การประเมินคุณภาพของบทเพลงจะต้องประเมินอะไรบ้าง

1. ควรศึกษาเกี่ยวกับท่ารำ "ท่ารำ" ของนาฏศิลป์ไทยจัดได้ว่าเป็น "ภาษา" ชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจถึงกิริยา อาการ และความรู้สึก ตลอดจนอารมณ์ของผู้แสดง มีทั้งท่ารำตามธรรมชาติและท่าที่ประดิษฐ์ให้วิจิตรสวยงามกว่าธรรมชาติ

ผู้ชมที่ดีจะต้องเรียนรู้ความหมายและลีลาท่ารำต่างๆ ของนาฏศิลป์ไทย ให้เช้าใจเป็นพื้นฐานก่อน

2. เข้าใจเกี่ยวกับภาษาหรือคำร้องของเพลงต่างๆ การแสดงนาฏศิลป์จะต้องใช้ดนตรีและเพลงเข้าประกอบ ซึ่งอาจจะมีทั้งเพลงขับร้องและเพลงบรรเลง ในเรื่องเพลงร้องนั้นจะต้องมี "คำร้อง" หรือ เนื้อร้อง ประกอบด้วย บทร้องเพลงไทยส่วนมากจะเป็นคำประพันธ์ประเภทกลอนแปด หรือกลอนสุภาพ เป็นคำร้องที่แต่งขึ้นใช้กับเพลงนั้นๆ โดยเฉพาะ หรือนำมาจากวรรณคดีไทยตอนใดตอนหนึ่งก็ได้ ผู้ชมจะต้องฟังภาษาที่ใช้ร้อง

3. มีความเข้าใจเกี่ยวกับดนตรีและเพลงต่างๆ นาฏศิลป์จำเป็นต้องมีดนตรีบรรเลงประกอบขณะแสดง ซึ่งอาจจะเป็นแบบพื้นเมืองหรือแบบสมัยนิยม ผู้ชมจะต้องฟังเพลงให้เข้าใจทั้งลีลา ทำนอง สำเนียงของเพลง ตลอดจนจังหวะอารมณ์ด้วย จึงจะชมนาฏศิลป์ได้เข้าใจและได้รสของการแสดงอย่างสมบูรณ์ เช่น เข้าใจว่าเพลงสำเนียงมอญ พม่า ลาว ฯลฯ สามารถเข้าใจถึงประเพทของเพลงและอารมณ์ของเพลงแต่ละเพลง

4. เข้าใจเกี่ยวกับการแต่งกายและแต่งหน้าของผู้แสดง การแสดงนั้นแบ่งออกหลายแบบ หลายประเภท ผู้ชมควรดูให้เข้าใจว่าการแต่งกายเหมาะสมกับบรรยากาศและประเภทของการแสดงหรือไม่ เสื้อผ้า เครื่องประดับ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการแสดง ตลอดทั้งการแต่งหน้าด้วยว่าเหมาะสมกลมกลืนกันเพียงใด เช่น เหมาะสมกับฐานะหรือบทของผู้แสดงหรือไม่

5. เข้าใจถึงการออกแบบฉากและการใช้แสงและเสียง ผู้ชมที่ดีต้องมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องฉาก สถานที่ และสถานการณ์ต่างๆ ของการแสดง คือต้องดูให้เข้าใจว่าเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่ บรรยากาศ แสง หรือเสียงที่ใช้นั้นเหมาะสมกับลักษณะของการแสดงเพียงใด

6. เข้าใจเกี่ยวกับบทบาทและฐานะของตัวแสดง คือ การแสดงที่เป็นเรื่องราว มีตัวแสดงหลายบท ซึ่งจะต้องแบ่งออกตามฐานะในเรื่องนั้นๆ เช่น พระเอก นางเอก ตัวเอก ตัวนายโรง พระรอง นางรอง ตัวตลก ฯลฯ

7. เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องราวของการแสดง ในกรณีที่เล่นเป็นเรื่องราว เช่น โขน ละคร ผู้ชมต้องติดตาม การแสดงให้ต่อเนื่องกันถึงจะเข้าใจถึงเรื่องราวต่างๆ ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร

การวิจารณ์ผลงานนาฏศิลป์

ขั้นตอนการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ตามทฤษฎีการวิจารณ์อย่างสุนทรีย์ของราล์ฟ สมิธ มีดังนี้

1. การบรรยาย

ผู้วิจารณ์ต้องสามารถพูดหรือเขียนในสิ่งที่รับรู้ด้วยการฟัง ดู รู้สึก รวมทั้งการรับรู้คุณสมบัติต่างๆ ของการแสดง โดยสามารถบรรยายหรือแจกแจงส่วนประกอบต่างๆ ทั้งในลักษณะการเชื่อมโยงหลักเกณฑ์ศิลปะสาขาต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือแยกแยะเป็นส่วนๆ

2. การวิเคราะห์องค์ประกอบต่างๆ ในผลงานการแสดงนาฏศิลป์ของไทย ประกอบด้วย

2.1 รูปแบบของนาฏศิลป์ไทย เช่น ระบำ รำ ร้องและโขน เป็นต้น

2.2 ความเป็นเอกภาพของนาฏศิลป์ไทย โดยผู้แสดงต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

2.3 ความงดงามของการร่ายรำและองค์ประกอบอื่นๆ ได้แก่ ความถูกต้องของแบบแผน

การรำ ความงดงามของลีลาท่ารำ ความงดงามด้านวรรณกรรม ความงามของตัวละคร

ลักษณะพิเศษในท่วงท่าลีลา เทคนิคเฉพาะตัวผู้แสดง บทร้องและทำนองเพลงเป็นต้น

3. การตีความและการประเมินผล

ผู้วิจารณ์จะต้องพัฒนาความคิดเห็นส่วนตัวประกอบกับความรู้ หลักเกณฑ์ต่างๆ มารองรับสนับสนุนความคิดเห็นของตนในการตีความ ผู้วิจารณ์ต้องกล่าวถึงผลงานนาฏศิลป์โดยรวมว่าผู้เสนอผลงานพยายามจะสื่อความหมายหรือเสนอแนะเรื่องใด ส่วนการประเมินนั้นเป็นการตีค่าของการแสดงโดยต้องครอบคลุมประเด็น ดังนี้ แสดงได้ถูกต้องตามแบบแผน ผู้แสดงมีทักษะ สุนทรียะ มีความสามารถ และมีเทคนิคต่างๆ นอกจากนี้ ต้องประเมินรูปแบบลักษณะของงานนาฏศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น

การวิจารณ์และประเมินคุณภาพการแสดง

1. ด้านบทละครรำ ศึกษาการประพันธ์บทละครรำ และพิจารณาเนื้อหาให้เข้าใจ แนวทางในการวิจารณ์บทละครรำ มีดังนี้

(1) ถูกต้องตามหลักการประพันธ์ ฉันทลักษณ์หรือไม่

(2) เนื้อเรื่อง มีคุณลักษณะตามหลักการวิจารณ์บทละครหรือไม่

(3) สำนวน โวหาร มีคติสอนใจเหมาะสมที่จะเป็นบทละครรำหรือไม่

2. ด้านลีลาท่ารำ

มีความรู้เกี่ยวกับลีลาท่ารำ เพื่อการวิจารณ์ที่ถูกต้อง เป็นธรรม แนวการวิจารณ์ลีลาท่ารำ มีดังนี้

(1) ลีลาท่ารำถูกต้องตามแบบแผนของละครรำ

(2) ตัวละครมีฝีมือในการรำได้เหมาะสมตามบทบาทหรือไม่

(3) ลีลาท่ารำของละครแต่ละชนิดแตกต่างกันเด่นชัดเพียงใด

3. ด้านดนตรีและบทร้อง

ดนตรีและบทร้องมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันออกไป แนวทางการวิจารณ์ดนตรีและบทร้อง ดังนี้

(1) การใส่เพลงบรรเลง บทร้องเหมาะสมกับบทบาทของตัวละครและเนื้อเรื่องหรือไม่เพียงใด

(2) ดนตรี บทร้อง สร้างบรรยากาศให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตามการแสดงได้หรือไม่

4. ด้านองค์ประกอบอื่นๆ

ช่วยสร้างบรรยากาศ แนวการวิจารณ์องค์ประกอบอื่นๆ มีดังนี้

(1) เครื่องแต่งกาย การแต่งหน้า ฉาก อุปกรณ์ประกอบการแสดงถูกต้องตามเนื้อเรื่อง และเหมาะสมตามยุคสมัยหรือไม่

(2) แสง สี เสียง เทคนิคพิเศษช่วยสร้างบรรยากาศในการแสดงได้หรือไม่

(3) องค์ประกอบต่างๆ ช่วยสื่อความหมายให้การแสดงสมจริงได้เพียงใด

คุณสมบัติของผู้วิจารณ์

1. ต้องมีความรอบรู้ กล่าวคือ ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิจารณ์เป็นอย่างดี เช่น จะวิจารณ์ดนตรีก็ควรมีพื้นฐานความรู้ดนตรี จะวิจารณ์ละครเวทีก็ต้องเข้าใจลักษณะของละครเวที มิใช่เอาละครโทรทัศน์ไปเปรียบกับละครเวทีแล้ววิจารณ์ว่าผู้แสดงละครเวทีแสดงเกินจริง เป็นต้น ดังนั้นผู้วิจารณ์ควรศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้เสียก่อนรวมทั้งศึกษาถึงหลักการวิจารณ์งานประเภทต่าง ๆ ด้วยจึงจะทำให้บทวิจารณ์น่าเชื่อถือ

2. ต้องติดตามความเคลื่อนไหวของวงการที่จะวิจารณ์ การอ่าน การฟัง การดู การชม อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เป็นผู้มีความรู้รอบ ทำให้มีมุมมองกว้างขวางขึ้น เกิดความเข้าใจ เห็นใจ หาเหตุผลมาแสดงทัศนะไม่ค่อนข้างต่างประเด็น เช่น การวิจารณ์ภาพยนตร์ไทยเปรียบเทียบกับ ภาพยนตร์ต่างประเทศถ้าผู้วิจารณ์เข้าใจกระบวนการสร้าง และปัจจัยที่เป็นปัญหาในการสร้าง ภาพยนตร์ไทย ก็จะไม่โจมตีหรือติเตียนแต่ด้านเดียว ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้น ผู้อ่านก็จะเข้าใจ เห็นใจวงการภาพยนตร์ไทย เป็นต้น

3. ต้องมีญาณทัศน์ คือ ความคิดเฉียบแหลม หยั่งรู้ถึงแก่นเรื่องไม่พิจารณาแต่เพียง ผิวเผิน และด่วนสรุปเอาง่าย ๆ การจะฝึกฝนตนเองให้เป็นผู้มีญาณทัศน์ทำได้โดยการสังเกต การลองตั้งคำถาม ตั้งสมมติฐาน และติดตามหาคำตอบด้วยความตั้งใจ

4. มีความเที่ยงธรรม การเป็นผู้วิจารณ์ที่ดีต้องตั้งตัวเป็นกลางไม่ชมเพราะเป็นเพื่อนหรือเพราะมีแนวคิดเหมือนกัน หรือเป็นพวกเดียวกัน ไม่ติเพราะไม่ชอบ ไม่ถูกรสนิยมผู้เขียน ต้องตัดอคติออกไปเอาเหตุผลและหลักการมาเป็นที่ตั้ง

ประโยชน์ของการวิจารณ์ผลงานศิลปะ

การวิจารณ์ศิลปะมีประโยชน์ต่อผู้วิจารณ์ คือ

1. ทำให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของวงการศิลปะ และสิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

2. ทำให้เกิดปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง

3. มีความละเอียดประณีตอยู่ในส่วนลึกของจิตใจ

4. มีเหตุผล มีความเที่ยงธรรม

5. ทำให้เป็นผู้แสวงหาความรู้อยู่เสมอ

ที่มา https://sites.google.com/site/hnangsuxreiynnatsilpm4/home/bth-thi4-kar-chm-wicarn-laea-pramein-khunphaph-kar-saedng

การประเมินคุณค่าของดนตรีต้องประเมินอย่างไรบ้าง

คุณภาพของผลงานทางดนตรี - พิจารณาทางด้านเสียง เครื่องดนตรีที่ใช้ต้องเหมาะสมกับเสียงขับร้อง คุณภาพเสียงของเครื่องดนตรีหรือเสียงเป็นไปตามอารมณ์เพลง - พิจารณาทางด้านจังหวะ จังหวะเพลงแบบใดมีความสอดคล้องกับทำนองเพลงหรือไม่ เครื่องดนตรีเล่นได้ตามจังหวะหรือไม่

การประเมินความสามารถทางดนตรีประกอบด้วยอะไรบ้าง

ประเมินความรู้ความสามารถด้านการศึกษาวิชาดนตรีและการขับร้องบทเพลง ประเมินความรู้ในด้านการประพันธ์บทเพลงที่ใช้ขับร้องและบรรเลง ประเมินความสามารถในด้านความถูกต้องของการบรรเลง ประเมินลักษณะท่าทางการบรรเลงดนตรีของผู้บรรเลง

การประเมินการแสดงนาฏศิลป์มีหลักการอย่างไร

หลักการประเมินการแสดงนาฏศิลป์ เป็นศิลปะการแสดงแขนงหนึ่งที่ใช้การเคลื่อนไหวและการจัดระเบียบร่างกายของมนุษย์ อย่างมีจังหวะ ลีลา ทาให้เกิดภาษาท่าทางที่สามารถสื่อความหมายแทนภาษาพูด - นาหลักแห่งความสมดุลมาใช้ โดยใช้เวทีเป็นจุดศูนย์กลางตาแหน่งของผู้แสดง ให้มีสัดส่วนจานวนเท่ากัน ไม่ควรไปรวมกลุ่มอยู่ด้านใดด้านหนึ่งจนมากเกินไป

คุณค่าของดนตรีมีอะไรบ้าง

1. ดนตรีให้ความสนุกสนาน ผ่อนคลายความเครียด ปลุกเร้าอารมณ์และจิตใจให้มีความสุข มี สุขภาพจิตดี 2. ดนตรีช่วยเสริมสร้างความสามัคคีของคนในสังคมให้มีความรักชาติ ทาให้ชาติเป็นสังคมที่สงบ สุข เช่น เพลงปลุกใจ เพลงชาติไทย