ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *

      ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวและพฤติกรรมของมนุษย์ในอดีต ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาและยุคสมัยต่าง ๆ กัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาว่ามนุษย์ในอดีตได้คิดอะไร และกระทำสิ่งใด อีกทั้งความคิดและการกระทำดังกล่าวมีอิทธิพลต่อชีวิตมนุษย์ทั้งในช่วงเวลาดังกล่าว และช่วงเวลาต่อมาอย่างไร หากแต่อดีตของมนุษย์นั้นมีระยะเวลายาวนานมาก จึงจำเป็นจะต้องมีการแบ่งช่วงเวลาดังกล่าวออกเป็นยุคสมัยต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอดีต ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน และเพื่อให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของแต่ละช่วงเวลา

      ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์, สมัยกึ่งประวัติศาสตร์, และ สมัยประวัติศาสตร์ สำหรับสิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอายุคือ “ตัวอักษร” ดังนั้นแล้ว ในแต่ละสังคมหรือแหล่งอารยธรรมต่าง ๆ ในโลก จึงเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน ขึ้นอยู่กับว่าสังคมหรืออารยธรรมใดสามารถประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้ได้ก่อน

      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Prehistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว ด้วยเหตุนี้จึงยังไม่มีหลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร เช่น เอกสาร หรือจารึกที่บันทึกเรื่องราวให้มนุษย์ในยุคหลังทราบได้
      ดังนั้น การศึกษาเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงต้องอาศัยการสันนิษฐาน และการตีความจากหลักฐานทางโบราณคดี เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ, เครื่องประดับ, ภาพเขียนสีบนเพิงผาและผนังถ้ำ, หลุมฝังศพ เป็นต้น สำหรับตัวอย่างหลักฐานของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โครงกระดูกของมนุษย์โครมันยอง, โครงกระดูกของมนุษย์ชวา, โครงกระดูกของมนุษย์ปักกิ่ง, แหล่งโบราณคดีชุมชนบ้านเชียง เป็นต้น
      สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ยุคหิน และยุคโลหะ
      สมัยกึ่งประวัติศาสตร์ (Protohistorical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมนั้น ๆ ยังไม่รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราว แต่ได้มีมนุษย์จากสังคมอื่น ๆ ซึ่งได้เดินทางผ่านมาเพื่อติดต่อค้าขาย และได้บันทึกเรื่องราวของมนุษย์จากสังคมเหล่านั้นเอาไว้    
      สมัยประวัติศาสตร์ (Historical Period) คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ในสังคมเริ่มรู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นเพื่อใช้บันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ทำให้มนุษย์ในยุคหลังสามารถเข้าใจเรื่องราวในช่วงเวลาดังกล่าว ผ่านการศึกษาและตีความจากหลักฐานลายลักษณ์อักษรต่าง ๆ เช่น ศิลาจารึก พงศาวดาร หนังสือ เป็นต้น ดังนั้น แต่ละสังคมจะเริ่มต้นสมัยประวัติศาสตร์ไม่พร้อมกัน
      สมัยประวัติศาสตร์ หากแบ่งตามประวัติศาสตร์สากลแล้ว สามารถแบ่งได้เป็น 4 สมัยได้แก่ ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ประวัติศาสตร์สมัยกลาง ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ และประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน 
    4.ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน (ค.ศ.1945-ปัจจุบัน)สมัยปัจจุบันเป็นช่วงสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีผลกระทบรุนแรงทั่งโลก และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครองต่อสังคมโลกในปัจจุบัน

เมื่อครั้งที่แล้วได้นำเสนอเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์ไปแล้ว คราวนี้ก็จะขอต่อด้วยสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์กันต่อเลยค่ะ 

สมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์(Protohistory) หรือ สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ เป็นช่วงเวลาที่ต่อเนื่องกับสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลาย หมายถึง ช่วงเวลาที่ชุมชนโบราณแห่งหนึ่งมีตัวอักษรใช้แล้ว แต่คนในปัจจุบันยังไม่สามารถอ่านหรือถอดความได้ หรือยังไม่แน่ใจว่ามีการใช้ตัวอักษรหรือไม่ แต่มีชุมชนที่มีตัวอีกษรใช้แล้วกล่าวถึง หรือบันทึกถึงชุมชนนี้ และมีหลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนทำให้ทราบว่าเป็นชุมชนเดียวกัน การเริ่มต้นและสิ้นสุดของสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ในแต่ละพื้นที่นั้นเกิดขึ้นและจบลงต่างช่วงเวลากันนะค่ะ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่พบในแต่ละพื้นที่ค่ะ

สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญกับพื้นที่ภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดชุมพร เนื่องจากมีแหล่งโบราณคดีที่สำคัญ คือ แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว

ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *

ภาพจำลองแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร

ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *

แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว 
ตั้งอยู่ติดลำน้ำท่าตะเภา อ.เมือง จ.ชุมพร 

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบที่แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้วนั้น ทำให้เราทราบว่าในราวพุทธศตวรรษที่ ๕ - ๑๐ ชุมชนโบราณเขาสามแก้ว มีการรับเอาวัฒนธรรมจากดินแดนภายนอก คือ อินเดีย และเวียดนาม เนื่องจากพบลูกปัดมีจารึกอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในประเทศอินเดีย และพบกลองมโหระทึก ในวัฒนธรรมดองซอน ซึ่งเจริญอยู่ในเวียดนามตอนเหนือและจีน-ตอนใต้ซึ่งเจริญในราวพุทธศตวรรษที่ ๒-๗  

ชุมชนโบราณเขาสามแก้วเป็นชุมชนที่มีบทบาททางด้านการค้า และอาจจะเป็นเมืองท่าที่สำคัญในสมัยโบราณของภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นแหล่งผลิตลูกปัด ส่งไปขายยังชุมชนโบราณชุมชนอื่นๆ อีกด้วย ลูกปัดที่พบมาก คือ ลูกปัดที่ทำจากหินคาร์เนเลียนสีส้ม นอกจากนี้ยังพบลูกปัดแก้ว และลูกปัดทองคำอีกด้วย ชุมชนโบราณเขาสามแก้วจึงเป็นชุมชนที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งทั้งในด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี ในสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ของภาคใต้ และประเทศไทย

ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *
 

ลูกปัดหินและแก้ว แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว

ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *

ลูกปัดมีจารึกอักษรพราหมี ภาษาสันสกฤต
แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
ยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ หมายถึงข้อใด *
กลองมโหระทึก แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว

ผู้เขียนเองรู้สึกภูมิใจมากที่มีโอกาสได้มาทำงานในพื้นที่จังหวัดชุมพร มีโอกาสได้ดูแลสมบัติของคนชุมพร รวมถึงของคนไทยทั้งแผ่นดินค่ะ ซึ่งเป็นสมบัติที่คนไทยทุกคนรักและห่วงแหน สำหรับครั้งนี้ของจบเรื่องราวไว้เพียงเท่านี้ก่อนน่ะค่ะ และโปรดติดตามเรื่องราวของ "สมัยประวัติศาสตร์" กันต่อในค่ะ   

"...เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ อิฐเก่าๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้ ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยาและกรุงเทพฯ แล้ว ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย..." พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว(ณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ๒๕๐๐)