การด้นสดหมายถึงสิ่งใด

       ค่ำคืนของวันที่ 19 พ.ค.49 หลังเสร็จสิ้นอาหารมื้อค่ำคุณ"ชายขอบ"แจ้งให้ทราบว่า จะมีรายการด้นสด โดยพี่พันธ์ ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์  และนพ.บรรเจิด (รอง นพ.สสจ.พัทลุง) ดิฉันก็บังเกิดความสงสัยว่า "ด้นสด"ที่ว่านั้นคืออะไร เพราะไม่ทราบ และไม่เคยเห็น และพอคุณชายขอบอธิบายให้ฟังจึงได้เข้าใจว่าจริงๆ แล้วก็คือ Talk Show นั่นเอง บรรยากาศเย็นค่ำลมโชยเย็นสบาย เสียงคลื่นกระทบฝั่ง ไม่มีใครบ่นสักคำว่าเวทียืดเยื้อ แม้ตอนเริ่มรายการด้นสดนั้น ก็เกือบจะทุ่มกว่าๆ แล้ว..แต่ใบหน้าทุกคนนั้นเปื้อนด้วยรอยยิ้ม และมีแววตาแห่งความสุข

       ตอนอาหารมื้อค่ำนั้นดิฉันพยายามแวะเวียนผลัดเปลี่ยนหมุนวนไปทานข้าวกับหลายๆ คนเพื่อที่จะได้รู้จัก พูดคุย สนทนาเกิดความคุ้นเคยกันมากยิ่งขึ้น เพราะเวลาช่วงอาหารนี้แหละที่ทำให้

การด้นสดหมายถึงสิ่งใด
ดิฉันมีโอกาสเก็บเกี่ยวรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ...ที่เป็นเกร็ดความรู้ต่างๆ เพราะในวงอาหารนี้แต่ละคนจะมีเรื่องเล่าสนทนาแลกเปลี่ยนกันอย่างไม่รู้เบื่อ ... และจากสิ่งที่ดิฉันปฏิบัติเป็นประจำนี้ก็ทำให้ดิฉันได้อะไรไปมากมายอย่างไม่ผิดหวังเลยคะ

       เมื่อทุกคนพร้อมก็มานั่งรวมกัน "ด้นสด" เริ่มที่พี่พันธ์เล่าเรื่อง ขณะที่พี่พันธ์เล่านั้นสะกดคนฟังได้ เพราะท่วงทำนองลีลาการลงน้ำหนักเสียง อีกทั้งเรื่องเล่านั้นน่าสนใจมาก เท่าที่ดิฉันทราบพี่พันธ์ตอนนี้เป็นประธาน อสม. จังหวัดพัทลุง และร่วมเป็นคณะกรรมการ อสม. ระดับชาติด้วย พี่พันธ์จัดได้ว่าเป็นคนหนึ่งที่เป็นต้นแบบ "คนรักสุขภาพ" วิถีชีวิตพี่พันธ์จะให้ความสำคัญกับการใช้ชีวิต"อย่างพอเพียง" พี่พันธ์บอกว่า "ที่บ้านจะทำเป็นรั้วกินได้ เก็บหอมรอมริบ เก็บผักริมรั้วทานทุกวัน ปราศจากสารพิษ..." พี่พันธ์ยังเล่าต่อไปว่า "การคิดทำอะไรก็ตามเราควรเริ่มจากจุดเล็กๆ...และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว และค่อยขยายผลต่อไปเรื่อยๆ..."  พอพี่พันธ์เล่าจบก็เป็นคุณหมอบรรเจิดเล่าต่อ ท่านออกตัวว่างานนี้ท่านไม่ค่อยทราบเรื่องและไม่ถนัด เพราะท่านดูแลเรื่อง "งานประกันฯ"เสียมากกว่า แต่พอได้มาพบเจอท่านรู้สึกทึ่งว่า "อสม.พัทลุง" มาได้ไกลมากน่าชื่นชม ในการด้นสดครั้งนี้ท่านก็ให้มุมมองที่สนับสนุนกระบวนการทำงานเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ หากสิ่งใดที่เป็นประโยชน์ต่อภาคประชาชนอย่างแท้จริง ภาครัฐก็ยินดีให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่...

       ท่านสุดท้ายของด้นสดคืนนี้ เป็นท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ท่านแหลงเรื่องประเด็นใหญ่ๆ สองประเด็น เรื่องแรก คือ ระบบอาสาสมัคร ท่านเปรียบ อสม. เสมือนค้ำยัน...เป็นเสาที่คอยพยุงความเป็นไปของการพัฒนาทางด้านสุขภาพ เป็นระบบที่คอยสนับสนุนระบบทางการ ท่านมอง อสม.ว่าเป็น"คนดี" เพราะเป็นกลุ่มคนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม...ประเด็นที่สองท่านเล่าถึงบรรยากาศของเวทีเดินเรื่องในวันนี้ว่าเป็น "ธรรมชาติ"...."อิสระ"...อสม. แต่ละคนแหลงเรื่องออกมาจาก "ความรู้สึก" และสิ่งที่ตัวเองทำจริง ซึ่งเป็นการทำด้วยตัวเองและทำด้วยใจ..."เริ่มจากการดูแลตนเอง -->ครอบครัว-->ชุมชน" ในการด้นสดนี้ท่านทิ้งท้ายว่า "ระบบการดูแลสุขภาพ ประกอบด้วย สุขภาพ + สิ่งแวดล้อม -->เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย อาศัยวิธีคิดแบบทำด้วย"ใจ"ทำอย่างสบายใจ"...

       หลังจาก...รายการ"ด้นสด" จบลง ท่านเจ้าของสถานที่ก็อำนวยบรรเลงเพลงดนตรีไทย ขับขานอย่างไพเราะ สนุกสนาน...เมื่อถึงจังหวะที่เร้าใจหลายท่านก็ขยับตัวโยกย้ายส่ายเอว...ออกไปรำวงกันอย่างสนุกสนาน...เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็พากันแยกย้ายเข้าห้องพัก...ในค่ำคืนนี้นอกเหนือจากเสียงคลื่นกระทบฝั่งแล้ว ดิฉันยังได้ยินเสียงพูดคุยกันต่อถึงเรื่องราวต่างๆ ทั้งที่เป็นเรื่องแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเรื่องราวที่ดำเนินไปในวันนี้ พร้อมทั้งมีเสียงหัวเราะแทรกปนมาเป็นระยะของค่ำคืน สลับเสียงคลื่น...อย่างมีความสุข

โครงการไตรภาคีฯ

หลักและวิธีการบรรเลงดนตรี

                  หลักและวิธีการบรรเลงดนตรีโดยทั่วไป ได้แก่ การนั่งหรือยืนบรรเลงด้วยบุคลิกที่สง่างาม หลังตรง อกผาย ไหล่ผึ่ง ไม่เกร็ง มีสมาธิ จัดท่าท่างการจับอปุกรณ์คสนตรีและปฏิบัติตามวิธีการของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด
รูปแบบการบรรเลงดนตรี
                  1.การบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น บรรเลงทำนองเพลง หรือการบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ๑ ชิ้น
                  2.การบรรเลงหมู่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรี ๒-๙ ชิ้น โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเดียวกัน หรือ หลายประเภท
                  3.การบรรเลงหมู่ขนาดใหญ่ เป็นการบรรเลงเครื่องดนตรีจำนวนมากและจัดรูปแบบเช่นเดียวกับวงโยธวาทิต                การฝึกปฏิบัติการขับร้องและบรรเลงดนตรี1.การจำเพลง ได้แก่ การออกเสียงตามสัญญาณมือ ๑-๒ แนว การออกเสียงตามโน้ตทำนองเพลง การระบุชื่อเพลงจากโน๊ตทำนองเพลงที่นักเรียนรู้จัก
                   2.การด้นสด หมายถึง การคิดแนวขับร้องและบรรเลงดนตรีใหม่โดยทันที ได้แก่ การสร้างรูปแบบของจังหวะเพื่อใช้บรรเลงเพลงประกอบทำนองเพลง ออกเสียงและบรเลงดนตรีตามโน้ตในกุญแจเสียงต่าง ๆ
การฝึกปฏิบัติการขับร้องเดี่ยว ขับร้องหมู่และขับร้องประสานเสียง
เริ่มจากการขับร้องจนสามารถขับร้องในกลุ่มได้ถูกต้อง จึงฝึกการขับร้องเดี่ยวและขับร้องเพลงปรานเสียง                  เพลงสำหรับการขับร้องเดี่ยวและขับร้องหมู
    1. เพลงพื้นเมือง
     2.เพลงไทย
     3.เพลงสากล                   เพลงประสานเสียง
    1.เพลงวน
    2.เพลงประสานเสียง 2 แนว
    3.เพลงประสานเสียง 3 แนว                   การฝึกปฏิบัติเครื่องดนตรีเฉพาะอย่าง


           1.เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงจังหวะ
       1.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น โทน กลองยาว ฉิ่ง เป็นต้น
       1.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น กลองแขก ฉิ่ง ฉาบ กรับ เป็นต้น
       1.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น กลองเบส กลองแท็ก ฉาบ เป็นต้น            2. เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงทำนอง
        2.1 เครื่องดนตรีพื้นเมือง เช่น ระนาด อังกะลุง ฉาบ เป็นต้น
        2.2 เครื่องดนตรีไทย เช่น ระนาดเอก ขลุ่ย ซออู้ ฮอด้วง เป็นต้น
        2.3 เครื่องดนตรีสากล เช่น เมโลเดียน คีย์บอร์ด ไวโอลีน กีตาร์ เป็นต้น        การบรรเลงดนตรี
การรบรรเลงเดี่ยว เป็นการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีสร้างทำนองเพียงเครื่องเดียว โดยมีเครื่องเคาะจังหวะบรรเลงประกอบด้วย ปกติเพลงที่ใช้บรรเลงเดี่ยวจะเป็นเพลงขับร้องและบรรเลงหมู่ทั่วไป
               ซออู้
เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ใช้ร่วมกับเครื่องดนตรีอื่น ๆ โดยเฉพาะในพิธีเชิญผีไท้ ผีแถน การใช้เครื่องดนตรีพื้นบ้านของชาวอีสานมักจะประดิษฐ์ขึ้นให้สอดตล้องกับธรรมชาติของเสียงในขณะที่มรเสียงต่ำก็จะใช้ซออู้แทนเพื่อให้คล้ายคลึงกับเสียงผู้เฒ่า ใช้ซอด้วงแทนเสียงหนุ่มสาวซออู้แทนเสียงธรรมชาติ
ลักษณะของซออู้ เป็นซอสองสาย ตัวกะโหลกทำด้วยกะลามะพร้าว โดยตัดปาดกะลาออกเสียด้านหนึ่งและใช้หนังลูกวัวขึงหน้าซอ กว้างประมาณ 13-14เซนติเมตร เจาะกโหลกให้ทะลุตรงกลาง เพื่อให่คันทวนที่ทำไม้ผ่านกะโหลกลงไปออกทะลุรูตอนล่างใกล้กะโหลก คันลูกบอกซออู้ยาวประมาณ 17-18เซนติเมตร ใช้เชือกผูกรั้งกับทวนตรงกลางเป็นรัดอกเวลาสี ส่วนคันสีชองซออู้ทำด้วยไม่ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ใช้ขนหางม้าประมาณ 160-200 เส้น ตรงหน้าซอใช้ผ้าม้วนกลมๆ แกะสลักเป็นรูปลวดลายสวยงามและเป็นช่องทางให้เสียงออกด้านนี้

     

การด้นสดหมายถึงสิ่งใด
    
การด้นสดหมายถึงสิ่งใด