เจ้าหน้าที่เวชระเบียน โรงพยาบาล ทำอะไรบ้าง

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน โรงพยาบาล ทำอะไรบ้าง
บทความ

โพสเมื่อ 20 สิงหาคม 61 15:17 น. - ปริญญาตรี

งานเวชระเบียน คืองานจัดการเอกสาร ถ้าน้องๆเข้าใจแบบนี้อาจไม่ถูกต้องซะทีเดียว งานเวชระเบียนนั้นนอกจากทำเอกสารแล้วยังครอบคลุมไปถึง การบริหารจัดการระบบ การทำข้อมูลทางการแพทย์ และสารสนเทศสุขภาพ พูดง่ายก็คือ งานเวชระเบียนเป็นทั้งงานบริหาร บริการ และงานสารสนเทศ เรามาดูหลักสูตรสาขาวิชาเวชระเบียนกันเถอะ

 

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน โรงพยาบาล ทำอะไรบ้าง

หลักสูตรของสาขาวิชาเวชระเบียน มี 2 หลักสูตรด้วยกัน ได้แก่ หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต ซึ่งกำลังปรับปรุงให้เป็นหลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาวิชาเวชระเบียน และหลักสูตรประกาศณียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาขาวิชาเวชระเบียน ในหลักสูตรทั้งสองน้องๆ จะได้เรียนเหมือนที่เกริ่นนำไว้ข้างต้นแล้ว คือ การบริหารจัดการระบบเวชระเบียน การทำข้อมูลทางการแพทย์ และการทำสารสนเทศสุขภาพ

  เมื่อน้องๆ เข้ามาเรียนที่นี้แล้ว ปีแรกจะได้เรียนพื้นฐานทั่วไปของเวชระเบียน ตั้งแต่ขึ้นปีที่ 2 ขึ้นไปน้องๆ จะเริ่มเรียนวิชาทางด้านสุขภาพ ตั้งแต่พื้นฐานขึ้นไป และการฝึกงานน้องๆ จะได้ฝึกงานในชั้นปี 3 และชั้นปี 4 เทอม 2 ซึ่งน้องๆ จะได้ฝึกงาน 2 รอบด้วยกันเพื่อสร้างประสบการณ์และความมั่นใจในการทำงานมากขึ้น และเพื่อให้ทันต่อยุคสมัยที่นี่ยังมีการให้น้องๆ ได้เรียนรู้เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ในงานเวชระเบียนอีกด้วย

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน โรงพยาบาล ทำอะไรบ้าง

  น้องๆ ที่สนใจสาขาวิชาเวชระเบียน อย่างแรกจะต้องเรียนสายวิทย์ - คณิต เพราะสาขาเวชระเบียนจะได้เรียนเกี่ยวกับสุขภาพด้วย ดังนั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์จึงมีความจำเป็นอย่างมาก หากน้องๆ เรียนสายวิทย์คณิตแล้วละก็สามารถเข้ามาเรียนที่สาขาวิชาเวชระเบียน สถาบันพระบรมราชชนกได้สบายเลย

  สำหรับโอกาสงานของน้องๆ ที่จบสาขานี้สามารถทำงานในตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุข (เวชสถิติ) นักวิชาการเวชสถิติ นักวิชาการสถิติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน หรือผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเวชระเบียน รหัสทางการแพทย์ และสถิติในโรงพยาบาลทุกระดับและสถานบริการสุขภาพของภาครัฐและภาคเอกชน หรือประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน โรงพยาบาล ทำอะไรบ้าง

  น้องๆ จะเห็นได้ว่าการเรียนเวชระเบียน ที่สถาบันพระบรมราชชนกนั้นไม่ได้สอนแค่วิธีทำเอกสารเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการประยุคนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในงานเวชระเบียนอีกด้วย ทั้งยังมีการสอนพื้นฐานด้านการแพทย์ต่างๆ ด้วย ด้านอาชีพหลังจบการศึกษาก็สามารถทำได้หลายอย่างทั้งในโรงพยาบาลทุกระดับและสถานบริการสุขภาพของภาครัฐและภาคเอกชน

ความหมายเวชระเบียน

เวชระเบียน (อังกฤษ: medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภท ที่ใช้บันทึกและเก็บรวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบัน ข้อมูลบ่งชี้เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการชันสูตรบาดแผลหรือพลิกศพ ผลการบันทึกค่าทั้งที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพหรือเครื่องหมายอื่นใด จากอุปกรณ์ เครื่องมือในสถานบริการสาธารณสุขหรือเครื่องมือทางการแพทย์ทุกประเภท หรือเอกสารการบันทึกการกระทำใด ๆ ที่เป็นการสั่งการรักษา การปรึกษาเพื่อการรักษาพยาบาล การส่งต่อผู้ป่วยไปทำการรักษาที่อื่น การรับผู้ป่วยรักษาต่อ การกระทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจในการรักษาพยาบาลตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ เอกสารอื่น ๆ ที่ใช้ประกอบเพื่อการตัดสินใจทางการแพทย์ เพื่อการประสานงานในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย และเอกสารอื่นใดที่ทางองค์การอนามัยโลก หรือสถานบริการสาธารณสุขกำหนดไว้ว่าเป็นเอกสารทางเวชระเบียน หมายรวมถึงชื่อของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารดังกล่าว การเก็บรวบรวม การค้นหา การบันทึก การแก้ไข การให้รหัสโรค การจัดทำรายงานทางการแพทย์ การนำมาจัดทำสถิติผู้ป่วย การนำมาเพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อการอื่นใดตามที่สถานบริการสาธารณสุขกำหนด นอกจากนี้ยังรวมถึงเอกสารทางการแพทย์ที่อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิตอล หรือระบบอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Medical Record -EMR) ซึ่งเป็นรูปแบบของเวชระเบียนที่มีการพัฒนาขึ้นในปัจจุบัน[1]

เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเขียนหรือบันทึกที่เกี่ยวกับการเจ็บป่วย เป็นข้อมูลที่บันทึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยที่โรงพยาบาล คลินิค หรือสถานีอนามัย เวชระเบียนนั้นเป็นบันทึกขบวนการทุกอย่างงที่จัดกระทำกับผู้ป่วยซึ่งข้อมูลนั้น ๆ ควรจะต้องประกอบด้วยประวัติการเจ็บป่วยในอดีตรวมทั้งความคิดเห็น การค้นหา สืบสวนผลทางห้องปฏิบัติการและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วย เวชระเบียนเป็นเอกสารที่อาจมีหลายขนาดหลายรูปแบบ และหลายข้อมูล โดยการบันทึกของหลายบุคคลในหลาย ๆ วิธีการ แต่ตามรูปลักษณะทั่วไปแล้ว เวชระเบียนจะประกอบด้วยจำนวนแผ่นกระดาษ หรือบัตร ซึ่งอาจจะบรรจุอยู่ในแฟ้มหรือซอง และยิ่งนำสมัยมากไปกว่านี้ก็จะบันทึกในคอมพิวเตอร์หรือบันทึกลงแผ่นกระดาษแล้วถ่ายไว้ในไมโครฟิล์มก็ได้[2]

เวชระเบียน หมายถึง การรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุขภาพของผู้ป่วยและประวัติสุขภาพรวมถึงประวัติการเจ็บป่วยในอดีตและในปัจจุบันและการรักษาซึ่งจดบันทึกไว้โดยแพทย์ผู้ดูแล เวชระเบียนจะต้องบันทึกตามเวลาที่ศึกษาดูแลผู้ป่วย และควรจะต้องมีข้อมูลที่เพียงพอที่จะต้องบอกให้ทราบถึงการพิเคราะห์โรค และการดูแลรักษาโรคได้ และต้องเป็นเอกสารที่ถูกต้องครบถ้วน[3]

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/เวชระเบียน

เจ้าหน้าที่ เวช ระเบียน มี หน้าที่ อะไร บ้าง

เวชระเบียน คือบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่แสดงข้อมูลของผู้ป่วย และกระบวนการดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่ แรกรับจนสิ้นสุดการรักษา ประโยชน์ของเวชระเบียน 1. เป็นสื่อในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย ของผู้ให้บริการหลายคน และหลายอาชีพ 2. เป็นหลักฐานในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาล 3. เป็นหลักฐานทางกฎหมาย

เจ้าหน้าที่เวชระเบียน ใช้วุฒิอะไร

รายละเอียดวุฒิ : ได้รับประกาศนียบัตร ซึ่งมีระยะเวลาการศึกษาไม่น้อยกว่า 2 ปี ต่อจากประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายที่ศึกษาวิชาสามัญทางการพยาบาล เวชสถิติ หรือได้รับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเวชระเบียน

เจ้าหน้าที่เวชระเบียนเงินเดือนเท่าไร

อัตราเงินเดือน อาชีพเวชระเบียน จะได้รับรายได้ขั้นต่ำประมาณ 15,000 - 20,000 บาท/เดือน พร้อมทั้งสวัสดิการต่างๆตามที่โรงพยาบาลจะกำหนด

งานเวชระเบียน มีอะไรบ้าง

เวชระเบียน (medical record) หมายถึง เอกสารทางการแพทย์ทุกประเภทที่ใช้บันทึกและเก็บ รวบรวมเรื่องราวประวัติของผู้ป่วยทั้งประวัติส่วนตัว ประวัติ ครอบครัว ประวัติการแพ้ยา เอกสารการ ยินยอมให้ทำการรักษาพยาบาล ประวัติ การเจ็บป่วยในอดีตและปัจจุบันข้อมูลบ่งชี้ เฉพาะของบุคคล การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล ผลจากห้องปฏิบัติการ ผลการ ...