รัฐประศาสนศาสตร์ สอบอะไรบ้าง

             รัฐศาสตร์เป็นคณะในฝันของเด็กสายศิลป์ (รวมถึงสายวิทย์) หลายๆ คน ซึ่งแต่ละสาขาของคณะนี้ก็มีความน่าสนใจไม่เบา ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง ฯลฯ จะว่าไปแล้วคณะนี้ไม่มีทางตกเทรนด์ เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตของคนในสังคมโดยตรงเลย

รัฐศาสตร์ เรียนอะไร
         ถ้าถามว่ารัฐศาสตร์เรียนอะไร เกิน 80% คงตอบในแนวว่าเรียนไปเป็นนักการเมือง อบต. อบจ. สส. ปลัด คำตอบนี้ไม่ผิด แต่ไม่ครบเท่านั้นเอง รัฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับ "รัฐ" คือ ครอบคลุมทั้งสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ปรัชญาทางการเมือง เพื่อศึกษาแนวคิด วิวัฒนาการและความสัมพันธ์กันในรัฐหรือสังคม
         ซึ่งรัฐศาสตร์ จะมีสาขาแยกย่อยอีกหลายสาขา เพื่อศึกษาในศาสตร์ที่ลึกลงไป เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การเมืองการปกครอง รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นต้น

สาขาที่เปิดสอนในประเทศไทย
         จากหัวข้อด้านบน น้องๆ ก็คงพอเห็นภาพการเรียนรัฐศาสตร์ในแขนงต่างๆ แล้ว จะอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น
         1. สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันว่า IR นอกจากจะต้องเรียนเกี่ยวกับการเมืองไทยแล้ว ที่เน้นจริงๆ คือ การศึกษาไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ได้เรียนการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ บริษัทข้ามชาติ นโยบายของประเทศต่างๆ กฎหมายระหว่างประเทศ  เรียกว่าได้เปิดหูเปิดตาเยอะเลยทีเดียว ซึ่งสาขานี้เป็นสาขาที่แข่งขันกันโหดและคะแนนสูงมากค่ะ
         2. สาขาวิชาการเมืองการปกครอง จะได้เรียนเกี่ยวกับปรัชญา แนวคิดทางการเมืองการปกครอง ทั้งอดีตและสมัยใหม่ เศรษฐกิจ สังคม และโครงสร้างของสถาบันและองค์กรทางการเมืองต่างๆ เช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา เป็นต้น นอกจากการปกครองของไทยแล้ว ยังได้ศึกษาการปกครองของประเทศต่างๆ ด้วย
         3. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บางที่เรียกว่าสาขาบริหารรัฐกิจ คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยการบริหารแผ่นดิน หากจะพูดให้ง่ายก็คือ วิชานี้เป็นการเรียนสาขาบริหารแต่นำมาประยุกต์กับองค์กรของรัฐ หน่วยงานของราชการต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนในสังคมมากที่สุดนั่นเอง
         4. สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นสาขาที่เรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม และวัฒนธรรม ประเพณีต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าแต่ละสิ่ง แต่ละปรากฏการณ์มันมีผลเกี่ยวข้องกันอย่างไร รวมไปถึงการดูสถิติ โครงสร้างสังคม การจัดระเบียบสังคม ซึ่งน้องๆ จะได้ทำวิจัยและลงพื้นที่ภาคสนามกันด้วย

แต่ละมหาวิทยาลัย เปิดรับรอบไหนบ้าง

รัฐประศาสนศาสตร์ สอบอะไรบ้าง

ยกตัวอย่างโครงการที่น่าสนใจในแต่ละรอบ
รอบที่ 1 Portfolio
1.1 โครงการเด็กดีมีที่เรียน ม.เชียงใหม่
เกณฑ์คัดเลือก : Portfolio + สอบสัมภาษณ์
1.2 รับตรง portfolio ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX > 3.75 + Portfolio + ผลคะแนนภาษาอังกฤษ เช่น TOEFL, IELTS + สอบสัมภาษณ์
1.3 โครงการนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทั่วประเทศ ม.บูรพา
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 5 เทอม + Portfolio

รอบที่ 2 โควตา
2.1 โครงการจุฬาชนบท จุฬาฯ
เกณฑ์คัดเลือก : GAT 100%
2.2 โควตาภาคเหนือ ม.นเรศวร
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 20% + GAT 80%
2.3 โควตา ม.มหาสารคาม
เกณฑ์คัดเลือก : GAT 100%

รอบที่ 3 รับตรงทั่วไป
3.1 โครงการรับตรงทั่วไป ม.ธรรมศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก : วิชาเฉพาะ (ความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ + เรียงความ) + สัมภาษณ์
3.2 โครงการรับตรงทั่วไป ม.เชียงใหม่
เกณฑ์คัดเลือก : วิชาสามัญ โดยแบ่งเป็นกลุ่มวิทย์และศิลป์
วิทย์ : วิชาสามัญ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ 1, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา
ศิลป์ : วิชาสามัญ ภาษาไทย, สังคมศึกษา, อังกฤษ, คณิตศาสตร์ 2, วิทยาศาสตร์ทั่วไป
3.3 โครงการรับตรงทั่วไป ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
เกณฑ์คัดเลือก : GAT + PAT 1/7 + วิชาสามัญ (สังคม อังกฤษ)

รอบที่ 4 แอดมิชชั่น
ทุกมหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์เดียวกัน (แต่สามารถเลือกใช้รูปแบบใดก็ได้) โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
4.1 พื้นฐานวิทยาศาสตร์ : GPAX + O-NET + GAT + PAT 1
4.2 พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 1 : GPAX + O-NET + GAT
4.3 พื้นฐานศิลปศาสตร์ รูปแบบที่ 2 : GPAX + O-NET + GAT + PAT 7

รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
5.1 รับตรงอิสระ ม.ศิลปากร
เกณฑ์คัดเลือก : O-NET 4 วิชา คือ ภาษาไทย, สังคม, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ รวม 100%
5.2 รับตรงอิสระ ม.เกษตรศาสตร์
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX 20% + O-NET 30% + PAT 1 หรือ PAT 7 20% + สอบสัมภาษณ์
5.3 รับตรงอิสระ ม.วลัยลักษณ์
เกณฑ์คัดเลือก : GPAX + Portfolio

คณะรัฐประศาสนศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

เป็นหลักสูตรที่มุ่งสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองและการปกครอง ทั้งด้านทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ โดยมีเนื้อหาครอบคลุมในด้านปรัชญา อุดมการณ์ทางการเมือง โครงสร้าง สถาบันและกระบวนการการเมือง ความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน โดยมีจุดเด่นที่สำคัญ 3 ประการคือ

รปศ. สอบอะไรบ้าง

ตอบไป : ได้วุฒิเป็น รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หรือบางที่จะได้เป็น ศิลปศาสตร์บัณฑิต(รัฐประศาสนศาสตร์) ซึ่งแน่นอนว่าสามารถสอบเข้าราชการได้ค่ะ การสอบราชการไม่ได้จำกัดวุฒิในการสอบนะคะ ส่วนงานที่สามารถสอบได้ เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป , เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน, เจ้าหน้าที่ประสานงาน, ตำรวจในรัฐสภา เป็นต้น

จะเข้าคณะรัฐศาสตร์ ต้องสอบอะไรบ้าง

กลุ่มคณะรัฐศาสตร์ , นิติศาสตร์ ​วิชา GAT/PATที่ต้องสอบ : GAT (บางมหาวิทยาลัยใช้ PAT1 , PAT7) วิชาสามัญที่ต้องสอบ : ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ / สังคม / วิทยาศาสตร์ หรือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา / คณิตศาสตร์ 1 หรือ คณิตศาสตร์ 2 แล้วแต่เกณฑ์ของมหาวิทยาลัย

เรียนรัฐประศาสนศาสตร์ ไปเพื่ออะไร

สาขารัฐประศาสนศาสตร์ เรียนเกี่ยวกับอะไร? เรียนเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบราชการและหน่วยงานของรัฐ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน