วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

         ก่อนที่เราจะตัดสินใจเรียนอะไรไปนั้น ก็ต้องเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นของสาขานั้นๆ และวางแผนสำหรับอนาคตค่ะ บทความคณะในฝันจะช่วยให้น้องๆ ทราบว่าสาขานั้นเรียนอะไรบ้าง และจบมาทำอะไรได้บ้าง เดือนนี้เราเปิดประเด็นมาที่ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เราไปดูกันดีกว่าค่ะว่าถามจบสาขานี้มา เราสามารถทำงานอะไรได้บ้าง ....

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

จบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง?!?

         การเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์จะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี เรียนอย่างรอบด้านของระบบคอมพิวเตอร์และสารสนเทศเพื่อพัฒนาให้น้องๆ จบมาเป็นบัณฑิตที่มีศักยภาพ สามารถทำงานได้หลากหลาย โดยงานที่ทำได้มีดังนี้

- งานด้านเทคนิคหรืองานผู้เชี่ยวชาญระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ออกแบบและวิเคราะห์ระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์และบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้เขียนโปรแกรม/โปรแกรมเมอร์
- ผู้ออกแบบสร้างและบำรุงรักษาระบบฐานข้อมูล(ระบบสารสนเทศ)
- ผู้ออกแบบและโปรแกรมระบบกราฟิกหรืออะนิเมชั่น
- ผู้ประสานงานในโครงการต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้จัดการแผนก
- ส่วนหรือฝ่ายคอมพิวเตอร์หรือฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์การ
- ผู้ให้คำปรึกษาด้านระบบคอมพิวเตอร์หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้ประกอบธุรกิจหรือนักลงทุนด้านระบบคอมพิวเตอร์
- etc.


วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร
          นอกจากจะเป็นงานตรงๆ ของระบบคอมพิวเตอร์แล้วยังสามารถนำไปประยุกต์กับงานด้านอื่นได้อีกด้วย เช่น ธุรกิจผลิตสินค้าหรือโรงงานต่างๆ ธุรกิจด้านการเกษตร ด้านอาหาร ด้านรถยนต์ ด้านน้ำมัน ด้านไฟฟ้าและพลังงาน ด้านสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ ด้านผลิตเครื่องจักรกล ด้านผลิตภาพยนตร์ เป็นต้น หรือแม้แต่ธุรกิจเชิงบริการ ได้แก่ ด้านการธนาคาร ด้านบัญชี ด้านขนส่ง ด้านโรงภาพยนตร์ ด้านค้าปลีกหรือร้านค้าซูเปอร์มาร์เก็ต เป็นต้น ซึ่งต้องมีระบบสารสนเทศและเครือข่ายเข้ามาช่วยในการจัดเก็บและประมวลข้อมูลเพื่อใช้ภายในองค์กร และสามารถการประเมินและวิเคราะห์ความเสี่ยงของธุรกิจได้ค่ะ

           เห็นไหมคะว่างานก็ไม่น้อยเลย ระบบสารสนเทศนี่จำเป็นมากๆ กับโลกปัจจุบันเลยค่ะ โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมเพื่อวางระบบต่างๆ ภายในองค์กรต้องมีความเสถียรสุดๆ มีข่าวมาช่วงนึงว่ามีแฮกเกอร์แฮกระบบเว็บโน้นบ้างเว็บนี้บ้างเพราะโครงข่ายไม่แข็งแรงพอ เปรียบง่ายๆ ว่าเรียนสาขานี้เพื่อ back up ระบบต่างๆ ให้ดีที่สุดนั่นเองค่ะ เป็นหน้าที่ที่สำคัญมากเลยนะคะ ถ้าเกิดน้อง ๆ อยากเรียนคราวหน้าพี่แป้งจะไปสัมภาษณ์พี่ๆ เฟรชชี่มาให้ค่ะว่าเขาต้องเตรียมตัวอย่างไรเพื่อที่จะเรียนได้ แล้วรอชมกันนะคะ ^_^


.


.

คณะในฝัน 4 สาขาล่าสุด!!!!

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

ภาพประกอบและข้อมูลอ้างอิง
- http://shadowness.com/geoffgraphy/comsci-doodle-banner
- http://www.dekcomsci.com/index.php
- http://cis.ncu.edu.jm/cis.aspx
- http://www.colorado.edu/cs/
- http://epthinking.blogspot.com/2012/01/is-computer-science-science-or.html
- http://www.texample.net/tikz/examples/computer-science-mindmap/
- http://www.hollins.edu/academics/computersci/index.shtml
- http://www.bu.edu/hic/noteworthy/significant-bits/
- http://engineering.vanderbilt.edu/eecs/
- http://www.yalescientific.org/tag/computer-science/
- http://onlinecareertips.com/tag/computer-science/

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

         สวัสดีค่ะ อีกหนึ่งสาขาที่น้องๆ สนใจมากๆ เลยก็คือ "วิทยาการคอมพิวเตอร์" หรือ Computer Science ในสัปดาห์ที่แล้วได้รู้กันไปแล้วว่าสาขานี้เรียนอะไรบ้าง วันนี้เราไปเก็บรายละเอียดด้านอื่นๆ ของการเรียนสาขานี้กันไปดูกันค่ะ1. สำหรับหลักสูตรในประเทศไทย "วิทยาการคอมพิวเตอร์" เป็นสาขาที่ไม่มีคณะเป็นของตัวเอง จะอยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการสารสนเทศ หรือ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตค่ะ  2. วิทยาการคอมพิวเตอร์  มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Computer Science หรือ CS เวลาเรียกชื่อย่อก็จะเรียนว่า CS ไม่ก็ วิทย์คอม ค่ะ3. วิทยาการคอมพิวเตอร์ ไม่เหมือน วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ นะคะ คือมีเรียนในรายวิชาที่ทับซ้อนกัน แต่ วิศวะคอมฯ จะลงไปทางฮาร์ดแวร์มากกว่า เช่น ออกแบบ CPU หรือ การหาอุปกรณ์ช่วยเพิ่มความแรงของการส่งสัญญาณ Wifi ส่วน วิทย์คอมฯ เน้นไปที่ซอฟต์แวร์ค่ะ4. ส่วน IT (เทคโนโลยีสารสนเทศ) กับ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็ไม่เหมือนกัน มีเรียนบางวิชาที่ทับซ้อนกัน แต่ก็มีความต่างคือ IT จะเรียนไปทางด้านการสื่อสาร เพื่อเข้าใจระบบสารสนเทศ ใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนวิทย์คอมฯ จะเน้นไปที่เขียนโปรแกรมค่ะ ซึ่งวิชาพื้นฐานที่เรียนก็จะคล้ายๆ กัน  5. วุฒิการศึกษาก็ต่างกันนะคะ อย่าง วิทยาการคอมพิวเตอร์จะได้เป็น วิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมคอมพิวเตอร์จะได้เป็น วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีทั้งแบบวิทยาศาสตรบัณฑิตและเทคโนโลยีบัณฑิต ค่ะ
 

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

         6. การเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ก็จะมีแขนงหรือวิชาเอกแยกย่อยลงไปอีก (แล้วแต่มหาวิทยาลัย) เช่น AI, Robot, Network แนะนำว่าลองโทรไปสอบถามทางหลักสูตรของสถาบันนั้นก่อนตัดสินใจสอบเข้าจะดีกว่าค่ะ  7. การเรียนจะมีเรียนวิชาพื้นฐานตอนปี 1 เช่น คณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ อัลกอลิทึม ภาษาอังกฤษ พอเรียนปีสูงขึ้นก็จะลงลึกในระบบแต่ละระบบมากขึ้น มีการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ในหลายๆ ภาษา รวมทั้งเรื่องการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์และออกแบบระบบ การประมวลผล ทฤษฎีการพัฒนาซอฟต์แวร์ อีกด้วย 8. นอกจากจะเรียนทับซ้อนกับสาขาอื่นที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีแล้ว ในการทำงานก็สามารถทำงานได้ในตำแหน่งที่คล้ายๆ กันด้วยค่ะ เช่น โปรแกรมเมอร์ ก็จบได้ทั้ง CS และวิศวะคอมฯ เป็นต้น9. วิทยาการคอมพิวเตอร์ มีเปิดทั้งหลักสูตรปกติ(ภาษาไทย) และหลักสูตรนานาชาติ/ภาษาอังกฤษ บางสถาบันก็มีทั้ง อย่างที่ มจธ.(บางมด) ก็มีทั้งวิทยาการคอมพิวเตอร์(ภาคภาษาอังกฤษ) อยู่ในคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์(ภาคภาษาไทย) อยู่ในคณะวิทยาศาสตร์ ค่ะ 10. ส่วนใหญ่สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเปิดรับเฉพาะสายวิทย์เท่านั้น เพราะมีเรียนวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ถ้าเรียนสายศิลป์คำนวณต้องลองเช็กกับสถาบันให้ดี หรือไม่ก็เรียนสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ มีบางเอกที่รับเด็กศิลป์คำนวณค่ะ 11. จะสอบเข้าสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะใช้คะแนน GAT PAT 1 PAT 2 (แล้วแต่สถาบัน) ส่วนวิชาสามัญใช้ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เป็นวิชาหลัก แต่ถ้าอยากครอบคลุมหมดก็เก็บ เคมี กับชีววิทยา มาด้วยค่ะ อันนี้ปลอดภัยชัวร์    12. จริงๆ งานในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นได้แค่โปรแกรมเมอร์นะคะ ยังสามารถเป็น นักพัฒนาซอฟต์แวร์ นักออกแบบฐานข้อมูล อาจารย์ นักวิจัย ผู้ดูแลระบบ Network Engineer ฯลฯ เดี๋ยวนี้ตำแหน่งมีเยอะมากจริงๆ 13. เพราะการเรียนในสายคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีเป็นทางฝั่งทฤษฎี แต่ว่าแต่ละสาขาจะเน้นต่างกัน ถ้าใครมีการขวนขวาย หาความรู้ใหม่ๆ พัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา ก็สามารถทำงานที่ไม่ตรงกับสาขาที่เรียนจบได้ อย่างเช่นจบ CS แต่เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ ก็ได้ค่ะ 14. มีอย่างหนึ่งที่ไม่ได้อยากให้เข้าใจผิดกันก็คือ เด็ก CS ไม่ได้ซ่อมคอมเป็นนะจ๊ะ คือเราเรียนเขียนโปรแกรม เขียนการทำงานของระบบนั้นๆ ถ้า CPU พัง เปิดจอคอมไม่ได้ wifi ไม่เข้า ต้องทำอย่างไร แก้ที่ไหน อันนี้เราไม่รู้จ้าาาาา
 

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

         15. เอาจริงๆ การเรียน CS ไม่ใช่แค่ว่าเขียนโปรแกรมได้แล้วจบนะคะ ต้องสามารถสื่อสารได้ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบได้ และที่สำคัญต้องเข้าใจตรรกะของงานชิ้นนั้นด้วย ถ้าไม่เข้าใจก็เขียนโปรแกรมออกมาไม่ได้16. เชื่อมั้ยว่า ถ้าเรียน CS แล้วเก่งทางด้านการใช้ Photoshop ด้วย หรือการตัดต่อคลิปด้วย ก็พัฒนาไปได้อีกงานเลยนะคะ แบบนี้เป็นที่ต้องการเยอะมาก สามารถทำงานได้หลายงายในคนคนเดียว 17. เป็นสาขาที่เน้นทำ ไม่เน้นอ่านเท่าคณะอื่นๆ (แต่ก็เรียนทฤษฎีปกตินะจ๊ะ) คือจะจบได้ต้องเขียนให้เป็น รันโปรแกรมออกมาให้ได้ กว่าจะผ่านมาแต่ละวิชาก็ยากเย็นไม่แพ้คณะอื่นๆ เหมือนกัน อย่ามองว่าเรียน CS แล้วสบายเลยค่ะ ไม่สบายนะบอกจริง 18. ไม่ใช่ว่าใครจะเรียนก็ได้ CS เป็นสาขาที่คนที่มาเรียนส่วนใหญ่จะมีพื้นฐานที่ชอบด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีอยู่แล้ว ถ้าไม่ชอบด้านนี้เยนไปเหมือนตกนรกเลยค่ะ อะไรก็ไม่รู้ ถึงแม้ว่าการเขียนโปรแกรมจะใช้ภาษาอังกฤษ แต่ก็เป็นภาษาอังกฤษที่เป็นคำเฉพาะด้านนี้ ถ้าไม่มีใจไม่ต้องมา 19. เด็ก CS ไม่ได้หยิ่งเน้ออออออ เราก็คือเด็กปกติทั่วไปนั่นแหละ แต่การเรียนของเรามันเป็นด้านคอมฯ บางทีก็คุยกับเด็กภาคอื่นไม่ค่อยจะรู้เรื่อง แต่คุยได้นะ ทักมาเหอะ ฮ่าๆ20. เรียน CS จะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายก็เรียนได้ค่ะ ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร และก็ไม่ได้มีค่านิยมอะไรด้วยว่าต้องเป็นผู้ชายเท่านั้น ใครเก่งกว่า มีความสามารถมากกว่า เหมาะกับงานนั้นๆ มากกว่า ก็ได้งานไปครองเลยจ้า หรือจะเป็นฟรีแลนซ์ก็ได้ อิสระมากๆ

         เรื่องของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีไม่ได้จบแค่ที่การเรียน แต่ต้องพัฒนาและต่อยอด รวมทั้งหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอถึงจะสามารถเก่งขึ้นได้ เพราะว่าโลกของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีก็พัฒนาอย่างรวดเร็ว ในสัปดาห์หน้าพี่แป้งมีประสบการณ์รุ่นพี่ที่ได้ทำงานที่ Google มาฝากกัน รอติดตามนะคะ


 

  • #วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • #วิทย์คอม
  • #วิทยาศาสตร์คอม
  • #วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
  • #คอมพิวเตอร์
  • #เรียนเขียนโปรแกรม
  • #Computer Science
  • #CS

วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ทํางานอะไร

พี่แป้ง - Columnist นักข่าวสายรับตรง พร้อมเสิร์ฟข่าวสอบเข้าทุกมหา'ลัย เติมพลังได้จากชาเย็นหวานน้อย