สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

เมื่ออยู่ในภาวะไร้โน้มถ่วง ร่างกายจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่ต่างออกไป แต่น้อยคนจะรู้ว่า หัวใจของมนุษย์สามารถจะถูกบีบอัดให้มีขนาดเล็กลงได้ เมื่อต้องอยู่ใช้ชีวิตอยู่ในห้วงอวกาศเป็นเวลานาน

วารสาร Circulation ที่ตีพิมพ์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (29 มีนาคม) เปิดเผยว่า ขนาดหัวใจของสก็อต แคลลี่ (Scott Kelly) นักบินอวกาศที่ขึ้นไปปฏิบัติภารกิจบนสถานีอวกาศนานาชาติ เมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ.2015 ถึงวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ.2016 หดตัวลงถึง 1 ใน 4 ซึ่งนี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพใหม่ที่เพิ่งค้นพบ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีรายงานว่า นักบินอวกาศที่ปฏิบัติภารกิจในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานาน มักจะมีผลกระทบทางร่างกายอื่นๆ เช่น หัวบวม ลูกตาถลน ขาเหี่ยว หรือกระดูกเปราะบางมากขึ้น

แคลลี่เล่าว่า ขณะที่เขาทำงานอยู่บนสถานีอวกาศ เขาใช้เวลาออกกำลังกาย 6 วันต่อสัปดาห์ วันละราวๆ 2 ชั่วโมงด้วยการจ็อกกิ้งบนลู่วิ่ง และใช้เครื่องต้านแรงโน้มถ่วงที่สร้างเลียนแบบดัมเบลยกน้ำหนัก ซึ่งแคลลี่ระบุว่า การยกน้ำหนักในอวกาศเป็นเรื่องยาก “มันหนักมาก หนักกว่าที่ฉันยกที่บ้านอย่างแน่นอน”

แต่ท้ายที่สุด นี่เป็นการพิสูจน์แล้วว่าการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงเป็นประจำ ไม่สามารถปกป้องหัวใจของเขาจากผลกระทบได้ โดยหลังปฏิบัติภารกิจบนอวกาศเป็นเวลา 1 ปี นักวิจัยพบว่า มวลหัวใจของแคลลี่ลดลงถึง 1.8 ออนซ์ จาก 6.7 ออนซ์ เหลือเพียง 4.9 ออนซ์ ซึ่งคิดเป็น 27% หรือประมาณ 1 ส่วน 4 ของมวลทั้งหมด แต่หลังจากเขากลับมายังโลก หัวใจของเขาก็กลับมาเป็นปกติอีกครั้ง

แม้ว่าหัวใจจะมีขนาดเล็กลง แต่งานวิจัยเปิดเผยว่า แคลลี่ไม่ได้รับผลกระทบใดๆ จากการเปลี่ยนแปลงใหม่นี้ ดร.เบนจามิน ดี เลวีน (Benjamin D. Levine) ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์ที่ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยเท็กซัสเซาท์เวสเทิร์น และสถาบันสุขภาพ Texas Health Presbyterian Dallas เปิดเผยว่า “หัวใจของแคลลี่ปรับตัวกับแรงโน้มถ่วงที่ลดลงได้เป็นอย่างดี และมันไม่ได้ทำงานผิดปกติแต่อย่างใด”

กระบวนการหดตัวของหัวใจ เกิดขึ้นเมื่อมนุษย์อาศัยอยู่ในสภาวะปราศจากแรงดึงดูด หัวใจจะไม่สูบฉีดเลือดมากเท่าเดิมและจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ เช่นเดียวกับกล้ามเนื้อ และอวัยวะอื่นๆ ก็จะเสียสมรรถภาพบางส่วน จากการทำงานที่ลดน้อยลง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าหัวใจที่เล็กลงของแคลลี่จะเพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตบนสถานีอวกาศ แต่มันอาจไม่เพียงพอสำหรับภารกิจเดินทางไปดาวอังคาร

คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่า จะเกิดอะไรขึ้นถ้าหากมนุษย์เราอยู่ในอวกาศ ? คำตอบนี้ดูเหมือนจะมีแต่นักบินอวกาศเท่านั้นที่รู้ เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีนักบินอวกาศหลายคนที่ใช้ชีวิตอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งนอกจากสภาวะไร้น้ำหนักแล้ว พวกเขายังต้องเจอสิ่งแปลกๆ อีกมากมายที่ะเกิดขึ้นกับร่างกายของพวกเขา และวันนี้เพชรมายาจะขอนำมาบอกเล่าให้ทุกคนได้ทราบกัน

1. การมองเห็นของคุณจะแย่ลงมาก

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

Visual Impairment Intracranial Pressure Syndrome (VIP) คือชื่อของความบกพร่องทางสายที่ที่นักบินอวกาศส่วนใหญ่รายงาน หลังจากที่อยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน ทางนาซ่าเองได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับโรคดังกล่าว แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคนี้ ดังนั้นภารกิจเดินทางไปยังดาวอังคารยังอยู่ภายใต้คำถามที่ว่า นักวิทยาศาสตร์จะช่วยนักบินอวกาศได้อย่างไรจากโรคนี้

2. คุณจะสูงขึ้นนิดหน่อย

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

ถ้าคุณอยากจะสูงขึ้นสักไม่กี่เซ็น การเดินทางไปในอวกาศอาจช่วยคุณได้แบบชั่วคราว นั่นเพราะการไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงบนอวกาศ ทำหลังของเราเหยียดตรง การทดสอบด้วยอัลตราซาวด์ช่วยให้เราทราบคำตอบที่ว่า ทำไมนักบินอวกาศถึงกลับมาแล้วสูงขึ้นเล็กน้อย

3. การสัมผัสกับรังสีจะส่งผลต่อสุขภาพของคุณ

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

ในการเตรียมภารกิจไปดาวอังคาร นักวิทยาศาสตร์ของนาซ่าได้ศึกษาผลกระทบของรังสีต่อร่างกายมนุษย์ โดยชั้นบรรยากาศของดาวอังคารจะเบาบางกว่าโลกมาก และนั่นทำให้มันเปรียบเสมือนไร้ซึ่งเกราะป้องกันรังสีอวกาศต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งถ้าเรารู้จักวิธีป้องกันรังสีนี้มากเท่าไหร่ ภารกิจการไปดาวอังคารก็จะง่ายขึ้นอีกมาก

4. เล็บคุณอาจถอดได้

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

มีนักบินอวกาศถึง 22 คนรายงานว่า พวกเขาสูญเสียเล็บบางเล็บไปหลังจากเดินทางไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ จากการศึกษาพบว่าถุงมือของชุดอวกาศที่ถูกออกแบบมานั้น มีความดันกดอยู่บริเวณเล็บ จึงทำให้เล็บของพวกเขาหลุดออก ปัญหานี้จะถูกแก้ไขได้ด้วยการออกแบบถุงมือใหม่

5. หูชั้นในจะทำงานผิดเพี้ยน

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

หูชั้นในของคุณจะทำงานเหมือนกับเซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวของสมาร์ทโฟน มันจะช่วยบอกคุณว่าเมื่อไหร่ที่ร่างกายเคลื่อนไหวหรือหยุด คุณเดินหรือคุณนอน แต่ในอวกาศเจ้าหูชั้นในของคุณมันจะทำงานผิดเพี้ยน ซึ่งจะส่งผลให้นักบินอวกาศมักจะประสบปัญหาอาการคล้ายเมารถเป็นเวลา 1-2 วัน หลังจากที่เดินทางไปถึงสถานีอวกาศ

6. จะมีปัญหาเกี่ยวกับของเหลวในร่างกาย

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

การไร้ซึ่งแรงโน้มถ่วงจะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับของเหลวในร่างกายมนุษย์ แทนที่เลือดจะไหลเวียนลงสู่ที่ต่ำไปยังขาของเราเหมือนกับตอนที่อยู่บนโลก แต่ในอวกาศเลือดจะลอยขึ้นไปยังศีรษะแทน ซึ่งตามรายงานของนาซ่า จำนวนของเหลวที่ไหลเข้าสู่ศีรษะของนักบินอวกาศ สก็อต เคลลี สามารถเติมเต็มขวดโซดาได้ 2 ลิตรเลยทีเดียว ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักบินอวกาศก็คืออาการมีเลือดฝาดบนใบหน้ามากขึ้น แต่ผลเสียอย่างมากก็คือแรงดันที่เกิดขึ้นต่อเส้นประสาทตา จะส่งผลต่อการมองเห็นนั่นเอง

7. หัวใจจะหดตัว

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

หัวใจของคุณก็จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในอวกาศ เพราะเมื่อหัวใจสูบฉีดเลือดน้อยลง ขนาดของมันก็จะดูกลมมากขึ้น จากการศึกษาร่างกายของนักบินอวกาศเหล่านี้ จะช่วยให้หลีกเลี่ยงปัญหาเกี่ยวกับหัวใจที่จะเกิดขึ้นกับนักบินอวกาศในอนาคต

8. กล้ามเนื้อจะอ่อนแอลง

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

นักบินอวกาศจำเป็นต้องออกกำลังกายอยู่เป็นประจำในขณะที่อยู่ในอวกาศ เพราะการที่ต้องอาศัยอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานานจะส่งผลทำให้กล้ามเนื้อฝ่อ กระดูกก็จะอ่อนแอลง ดังนั้นการออกกำลังกายจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับนักบินอวกาศจริงๆ

9. คุณอาจเผชิญกับสภาวะทางจิต

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

ปัญหาเกี่ยวกับสภาวะทางจิตของนักบินอวกาศ ยังคงส่งผลกระทบต่อภารกิจเดินทางไปดาวอังคารที่ใช้เวลายาวนาน ดังนั้นทางนาซ่าและ องค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย ได้ร่วมมือกันศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง เกี่ยวกับผลกระทบของสภาวะทางจิตของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นระหว่างภารกิจไปยังดาวอังคาร

10. จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าชุดอวกาศของคุณเกิดชำรุดขณะอยู่ในอวกาศ ?

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

ถ้าคุณกำลังสงสัยว่า มนุษย์เราจะอยู่รอดในอวกาศได้นานเท่าไหร่ล่ะก็ นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น หากจู่ๆ ชุดอวกาศของคุณเกิดพังขึ้นมาก็คือ คุณจะหมดสติภายใน 15 วินาที เนื่องจากขาดออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง เลือดและของเหลวในร่างกายจะเดือดและแข็งตัว เพราะความดันในสภาวะสูญญากาศทำให้จุดเดือดของของเหลวในร่างกายต่ำลง อวัยวะทุกส่วนจะขยายตัวออกจากการเดือดของเลือดและของเหลวในร่างกาย ผิวหนังจะไหม้จากความร้อนและรังสีดวงอาทิตย์ สรุปสั้นๆ ก็คือ คุณจะตายภายในเวลาไม่ถึง 1 นาที

11. ฝาแฝดที่ช่วยให้เรารู้มากขึ้นเกี่ยวกับร่างกายมนุษย์ในอวกาศ

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

สกอต และ มาร์ก เคลลี ฝาแฝดนักบินอวกาศกลายเป็นหัวข้อศึกษาเกี่ยวกับ “ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของนักบินอวกาศแต่ละคน” ในขณะที่สก็อต เคลลี เดินทางไปอวกาศ มาร์ก ยังคงอยู่บนโลก ทั้งคู่ได้รับการตรวจร่างกายที่เหมือนกันเพื่อนำผลลัพธ์มาเปรียบเทียบและก็พบว่า ระดับโปรตีน CRP (C-Reactive Protein) เป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการอักเสบ ของ สก็อต เคลลี่ มีค่าสูงขึ้นเนื่องจากความเครียดที่เขาเผชิญอยู่ในอวกาศ ส่วนการวิจัยของคู่แฝดก็ยังคงดำเนินต่อไปเพื่อให้เราเข้าใจผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์กับอวกาศมากขึ้น

12. การตกลงไปในหลุมดำ อาจยืดร่างกายคุณจนแตกละเอียดเป็นไอออน

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

นี่เป็นสมมุติฐาน ถ้าคุณบังเอิญตกลงไปในหลุมดำ ร่างกายคุณจะ “ยืด” ออกมาก (ก.ไก่ล้านตัว) และการรับรู้เวลาจะเปลี่ยนไป ถ้าคุณยังมองเห็นได้ล่ะก็ คุณจะสามารถเห็นทั้งอนาคตและอดีตได้พร้อมๆ กัน แต่จริงๆ แล้วคุณจะตายทันทีโดยที่ร่างกายและสมองจะละลายหายไปกลายเป็นไอออนเท่านั้น

13. อารมณ์ขันของคุณจะดีขึ้น

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

งานของนักบินอวกาศถือเป็นงานที่อันตรายที่สุดและยากที่สุดในโลก (เอ๊ะ หรือนอกโลก) ดังนั้น การมีอารมณ์ขันจะช่วยให้คุณอยู่รอดได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างเช่นในภาพด้านบนนี้ นักบินอวกาศที่กำลังถือป้ายเซล เนื่องจากดาวเทียม 2 ดวงทำงานผิดปกติ

14. คุณจะคิดถึงโลกมากกว่าที่เคยเป็น

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

นี่คือประสบการณ์ที่เกิดกับนักบินอวกาศทุกคนเมื่ออยู่ในอวกาศเป็นเวลานาน ถึงแม้งานนักบินอวกาศจะเป็นงานที่น่าตื่นเต้นที่สุด แต่หากต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมเดิมๆ ทุกวันทุกคืนในพื้นที่จำกัด ก็ทำให้พวกเขาคิดถึงบ้านได้ไม่ยาก

15. ถ้าคุณลอยหลุดไปในอวกาศ

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์ในเรื่องใด

ถ้าคุณที่เป็นนักบินอวกาศ ที่ประสบชะตากรรมลอยออกไปจากสถานีอวกาศด้วยความผิดพลาดบางอย่าง สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนี้ก็คือ ทุกอย่างรอบตัวคุณจะค่อยๆ มืดลง คุณจะลอยเคว้งคว้างไม่รู้ทิศทางไปเรื่อยๆ นาน 6 ชั่วโมงก่อนที่ออกซิเจนจะหมดลง ก่อนที่จะพบกับความตายอันน่าสยดสยอง นั่นจึงเป็นเหตุผลที่นาซ่าและหน่วยงานด้านอวกาศทั่วโลก ให้ความสำคัญกับระบบรักษาความปลอดภัย เพื่อให้พวกเขาแน่ใจว่าจะไม่มีนักบินอวกาศคนไหน หลุดลอยไปเป็นอันขาด

สภาวะไร้น้ำหนักมีผลต่อมนุษย์อวกาศในเรื่องใด

ผลกระทบต่อร่างกายที่สำคัญที่สุดสำหรับการอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเป็นเวลานานๆ คืออาการกล้ามเนื้อลีบและอาการกระดูกเสื่อม เพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบต่อร่างกายของมนุษย์อวกาศ บนสถานีอวกาศจะติดตั้งเครื่องออกกำลังกาย aRED (advanced Resistive Exercise Device) ซึ่งมีอุปกรณ์ยกน้ำหนักหลายแบบและเครื่องปั่นจักรยาน มนุษย์อวกาศแต่ละคนจะ ...

สภาวะไร้น้ำหนักเป็นอย่างไร

หมายความว่าน้ำหนักของวัตถุจะมีค่าน้อยตามไปด้วย ซึ่งก็ยังคงมีน้ำหนักอยู่บ้าง แต่จากการสังเกตของคนที่อยู่ในดาวเทียมที่กำลังโคจรรอบโลก จะรู้สึกว่าไม่มีน้ำหนักเลยที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากวัตถุทุกสิ่งที่อยู่ภายในดาวเทียม จะมีการเคลื่อนที่สัมพัทธ์กับดาวเทียมเป็นศูนย์ คือ อยู่นิ่งเมื่อเทียบกับดาวเทียม วัตถุที่อยู่ในดาวเทียมจึง ...

ร่างกายของนักบินอวกาศในสภาพไร้น้ำหนักนาน ๆ อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หากมิได้รับการแก้ไข

การอยู่ในสภาพไร้น้ำหนักนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อลีบ เนื่องจากสภาพไร้นำหนักทำให้ไม่ต้องออกแรง ดังนั้นมนุษย์อวกาศจะต้องออกกำลังกายอยู่เสมอ มิฉะนั้นกล้ามเนื้อจะอ่อนแอมาก จนยืนไม่ไหวและเดินไม่ได้เมื่อกลับมาอยู่บนพื้นโลก อุปกรณ์ที่ใช้ในการออกกำลังกายในอวกาศ มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ในโรงยิมนาสติก แต่จะมีสายรั้งร่างกายให้ติดอยู่กับ ...

สภาพไร้น้ำหนักในอวกาศมีผลต่อนักบินอวกาศในด้านใดมากที่สุด *

ในสภาะวะที่ไร้น้ำหนักนักบิวอวกาศจะมีการนอนที่ทำให้ร่างกายของพวกเขาพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ เนื่องจากจำนวนชั่วโมงการนอนที่น้อยลง การควบคุมร่างกายขณะนอนหลับ ล้วนมีปัญหาทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่