โปรโตคอล คืออะไร ยกตัวอย่างมา 2 โปรโตคอล

Protocol คือภาษาทางคอมพิวเตอร์เป็นภาษาที่ใช้พูดคุยกันผ่านอุปกรณ์ โดยที่ผ่านชุดคำสั่งรูปแบบเดียวกัน กระบวนการเดียวกัน

  • Protocol คือ อะไร
  • Network protocol คือ อะไร
  • Network protocol สื่อสารกันอย่างไร
  • หลักการทำงานของ Network protocol
    • ขั้นที่ 7 Application layer
    • ขั้นที่ 6 Presentation layer
    • ขั้นที่ 5 Session layer
    • ขั้นที่ 4 Transport layer
    • ขั้นที่ 3 Network layer
    • ขั้นที่ 2 Data layer
    • ขั้นที่ 1 Physical layer ขั้นนี้เป็นส่วนที่ทำใน hardware การเสียบปลั๊กเพื่อให้คอมพิวเตอร์ติด การต่อสายจอเพื่อให้แสดงภาพขึ้นมาได้
  • องค์ประกอบของ Network protocol
    • Message encoding
    • Message formatting and encapsulation
    • Message size
    • Message timing
    • Message delivery option
      • 1) Unicast
      • 2) Multicast
      • 3) Broadcast

Protocol คือ อะไร

Protocol คือ ภาษาในการสื่อสาร ในทางคอมพิวเตอร์ มันทำหน้าที่เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์สองชิ้นให้เข้าใจกัน เพราะคอมพิวเตอร์นั้นมีอุปกรณ์ มีทั้งโปรแกรมในการทำงาน จำเป็นต้องมีตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ในชีวิตประจำวันของเรามันจะพบเจอการสื่อสารระหว่างกัน เช่น เราพูดคุยกับเพื่อนในภาษาไทย ภาษาจึงเป็นตัวกลางในการสื่อสาร ดังนั้นต่อให้สื่อสารด้วยภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องตามหลักไวยกรณ์ แต่ผู้สื่อสารอีกคนไม่สามารถฟังภาษาอังกฤษได้ มันก็ทำให้ภาษาอังกฤษที่เป็นโพรโตคอลนั้นล้มเหลวนั่นเอง 

Network protocol คือ อะไร

จากที่ได้กล่าวไปในข้างต้นว่าโพรโตคอลนั่นเป็นเหมือนภาษากลางที่สื่อสารระหว่างกัน โดยการสื่อสารเป็นการส่งข้อมูล (data) ถ้าหากยกตัวอย่างการสื่อสารระหว่างจอภาพ กับ ซีพียู ไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง จึงจำเป็นต้องมีตัวกลางในการแปลงสิ่งที่คีย์บอร์ดสื่อสารผ่านสาย USB แล้วถูกแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ที่เป็นภาษาพื้นฐานที่รับรู้ร่วมกัน โดยการสื่อสารหลักๆของ Network protocol แบ่งเป็น 3 รูปแบบ

Network protocol สื่อสารกันอย่างไร

การสื่อสารกันนั้นเกิดขึ้นระหว่างอุปกรณ์ อย่างน้อย 2 ชนิด โดยวิธีการสื่อสารนั้นแบ่งเป็น

  • Simplex การสื่อสารฝั่งเดียว
    การสื่อสารชนิดนี้เป็นการที่สื่อสารไปฝั่งเดียวโดยไม่ต้องตอบกลับ ยกตัวอย่างการใช้คีย์บอร์ดสั่งการคอมพิวเตอร์ให้ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์ไม่สามารถสั่งการให้คีย์บอร์ดทำงานตามที่ต้องการได้
  • Half duplex การสื่อสารทีละฝั่ง
    การสื่อสารรูปแบบนี้เป็นการที่สามารถสื่อสารทั้งสองฝั่งได้ แต่สื่อสารทีละฝั่ง เช่น การใช้วิทยุสื่อสารเป็นการส่งคลื่นไปหาปลายทางแล้วอีกฝั่งหนึ่งจึงสามารถสื่อสารกลับมาได้
  • Duplex การสื่อสารสองทาง
    การสื่อสารชนิดนี้เป็นการสื่อสารตอบโต้ได้ระหว่างกันที่มีให้เห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การแชท การวีดีโอคอล หรือ การโทรศัพท์คุยกัน โดยที่ทั้งสองฝั่งสามารถสื่อสาร รับ-ฟัง กันได้ในเวลาเดียวกัน

หลักการทำงานของ Network protocol

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าโพรโตคอลเป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดที่อาจจะเหมือนหรือต่างกันก็ได้ โดยใช้ภาษาสากลรูปแบบเดียวกัน มีกฏเกณฑ์ร่วมกัน โดยองค์ประกอบของการทำงานของระบบนี้จะแบ่งเป็นลำดับขั้นที่ชื่อว่า OSI model หรือ The Open System Interconnection โดยการทำงานนั้นจะถูกแบ่งเป็น 7 ชั้นตามลำดับความซับซ้อนของการใช้งาน

  • ขั้นที่ 7 Application layer

    ขั้นนี้เป็นลำดับที่ซับซ้อนที่สุด โดยเป็นการสั่งการในภาษาขั้นสูงที่เราใช้กัน เช่น การเข้าถึงไฟล์ การค้นหาบนเว็บไซต์ จะใช้โพรโตคอล HTTP โดยผ่านโปรแกรม Safari , Firefox , Edge และอื่นๆ นอกจากนี้จะมีการดึงข้อมูลในส่วน Presentation เข้ามาเป็นส่วนประกอบด้วย

  • ขั้นที่ 6 Presentation layer

    ขั้นนี้เป็นขั้นที่ทำงานอยู่ระหว่างการแปลข้อมูลเพื่อให้โปรแกรมทำงาน การเข้ารหัสข้อมูล การบีบอัดข้อมูล โดยขั้นตอนนี้ไม่มีความซับซ้อน เพราะทำงานแค่ระดับไวยากรณ์ ถ้าหากคำสั่งถูกต้องก็ทำงานได้

  • ขั้นที่ 5 Session layer

    ขั้นนี้เป็นการจัดการข้อมูลการสื่อสาร โดยหน้าที่หลักเป็นการจัดการส่งข้อมูลออกไปทั้งไปและกลับ โดยจะตรวจสอบว่าถูกส่งหรือยัง ถ้าหากขาดการเชื่อมต่อจะมีระยะเวลาที่เชื่อมต่อใหม่

  • ขั้นที่ 4 Transport layer

    ขั้นนี้เป็นลำดับของการรับส่งข้อมูลโดยเฉพาะ ถ้าหากเป็นการรับส่งระหว่าง Switch hub และ คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะเรียกว่า Transmission Control Protocol หรือ TCP 

  • ขั้นที่ 3 Network layer

    ขั้นนี้เป็นการส่งข้อมูลระหว่าง Router และคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย จะถูกกำหนดด้วย Address Resolution Protocol หรือ ARP เป็นตัวกลางในการกำหนดเลขที่ Internet protocol address ที่ทำหน้าที่กำหนดตัวตนของคนใช้อินเตอร์เน็ตให้ระบุตัวตนไม่ซ้ำกัน

  • ขั้นที่ 2 Data layer

    ขั้นนี้เป็นการรับส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิดโดยการเชื่อมต่อจาก Physical layser อาจจะเป็นเพียงการเสียบไมโครโฟนเข้าตัวกระจายเสียง ทำให้พูดแล้วมีเสียงออกมา หรือ การต่อเม้าส์เข้าคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถบังคับคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น

  • ขั้นที่ 1 Physical layerขั้นนี้เป็นส่วนที่ทำใน hardware การเสียบปลั๊กเพื่อให้คอมพิวเตอร์ติด การต่อสายจอเพื่อให้แสดงภาพขึ้นมาได้

โปรโตคอล คืออะไร ยกตัวอย่างมา 2 โปรโตคอล

องค์ประกอบของ Network protocol

โดยทุกส่วนของโพรโตคอลชนิดนี้จะมีส่วนร่วมกันในการรวมเป็นหนึ่งชนิดการสื่อสาร ดังนี้

  • Message encoding

    การเข้ารหัสของข้อมูล เป็นกระบวนการแปลงข้อมูลให้สามารถส่งออกไปได้

  • Message formatting and encapsulation

    การจัดการรูปแบบของข้อมูล ให้เป็นรูปแบบเดียวกัน ระบุที่มาของผู้รับและผู้ส่งได้

  • Message size

    การจัดการขนาดของข้อมูล ถ้าหากเรามีหนังสือหนึ่งเล่ม แต่เรามีเวลา 5 นาทีในการอธิบาย เราจะต้องแบ่งเนื้อหาเฉพาะส่วนสำคัญในการสื่อสารข้อมูล คอมพิวเตอร์ก็ทำเช่นเดียวกัน ในการบีบอัดข้อมูลเป็นส่วนๆส่งไประหว่างเครือข่าย

  • Message timing

    การจัดการระยะเวลาในการส่งข้อมูล โพรโตคอลนี้ต้องมีการจัดการความเร็วในการส่ง ถ้าหากมีการขาดการเชื่อมต่อ จะต้องมีการกำหนดว่าต้องมีระยะเวลารอนานเท่าไหร่จึงส่งซ้ำไปอีกครั้ง

    โปรโตคอล คืออะไร ยกตัวอย่างมา 2 โปรโตคอล

  • Message delivery option

    การจัดการรูปแบบการส่งข้อมูลระหว่างกันนั้นมีอยู่ 3 รูปแบบ

    1) Unicast

    วิธีการนี้เป็นการส่งจากเครื่องส่ง ไปหาผู้รับเพียงเครื่องเดียว

    2) Multicast

     วิธีการนี้เป็นการส่งจากเครื่องส่ง ไปหาผู้รับหลายเครื่อง

    3) Broadcast

    วิธีการนี้เป็นการส่งจากเครื่องส่ง ไปหาผู้รับทุกเครื่องในเครือข่าย

ถ้าหากมีปัญหาทางด้านไอที การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นกับการใช้งาน Network สามารถปรึกษาเราได้ฟรีที่นี่

โปรโตคอล (Protocal) คืออะไรและยกตัวอย่างประกอบ

Protocol คืออะไร ประเภทของ Network Protocols. Communication Protocol (โปรโตคอลด้านการสื่อสาร) : ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลขั้นพื้นฐาน เช่น TCP/IP และ HTTP. Management Protocol (โปรโตคอลด้านการจัดการ) : มีหน้าที่ดูแลรักษา และบริหารเครือข่ายผ่านโปรโตคอล เช่น ICMP และ SNMP.

โปรโตคอล (Protocol) หมายถึงอะไร

คำจำกัดความ โปรโตคอลคือชุดกฎพื้นฐานที่อนุญาตให้ใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างคอมพิวเตอร์ได้ สำหรับสกุลเงินดิจิทัล ชุดกฎเหล่านั้นคือตัวกำหนดโครงสร้างของบล็อกเชน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่ช่วยให้แลกเปลี่ยนเงินดิจิทัลบนอินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย

โปรโตคอลในระบบเครือข่ายมีอะไรบ้าง

Protocol ในระบบเครือข่าย.
1. Protocol HTTP. ... .
2. Protocol HTTPS. ... .
3. Protocol TCP/IP. ... .
4. Protocol SMTP. ... .
5. Protocol FTP. ... .
6. Protocol NNP. ... .
7. Protocol ICMP. ... .
8. Protocol POP3 (Post Office Protocol 3).