทัศน์ของประเทศสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ จัดโดย กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับศนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ บรรยาย ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ วันที่ 26 มีนาคม 2553

Department of Culture, Media and Sport (2001), “Creative Industries Mapping Document 2001”, [2], London, UK, Access [11/01/2010].

Srisangnam, 2009, "Creative Economy" Lecture note prepared for Korean Study Programme, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

World Intellectual Property Organization, WIPO ( 2003), Guide on Surveying the Economic Contribution of the Copyright –Based Industries

UNCTAD (2008), “Creative Economy Report 2008”, [3], Access [11/01/2010].

--Spiti 04:45, 30 กรกฎาคม 2553 (BST)

เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความสำคัญต่อประเทศอย่างไร

เรียกว่าระบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้น นอกจากจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนแล้ว ยังเป็นการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ วัฒนธรรมท้องถิ่น ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ และยกระดับคุณภาพชีวิตให้ประชาชนในประเทศได้อย่างทั่วถึงอีกด้วย

องค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์คืออะไร

องค์ประกอบของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานของการสร้าง และใช้องค์ความรู้ความคิดสร้างสรรค์และ ทรัพย์สินทางปัญญา ที่เชื่อมโยงกับพื้นฐานทาง วัฒนธรรม การสั่งสมความรู้ของสังคม เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการผลิตสินค้าและบริการใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีคุณลักษณะอย่างไรที่จะสามารถมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

เศรษฐกิจสร้างสรรค์จะสมบูรณ์ได้ต้องมีความแข็งแกร่งของ B2P คือ business, people and place (ธุรกิจ, ผู้คน และพื้นที่) พัฒนาไปด้วยกัน เศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงไม่ใช่การมุ่งใช้จินตนาการเพื่อสร้างผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคิดถึงทุกฝ่าย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง แล้วผลลัพธ์ในท้ายสุดคือ ธุรกิจมีการเติบโตอย่างเข้มแข็ง มีฐานรากที่ ...

Creative Economy เป็นของประเทศใด

สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ดำเนินนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตั้งแต่การใช้นโยบาย Cool Britannia จนถึงกลยุทธ์ Create UK ที่จัดทำขึ้นโดย Creative Industries Council ซึ่งเกิดจากความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน รัฐบาลอังกฤษพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ควบคู่ไปกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้าน ...