สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

อนามัยสิ่งแวดล้อม

สุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

อนามัย ตามความหมายที่องค์การอนามัยโลกได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า “ การมีสุขภาพสมบูรณ์ดีทั้งทางร่างกายและจิตใจ และสามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้ด้วยดีซึ่งไม่เพียงปราศจากโรค หรือไม่แข็งแรงทุพพลภาพเท่านั้น ” (Health is defined as a state complete physical, mental and social well-being and merely the absence of disease infirmity)

     อนามัย ตามความหมายจากพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ . ศ .2530 คือ “ ความไม่มีโรค ถูกหลักสุขภาพหรือมีสุขภาพดี ” ซึ่งคำว่า “ สุขภาพ ” หมายถึง “ ความสุขปราศจากโรค ความสบาย ”

     “ โรค ” หรือ “ ความไม่สบาย ” คือภาวะผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย เนื่องจากเกิดการทำงานผิดปกติในองค์ประกอบของร่างกาย ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่สบายหรือแสดงอาการว่า ไม่สบายออกมาให้เห็น เช่น รู้สึกหนาวร้อน เป็นไข้ หรือแสดงอาการสั่น ไอ หรือ ชัก เป็นต้น ซึ่งความรู้สึกและอาการผิดปกตินี้จะไม่มีในคนปกติธรรมดาที่สบายดีหรือไม่มีโรค

     การสุขาภิบาล , การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม , อนามัยสิ่งแวดล้อม 
“ สุขาภิบาล ” มาจากคำว่า สุข + อภิบาล ซึ่ง “ สุข ” นั้นมีความหมายว่า “ สบาย ” อภิบาลมีความหมายว่า “ บำรุงรักษา ” สุขาภิบาลหมายถึงการระวังรักษา เพื่อความสุขปราศจากโรค

     การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม หมายถึง การควบคุมปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพทั้งหมดของมนุษย์ที่กระทำหรืออาจกระทำให้เกิดผลเสียต่อการพัฒนาการทางด้านสุขภาพร่างกายและการมีชีวิตอยู่รอดของมนุษย์ อนามัยสิ่งแวดล้อม สภาวะความสมบูรณ์แข็งแรงทางร่างกายและจิตใจ รวมถึงการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมด้วยดี อนามัยมิได้ หมายถึง แต่เพียงปราศจากโรคเท่านั้น

     สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งมีทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นรูปธรรมซึ่งจับต้องได้มองเห็นได้ อาจแบ่งได้เป็น “ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ตามธรรมชาติ ” เช่น ดิน น้ำ อากาศ แร่ธาตุ รวมถึง มนุษย์ด้วยกัน สัตว์ ต้นไม้ ฯลฯ และ “ สิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้น ” เช่น อาคารบ้านเรือน ยานพาหนะ ตลอดจนสิ่งแวดล้อมที่เป็นนามธรรม เช่น วัฒนธรรมประเพณี สิ่งแวดล้อมทางสังคมการเมือง ฯลฯ

     ดังนั้น อนามัยสิ่งแวดล้อม จึงหมายถึง “ ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพอนามัยของมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ” ฉะนั้นสุขภาพอนามัยของมนุษย์ก็ย่อมได้รับผลจากคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ถ้าสิ่งแวดล้อมมีสภาพเสื่อมโทรมเกิดเป็นมลพิษขึ้น

ความรู้ด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม

ขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม

     งานอนามัยสิ่งแวดล้อมเป็นงานที่มุ่งจะรักษาคุณภาพของสิ่งแวดล้อม ให้มีคุณภาพที่เหมาะสม เกื้อกูลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เป็นงานที่ป้องกันมิให้โรคหรือพิษภัยเข้าสู่มนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อโรคหรือสารที่เป็นพิษ

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดขอบเขตของงานอนามัยสิ่งแวดล้อม ดังนี้ คือ

     1.การจัดหาน้ำสะอาด น้ำประปา

     2. การควบคุมมลพิษทางน้ำ การควบคุมมลพิษทางน้ำนี้ หมายถึง การที่ต้องป้องกันควบคุมรักษาแหล่งน้ำต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ห้วย หนอง คลองบึง แม่น้ำต่าง ๆ ตลอดจนน้ำใต้ดิน ไม่ให้คุณภาพเสื่อมโทรมลงจนเกิดเป็นมลพิษ และเกิดผลเสียต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์

     3. การจัดการเกี่ยวกับขยะมูลฝอยและของเสียที่มีลักษณะเป็นของแข็ง การจัดการนี้รวมถึงการเก็บ การขนถ่ายและการกำจัดที่ถูกหลักสุขาภิบาล ของเสียในลักษณะดังกล่าวข้างต้น เพราะเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคและพาหะนำโรค

     4. การควบคุมสัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ สัตว์อาร์โทรพอดและสัตว์แทะ ต่างเป็นพาหะนำโรคร้ายแรงหลายอย่างมาสู่คน และยังเป็นต้นเหตุทำให้เกิดเหตุรำคาญและทำลาย ทรัพย์สิน โรคสำคัญ ๆ ที่เห็นได้ชัด เช่น อหิวาห์ตกโรค ไข้มาลาเรีย เป็นต้น

     5. มลพิษของดิน มักจะเกิดขึ้นจากการทิ้งสิ่งสกปรกต่าง ๆ ลงสู่พื้นดิน ไม่ว่าจะเป็นในลักษณะของขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล น้ำเน่าเสีย ของทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้เกิดความสกปรกบนพื้นดิน และเมื่อความสกปรกมีมากขึ้น ก็กลายเป็นมลพิษของดินทำให้เกิดผลเสียต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ การควบคุมการทิ้งสิ่งต่าง ๆ เหล่า นี้

     6. การสุขาภิบาลอาหาร เชื้อโรคต่าง ๆ และสารพิษหลาย ๆ อย่างสามารถที่จะเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ได้โดยทางอาหาร การสุขาภิบาลอาหารจึงมีความจำเป็นในหลาย ๆ ส่วน เช่น สิ่งที่จะใช้ปรุงอาหาร การปรุงอาหาร การเก็บรักษา ผู้สัมผัสอาหารและอื่น ๆ และที่สำคัญอย่างยิ่งอีกประการหนึ่ง คือ การให้ความรู้ต่อผู้บริโภคอีกด้วย

     7.การควบคุมมลพิษทางอากาศ  เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมไม่ให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่อากาศในปริมาณมากจนก่อให้เกิดเป็นพิษภัยต่อมนุษย์ สัตว์พืช

     8. การป้องกันอันตรายจากรังสี ได้มีการใช้รังสีอย่างมากมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาทุกทางเช่น ทางการเกษตรกรรม ทางอุตสาหกรรม ทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งรังสีต่าง ๆ เหล่านี้ ถ้าไม่ได้มีการป้องกันและควบคุมอย่างรัดกุมแล้ว ก็จะทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสุขภาพ อนามัยของมนุษย์

     9. อาชีวอนามัย เป็นการจัดการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้ดีเหมาะสม ตลอดจนการดูแลป้องกันรักษาสุขภาพอนามัยของผู้ประกอบอาชีพและอื่น ๆ มีความจำเป็นอย่างยิ่งและต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

     10. การควบคุมมลพิษทางเสียง การควบคุมมิให้เกิดมีเสียงดังมาก หรือเกิดเสียงดังเป็นเวลายาวนาน จนเกิดเป็นของเสียต่อสุขภาพอนามัย

     11. ที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม การจัดให้ที่อยู่อาศัยและจัดสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ให้ถูกสุขลักษณะอันทำให้มีสุขภาพทางกาย และสุขภาพจิตดี

     12. การวางผังเมือง การจัดให้ส่วนต่าง ๆ ของเมืองให้ถูกต้องเป็นสัดส่วน เช่น ย่านธุรกิจ ย่านอุตสาหกรรม ย่านที่พักอาศัย ทั้งนี้ เพื่อให้ได้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี และความสะดวกสบายต่าง ๆ ด้วย เช่น การจราจรที่ไม่ติดขัด

     13.งานอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการคมนาคม

     14.การป้องกันอุบัติภัยต่าง ๆ

     15. การสุขาภิบาลของสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ สถานที่พักผ่อนและสิ่งที่ใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ จะต้องมีคุณลักษณะคุณภาพที่จะส่งเสริมให้สุขภาพอนามัยดี มิใช่เป็นการทำให้สุขภาพอนามัยเสื่อมโทรม หรือเป็นแหล่งแพร่กระจายโรค การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร

     16. การดำเนินงานสุขาภิบาลเมื่อเกิดโรคระบาด เหตุฉุกเฉิน ภัยพิบัติ และการอพยพย้ายถิ่นของประชากร

     17. มาตรการป้องกันเพื่อให้สิ่งแวดล้อมโดยทั่วไปปราศจากความเสี่ยง หรืออันตรายใด ๆ

     ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นการรวมเอาโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมของหลายประเทศในโลกผนวกกันได้เป็น 17 รายการดังกล่าวข้างต้น ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุของปัญหาของสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้น ๆ ว่าจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยทั้งโดยทางตรงและทางอ้อมอย่างไรในบท ต่อ ๆ ไปจะกล่าวถึงการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมที่เป็นหลักสำคัญในการใช้แก้ไขปัญหาที่อาจเกิดในประเทศกำลังพัฒนา

สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม

     เมื่อจำนวนประชากรมากขึ้น ความต้องการใช้สิ่งของต่าง ๆ ก็มากขึ้นตามมา ซึ่งมนุษย์ก็ได้ใช้ทรัพยากรมากขึ้นและอย่างรวดเร็ว การขุดค้นหาและนำทรัพยากรมาใช้มากขึ้นนี้ มนุษย์มักจะได้กระทำโดยไม่ได้ระมัดระวังถึงผลเสียที่จะตามมาและมักจะได้กระทำการอย่างไม่สนใจต่อการหมดสิ้น หรือเสื่อมสภาพของทรัพยากร อันทำให้เกิดเสียสมดุลธรรมชาติ เกิดมลพิษทางสภาวะแวดล้อม

     1.การใช้ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัย เพื่อการเกษตร มีการตัดต้นไม้ทำลายป่าและยังทำลายบางสารอาหารบริเวณหน้าดิน

     2.การอพยพย้ายถิ่น มนุษย์มีความสามารถอย่างมากมายในการค้นหาวิธีการที่จะพัฒนาให้มนุษย์เองได้ดำรงชีวิตอย่างสะดวกสบาย ในการพัฒนาต่าง ๆ เหล่านี้มนุษย์ก็ได้สร้างสรรค์ทำสิ่งต่าง ๆ มาสนองความต้องการของตนอย่างมหาศาล จากเพียงเพื่อช่วยผ่อนแรงแล้วก็เปลี่ยนเป็นการค้นหาความสะดวกสบาย และกลายเป็นความฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย แต่มนุษย์ก็ยังไม่ยอมหยุดยั้งการพัฒนา ยังคงตักตวงหาผลประโยชน์จากธรรมชาติอย่างจริงจัง ดังนั้นการพัฒนาบางอย่างของมนุษย์ไม่ได้คิดถึงผลกระทบซึ่งจะเกิดขึ้นกับธรรมชาติจึงเกิดเป็นการทำลายขึ้นมา

     ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมหรือการพัฒนาเกษตรกรรมก็ตาม ได้มีการนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างมากมายจนเกิดเป็นการทำลายธรรมชาติ เช่น การขุดแร่ การสร้างเขื่อน มีส่วนทำให้สภาพป่าสลายไป ฯลฯ ทำให้สมดุลของธรรมชาติเสียและเกิดมีของเหลือทิ้งความสกปรกมากขึ้นจนที่สุดที่ธรรมชาติจะรับไว้ได้ ธรรมชาติก็เสียหายสภาพแวดล้อมก็เสื่อมโทรมไป

การกระทำของมนุษย์หลายรูปแบบ เป็นการกระทำโดยตรงที่ให้สิ่งแวดล้อมเสียหายจนเกิดเป็นมลพิษขึ้น การกระทำเหล่านี้ที่สำคัญ ๆ คือ

     1. การทิ้งของเสีย ดังเช่น การปล่อยน้ำโสโครกจากชุมชนหรือจากโรงงานลงแม่น้ำ การทิ้งขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลกองกระจัดกระจายตามพื้นดิน การปล่อยให้ไอเสีย ควันดำ จากรถยนต์ จากโรงงาน เข้าสู่อากาศ

     2. การทำลายสาธารณสมบัติ เช่น สวนสาธารณะ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจสาธารณะ หมู่ต้นไม้ ที่ปลูกต้นไม้ เช่น สถานที่พักผ่อนหย่อนใจชายทะเลบางแห่งที่เคยมีหาดทรายขาวสะอาด มีบริเวณที่สะอาดเจริญตา แต่เมื่อผู้ที่ใช้สอยไม่ช่วยกันระวังรักษา ซ้ำยังทำลายด้วยการทิ้งขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลลงกลาดเกลื่อน จนทำให้ชายหาดสกปรก ส่งผลให้เกิดภาพไม่น่ามอง

ผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม

     การเกิดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม การดำเนินชีวิตประจำวันจากที่เคยสุขสบายก็อาจจะเกิดเป็นทุกข์เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญ เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ดังเช่น น้ำ อาหารที่ดื่มกินถ้าสกปรกก็จะเกิดเป็นโรคอุจาระร่วง ไทฟอยด์ หรือโรคที่เป็นพิษทางสารเคมี อากาศรอบ ๆ ตัวถ้าเป็นพิษหายใจเข้าไปก็เกิดเป็นโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ การถ่ายทิ้งของเสีย ถ้าไม่มีระบบเก็บกำจัดที่ถูกต้องก็จะเป็นที่น่ารังเกียจ ส่งกลิ่นเหม็นรบกวน เป็นแหล่งแพร่กระจายเชื้อโรค ในการประกอบอาชีพต่าง ๆ สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสมก็จะเกิดโรคที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ ในยามพักผ่อนนอนหลับถ้ามีกลิ่นเหม็นรบกวน และ มีเสียงดังรบกวนหรือที่เรียกว่ามลพิษทางเสียงทำให้การหลับนอนพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ก
็เกิดอาการอ่อนเพลียเจ็บไข้ได้ง่ายและถ้ามีความเครียดอีกด้วยอาจทำให้เกิดสุขภาพจิตไม่ดี

     ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์  ระบบนิเวศในโลกมีมากมายหลายระบบอธิเช่น ระบบนิเวศน์ในทุ่งนา ระบบนิเวศน์ในทะเล ระบบนิเวศน์ในสระน้ำ ระบบนิเวศน์ในป่า แต่เมื่อเกิดสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงระบบนิเวศน์เหล่านี้มักเกิดการเปลี่ยนแปลง ยกตัวอย่างเช่น ระบบนิเวศน์ในป่าถ้าเกิดระบบนิเวศน์เสียไปผลเสียที่จะตามมาคือป่าก็จะหมดสภาพ สัตว์ที่อาศัยอยู่ก็กระจัดกระจายจากการเป็นระบบไปสู่ความไม่มีระบบถ้ายิ่งเป็นป่าต้นน้ำลำธารถูกทำลาย ระบบนิเวศน์สลายไป ผลกระทบต่อปริมาณน้ำลดลงลักษณะของน้ำเปลี่ยนไปสิ่งที่ตามมาก็เกิดสภาพดินเสื่อมโทรมน้ำท่วมโดยฉับพลันอยู่เสมอ ๆ เพราะไม่มีป่าช่วยทำหน้าที่เป็นเขื่อนธรรมชาติกั้นไว้และสุดท้ายพื้นที่นั้น ๆ ก็อาจจะกลายสภาพเป็นทะเลทรายได้ในที่สุด   ในแหล่งที่อยู่อาศัยอื่นๆก็เช่นกันถ้าสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ก็จะมีอย่างมากมายและผลเสียก็จะมาสู่มนุษย์ทั้งในการดำเนินชีวิตแต่ละวันและทั้งการเกิดโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย

     การควบคุม ป้องกันและแก้ไข

ตัวอย่างโครงการที่เกี่ยวข้อง

     1.โครงการ “ ประสิทธิผลของการปรับแต่งและบำรุงรักษาเครื่องยนต์ของรถโดยสารประจำทางร่วมบริการ ขสมก . เพื่อลดมลพิษและประหยัดพลังงาน ”

     2.โครงการ “ การพัฒนายุทธศาสตร์การลดมลพิษจากดีเซลสำหรับเมืองใหญ่ (DIESEL ) “