ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

การเขียนหนังสือติดต่อราชการ: การเขียนจุดประสงค์ของเรื่อง

ลักษณะของ จุดประสงค์ ของเรื่อง

ในโครงสร้างของหน้งสือติดต่อราชการจะมีสิ่งสำคัญคือ “ข้อความ” ได้แก่ ส่วนที่เป็น “เนื้อเรื่อง” กับส่วนที่เป็น “จุดประสงค์ของเรื่อง”

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

“จุดประสงค์ของเรื่อง ” จึงเป็นเหตุของ “เนื้อเรื่อง”

โดย “จุดประสงค์ของเรื่อง” จึงมักเขียนคำว่า “จึง……..”  ทั้งนี้ โดยเขียนย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เป็นคนละตอนกับ “เนื้อเรื่อง”

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

โครงสร้างของหนังสือราชการ ส่วนที่ 3 จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป
เนื้อความจะกล่าวถึงจุดประสงค์ของหนังสือราชการฉบับนั้น ซึ่งจะต้องเขียนให้ชัดเจน เพื่อให้ผู้รับหนังสือทราบว่า ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร ในกรณีที่มีจุดประสงค์หลายประการ ควรแยกจุดประสงค์เป็นรายข้ออย่างชัดเจน เพื่อให้มีความสะดวกต่อการทําความเข้าใจและการนําไปปฏิบัติ

  

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

จุดประสงค์ที่มีหนังสือไป อาจมีลักษณะและความมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
ลักษณะ ความมุ่งหมาย
คําแจ้ง เพื่อทราบ เพื่อให้พิจารณา เพื่ออนุมัติ เพื่อให้ดําเนินการ เพื่อให้ความร่วมมือเพื่อถือปฏิบัติ
คําขอ เพื่อพิจารณา เพื่อให้ช่วยเหลือ เพื่อให้ความร่วมมือ เพื่อให้ดําเนินการ
คําซักซ้อม เพื่อให้เข้าใจ
คํายืนยัน เพื่อให้แน่ใจ
คําสั่ง เพื่อให้ปฏิบัติ
คําเตือน เพื่อไม่ให้ลืมที่จะปฏิบัติ
คํากําซับ เพื่อให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้เกิดความระมัดระวัง
คําถาม เพื่อขอทราบคําตอบ
คําหารือ เพื่อขอความเห็น

ย่อหน้าที่ 3 ควรเป็นประโยคสั้นๆ เป็นบทสรุป เน้นย้ำ หรือขอบคุณ ไม่ควรมีเนื้อหาสำคัญอยู่ในส่วนนี้อีก

อ้างอิงจาก :
1. การเขียนหนังสือราชการ: ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ. (2560). https://www.ocsc.go.th/download/2560/การเขียนหนังสือราชการ-ebook [สืบค้นวันที่ 12 มิ.ย. 2563]
2. เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ.https://www.opsmoac.go.th/km-km_org_center-files-391991791808 [สืบค้นวันที่ 13 มิ.ย. 2563]

Author servicePosted on June 22, 2020June 22, 2020Categories Uncategorized

การ เขียนเป็นการสื่อสารด้วยอักษร ถ่ายทอดความรู้ ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก ประสบการณ์ของผู้เขียนไปสู่ผู้อ่าน ทักษะการเขียนเป็นทักษะที่เป็นทั้งศิลป์และศาสตร์ กล่าวคือ การเขียนต้องใช้ภาษาที่ไพเราะประณีต สื่อได้ทั้งอารมณ์ ความคิด ความรู้ ต้องใช้ศิลปะ ที่กล่าวว่าเป็นศาสตร์เพราะการเขียนทุกชนิดต้องประกอบด้วยความรู้ หลักการและวิธีการ

ความสำคัญของการเขียน

การเขียนมีความสำคัญสำหรับมนุษย์ ยิ่งโลกในปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว การเขียนกูยิ่งทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยซึ่งสามารถสรุปความสำคัญของการ เขียนได้ดังนี้

๑. การเขียนเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่ง
๒. การเขียนเป็นการแสดงออกซึ่งภูมิปัญญาของมนุษย์
๓. การเขียนเป็นเครื่องมือถ่ายทอดมรดกทางสติปัญญา
๔. การเขียนเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีและความเจริญรุ่งเรือง ในทางตรงกันข้ามก็ใช้เป็นเครื่องบ่อนทำลายได้เช่นกัน

จุดมุ่งหมายของการเขียน

การเขียนจะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่นั้น สิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง คือ การเขียนต้องมีจุดมุ่งหมายซึ่งสามารถจำแนกได้ดังนี้

๑) การเขียนเพื่อการเล่าเรื่อง > เป็นการนำเรื่องราวที่สำคัญมาถ่ายทอดเป็นข้อเขียน เช่น การเขียนเล่าประวัติ
๒) การเขียนเพื่ออธิบาย > เป็นการเขียนเพื่อชี้แจงอธิบายวิธีใช้ วิธีทำ ขั้นตอนการทำ เช่น อธิบายการใช้เครื่องมือต่างๆ
๓) การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็น > เป็นการเขียนเพื่อวิเคราะห์ วิจารณ์ แนะนำ หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
๔) การเขียนเพื่อโน้มน้าวใจ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์ที่จะชักจูง โน้มน้าวใจให้ผู้อ่านยอมรับในสิ่งที่ผู้เขียนเสนอ
๕) การเขียนเพื่อกิจธุระ > เป็นการเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง การเขียนชนิดนี้จะมีรูปแบบการเขียนและลักษณะการใช้ภาษาที่แตกต่างกันไปตาม ประเภทของการเขียน

มารยาทในการเขียน

๑) ใช้ถ้อยคำสุภาพไพเราะ หลีกเลี่ยงคำหยาบ ไม่ใช้อารมณ์ ความรู้สึกส่วนตนหรืออคติ วิจารณ์ผู้อื่นอย่างปราศจากเหตุผล จนทำให้เกิดความเดือดร้อนเสียหายและสังคมแตกแยก
๒) เขียนข้อความหรืองานเขียนที่เป็นจริง ได้ศึกษา ค้นคว้าและตรวจสอบว่าถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นเรื่องส่วนตัวต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของเสียก่อน
๓) เขียนให้ถูกต้องตามอักขรวิธี ใช้สระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ให้ถูกต้อง ใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมกับเนื้อหากาลเทศะและสถานะบุคคล
๔) เขียนสิ่งที่มีคุณค่าอันจะก่อให้เกิดความสุขให้เกิดความสงบสุขแก่คนในสังคม และประเทศชาติ ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่มีต่อผลการพัฒนาประเทศชาติ
๕) การไม่คัดลอกงานเขียนของผู้อื่น โดยอ้างว่าเป็นผลงานของตนเอง เมื่อยกข้อความหรืองานเขียนของผู้อื่นมาประกอบจะต้องให้เกียรติเจ้าของงาน โดยการเขียนอ้างอิงที่มาของเรื่องและชื่อผู้เขียนทุกครั้ง

การเขียนย่อความ

คือ การจับใจความสำคัญ จับประเด็นสำคัญของเรื่องที่ได้อ่าน ได้ฟังหรือได้ดูมาอย่างย่อๆแล้วนำมาเรียบเรียงใหม่ให้ได้ความครบถ้วน สั้น กระชับ ด้วยสำนวนภาษาของตนเอง

หลักการเขียนย่อความ

การเขียนย่อความ ควรมีหลักในการเขียน ดังนี้

๑. อ่านเรื่องที่จะย่อความให้จบอย่างน้อย ๒ ครั้ง เพื่อให้ทราบว่าเรื่องนั้นกล่าวถึงใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร เมื่อไร และผลเป็นอย่างไร
๒. บันทึกใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน เเล้วนำมาเขียนเรียบเรียงใหม่ด้วยสำนวนของตนเอง
๓. อ่านทบทวนใจความสำคัญที่เขียนเรียบเรียงแล้ว จากนั้นแก้ไขให้สมบูรณ์ โดยตัดข้อความที่ซ้ำซ้อนกันออก เพื่อให้เนื้อหากระชับ และเชื่อมข้อความให้สัมพันธ์กันตั้งเเต่ต้นจนจบ
๔. เขียนย่อความให้สมบูรณ์ โดยเขียนแบบขึ้นต้นของย่อความตามรูปแบบของประเภทข้อความนั้นๆ เช่น การย่อนิทาน การย่อบทความ
๕. การเขียนย่อความไม่นิยมใช้สรรพยามบุรุษที่ ๑ และสรรพนามบุรุษที่ ๒ คือ ฉัน คุณ ท่าน แต่จะใช้สรรพนามบุรุษที่ ๓ เช่น เขา และไม่เขียนโดยใช้อักษรย่อ นอกจากนี้ หากมีการใช้คำราชาศัพท์ต้องเขียนให้ถูกต้อง ไม่ควรตัดทอน

รูปแบบการเขียนย่อความ

๑. การย่อนิทาน นิยาย พงศาวดาร ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ที่มาของเรื่องเท่าที่ทราบ เช่น

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

๒. ย่อคำสอน คำกล่าวปาฐกถา ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ผู้ฟัง สถานที่ และเวลาเท่าที่จะทราบได้ เช่น

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

๓. การเขียนบทความทางวิชาการ ให้บอกประเภท ชื่อเรื่อง เจ้าของเรื่อง ที่มาของเรื่อง เช่น

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

๔. ย่อบันทึกเหตุการณ์(จดหมายเหตุ)

ผู้เขียนมีจุดประสงค์อย่างไร

ความหมายการเขียนบรรยาย

การเขียนบรรยาย เป็นการเขียนเล่าเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพเหตุการณ์ ลำดับเวลา สถานที่ บุคคล ผู้เขียนควรกล่าวถึง เหตุการณ์ให้ชัดเจน โดยมีข้อมูลและเนื้อหาสาระของเรื่องที่จะแสดงความคิด บางครั้งอาจแทรกบทสนทนาตัวละครทำให้ผู้อ่านเข้าใจลักษณะอารมณ์ความคิดของตัว ละครและเข้าใจเรื่องทั้งหมด

จุดมุ่งหมายของการเขียนบรรยาย

การเขียนบรรยายใช้แสดงความคิดเห็นได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ในคำประพันธ์แบบเล่าเรื่อง เล่าเหตุการณ์ การเขียนชีวประวัติ การเขียนบรรทึก การให้ข้อมูล การรายงานข่าว เป็นต้น การเขียนบรรยายเป็นการเขียนเล่าข้อเท็จจริงหรือรายละเอียดของเรื่องตามที่ เป็นอยู่โดยคำนึงถึงความต่อเนื่อง

ประเภทของเรื่องที่ใช้วิธีการเขียนบรรยาย

งานเขียนที่ใช้กลวิธีการเขียนบรรยาย แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ดังต่อไปนี้

๑. อัตชีวประวัติหรือการเล่าประวัติชีวิบุคคลต่างๆ

๒. ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์

๓.เรื่องที่แต่งขึ้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

ข้อสังเกตการเขียนบรรยาย

การเขียนบรรยายกล่าวข้างต้น เป็นการเรียนบรรยายตามความจริง สามารถใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงไม่มีการสอดแทรกอารมณ์หรือความรู้สึกลงไปในงาน เขียน

ความหมายการเขียนพรรณนา

การ เขียนพรรณนา หมายถึง การให้รายละเอียดของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น บุคคล สัตว์ วัตถุ สถานที่หรือเหตุการณ์ช่วงใดช่วงหนึ่งด้วยถ้อยคำพรรณนาที่ไพเราะเหมาะสม ก่อให้เกิดจินตนาการ เห็นความเคลื่อนไหว จำนวน สี ขนาดและได้ยินเสียงตามที่ผู้ส่งสารประสงค์


การ เขียนพรรณา เป็นศิลปะการเขียนที่ผู้เขียนจะใช้วิธีการเลือกสรรค์ถ้อยคำเพื่อให้ผู้อ่าน เกิดจินตนาการไปกับเนื้อเรื่อง สามารถทำได้หลายวิธีโดยเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือผสมผสาน ดังนี้

๑) การใช้คำใหเหมาะสมทั้งเสียงและความหมาย

๒) การแฝงความ คือ ผู้เขียนจะไม่ส่อเนื้อความตรงๆ ผู้อ่านต้องตีความเอง

๓) การใช้สำนวน คือ กลวิธีการเขียนพรรณนาอีกประเภทหนึ่ง ที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดจินตนาการ และเข้าใจเนื้อหา

๔) การเน้นข้อความโดยใช้คำซ้ำ คำซ้อน คือ กลวิธีการเขียนพรรณนาที่ช่วยเน้นย้ำอารมณ์ ความรู้สึกของผู้อ่านให้เกิดจินตนาการให้เด่นชัดขึ้น

ประเภทการเขียนพรรณนา

๑. การเขียนพรรณนาธรรมชาติ

๒. การเขียนพรรณนาสถานที่ หรือ สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น

๓. การเขียนพรรณนาลักษณะและพฤติกรรมของบุคคล

๔. การเขียนพรรณนาความรู้สึกและอารมณ์

๕. การเขียนพรรณนาความคิด

ความหมายการเขียนเรียงความ

การ เขียนเรียงความ เป็นงานเขียนที่ผู้เขียนมุ่งถ่ายทอดเรื่องราว ความคิด ทัศนคติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยสำนวนภาษาที่เรียงขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน ประกอบด้วยข้อความหลายย่อหน้า มีชื่อเรื่ิองชัดเจน ข้อความในหลายๆย่อหน้านั้นจะมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อจะให้ข้อเท็จจริง ความรู้ ข้อคิดหรือทำให้ผู้อ่านรู้สึกคล้อยตามไปกับงานเขียนนั้น


ใน การเขียนเรียงความผู้เขียนจะต้องมีการวางโครงเรื่อง ค้นความหาข้อมูลและจัดเรียงลำดับความคิดให้สัมพันธ์กับหัวเรื่องเพื่อการ เขียนเรียงความได้ตรงตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

องค์ประกอบของเรียงความ

การเขียนเรียงความมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ คำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป

๑) คำนำ

๒) เนื้อเรื่อง

๓) สรุป

การเขียนเรียงความจากประสบการณ์โดยใช้ผังความคิด

คือ การที่ผู้เขียนนำความรู้และประสบการณืที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาจัดลำดับ เค้าโครงความคิด เพื่อเป็นแนวทางในการในเขียน ทำให้งานเขียนเกิดเอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ โดยสร้างเป็นแผนภาพให้เห็นรูปธรรม ในการสร้างแผนภาพความคิด ผู้เขียนจะต้องกำหนดว่าจะเขียนเรื่องอะไร เรื่องนั้นควรมีเนื้อหาอะไรบ้างแล้วจดประเด็นความคิดเป็นข้อๆที่เหมือนกัน หรือคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ต่อจากนั้นจึงต้องจัดลำดับความคิดเพื่อให้เรื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมทั้งพิจารณาทบทวนเค้าโครงเรื่องที่เขียนไว้ว่าครอบคุมและมีประเด็นความ คิดครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ จากนั้นนำเค้าโโครงความคิดที่วางไว้มาสร้างเป็นผังความตคิด การใช้ผังความคิดนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนเรียงความที่ดี

วัตถุประสงค์ของผู้เขียนคืออะไร

การเขียนเป็นการสื่อสารความรู้ ความคิด ทัศนคติและ อารมณ์เป็นลายลักษณ์อักษรหรือสัญลักษณ์ ดังนั้นผู้เขียนจาเป็นต้องมีความรู้ด้านหลักการ วิธีการ หลักเกณฑ์ทางภาษา เพื่อให้มีความถูกต้องและสละสลวย จุดมุ่งหมายของการเขียน 1. เขียนเพื่อเล่าเรื่อง 2. เขียนเพื่ออธิบาย 3. เขียนเพื่อโฆษณาจูงใจ 4. เขียนเพื่อปลุกใจ

วัตถุประสงค์ของการเขียนมีกี่ประการ

จุดมุ่งหมายการเขียน.
เพื่อคัดลายมือ.
เพื่อฝึกทักษะ.
เพื่อสะกดคำถูกต้อง.
เพื่อให้รู้จักเลือกภาษา ในการเขียนที่เหมาะสมกับบุคคลและโอกาส.
เพื่อให้สามารถรวบรวมและลำดับความคิด แล้วจดบันทึก สรุปและย่อใจความเรื่องที่อ่านหรือฟังได้.
เพื่อถ่ายทอดให้มีจินตนาการ ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และความรู้สึกนึกคิดที่ดี.

จุดประสงค์ของการเขียนอธิบาย คืออะไร

การเขียนอธิบาย เป็นการเขียนเพื่อการสื่อสารให้เกิดความกระจ่างแจ้งเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างละเอียดและถูกต้อง ด้วยกลวิธีที่หลากหลายและเหมาะสมกับเนื้อหา

ความสําคัญของการเขียน มีอะไรบ้าง

การเขียนเป็นวิธีการสื่อสารที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์ เพื่อสื่อไปยังผู้รับได้อย่างกว้างไกล นอกจากนั้นการเขียนยังมีคุณค่าในการบันทึกเป็นข้อมูลหลักฐานให้ศึกษาได้ยาวนาน