สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

December 4, 2018 electronics น่ารู้

‘อุตสาหกรรม’ณ ปัจจุบันนี้ถูกจัดเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิตของมนุษย์ ในปัจจุบันอุตสากรรมจะเป็นตัวบ่งชี้ ถึงความเจริญก้าวหน้าของท้องถิ่นหรือประเทศนั้นๆ และการที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดขึ้นได้ จำเป็นจะต้องมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาใช้ เพื่อพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์นั้นๆให้มีประสิทธิภาพตามเป้าหมาย

สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

‘เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์’ ก็เป็นอีกส่วนหนึ่งซึ่งเข้ามามีบทบาทสำคัญ ในด้านพัฒนางานทางด้านอุตสาหกรรม ความจริงแล้วคำว่า ‘อิเล็กทรอนิกส์’ มีความหมายค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยรวมก็หมายถึงความทันสมัยนั่นเอง เนื่องจากอุปกรณ์ต่างๆทุกอย่างล้วนถูกพัฒนาขึ้น ให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ด้วยฝีมือของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการที่มนุษย์นำอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการทำธุรกิจ ก็ทำให้ช่วยลดเวลาในขั้นตอนปฏิบัติงาน เพิ่มความสะดวกสบายรวมทั้งยังเป็นขั้นตอนเพิ่มประสิทธิภาพให้กับงานที่ทำมากขึ้นด้วย

กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในปัจจุบันนี้ มีขั้นตอนซับซ้อนมากขึ้น เพราะทางผู้ผลิตก็ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมามีคุณภาพดี ตามที่ได้กำหนดแบบเอาไว้ ส่งผลมีกลไกหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการคิดค้นนำเอาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์มาช่วย ลดความซับซ้อนในกระบวนผลิต รวมทั้งช่วยทำให้ระบบควบคุมอัตโนมัติมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถทำงานอย่างได้ถูกต้องและมีความแม่นยำสูง โดยกระบวนการผลิตต่างๆ จะถูกควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทุกขั้นตอน

วิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม

ถึงแม้กระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม จะใช้กระบวนการผลิตอัตโนมัติ แต่ทั้งนี้มันก็มีขีดจํากัดบางประการที่ระบบ ด้วยเหตุนี้มนุษย์จึงจำเป็นต้องสร้างกลไกให้มีความสอดคล้องกับระบบ ยิ่งมีกระบวนการอัตโนมัติซับซ้อนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องใช้กลไกมากขึ้นเท่านั้น ส่งผลให้เกิดความยุ่งยากขึ้นในการคิดค้นระบบ ตลอดจนการบํารุงรักษาเองก็ทำได้ยาก ส่งผลให้วิศวกรและนักออกแบบเปลี่ยนมาใช้ระบบอัตโนมัติอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดความยุ่งยากของระบบควบคุมอัตโนมัติลง และมันยังเป็นการช่วยลดขนาดของเครื่องมือ เครื่องจักรให้เล็กลงอีกด้วย ใช้พื้นที่น้อย แต่ทํางานคล่องตัวมากขึ้น เพราะฉะนั้นคุณจึงจะเห็นได้ว่า อิเล็กทรอนิกส์ในทางอุตสาหกรรม เข้ามามีบทบาทสําคัญมากขึ้น นับเป็นอีกสายงานหนึ่งที่มีหนทางเปิดรับในอนาคตค่อนข้างมาก

วิชาที่จำเป็นต้องเรียนโดยสังเขป

  • วงจรไฟต่างๆ
  • ระบบเครื่องเสียง
  • ขั้นตอนรับส่งข้อมูล วิทยุ , ทีวี
  • สร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์
  • สร้างหุ่นยนต์
  • การคำนวณ เป็นต้น

อาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์

เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีสามารถเป็นเจ้าของกิจการได้โดยง่าย ตลอดจนสามารถเข้าทำงานในศูนย์ช่วยเหลือ , โรงงานต่างๆได้ เพราะความต้องการช่างของตลาดแรงงาน ยังมีความโหยหาอยู่ตลอดเวลา ลองมองไปรอบตัว ทุกๆวันนี้ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งจำเป็นต่อวิธีดำเนินชีวิตของมนุษย์ เรียกได้ว่าเป็นปัจจัยที่ 5 ของการดำรงชีวิตยุคใหม่ก็ว่าได้ สรุปว่าเมื่อจบสาขาวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมมา มีโอกาสเจริญก้าวหน้าสูง หางานได้หลายรูปแบบ

About The Author

           สำหรับคนที่เรียนสายช่าง นอกจากจะต้องรู้ความต่างของช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งที่หลายคนสงสัยกันมากและเป็นคำถามยอดฮิตก็คือ ช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ อาชีพไหนที่เหมาะกับเราและตลาดแรงงานบ้านเรารองรับอาชีพไหนมากกว่ากัน

สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

           การรู้และเข้าใจความแตกต่างของช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากช่วยให้ตัดสินใจเรียนได้ตรงใจแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถเลือกอาชีพที่เหมาะกับตัวเราอย่างแท้จริงได้อีกด้วย มาดูกันว่า ช่างไฟฟ้าและช่างอิเล็กทรอนิกส์ อาชีพไหนที่เหมาะสำหรับเรา

1) หลักสูตรการเรียน

  • ช่างไฟฟ้า เรียนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เช่น การเดินสายไฟฟ้าในบ้าน ติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ การตรวจเช็กระบบไฟฟ้า การวางระบบวงจรไฟฟ้า การแก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟฟ้า การตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เรียนเกี่ยวกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รูปแบบวงจร และอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ การบำรุงรักษา การแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์

2) ลักษณะอาชีพ

  • ช่างไฟฟ้าใช้ทฤษฎีความรู้หลักการทางไฟฟ้า วิธีทดสอบไฟฟ้า และวิชาการที่เกี่ยวข้องมาผลิต ก่อสร้าง ติดตั้ง ตรวจสอบ ทดสอบ ใช้งาน ดูแล แก้ไข เปลี่ยนแปลง บำรุงรักษา ซ่อมแซม และปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า อุปกรณ์ และส่วนประกอบอื่น ๆ ตรวจหาสาเหตุและแก้ไขระบบไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าขัดข้องหรือไม่ทำงาน ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายจากวิศวกรไฟฟ้า
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ใช้ทฤษฎีความรู้หลักการและกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์มาออกแบบ สร้าง วิเคราะห์ วางแผน บำรุงรักษาเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิบัติงานอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป อิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม เทคนิคคอมพิวเตอร์ เทคนิคระบบสื่อสาร และเครื่องกลอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจซ่อมเครื่องจักรกลอัตโนมัติที่ใช้ร่วมกับระบบอิเล็กทรอนิกส์ ปฏิบัติงานด้านอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากวิศวกรอิเล็กทรอนิกส์

3) คุณสมบัติ

  • ช่างไฟฟ้านอกจากต้องสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงแล้ว ควรต้องมีความคล่องแคล่วในการใช้มือ กระฉับกระเฉง ช่างสังเกต ไม่เป็นตาบอดสี เพราะต้องบอกประเภทการใช้งานสายไฟที่มีสีต่าง ๆ ของฉนวนเป็นตัวกำหนด และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์นอกจากสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรและมีร่างกายแข็งแรงแล้ว ควรต้องเป็นผู้ที่มีความละเอียดรอบคอบ คล่องแคล่ว ช่างสังเกต ไม่เป็นบอดสี มือและสมองทำงานพร้อมกันได้ตลอดเวลา ชอบคิดคำนวณ มีความคิดสร้างสรรค์ และแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี

4) แหล่งงาน

  • ช่างไฟฟ้า ส่วนใหญ่ทำงานให้ผู้รับเหมางานด้านไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ องค์กรของรัฐบาลและเอกชน ให้บริการด้านไฟฟ้ากับหน่วยงานของตนเอง ส่วนช่างไฟฟ้าที่ทำงานอิสระ มักจะรับเหมางานเอง แหล่งงานส่วนใหญ่จึงอยู่ในเขตอุตสาหกรรมและพื้นที่กำลังพัฒนา
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์ เลือกได้ทั้งการรับงานอิสระ รับซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ หรือจะรับราชการ งานรัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐบาลและเอกชน โรงงานอุตสาหกรรม ดูแลระบบเครือข่ายสัญญาณ ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ และระบบการสื่อสารต่าง ๆ

5) โอกาสในการทำงาน

  • ช่างไฟฟ้า มีแนวโน้มเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าในองค์กรและที่บ้านยังเป็นสิ่งจำเป็นและมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โอกาสของช่างไฟฟ้าจึงสูงตามประสบการณ์และความชำนาญ สามารถเป็นที่ปรึกษา ผู้ควบคุม ผู้ให้คำแนะนำทางเทคนิคได้ ที่สำคัญช่างไฟฟ้าเปลี่ยนไปทำงานไฟฟ้าด้านอื่นได้ เช่น ช่างซ่อมบำรุงไฟฟ้าในหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์ มีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตและยังมีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ยิ่งมีประสบการณ์และความชำนาญมากเท่าไร ก็ยิ่งเป็นที่ต้องการ และในอนาคตความต้องการในการควบคุมระบบที่อัตโนมัติและมีความแน่นอน จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยควบคุม อย่างระบบการสื่อสารคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

6) รายได้

  • ช่างไฟฟ้า ช่วงแรกอาจไม่มากนัก แต่เมื่อมีความชำนาญมากขึ้น รายได้จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ข้อดีคือชั่วโมงการทำงานและรายได้มีความสม่ำเสมอและสูงกว่าช่างอื่น ๆ ในสายงานก่อสร้าง
  • ช่างอิเล็กทรอนิกส์ รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อความชำนาญมากขึ้นเช่นเดียวกับช่างไฟฟ้า ข้อดีคือ อาจมีการทำงานล่วงเวลา เพราะความจำเป็นที่เร่งด่วน ทำให้โอกาสได้เงินพิเศษมากขึ้น

           ไม่ว่าจะเป็นช่างไฟฟ้าหรือช่างอิเล็กทรอนิกส์ ตัดสินใจเลือกทั้งทีให้ดูที่ความชอบและความถนัดไปพร้อม ๆ กัน เพราะเมื่อเราได้ทำงานที่เรารัก และรู้สึกรักในงานที่ทำ เราก็จะมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะพัฒนาความชำนาญของตนเองให้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเรามีความชำนาญและประสบการณ์ที่มากขึ้น โอกาสและรายได้ที่ดีย่อมตามมาเอง

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

สาขาอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​
Most Wanted Jobs! งานดีสายวิชาชีพที่ตลาดแรงงานต้องการ
คำถามสู่ความสำเร็จในอนาคต: เด็กรุ่นใหม่ เรียนสายอาชีพดีไหม ?
อาชีพที่โอกาสตกงานน้อย เก็บเงินได้มาก
มาทำความรู้จักกับ สายงานด้านไอทีกันเถอะ

สาขาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรมเรียนเกี่ยวกับอะไร

เรียนรู้ และปฏิบัติงานเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์และอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น หน่วยวัดทางไฟฟ้า ประเภทของไฟฟ้า กฎของโอห์ม การวิเคราะห์ตรวจซ่อม ต่อ และแก้ไขวงจรแบบต่างๆ การใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า การทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ การต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้า การต่อและวิเคราะห์วงจรขยายทรานซิสเตอร์ เครื่องขยายเสียง ...

ความหมายของอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: electronics) เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับวงจรไฟฟ้าที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เป็น active component เช่นหลอดสูญญากาศ, ทรานซิสเตอร์, ไดโอด และ Integrated Circuit และ ชิ้นส่วน พาสซีฟ (อังกฤษ: passive component) เช่น ตัวนำไฟฟ้า, ตัวต้านทานไฟฟ้า, ตัวเก็บประจุ และคอยล์ พฤติกรรมไม่เชิงเส้นของ active ...

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

กลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง หมายถึง การนำชิ้นส่วนหรือกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อไปต่อยอด ในอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมโยงกับการผลิตผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ทั้งอุตสาหกรรมขั้นต้น ขั้นกลาง และขั้นปลาย อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าไมโครชิพเพื่อการควบคุมชุดคำสั่ง เป็นต้น

เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

1. หัวแร้ง (Electric Soldering) ... .
2. มัลติมิเตอร์ (Mutimeter) ... .
3. แอมมิเตอร์ (Ammeter) ... .
4. ตัวต้านทาน (Resistor) ... .
5. ตัวเก็บประจุ (Capacitor or Condenser) ... .
6. ไดโอด (Diode) ... .
7. ทรานซิสเตอร์ (Transistor) ... .
8. แผงทดลองวงจร (Project Board).