วิศวกร อุตสาห การ ทํา งาน อะไร

ภาพหน้าปกจาก: Pixabay / 1137303

รีวิว วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ (Industrial Engineering) เรียนเกี่ยวกับอะไร? จบมามีงานทำดีไหม? มีรายได้เป็นอย่างไรบ้าง?

ปกติแล้ว ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือ องค์กร หลายองค์กร ก็จะมี วิศวกร ทำงานประจำอยู่ ซึ่งก็จะมีมากมายหลากหลายสาขา มีจำนวนมากน้อย ขึ้นอยู่กับ ความใหญ่โตของ องค์กร นั้นๆ ยิ่งถ้าองค์กรไหน มีจำนวน วิศวกรที่มากๆ ก็แสดงให้เห็นได้ว่า องค์กรนั้น มีประสิทธิภาพมากเช่นกัน

สำหรับ น้องๆ หรือ เพื่อนๆ พี่ๆ หลายๆ คน อาจจะยังไม่รู้รายละเอียด ของแต่ละสาขาวิชา ว่า เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง เรียนจบมาแล้วจะได้ทำงานไหม เรียนจบมาแล้วจะไปทำอะไรได้บ้าง มีรายได้ยังไงบ้าง เป็นต้น ซึ่งหาก เราไม่ทราบรายละเอียด ของสาขาวิชา อาจจะทำให้เรานั้น ตัดสินใจเลือกสาขาวิชาเรียนผิด แล้วอนาคต อาจจะได้ทำงานไม่ตรงตามที่เราคาดหวังไว้ก็ได้นะครับ

สำหรับคนที่เหมาะในการเลือกเรียน วิศวกรรมอุตสาหการ ต้องเป็นคนที่มีบุคลิก ช่างสังเกตุ สามารถคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาได้ดี ทั้งปัญหาเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาแบบถาวร มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ คิดสิ่งใหม่ๆในการปรับปรุงพัฒนาได้ดี และสามารถจัดระบบความคิดได้ดี เป็นต้น

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ Industrial Engineering นั้น ต้องทำการเรียนรู้ในหลากหลายสาขาวิชา ทั้งวิชาคำนวณ วิชาจิตวิทยา วิชาสารสนเทศ เศรษฐศาสตร์ การตลาด และการบริหารจัดการเป็นต้น แต่บางมหาวิทยาลัย เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นั้น วิศวกรรมอุตสาหการ จะมุ่งเน้นในการผลิตหรือหน้างาน มากเป็นพิเศษ เพื่อที่นักศึกษาที่จบมาจะได้ทั้งงานบริหารจัดการและหน้างานการผลิตไป พร้อมๆกัน ซึ่งที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นั้นจะใช้คำ ภาษาอังกฤษ ว่า Production Engineering หรือ วิศวกรรมการผลิต

--------------------------------------------------------------------------------------------------

วิศวกร อุตสาห การ ทํา งาน อะไร

ภาพจาก: Pixabay / marcin049

เดี๋ยวเรามาดู สำหรับรายวิชาที่ทาง สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ต้องเรียนนั้น แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะแตกต่างกันไม่มากนะครับ ซึ่งก็จะสามารถแบ่งออกเป็นหลักๆ ดังนี้
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ก็คือ วิชาทั่วๆไป ที่ต้องปรับพื้นฐานที่มาจากระดับ มัธยม นั้นเองครับ เช่น กลุ่มวิชาทางด้านภาษา กลุ่มวิชามนุษย์ศาสตร์ และสังคม กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์

2. หมวดวิชาเฉพาะ ก็คือ หมวดวิชาเฉพาะของสาขาวิศวกรรมอุตสาหการ นั้นเอง ครับ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น หมวดวิชาย่อยๆ ดังนี้
2.1 กลุ่มวิชาพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่นักศึกษาที่เรียนวิศวกรรมศาสตร์ ทุกคนต้องเรียน ส่วนใหญ่ก็จะได้เรียนคล้ายๆกันในทุกๆสาขาวิชา เช่น วิชา วัสดุวิศวกรรม, วิชากลศาสตร์ของแข็ง, วิชากลศาสตร์ของไหล, วิชา Thermodynamic, Engineering Statistic, Manufacturing Processes หรือ วิชาวิศวกรรมไฟฟ้าพื้นฐาน เป็นต้น

2.2 กลุ่มวิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาที่มีเรียนเฉพาะสาขาใครสาขามันไม่เหมือนกัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยบังคับให้เราต้องเรียน ยกตัวอย่าง เช่น วิชา Work Study, วิชา Quality Control, วิชา Industrial Management, Operation Research, Engineering Economic, Machine Tool, เทคโนโลยีงานหล่อ, งานเชื่อม, งานโลหะวิทยา เป็นต้น ซึ่งแต่ละวิชานั้น ทางแต่ละมหาวิทยาลัย จะเป็นผู้กำหนดมาให้เลยว่า ในปีการศึกษานั้นๆ ควรจะเรียนวิชาอะไรบ้าง เป็นวิชาบังคับทางวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยก็อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อยนะครับ

2.3 กลุ่มวิชาเลือกทางวิศวกรรมศาสตร์ ก็คือ วิชาเลือกที่เราสามารถเลือกเรียนได้ ตามความต้องการของเรา ตามที่ทางมหาวิทยาลัยได้จัดขึ้นมา ซึ่งวิศวกรรมอุตสาหการนั้น สามารถแบ่งแยกย่อยออกได้เป็นหลากหลายสาขาย่อยได้อีก เช่น ระบบการผลิตและระบบอัตโนมัติ, การบริหารจัดการอุตสาหกรรม, การออกแบบและตรวจสอบ หรือ กรรมวิธีทางวัสดุ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถเลือกเรียนได้ตามความชอบ และความถนัดได้เลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราคิดว่า อนาคตที่เราจะไปทำงาน เราอยากทำงานทางด้านบริหารจัดการ ก็เลือกสายบริหารจัดการ ก็จะเป็น วิชา Quality Assurance, Ergonomics, Industrial Cost Analysis หรือ Quality Planning and Analysis เป็นต้น

3. หมวดวิชาเลือกเสรี ก็คือ เป็นวิชาที่เราสามารถเลือกเรียนได้ตามที่เราชอบ และที่ทางมหาวิทยาลัยทำการเปิดการเรียนการสอนได้เลยนะครับ

ซึ่งรายละเอียด ของหลักสูตรหรือรายวิชาที่เรียน ของแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความแตกต่างกัน นิดหน่อย น้องๆเวลาจะเลือกเรียนต่อ ก็ลองอ่านหลักสูตรดูก่อนนะครับว่า ชอบหรือไม่ชอบ เหมาะกับเราหรือเปล่า เราได้ประโยชน์ในการเรียนไหม เพราะการเรียนนั้น เราต้องเรียนให้รู้และสามารถนำมาใช้งานได้จริง ไม่ใช่ว่าเรียนเพื่อต้องการให้จบๆไป นะครับ เพราะถ้าคิดแบบนี้ หลังจากมาทำงานก็อาจจะมีปัญหาได้นะครับ ยังไงน้องๆ ก็ลองเปิดเปรียบเทียบหลักสูตรของแต่ละที่ดูก่อนนะครับผม

--------------------------------------------------------------------------------------------------

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ เรียนจบมาแล้ว ไปทำอะไรได้บ้าง ในวงการอุตสาหกรรม จริงๆ แล้ววิศวกรรมอุตสาหการ นั้นสามารถแบ่ง สาขาย่อยได้หลายสาย ตามที่กล่าวมาขั้นต้น ยกตัวอย่าง เช่น ด้านคุณภาพ ด้านการออกแบบ ด้านการผลิต ด้านงานหล่อ ด้านงานเชื่อม ด้านงานโลหะวิทยา เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละคนเองว่า จะเลือกเดินในสายทางด้านไหนครับ

สำหรับคนที่เรียนจบ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ นั้นสามารถ เข้าไปทำงานได้หลากหลายในทุกๆธุระกิจเลยทีเดียว ทั้งหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น โรงงานอุตสาหกรรมยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ การเกษตร อาหาร เครื่องจักรกล ธนาคาร โรงแรม รีสอร์ท โรงพยาบาล เป็นต้น

นอกจากนี้ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ยังสามารถ ทำงานได้หลากหลายตำแหน่ง หลากหลายสายงาน เช่น Quality Engineer, Production Engineer, Process Engineer, Design Engineer, IE Engineer, Manufacturing Engineer, Sale Engineer, Purchasing Engineer, Cost Analysis Engineer และอีกมากมายหลากหลาย

ต่อไปมาดูเงินเดือนเริ่มต้น ของ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ กันนะครับ จริงๆ เงินเดือนเด็กจบใหม่ ยังไม่มีประสบการณ์ แต่ละสาขาก็จะใกล้เคียงกัน ไม่แตกต่างกันมาก เงินเดือนก็จะเริ่มอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 28,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ตั้งแต่ 1 – 3 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 25,000 – 35,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 3 – 5 ปี เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 30,000 – 55,000 บาทต่อเดือน และหากมีประสบการณ์ ตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป เงินเดือนก็จะอยู่ที่ประมาณ 45,000 – 75,000 บาทต่อเดือน

--------------------------------------------------------------------------------------------------

วิศวกร อุตสาห การ ทํา งาน อะไร

ภาพจาก: Pixabay / RAEng_Publications

สำหรับ วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ หรือ Industrial Engineering นั้นก็มีเปิดทำการเรียนการสอนแทบจะทุกมหาวิทยาลัยเลยก็ว่าได้ครับ ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน ซึ่งในยุคแรกๆ ของประเทศไทยนั้น ก็จะมีอยู่ทั้งหมด 9 มหาวิทยาลัย ที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คือ

1. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย                                                  เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2485

2. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี                        เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2505

3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น                                                       เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2514

4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์                                              เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2516

5. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์                                                 เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2525

6. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่                                                       เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2526

7. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ              เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2536

8. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง        เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2540

9. มหาวิทยาลัยรามคำแหง                                                      เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2540

ซึ่งทุกมหาวิทยาลัยจะใช้คำภาษาอังกฤษว่า Industrial Engineering แต่ทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จะใช้คำภาษาอังกฤษว่า Production Engineering เนื่องจากว่าทางมหาวิทยาลัยต้องการเน้น ความสำคัญทั้ง กลุ่มวิชา Production Engineering และ Industrial Engineering ควบคู่และสอดคล้องกันไป เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษานั้น ได้มีความรู้ความสามารถทั้งในด้านวิศวกรรมการผลิตที่ดีเยี่ยม พร้อมด้วยความรู้ด้านการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นความแตกต่างที่ชัดเจนกว่าหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการของมหาวิทยาลัยแห่งอื่น นักศึกษาวิศวกรรมอุตสาหการต้องมีความเป็นเอกลักษณ์แห่งความเป็น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี เพื่อความเป็นวิศวกรที่รู้งานสู้งานแบบอย่าง วิศวกรบางมด นั้นเองครับผม

--------------------------------------------------------------------------------------------------

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลากหลายมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดการเรียนการสอนใน สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ทั้งรัฐบาลและเอกชน ยังไง น้องๆ สามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ตาม เว็บไซด์ ของแต่ละมหาวิทยาลัย ได้เลยนะครับผม

เป็นไงบ้างครับ เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกๆท่าน พอจะมองภาพของ สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ ได้ชัดเจนมากขึ้นบ้างไหมครับ หากมีคำถาม หรือ ต้องการที่จะรู้รายละเอียดของสาขาวิชาไหน ก็สามารถ เขียนคอมเม้นมาได้เลยนะครับ ติดตามกันไปเรื่อยๆ ฝากกดติดตาม ขอบคุณมากครับผม

ภาพจาก: Pixabay / 1137303

ภาพจาก: Pixabay / RAEng_Publications

ภาพจาก: Pixabay / marcin049

ภาพจาก: Pixabay / RAEng_Publications

เปิดประสบการณ์ความบันเทิงที่หลากหลายสุดปัง บน App TrueID โหลดเลย ฟรี !

ทำไมถึงอยากเข้าวิศวกรรมอุตสาหการ

เพราะสาขานี้ทำงานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นในสายงานวิศวกรหรือสายงานธุรกิจก็ทำได้! ได้เปรียบเห็นๆ โตแล้วจะเรียนอะไรก็ได้! เพราะในหลักสูตรของสาขาอุตสาหการนี้ นอกจากจะนำสิ่งที่เรียนไปใช้ได้จริงแล้ว ยังสามารถเอาไปต่อยอดเพื่อใช้ในการเรียนต่อได้อีกด้วย จะเรียนแบบไหน งานอะไรก็เลือกได้

วิศวะอุตสาหการมช เรียนอะไร

“เน้นการเรียนเกี่ยวกับการออกแบบ การติดตั้ง และการปรับปรุงระบบการทำงานในอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยคน เครื่องมือ เครื่องจักร วัตถุดิบ ข้อมูลข่าวสาร ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจำกัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม ใช้ทักษะและความรู้เฉพาะทางด้านคณิตศาสตร์ฟิสิกส์และการบริหารจัดการ ผ่านเครื่องมือทาง ...

การจัดการงานวิศวกรรม ทํางานอะไร

ผู้ที่ทำงานอยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และบริการ.
ผู้ที่ทำงานในด้านการจัดการพลังงาน.
ผู้ที่ทำงานอยู่ในด้านการบริหารจัดการอาคาร.
ผู้ที่สนใจงานด้านการจัดการงานวิศวกรรมอย่างยั่งยืน.
ผู้ที่ทำงานบริหารจัดการในภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ ที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างๆ.
ผู้ที่ต้องการทำวิจัยในด้านการจัดการทางงานวิศวกรรมต่างๆ.

วิศวกรรมอุตสาหการ ที่ไหนดีสุด

สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ.
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2485. ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. 2505. ... .
มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2514. ... .
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ... .
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ... .
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ... .
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ... .
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.