อุณหภูมิร่างกายปกติเท่าไร รักแร้

การที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าปกติ ถือเป็นหนึ่งในอาการเบื้องต้นของการติดเชื้อโควิด-19 และอีกหลายโรค ทำให้การทราบและเข้าใจอุณหภูมิร่างกายปกติ รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิร่างกายนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ในการประเมินอาการและความเสี่ยงของการเกิดโรคของตัวเอง โดยการตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกาย จะสามารถทำได้ด้วยการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายหรือที่วัดไข้ ตรวจวัดอุณหภูมิตามช่องทางต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทางปาก การวัดอุณหภูมิใต้รักแร้ ทางทวาร การวัดอุณหภูมิทางช่องหู และการวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก

Show

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจได้เลยค่ะ 😊 แสดง

1 อุณหภูมิร่างกายปกติ

2 อุณหภูมิร่างกายของคนปกติ อยู่ที่เท่าไหร่

3 อุณหภูมิร่างกายของคนเป็นไข้ อยู่ที่เท่าไหร่

4 ถ้าวัดไข้ได้มากกว่า 37 องศา ควรทำอย่างไร

4.1 1.ทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด

4.2 2.คอยตรวจวัดอุณหภูมิอยู่เสมอ

4.3 3.เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น

4.4 4.รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

4.5 5.พักผ่อนให้เพียงพอ

4.6 6.ไปพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

5 ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง มีอะไรบ้าง

6 อุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่บ้างที่เรียกว่าผิดปกติ

6.1 1.อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38.4 องศา

6.2 2.อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38.5 – 39.4 องศา

6.3 3.อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 40 องศาขึ้นไป

อุณหภูมิร่างกายของคนปกติ อยู่ที่เท่าไหร่

อุณหภูมิร่างกายของคนปกติ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 35.4 – 37.4 องศาเซลเซียส

เนื่องจากอุณหภูมิร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทั้งวันตามช่วงเวลาต่างๆ ทำให้ไม่สามารถระบุอุณหภูมิของร่างกายปกติที่แน่นอนได้ ซึ่งนอกจากนี้อุณหภูมิร่างกายก็ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ด้วย ทั้งปัจจัยภายในร่างกายและปัจจัยภายนอก รวมถึงอุณหภูมิร่างกายของแต่ละคนก็ยังแตกต่างกันอีกด้วย

แต่เพื่อให้เข้าใจและจดจำได้ง่าย คนส่วนใหญ่ก็เลยนิยมใช้เป็นค่าเฉลี่ยแทน โดยค่าเฉลี่ยอุณหภูมิร่างกายของคนปกติจะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : 5 วิธีใช้เครื่องวัดไข้ทางหน้าผาก เพื่อตรวจวัดอุณภูมิร่างกาย

อุณหภูมิร่างกายปกติเท่าไร รักแร้

อุณหภูมิร่างกายของคนเป็นไข้ อยู่ที่เท่าไหร่

สำหรับอุณหภูมิร่างกายของคนเป็นไข้ ก็จะมีค่าที่สูงกว่าอุณหภูมิร่างกายปกติ โดยจะเริ่มมีไข้อ่อนๆ เมื่ออุณหภูมิของร่างกายมากกว่าหรือเท่ากับ 37.5 องศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิร่างกายที่สูงขึ้น ก็จะบ่งบอกถึงระดับความรุนแรงของอาการที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย และในกรณีที่มีไข้สูงมากๆ ร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงได้ถึงมากกว่า 40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว

ถ้าวัดไข้ได้มากกว่า 37 องศา ควรทำอย่างไร

อย่างที่ทราบกันว่าหากอุณหภูมิของร่างกายมากกว่า 37.5 องศาเซลเซียส จะถือว่าร่างกายเริ่มมีไข้แล้ว ซึ่งในการรักษาและบรรเทาอาการสามารถปฏิบัติได้ตามวิธี ดังต่อไปนี้

1.ทานยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด

เมื่อตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกาย แล้วพบว่ามีอุณหภูมิสูงหรือมีไข้ ก็ควรรับประทางยาลดไข้ หรือยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล เอาไว้เลย เพื่อช่วยลดไข้และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย

2.คอยตรวจวัดอุณหภูมิอยู่เสมอ

ในระหว่างการรักษาอาการไข้ ควรทำการตรวจวัดอุณหภูมิของร่างกายอยู่เสมอ โดยทางที่ดีควรตรวจวัดทุกๆ 6 – 8 ชม. เพื่อเป็นการประเมินอาการว่ามีไข้สูงขึ้นหรือไข้ลดลง ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาได้อย่างตรงจุด

3.เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น

การนำผ้าไปชุบน้ำอุ่นแล้วบิดหมาดๆ มาเช็ดตัวบ่อยๆ ในบริเวณที่มีเส้นเลือดแดงขนาดใหญ่ เช่น หน้าผาก รักแร้ คอ และตามข้อพับต่างๆ จะเป็นการช่วยให้สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้ดีขึ้น และทำให้ไข้ลดลงได้

4.รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย

การรับประทานอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือซุป เป็นต้น จะช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยและดูดซึมได้ง่าย  รวมถึงยังควรดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วย เพื่อลดไข้และเป็นการทดแทนน้ำในส่วนที่ร่างกายสูญเสียไป

คลิกอ่านเพิ่มเติม : 15 สมุนไพรแก้หวัด ที่สามารถลดไข้ แก้อาการหวัด บอกเลยว่าหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด

5.พักผ่อนให้เพียงพอ

ในช่วงที่ป่วยเป็นไข้ร่างกายจะต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อรักษาและฟื้นฟูตัวเอง ดังนั้นการนอนพักผ่อนให้เพียงพอจึงสำคัญ เพราะจะเป็นการช่วยให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และยังลดอาการอ่อนเพลียได้อีกด้วย

6.ไปพบแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น

หากทำการรักษาและดูแลตัวเองตามวิธีข้างต้นแล้ว แต่ไข้ยังสูงอยู่และอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวินิจฉัยอาการป่วย และทำการรักษาตามวิธีทางการแพทย์ต่อไป

📄 คลิกอ่านการวัดไข้ผ่านแบบต่าง ๆ

  • การวัดไข้ทางรักแร้ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องใช้เวลาทั้งหมดกี่นาที
  • การวัดไข้ทางหู ตรวจวัดอุณหภูมิแม่นยำไหม มีขั้นตอนวิธีการวัดอย่างไรบ้าง
  • วัดไข้ทางปาก วัดไข้ใต้ลิ้น กี่นาที มีวิธีการวัดอุณหภูมิผ่านปรอทอย่างไรบ้าง
  • วัดไข้ทางทวาร มีขั้นตอนอย่างไร แม่นยำหรือไม่ เหมาะกับใครบ้าง

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ : ปรอทวัดไข้ทางหู เครื่องวัดไข้ทางหู ยี่ห้อไหนดี

ปัจจัยที่ทำให้อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลง มีอะไรบ้าง

  • ฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะเพศหญิง ในช่วงที่มีประจำเดือนร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนหลายชนิดออกมา ทำให้อุณหภูมิของร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
  • ช่วงอายุ โดยในเด็กเล็กหรือเด็กทารก จะมีอุณหภูมิร่างกายปกติที่สูงกว่าช่วงอายุอื่น เนื่องจากมีระบบการเผาผลาญที่ดีและมีการเคลื่อนไหวบ่อย ส่วนผู้สูงอายุจะมีอุณหภูมิร่างกายปกติต่ำที่สุด
  • สภาพอากาศ ร่างกายจะมีกลไลการเพิ่มความอบอุ่นได้เอง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็น ซึ่งจะส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงกว่าภาวะปกติ
  • อาหาร การรับประทานอาหารที่ร้อน และมีรสชาติเผ็ด หลังรับประทานเสร็จจะส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

อุณหภูมิร่างกายเท่าไหร่บ้างที่เรียกว่าผิดปกติ

1.อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 37.5 – 38.4 องศา

หากร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ แต่ไม่เกิน 38.4 องศา จะถือว่าร่างกายเริ่มมีไข้อ่อนๆ และยังไม่ได้มีอาการหนัก สามารถดูแลรักษาด้วยตัวเองที่บ้านได้

2.อุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38.5 – 39.4 องศา

สำหรับการมีอุณหภูมิร่างกายตั้งแต่ 38.5 – 39.4 องศา จะถือว่าร่างกายมีไข้สูง ซึ่งอาการป่วยก็จะหนักขึ้น และจำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

3.อุณหภูมิร่างกายมากกว่า 40 องศาขึ้นไป

แต่หากร่างกายมีอุณหภูมิมากกว่า 40 องศาขึ้นไป จะถือว่ามีไข้ที่สูงมาก ซึ่งต้องรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาโดยเร็วที่สุด หากปล่อยไว้อาจจะเป็นอันตรายได้

คลิกอ่านเพิ่มเติม : เครื่องวัดอุณหภูมิทางหน้าผาก ใช้คัดกรอง โควิด-19 แบบเบื้องต้น มีความแม่นยำแค่ไหน

อุณหภูมิร่างกายปกติเท่าไร รักแร้

โดยทั่วไปแล้ว อุณหภูมิร่างกายปกติ จะอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส ซึ่งหากตรวจวัดแล้วพบว่าอุณหภูมิร่างกายสูงกว่าปกติเล็กน้อย ไม่ควรรีบตื่นตระหนักไป เพราะที่อุณหภูมิสูงอาจจะเกิดจากปัจจัยอื่นก็ได้เช่นกัน ดังนั้นควรเว้นระยะห่างซักพักหนึ่ง แล้วค่อยทำการตรวจซ้ำเพื่อความแน่ใจ รวมถึงยังควรสังเกตอาการอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น อาการไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก หนาวสั่น หรือหายใจหอบเหนื่อย ซึ่งหากพบว่ามีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและตรวจหาสาเหตุของอาการ เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ทันเวลา

วัดไข้ตรงไหนดี

ทางปาก (Orally) เป็นการวัดอุณหภูมิจากใต้ลิ้นภายในช่องปาก ทางรักแร้ (Axillary) เป็นการวัดไข้โดยให้หนีบเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่รักแร้ แต่ค่าอุณหภูมิปกติจะต่ำกว่าการวัดทางปาก ทางทวารหนัก (Rectally) เป็นการวัดไข้โดยการสอดเทอร์โมมิเตอร์เข้าไปทางทวารหนัก ซึ่งค่าอุณหภูมิปกติจะสูงกว่าการวัดทางปาก

วัดไข้ทางปาก กี่นาที

วัดไข้ทางปาก อมปรอทไว้นาน 3 นาที ขณะวัดไม่ควรหายใจทางปากและไม่ดื่มน้ำเย็นหรือน้ำร้อนก่อนจะวัดปรอท อย่างน้อย 10-15 นาที

เท่าไรถึงจะมีไข้

ร่างกายปกติ >> 35.4 – 37.4 องศาเซลเซียส มีไข้ต่ำ >> 37.5 – 38.4 องศาเซลเซียส ไข้สูง >> 38.5 – 39.4 องศาเซลเซียส ไข้สูงมาก >> มากกว่า 40 องศาเซลเซียสขึ้นไป

ปรอทวัดไข้ รักแร้ กี่นาที

โดยทั่วไปแล้วการวัดไข้ทางรักแร้จะใช้เวลาในการวัดอย่างน้อย 2-3 นาที แต่หากมีเวลาและสามารถรอได้ ควรวัดอุณหภูมิทางรักแร้เป็นเวลาประมาณ 10 นาที เพื่อให้ได้ค่าอุณหภูมิร่างกายที่แม่นยำมากที่สุด