สายวิชาพาณิชยกรรมเป็นอย่างไร

เป็นการสับสนมากที่จะเลือกเรียนเมื่อจบม. 3 แต่หนูสนใจเรียน ปวส.ประเภทวิชาพณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ มีดังนี้
                 สาขาวิชาพณิชยการแบ่งออกเป็น สาขางานการบัญชี การขาย การเลขานุการ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจสถานพยาบาล การประชาสัมพันธ์ ภาษาต่างประเทศ งานสำนักงานสำหรับผู้พิการทางสายตา
                สาขาวิชาธุรกิจบริการ แบ่งออกเป็น สาขางานการจัดการความปลอดภัย การจัดการความสะอาด

แต่หนูไม่เก่งคนิคศาตร์เลยอยากจะไห้ทุกๆคนช่วยแนะนำหน่อยค่ะว่าควรเรียนอะไรค่ะตอนนี้สับสนมากค่ะ

แก้ไขข้อความเมื่อ

ประเภทวิชาพาณิชยกรรม (ปวช.)

  • รู้จักแผนก
  • หลักสูตรที่เปิดสอน
  • ข่าวและกิจกรรม
  • บุคลากร
  • ติดต่อคณะ

หลักสูตรที่เปิดสอน

  1. ประเภทวิชาพาณิชยกรรม (ปวช.)
  2. หลักสูตรที่เปิดสอน

สายวิชาพาณิชยกรรมเป็นอย่างไร

สาขาวิชาการตลาด

Marketing


สาขางานการตลาด Marketing

มุ่งเน้นการเรียนรู้แนวคิดการตลาดสมัยใหม่ ทั้งด้านการวางแผนการตลาด การขายออนไลน์ การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ การเขียนแผนธุรกิจอย่างมีคุณภาพ การสื่อสารทางด้านภาษา เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านธุรกิจให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและก้าวทันโลก เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ หรือการประกอบธุรกิจส่วนตัวอย่างผู้ประกอบการมืออาชีพ นอกจากนี้ยังสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

ดูเพิ่มเติม

สาขาวิชางานการตลาด Marketing

สาขางานการตลาด เรียนรู้แนวความคิดการบริหารธุรกิจ และการตลาดสมัยใหม่ ทั้งด้านการขาย การโฆษณา การเงิน การบัญชี การวางแผนการตลาด การเขียนแผนธุรกิจอย่างมีคุณภาพ เพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพ การติดต่อสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศทั้งภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ หรือประกอบกิจการส่วนตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีในยุคปัจจุบัน และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงต่อไปได้

การเรียนรู้งานวิชาชีพในสถานประกอบการ

ได้รับประสบการณ์จริง ในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ หรือสถานประกอบการที่มีชื่อเสียง เรียนรู้การทำงาน 320 ชม. (เรียนรู้ในสถานประกอบการภาคฤดูร้อน)

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถทำงานตำแหน่งพนักงานการขาย นักการตลาด พนักงานการบริการลูกค้าสัมพันธ์ นักวิจัยการตลาด นักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ ฝ่ายจัดซื้อ นักพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีมาตรฐาน หรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนเองได้

         สวัสดีค่ะน้อง ๆ ช่วงนี้ก็เทอม 2 กันแล้ว เป็นช่วงที่น้อง ๆ ม.3 หลายคนกำลังตัดสินใจว่าจะเรียนต่อทางไหนดี ม.ปลาย หรือสายอาชีพ แล้วถ้าเรียน ม.ปลาย จะเข้าสายไหนดี เรียนสายอาชีพก็มีสายให้เลือกเยอะไปหมด

         วันนี้พี่แป้งจะพาน้องๆ ไปเจาะลึกหลักสูตรของสายอาชีพที่เป็นสายยอดฮิต แต่ละปีมีคนสมัครเยอะมาก เป็นสายที่มีสาขาหลากหลายแล้วแต่ว่าน้องๆ จะเลือกต่อไปทางไหน เมื่อจบ ปวช. แล้วก็ต่อ ปวส. ได้ยาวๆ หรือจะเรียนต่อปริญญาตรีก็ได้ นั่นก็คือสาย "พาณิชยกรรม-บริหารธุรกิจ" มีสาขาอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

กลุ่มที่ 1 สาขาวิชาการบัญชี   

           เริ่มที่สาขางานการบัญชี เป็นสายงานที่แต่ละปีรับเยอะมาก และก็มีคนสมัครมากด้วยเช่นกัน สาขานี้เรียนเกี่ยวกับการทำบัญชีเบื้องต้น การจัดการระบบบัญชีภายใจองค์กร ซึ่งเป็นการเรียนโดยใช้โปรแกรมบัญชีแบบสำเร็จรูป ทั้งเรื่องการทำบัญชี เรื่องการเสียภาษี ซึ่งสามารถประยุกต์ความรู้ให้เข้ากับองค์กรที่เราไปทำงานได้ค่ะ อาชีพของคนที่จบสายนี้ก็เช่น พนักงานบัญชี รับทำบัญชี บริษัทผู้ตรวจสอบบัญชี เจ้าหน้าที่บัญชี เป็นต้น

กลุ่มที่ 2 สาขาวิชาการตลาด  

           เมื่อมีงานบัญชีก็ต้องมีส่วนของการตลาดที่ขาดกันไม่ได้เลย เป็นอีกส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจขององค์กร สาขางานการตลาดเรียนเกี่ยวกับการตลาด การส่งเสริมการขาย การจัดการเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การวางกลยุทธ์ทางการตลาด การวิจัยทางการตลาด การบริหารจัดการโดยภาพรวม ซึ่งจะเป็นแนวทางในการทำงานต่อขององค์กรค่ะ อาชีพของคนที่จบสายนี้ก็เช่น เจ้าหน้าที่การตลาด เจ้าหน้าที่วิจัยทางการตลาด พนักงานขายสินค้า เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป เป็นต้น

กลุ่มที่ 3 สาขาวิชาการเลขานุการ  

          อีกหนึ่งสายงานที่ผู้หญิงเลือกเรียนเยอะมากก็คือ สาขางานการเลขานุการ แต่จริง ๆ แล้วผู้ชายก็เรียนได้นะ สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับงานเลขานุการทุกอย่าง ตั้งแต่การใช้เครื่องใช้สำนักงาน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสาร การรับโทรศัพท์ การส่ง Fax นอกจากนี้ก็ต้องเรียนรู้เรื่องของการจัดทำเอกสารทั้งแบบทางการ กึ่งทางการ จดหมายเวียน การจัดการประชุม การรายงาน การพิมพ์เนื้อหางานต่าง ๆ รวมทั้งการใช้ภาษา ลากยาวไปถึงเรื่องของมารยาททางสังคมด้วยค่ะ อาชีพนอกจากเป็นเลขานุการแล้วยังสามารถทำงานอื่น ๆ ได้อีก เช่น รับราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ธุรการ เจ้าพนักงานพิมพ์ดีด เลขานุการส่วนตัว เป็นต้น

กลุ่มที่ 4 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์  

          ต่อกันอีกหนึ่งสาขาที่ฮออตฮิตไม่แพ้ใคร ด้วยชื่อเก๋ ๆ กับ สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่จะเรียนเกี่ยวกับการเข้าใจระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ เขียนโปรแกรมขนาดเล็ก จัดการและแก้ไขปัญหาระบบคอมพิวเตอร์ ใช้ระบบเครือข่ายในการปฏิบัติงาน การสร้างเว็บเพจ ไปจนถึงการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปแบบต่าง ๆ อาชีพที่สามารถทำได้ก็เช่น โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบ เจ้าหน้าที่ซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซด์ เป็นต้น และถ้ายิ่งต่อยอดการเขียนโปรแกรมให้เก่งขึ้น บอกเลยว่าอนาคตรุ่งแน่นอน!!

กลุ่มที่ 5 สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล  

           อ่านชื่อสาขากันก่อน สาขานี้คือ "สาขางานธุรกิจสถานพยาบาล" ไม่ใช่งานพยาบาล ไม่ได้เรียนจบมาเป็นพยาบาลชุดขาวใส่หมวกแบบที่เราเห็นในโรงพยาบาลนะคะ แต่เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับการดูแลสถานพยาบาล ซึ่งก็มีเรียนทั้งส่วนของการบริหารและการดูแลผู้ป่วยด้วย เนื้อหาที่เรียนก็เช่น การจัดการธุรกิจสถานพยาบาล เครื่องใช้สำนักกงาน การประชาสัมพันธ์ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น พื้นฐานร่างกายมนุษย์ การดูแลผู้สูงอายุ นี่ยกตัวอย่างมาแค่บางส่วนเท่านั้นนะคะ คือเรียนเยอะมาก แนะนำว่าเรียนสายนี้ให้ต่อ ปวส. เลย แต่ถ้าอยากเรียนปริญญาตรี ให้จบ ปวส. ก่อนแล้วเรียนปริญญาตรีบริหาร ชีวิตสวยเลยค่ะ

กลุ่มที่ 6 สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์  

           ก่อนอื่นต้องแยกก่อนว่า การตลาดกับการประชาสัมพันธ์ไม่เหมือนกันนะคะ การตลาดคือส่วนของการวางแผน แล้วฝ่ายประชาสัมพันธ์ไปทำงานต่อ เลยทำให้มีอีกสาขางอกขึ้นมาคือ สาขางานประชาสัมพันธ์ ที่เรียนเกี่ยวกับ ภาษาเพื่อการสื่อสาร สารสนเทศเบื้องต้น การพัฒนาบุคลิกภาพ การพิมพ์ดีด ความรู้พื้นฐานทางสื่อสารมวลชน การใช้โปรแกรมเพื่อการนำเสนอ เป็นสาขาที่เรียนเพื่อที่จะนำเสนอองค์กร เป็นตัวแทนองค์ไปประสานงานกับที่อื่น ๆ เป็นอีกส่วนที่สำคัญเลยล่ะค่ะ

กลุ่มที่ 7 สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก  

        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกทั่วไป  
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านสะดวกซื้อ  
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกสรรพสินค้า
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกซุปเปอร์เซ็นเตอร์   
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกซุปเปอร์มาร์เก็ต  
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกสินค้าเฉพาะอย่าง
        - สาขางานธุรกิจบริการ   
        - สาขางานธุรกิจค้าปลีกร้านอาหารและภัตตาคาร

           ถ้าพูดถึงธุรกิจค้าปลีกส่วนใหญ่น้อๆ จะนึกถึงซุปเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งจริงๆ แล้วธุรกิจค้าปลีกคือคลอบคลุมทุกส่วนของการค้าปลีก เรียนตั้งแต่การจัดวางสินค้า การกระจายสินค้า การทำโปรโมชั่น การบริการ การคิดราคาสินค้า หักต้นทุนกำไร เป็นต้น ซึ่งมีสาขาเอกให้เลือกเรียนมากมายทั้งธุรกิจค้าปลีกแบบใหญ่และแบบย่อย จบมาก็ทำได้ตั้งแต่เป็นพนักงานขายจนถึงผู้จัดการร้านเลยค่ะ ถ้าชอบการค้าขาย มีใจรักบริการ แนะนำสาขานี้เลย

กลุ่มที่ 8 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ   

           สาขาสุดท้ายของสายพาณิชยฯ-บริหารธุรกิจ สาขานี้จะเน้นที่การฝึกใช้งานภาษาต่างประเทศ โดย ปวช. จะเน้นไปที่ภาษาอังกฤษ ซึ่งจะไม่ได้เรียนแค่ส่วนของไวยกรณ์เท่านั้น แต่จะเรียนส่วนของการนำไปใช้ด้วย การสื่อสารในชีวิตประจำวันจนถึงภาคธุรกิจ การทำหนังสือหรือจดหมายที่เป็นทางการ การเสนองานเป็นภาษาต่างประเทศ ภาษาสำหรับการท่องเที่ยว เป็นต้น ส่วนงานก็ขึ้นอยู่กับว่าจะทำสายไหน ซึ่งสามารถประยุกต์ได้หลากหลายค่ะ

ถ้าน้อง ๆ จะเรียนต่อ ปวส. ก็มีสาขาให้เลือกต่อดังนี้
        - สาขาวิชาการบัญชี  สาขางานการบัญชี  สาขางานคอมพิวเตอร์เพื่อการบัญชี
        - สาขาวิชาการตลาด  สาขางานการตลาด  สาขางานธุรกิจค้าข้าว
        - สาขาวิชาการเลขานุการ  สาขางานการเลขานุการ
        - สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ  สาขางานการพัฒนาโปรแกรม  สาขางานการพัฒนาเว็บเพจ 
           สาขางานเทคโนโลยีสำนักงาน
        - สาขางานคอมพิวเตอร์กราฟฟิก
        - สาขาวิชาการเงินและการธนาคาร  สาขางานการเงินภาครัฐบาลและเอกชน 
          สาขางานการเงินเพื่ออาชีพอิสระ
        - สาขาวิชาธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ  สาขางานธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
        - สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์  สาขางานการจัดการทรัพยากรมนุษย์
        - สาขาวิชาธุรกิจประกันภัย  สาขางานธุรกิจประกันภัย
        - สาขาวิชาธุรกิจสถานพยาบาล  สาขางานธุรกิจสถานพยาบาล
        - สาขาวิชาการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ สาขางานการประชาสัมพันธ์ สาขางานการโฆษณา
        - สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก  สาขางานธุรกิจค้าปลีกทั่วไป  สาขางานธุรกิจร้าน-
          สะดวกซื้อ สาขางานธุรกิจสรรพสินค้า สาขางานธุรกิจซูเปอร์เซ็นเตอร์  สาขางานธุรกิจ-
          ซูเปอร์มาร์เก็ต  สาขางานธุรกิจค้าปลีกเฉพาะอย่าง  สาขางานธุรกิจบริการ
          สาขางานธุรกิจร้านอาหารและภัตตาคาร
        - สาขาวิชาภาษาต่างประเทศธุรกิจ  สาขางานภาษาอังกฤษ  สาขางานภาษาจีน 
          สาขางานภาษาญี่ปุ่น  สาขางานภาษาฝรั่งเศส สาขางานภาษาเยอรมัน
        - สาขาวิชาการจัดการผลิตภัณฑ์  สาขางานการจัดการผลิตภัณฑ์
        - สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์  สาขางานการจัดการการขนส่ง  สาขางานการจัดการคลัง-
          สินค้า  สาขางานตัวแทนรับออกของ
        - สาขาวิชาการจัดการทั่วไป  สาขางานการจัดการทั่วไป
        - สาขาวิชาการจัดการสำนักงาน  สาขางานการจัดการสำนักงาน
        - สาขาวิชาการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์  สาขางานการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
        - สาขาวิชาธุรกิจรับจัดงาน  สาขางานธุรกิจรับจัดงาน

        หรือถ้าจะเรียนต่อปริญญาตรี สามารถต่อได้ในคณะดังต่อไปนี้

(**ชื่อเรียกคณะของแต่ละมหาวิทยาลัยไม่เหมือนกัน**)
        - คณะบริหารธุรกิจ
        - คณะวิทยาการจัดการ
        - คณะวิทยาการจัดการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
        - คณะการจัดการและการท่องเที่ยว
        - คณะการบัญชีและการจัดการ
        - คณะบริหารศาสตร์

          ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม สายพาณิชยกรรม-บริหารธุรกิจ ถึงเป็นหลักสูตรที่ฮิตทุกปี เพราะว่าจบมาแล้วสามารถทำงานได้หลากหลาย นำความรู้ไปประยุกต์ได้ในหลายองค์ สายงานไม่ได้ตายตัวแต่มีความเฉพาะทางในเรื่องของความรู้ และยิ่งเรียน ปวช. ที่เป็นการเรียนเน้นทางภาคปฏิบัติมากกว่า บอกเลยว่าจบ ปวช. ก็หางานได้เลย ถ้าน้อง ๆ คนไหนสนใจที่จะเรียนต่อ ปวช. ก็ลองศึกษาดูอย่างละเอียดอีกครั้งนะคะ ไม่ผิดหวังแน่นอน