สภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียใต้มีลักษณะอย่างไร

ภูมิศาสตร์ภูมิภาค
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

         

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วย 11 ประเทศ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมเป็นหลัก จึงทำให้ภูมิภาคนี้เป็นแหล่งอาหารสำคัญของโลกและเป็นแหลางวัตถุดิบสำคัญในการแปรรูปการเกษตร และอุตสาหกรรม แต่ประชากรภาคการเกษตรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของภูมิภาคยังมีฐานะยากจนและขาดความรู้ ในด้านการ อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว

ลักษณะทั่วไปของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
         เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยดินแดนต่างๆ 11 ประเทศ ซึ่งได้แก่ ประเทศไทย บรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนามและติมอร์-เลสเต

สภาพแวดล้อมทางกายภาพของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต 
         ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ทางซีกโลกตะวันออกและทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย โดยทางด้านทิศเหนือติด แ ประเทศจีน ทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ทิศใต้ติดมหาสมุทรอินเดีย และทิศตะวันตกติดประเทศอินเดีย และบังกลาเทศ โดยตั้งอยู่ประมาณระหว่างละติจูดที่ 10 องศาใต้ถึงละติจูดที่ 28 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 92 องศาตะวันออกถึง 141 องศาตะวันออก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพื้นที่ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็น ภาคพื้นทวีปและส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปเป็นพื้นแผ่นดินใหญ่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปเอเชีย ประกอบด้วยประเทศไทย สหภาพ พม่า ลาว เวียดนาม กัมพูชา บางส่วนของประเทศมาเลเซีย ส่วนที่เป็นหมู่เกาะ ได้แก่ ประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน สิงคโปร์ บางส่วนของประเทศมาเลเซีย และประเทศติมอร์-เลสเต

ลักษณะภูมิประเทศ 
          ลักษณะภูมิประเทศของภอ ูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำแนกได้ดังนี้

  1. บริเวณทิวเขาและที่ลาดเชิงเขา ทิวเขาในภูมิภาคนี้มีลักษณะการวางตัว 3 รูป แบบใหญ่ คือ วางตัวในแนวทิศเหนือ – ใต้ เช่น ทิวเขาด้านตะวันตกและตอนกลางของภูมิภาค คือสหภาพพม่า และทิศตะวันตก กับภาคเหนือของประเทศไทยและลาว ส่วนด้านตะวันออกของภูมิภาคจะมีการวางตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตก
     
  2. บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นพื้นที่ราบหรือค่อนข้างราบที่เกิดจากการทับถมของตะกอนจากแม่น้ำ พบอยู่สองฝั่งของแม่น้ำ หากแม่น้ำมีขนาดเล็กจะพบพื้นที่ราบมีขนาดเล็ก บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำเป็นแหล่งที่ตั้งของชุมชนและเป็นแหล่งการเกษตรที่สำคัญของภูมิภาค
     
  3. บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล บริเวณนี้ประกอบด้วยพื้นที่สามลักษณะ ลักษณะแรก คือ บริเวณที่เป็นหาดทรายที่เกิดจากการทับถม ของทรายจากการกระทำของคลื่นในทะเล  พื้นที่ลักษณะที่สอง คือ บริเวณพื้นที่ที่เป็นดินเลน มักจะพบป่าไม้ธรรมชาติ เช่น ป่าโกงกาง ป่าจาก เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างยิ่ง บริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลพบได้ทั่วไปในประเทศ ที่มีอาณาเขตติดทะเล พื้นที่ลักษณะที่สาม คือ พื้นที่ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลที่เป็นหาดทรายหรือหาดเลนเข้าไปในแผ่นดิน เป็นพื้นที่ค่อนข้างราบลอนลาดที่เกิดจากการทับถมของทรายหรือเกิดจากการผุพังของหิน จนกลายเป็นที่ลอนดอน
     
  4. บริเวณหมู่เกาะ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยเกาะขนาดใหญ่และขนาดเล็กมากมาย ประเทศที่มีหมู่เกาะจำนวน มาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย มีเกาะมากกว่า 13,000 เกาะ ประเทศฟิลิปปินส์มีเกาะประมาณ 7,000 เกาะ

ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ

  1. ลักษณะภูมิอากาศ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือเขตร้อน ซึ่งแบ่งออกได้เป็นสองลักษณะ คือ มีสภาพภูมิอากาศชุ่มชื้นในฤดูฝนและแห้งแล้งในฤดูแล้งอย่างชัดเจน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ มีฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดทั้งปี เนื่องจากภูมิภาคนี้ตั้งอยู่ในบริเวณเส้นศูนย์สูตร ดังนั้นจึงมีอุณหภูมิเฉลี่ยรายวันหรือรายเดือนสูงสม่ำเสมอเกือบตลอดทั้งปี  สำหรับประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวนมาก ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์นั้น จะได้รับอิทธิพลจากลมทะเล และพายุแบบต่างๆเกือบตลอดทั้งปี จึงทำให้มีฝนตกชุก ยกเว้นบางบริเวณที่อาจจะมีอากาศแห้งแล้งได้บ้างเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ทางตะวันออกของเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย สำหรับประเทศฟิลิปปินส์พายุไต้ฝุ่นซึ่งมีทั้งความเร็วลมสูงและปริมาณน้ำ ฝนมาก พัดผ่านประเทศเป็นจำนวนมากกว่า 10 ลูก ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบที่รุนแรงจนเกิดภัยธรรมชาติเป็นประจำทุกปี
     
  2. ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ เนื่องจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งอยู่ในเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุดมสมบูรณ์ไปด้วย ป่าไม้และทุ่งหญ้านานาชนิด แต่ในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เช่น ประเทศไทย เป็นต้น

ป่าไม้ที่พบในภูมิภาคนี้ มีดังนี้

  • ป่าดิบ บริเวณที่พบป่าดิบมาก ได้แก่ บริเวณใกล้เขตศูนย์สูตร เช่น ภาคใต้ของประเทศไทย มาเลเซีย หมู่เกาะอินโดนีเซีย และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ป่าไม้ผลัดใบหรือป่าเบญจพรรณ ป่าไม้ผลัดใบเป็นป่าที่พบมากในเขต ที่มีอากาศ สลับระหว่างความ ชุ่มชื้นและความ แห้งแล้ง ชัดเจน พบทางตอนบนของภูมิภาค ในเขตประเทศพม่า ไทย ลาว
  • ป่าสน ป่าสนสองใบและสนสามใบจะพบบริเวณทิวเขาสูง ป่าสนเป็นแหล่งไม้ฟืนที่สำคัญของชาวเขา
    ป่าหาดทรายชายทะเล ในบริเวณหาดทรายธรรมชาติจะมีป่าโปร่ง เช่นเดียวกัน ป่าไม้ผลัดใบ แต่พบตามหาดทราย พบได้ทั่วไปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในบริเวณที่ติดต่อกับทะเลของทุกประเทศ
  • ป่าปลูก เนื่องจากในปัจจุบันพื้นที่ป่าไม้ได้ลดลงอย่างรวดเร็ว และเพื่อต้องการรักษาสมดุลธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการ ปลูกป่าทดแทนพื้นที่สูญเสียไป

ประเทศ

ประเทศพื้นที่ (ตร.กม.)ประชากร (2554)ความหนาแน่น (/ตร.กม.)GDP (ราคาตลาด),
USD (2554)
GDP (ราคาตลาด) ต่อหัว, USD (2011)
HDIเมืองหลวง
 บรูไน 5,765 425,890 74 15,533,000,000 $36,584 0.838 บันดาร์เสรีเบกาวัน
 พม่า 676,578 62,417,000 92 51,925,000,000 $832 0.483 เนปยีดอ
 กัมพูชา 181,035 15,103,000 84 12,861,000,000 $852 0.523 พนมเปญ
 ติมอร์ตะวันออก 14,874 1,093,000 74 4,315,000,000 $3,949 0.495 ดิลี
 อินโดนีเซีย 1,904,569 241,030,522 127 845,680,000,000 $3,509 0.617 จาการ์ตา
 ลาว 236,800 6,556,000 28 7,891,000,000 $1,204 0.524 เวียงจันทน์
 มาเลเซีย 329,847 28,731,000 87 278,680,000,000 $10,466 0.761 กัวลาลัมเปอร์
 ฟิลิปปินส์ 300,000 95,856,000 320 213,129,000,000 $2,223 0.644 มะนิลา
 สิงคโปร์ 724 5,274,700 7,285 259,849,000,000 $49,271 0.866 สิงคโปร์
 ไทย 513,120 64,076,000 125 424,985,000,000 $6,573 0.682 กรุงเทพมหานคร
 เวียดนาม 331,210 89,316,000 270 122,722,000,000 $1,374 0.593 ฮานอย
ที่มา - http://www.baanjomyut.com/library_2/southeast_asia/