การแบ่งประเภทของกฎหมายตามหน้าที่ของกฎหมายคือข้อใด

                �������Ը�ʺѭ�ѵ� �繡���������ǡѺ��ô��Թ��� ����������зӼԴ���Ѻ�� �ҡ�繤���ҭҡ��ͧ������š������ԸվԨ�óҤ����ҭ� ���㹻����š����´ѧ����ǨС�˹��ӹҨ˹�ҷ��ͧ��Ҿ�ѡ�ҹ�ͧ�Ѱ㹡�ô��Թ����ҭ� �����ͧ�ء�� ������� ����ͺ�ǹ�������Ҿ�ѡ�ҹ ��ÿ�ͧ��յ����� ��þԨ�óҤ�� ��С�þԾҡ�Ҥ������ ŧ�������зӤ����Դ  

กฎหมายมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับว่าผู้ที่ศึกษาจะแบ่งตามลักษณะสิ่งใด  อาจแบ่งตามที่มาของกฎหมาย แบ่งตามลักษณะการใช้ หรือแบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน

ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย

2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย

3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 


ที่มาของกฎหมายมี 2 ระบบ คือระบบกฎหมายลายลักษณ์อักษร และระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือเรียกอีกอย่างว่า ระบบจารีตประเพณี

1. ระบบลายลักษณ์อักษร ( CivillawSystem )ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบมีการจดบันทึกมีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภามีการจัด หมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจานุเบกษากฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกากฎกระทรวง

2.ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี ( CommonLawSystem) เป็นกฎหมาย ที่มิได้มีการจัดทำเป็นลายลักษณ์อักษรไม่มีการจัดเป็นหมวดหมู่และไม่มีมาตรา หากแต่เป็นบันทึกความจำตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่ใช้กันต่อๆมาตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิมประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แก่ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลาย ในเครือจักรภพของอังกฤษ

ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 


การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

1. กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคลกำหนดข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญาโดยเฉพาะในทางอาญา คือประมวลกฎหมายอาญาจะ บัญญัติ ลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไรและในทางแพ่ง คือประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบท บัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่าง ๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น

2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นเอง เช่น ไปดำเนินคดีในศาลหรือเรียกว่ากฎหมายวิธีพิจารณาความก็ได้กฎหมายวิธีสารบัญญัติจะกำหนดระเบียบระบบขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหา วิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา    ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก

 ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน

 คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปฏิบัติด้วยกัน เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง หรือความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับเอกชน คือ เจ้าหน้าที่รัฐกับเอกชน    แยกได้เป็น 3 ประเภท คือ กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน และกฎหมายระหว่างประเทศ

1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศรัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมจึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวม จึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น

2.  กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน ด้วยกันเองเป็นความสัมพันธ์ในเรื่องสิทธิและหน้าที่ระหว่างคู่สัญญา คือ เอกชนด้วยกันเอง รัฐไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวด้วย เพราะไม่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมจึงให้ประชาชนมีอิสระกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างกันภายในกรอบของกฎหมายเพื่อคุ้มครองความเสมอภาคมิให้เอาเปรียบต่อกันจนเกิดความไม่เป็นธรรมขึ้นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน กฎหมายเอกชน ได้แก่ กฎหมายแพ่งทั้งหลายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น

3.กฎหมายระหว่างประเทศ คือกฎหมายที่มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเกิดจากความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศแยกตามลักษณะความเกี่ยวพันประเภทใหญ่ๆ ได้  3  ประเภท คือ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลและกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกันระหว่างสองประเทศ และประเทศนั้นมีข้อตกลงรับรองให้ศาลแต่ละประเทศพิจารณาคดีหรือร่วมมือกันส่งผู้ร้ายข้ามแดนจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งได้

          -กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นกฎหมายที่กำหนดถึงกฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื่องจากประเทศต่างๆในโลกต้องมีการติดต่อมีความสัมพันธ์กับประเทศอื่นๆ ทั้งในการค้า เศรษฐกิจ และการประสานงานช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศอาจมาในรูปของสนธิสัญญา จารีตประเพณีหรือความตกลงกันระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศอาจไม่มีสภาพบังคับที่ชัดเจน แต่ก็ถือเป็นกฎหมายได้ เนื่องจากเป็นกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของรัฐ  เช่นกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา ฯลฯ

การแบ่งประเภทของกฎหมายตามหน้าที่ของกฎหมายคือข้อใด *

การแบ่งประเภทกฎหมายตามลักษณะการใช้กฎหมายต้องคำนึงถึงบทบาทและหน้าที่การนำเอากฎหมายไปใช้เป็นหลัก ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ

ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

การแบ่งแยกประเภทของกฎหมายตามเนื้อหาของกฎหมายนั้นสามารถแบ่งกฎหมายออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ กฎหมายมหาชน (Public Law) และกฎหมายเอกชน (Private Law) ทั้งนี้นักนิติศาสตร์ได้ให้ความหมายของกฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชนไว้แตกต่างกัน ดังนี้

การแบ่งประเภทของกฎหมายตามความสัมพันธ์ของคู่กรณีมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

การแบ่งตามลักษณะของความสัมพันธ์ของคู่กรณีเป็นการแบ่งตาม ข้อความในบทบัญญัติของกฎหมายมี3 ประเภท 1) กฎหมายเอกชน 2) กฎหมายมหาชน 3) กฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อใดเป็นประเภทของกฎหมายสารบัญญัติ

กฎหมายสารบัญญัติ คือกฎหมายที่บัญญัติว่าการกระทำใดเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ เช่น ประมวลกฎหมายอาญาซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายมหาชน หรือถ้าเป็นกฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งฯ เป็นต้น ถือว่าเป็นกฎหมายเอกชน