ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วัฒนธรรมไทย ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรม อินเดีย จีน และ ขอม ตลอดจนวิญญาณนิยม ศาสนาพุทธ และ ศาสนาฮินดู

พระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้ระบุไว้ว่า "วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด ความเชื่อ ค่านิยม จารีตประเพณี พิธีกรรม และภูมิปัญญา ซึ่งกลุ่มคนและสังคมได้ร่วมสร้างสรรค์ สั่งสม ปลูกฝัง สืบทอด เรียนรู้ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางด้านจิตใจและวัตถุอย่างสันติสุขและยั่งยืน" ถึงแม้คำนิยามของวัฒนธรรมจะมีความครอบคลุม และหลากหลาย ก็ยังยังมีการเน้นมิติของ ความดีงาม และมักจะใช้เป็นข้ออ้างในการ ควบคุม และ ครอบงำ สมาชิกในสังคม

ส่วนความหมายของวัฒนธรรมในทางสังคมวิทยานั้น หมายถึง ระบบความหมายและแบบแผนพฤติกรรมที่สมาชิกในสังคมนั้นนั้นยึดถือและปฏิบัติ

วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรมไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึงรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่งชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุดมคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาตินิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจจุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]

ศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเน้นว่า คนส่วนใหญ่ไม่สามารถตรัสรู้และไปถึงนิพพาน และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมุติเทพ นอกจากนี้ยังเน้นรูปแบบมากกว่าแก่นสาร[1]

คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผลพลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงการวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึงเลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก หากสองฝ่ายไม่เห็นด้วยกัน การไหว้เป็นแบบการทักทายและแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด คนไทยใช้ชื่อต้นมิใช่นามสกุล และใช้คำว่า "คุณ" ก่อนชื่อ[2]

คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]

ครอบครัวเป็นเสาหลักของสังคมไทยและชีวิตครอบครัวมักอยู่ใกล้ชิดกว่าวัฒนธรรมตะวันตก ครอบครัวไทยเป็นลำดับชั้นทางสังคมอย่างหนึ่ง และเด็กถูกสอนให้เคารพบิดามารดา สังคมคาดหวังให้สมาชิกครอบครัวดูแลผู้อาวุโสและบ้านพักคนชราและโรงพยาบาลเป็นทางเลือกสุดท้าย คนชรามักอยู่บ้าน อยู่กับครอบครัวและหลานและเกี่ยวข้องในชีวิตครอบครัว

ดูเพิ่ม[แก้]

  • คตินิยมเชื้อชาติในประเทศไทย
  • งานศพไทย
  • การแต่งงานแบบไทย
  • รายชื่อผีไทย
  • การไหว้
  • ชุดไทยเดิม
  • สตรีในประเทศไทย
  • กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในประเทศไทย
  • โซตัส

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 Otto F. von Feigenblatt. The Thai Ethnocracy Unravels: A Critical Cultural Analysis of Thailand’s Socio-Political Unrest[ลิงก์เสีย]. Journal of Alternative Perspectives in the Social Sciences. สืบค้น 7-9-2557.
  2. ↑ 2.0 2.1 Thai Cultural Profile 2012[ลิงก์เสีย]. Tablelands Regional Council Community Partners Program. สืบค้น 7-9-2557.

ศิลปวัฒนธรรมไทย

วัฒนธรรม  หมายถึง  ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงามอันเป็นแบบแผนที่ดีของไทย เกิดจากการสั่งสม เลือกสรร ปรับปรุงแก้ไข จนถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมในแต่ละสังคมอาจจะเหมือนหรือต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เชื้อชาต ศาสนา ท้องถิ่นที่อยู่ ซึ่งเราควรที่จะยอมรับในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข  วัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.  วัฒนธรรมทางภาษาและวรรณคดี   หมายถึง  วัฒนธรรมทางภาษาพูดและภาษาเขียนเพื่อใช้เป็นสื่อกลางองการถ่ายทอดความคิด ความรู้สึก ค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรมของกลุ่มชนเป็นเวลายาวนาน วัฒนธรรมทางภาษาของไทย คือ อักษรไทย มีวิธีการเขียนจากซ้ายไปขวา แตกต่างจากจีนและญี่ปุ่นซึ่งเริ่มเขียนจากขวามาซ้าย

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

อักษรไทย

2.  วัฒนธรรมทางวัตถุ   เป็นเรื่องของความสุขกายเพื่อให้อยู่ดีกินดี มีความสะดวกสบายในการครองชีพวัฒนธรรมประเภทนี้ ได้แก่ สิ่งจำเป็นเบื้องต้นในชีวิต 4 อย่างคือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ปัจจัย 4 คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค

3.  วัฒนธรรมทางจิตใจ  เป้นเครื่องยึดเหนี่ยวที่ทำให้ปัญญาและจิตใจของมนุษย์มีความเจริญงอกงาม อันได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม คติธรรม

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ

4.  วัฒนธรรมทางจารีตหรือขนบธรรมเนียมประเพณี เป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเป็นการประพฤติของคนในสังคม แบ่งออกเป็น

-  จารีตประเพณี  หมายถึง  ประเพณีที่บรรพชนได้ถือปฎิบัติกันมาแต่อดีต ถ้าฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามถทอว่าเป็นความผิด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักธรรมศึลธรรมและจริยธรรม

-  ขนบประเพณี  เป็นประเพณีที่ได้วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว เป็นการกระทำที่ฝูงชนนับถือ และถือปฎิบัติต่อกันมา

-  ธรรมเนียมประเพณี  เป็นประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญชนที่นิยมปฎิบัติสืบต่อกันมา เช่น กิริยามารยาท การพูด การบริโภค การแต่งตัว การเป็นแขกไปเยี่ยมผู้อื่น การเป็นเจ้าของบ้านในการต้อนรับแขก

5.  วัฒนธรรมทางสุนทรียะ  หมายถึง  ความเจริญในทางวิชาความรุ้ที่เกี่ยวกับความนิยม ความงดงาม และความไพเราะ เช่น ทัศนศิลป์ ดนตรี นาฎศิลป์ ซึ่งเชื่อโยงกับศิลปะไทย ดังนี้

ศิลปะ  หมายถึง การแสดงออกและการสร้างสรรค์งานในด้านต่างๆของมนุษย์ที่อิงจากความเชื่อ ความคิด วัฒนธรรมในแต่ละท้องถิ่น จินตนาการ และอารมณ์ความรู้สึกจนออกมาเป็นศิลปะที่งดงาม ศิลปะแบ่งออกเป้น 2 ประเภท ได้แก่

1.  ทัศนศิลป์  เป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะที่รับรู้ได้ด้วยการดู เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม งานประณีตศิลป์

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

จิตรกรรมไทย

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ประติมากรรมไทย

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

สถาปัตยกรรมไทย

2.  ศิลปะการแสดง  เป็นงานศิลปะที่รับรู้ได้โดยการชมและการฟัง เช่น ดนตรี นาฎศิลป์

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

ศิลปะและวัฒนธรรมไทยคืออะไร

นาฎศิลป์ไทย

ศิลปวัฒนธรรมไทยหมายถึงข้อใด

ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีไทย เป็นการศึกษาถึงพฤติกรรมการแสดงออกของคนในสังคมไทย อธิบายนัยความหมายของสภาพทางภูมิศาสตร์ความคิดความเชื่อ สภาพทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่สะท้อนตัวตนของคนในสังคมนั้นว่าสามารถปรับตัวให้เข้ากับ ธรรมชาติแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลาได้อย่างไร

ศิลปะและวัฒนธรรม มีอะไรบ้าง

ศิลปวัฒนธรรม ความสำคัญของขนบธรรมเนียมประเพณี 1. ขนบธรรมเนียมประเพณีมีส่วนในการสนับสนุนให้ชาติบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองในทรรศนะที่ดีและถูกต้อง.
หมวดขนบธรรมเนียมประเพณี และความเชื่อ.
หมวดภาษาและวรรณกรรม.
หมวดศิลปกรรมและโบราณคดี.
หมวดการละเล่น ดนตรีและการพักผ่อนหย่อนใจ.
หมวดชีวิตความเป็นอยู่และวิทยาการ.

ศิลปวัฒนธรรมมีความหมายอย่างไร

ศิลปะ หมายถึง ฝีมือ, ฝีมือทางการช่าง, การทำให้วิจิตรพิสดาร และ การแสดงออกซึ่งอารมณ์สะเทือนใจให้ประจักษ์ด้วยสื่อต่าง ๆ อย่างเสียง เส้น สี ผิว รูปทรง เป็นต้น วัฒนธรรม หมายถึง สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย, วิถีชีวิตของหมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา

ลักษณะของศิลปวัฒนธรรมไทย มีอะไรบ้าง

1.วัฒนธรรมไทยเป็นวัฒนธรรมแบบเกษตรกรรม นับตั้งแต่อดีตคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทย เช่น พิธีแรกนาขวัญ พิธีสู่ขวัญข้าว เป็นต้น 2.วัฒนธรรมไทยมีแบบแผนทางพิธีกรรม มีขั้นตอน รวมถึงองค์ประกอบในพิธีหลายอย่าง เช่นการทำพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำศพ พิธีมงคลสมรส เป็นต้น