ชมรมสร้างสุขภาพหมายถึงอะไร

การสร้างเสริมสุขภาพชุมชนของบุคคลในชุมชนต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในชุมชน เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาพและคุณภาพที่ดีของคนในชุมชน และสังคมโดยส่วนรวม  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ได้กำหนดให้คนไทยทุกคนได้รับโอกาสและมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ และได้รับบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานเดียวกัน โดยไม่คำนึงถึงเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการรณรงค์การสร้างสุขภาพภายใต้กลยุทธ์ “รวมพลังสร้างสุขภาพ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ทุกกลุ่มทุกวัยมีความรู้และทักษะด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นให้ศูนย์สุขภาพชุมชนและสถานีอนามัยเป็นหน่วยบริการสุขภาพหลัก ในการดำเนินงานประสานและเชื่อมโยงกับองค์กรภาคี เครือข่ายสุขภาพชุมชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค มีบทบาทสำคัญในการผลักดันให้นโยบาย ดังกล่าวสัมฤทธิผลและบรรลุเป้าหมาย

การดำเนินงานสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้อย่างเป็นรูปธรรม  ได้แก่

๑.ส่งเสริมให้ประชาชนรวมกันจัดกิจกรรมด้านสุขภาพในรูปของชมรมด้านสุขภาพครอบคลุมทุกชุมชน และหมู่บ้านโดยยึดแนวคิด  “ใช้พื้นฐานบูรณาการทุกภาคส่วน สร้างกระบวนการเรียนรู้สู่วิถีชุมชน”

๒. บทบาทของการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมและพัฒนาสุขภาพของบุคคลในชุมชน คือ การร่วมกิจกรรมที่เอื้ออำนวยให้ผู้คนในชุมชนมีการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น     ชมรมผู้สูงอายุ  กลุ่มทูบีนัมเบอร์วัน ชมรมแอโรบิก กลุ่มประชาคม            ชมรมสร้างสุขภาพ  กลุ่มกีฬา

๓.ชมรมสร้างสุขภาพ (Health Promotion Club) หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีความสนใจในกิจกรรมเหมือนๆกัน ซึ่งเป็นชมรมหรือกลุ่มที่มีอยู่แล้วในชุมชน หรือมารวมกลุ่มกันใหม่ แล้วสมัครเป็นเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพกับสถานบริการสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสุขภาพ

๔.การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมชุมชน  ดังนั้นคนในชุมชนจึงควรมีส่วนร่วมในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน

ชมรมสร้างสุขภาพที่มีนวัตกรรมการออกกำลังกายดีเด่น

ผู้รับผิดชอบงานออกกำลังกายและชมรมสร้างสุขภาพ โรงพยาบาลสามร้อยยอด นำชมรมสร้างสุขภาพที่มีนวัตกรรมการออกกำลังกายดีเด่นในรูปแบบการเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการประกวดระดับจังหวัดไปร่วมจัดนิทรรศการและนำเสนอผลงานวิชาการเครือข่ายไร้พุง ในงานสัมมนาเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งจัดโดยศูนย์อนามัยที่ 4 ราชบุรี ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ รีสอร์ท รีเจนท์ บีช ชะอำ เมื่อวันที่ 3 – 4 มีนาคม 2553 โดยมีท่านอธิบดีกรมอนามัยเป็นประธานมอบเกียรติบัตรให้แก่ชมรมแอโรบิคสามร้อยยอด ที่ได้นำเสนอผลงานวิชาการเรื่อง “นวัตกรรมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ”  และได้รับการสนับสนุนรถจากเทศบาลตำบลไร่ใหม่ในการพาสมาชิกชมรมไปร่วมงาน

    

ชมรมสร้างสุขภาพหมายถึงอะไร
  

ปฏิทินกิจกรรม

สิทธิการรักษา

การบริการ

ระบบสารสนเทศ

มุมสุขภาพ

บริการออนไลน์

ผู้เยี่ยมชม

1062634

วันนี้

เมื่อวาน

สัปดาห์นี้

สัปดาห์ที่แล้ว

เดือนนี้

เดือนที่แล้ว

ทั้งหมด

183

935

4412

1045493

4855

18025

1062634


ไอพี: 132.145.101.69

เวลา: 2022-10-08 10:18:51

                  รู้จัก.คณะกรรมการชมรมสร้างสุขภาพ

จังหวัดเพชรบุรี                                                                               

เมื่อได้ยินคำว่า ชมรมสร้างสุขภาพ หลายคนเข้าใจว่าเป็นกลุ่มคนที่เต้นแอโรบิกตามชุมชนต่างๆ หรือสถานที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อ 3-4 ปีที่ผ่านมา กระแสการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นรูปแบบที่นิยมใช้ในการออกกำลังกายทั้งในระดับประเทศจนถึงชุมชน มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อ เช่น ทีวี  สปอต ต่างๆ อย่างกว้างขวาง  การอบรมการเต้นแอโรบิก ให้กับแกนนำชมรมฯต่างๆ  แต่ความหมายของ ชมรมสร้างสุขภาพ ที่ทางกระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายไว้ คือ การรวมกลุ่มคนที่มีความสนใจในกิจกรรมด้านสุขภาพหรือกิจกรรมอื่นๆ ได้แก่ ชมรมออกกำลังกาย  ชมรมกีฬา ชมรมผู้สูงอายุ  ชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มทำปุ๋ยชีวภาพ หรือกลุ่ม/ชมรมอื่นๆ   อาจเป็นกลุ่มหรือชมรมที่มีอยู่แล้ว หรือรวมกันใหม่ แล้วสมัครลงทะเบียนเป็นชมรมสร้างสุขภาพที่สถานบริการสาธารณสุขที่รับผิดชอบ มีกิจกรรมด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่องเช่น การให้ความรู้กี่ยวกับสุขภาพโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ   การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิก  หรือมีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายชมรมสร้างสุขภาพอื่นๆเช่น องค์กรท้องถิ่น ชมรมแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้

ชมรมสร้างสุขภาพระยะเริ่มต้น หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมออกกำลังกายอย่างเดียว หรือจัดกิจกรรมอื่นๆ (1 อ.) ซึ่งยังไม่ได้พัฒนาให้เข้าเกณฑ์ระดับ 1-3   ส่วน

ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 1 หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ(2 อ.)  ให้กับสมาชิกในเรื่อง ออกกำลังกาย และด้านอาหารปลอดภัย    

ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 2 หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพ (6 อ.) ให้กับสมาชิกในเรื่อง ออกกำลังกายด้านอาหารปลอดภัย,การส่งเสริมสุขภาพจิต,อนามัยชุมชน,อโรคยาและอบายมุข แก่สมาชิกชมรมฯ 

ชมรมสร้างสุขภาพระดับ 3 (ชมรมต้นแบบ) หมายถึง ชมรมสร้างสุขภาพที่จัดกิจกรรมสร้างสุขภาพให้กับสมาชิกครอบคลุม 6 อ. และมีการบริหารจัดการที่เข้มแข็ง มีการระดมทุน มีการวิเคราะห์และการวางแผนแก้ปัญหาสุขภาพให้กับสมาชิกชมรมสร้างสุขภาพได้   โดยตั้งเป้าหมายในปี 2548  กำหนดการพัฒนาชมรมสร้างสุขภาพครอบคลุมทุกหมู่บ้าน อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ชมรม   ปี  2549  กำหนดให้ ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านมีชมรมที่จัดกิจกรรมออกกำลังกายและบริโภคอาหารอย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ชมรม  สำหรับปี 2550 กำหนดให้ ร้อยละ 80 ของหมู่บ้านที่มีชมรมสร้างสุขภาพจัดกิจกรรมวัดรอบเอวแก่สมาชิกอย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง  สำหรับชมรมฯที่เป็นต้นแบบของจังหวัดเพชรบุรี และเป็นตัวอย่างแก่ชมรมอื่นๆได้แก่ ชมรมสร้างสุขภาพ ต.แหลมผักเบี้ย, ต.บ้านแหลม, ต.รางจิก, ต.ท่าคอย ต.หนองหญ้าปล้อง, ต.บ้านหาด ,เขตเทศบาลเมือง  และอื่นๆ อีกหลายชมรมฯ                 

ทั้งนี้  แต่ละอำเภอจะมีการประกวดชมรมสร้างสุขภาพดีเด่นระหว่างเดือนสิงหาคม กันยายน 2550  นี้ ผลการประกวดจะแจ้งให้ทราบต่อไป   และเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2550  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี ได้มีการจัดประชุมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการชมรมสร้างสุขภาพ จังหวัดเพชรบุรี   ซึ่งมีการคัดสรรจาก ประธานและกรรมการชมรมสร้างสุขภาพระดับอำเภอทั้ง 8 อำเภอ ปรากฏผลการคัดเลือกดังต่อไปนี้

ชมรมสร้างสุขภาพหมายถึงอะไร

1. ประธานชมรมสร้างสุขภาพจังหวัดเพชรบุรี  ได้แก่   นายวรรธน    เติมวัฒนภัทร  จาก  ประธานชมรมสร้างสุขภาพอำเภอบ้านแหลม จ.เพชรบุรี  ที่อยู่   220/4  หมู่ 7 ต.บ้านแหลม  อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี  โทรศัพท์ 032-481-823 ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชมรมสร้างสุขภาพจังหวัดเพชรบุรี ผมในนามตัวแทนคณะกรรมการชมรมฯ จะพยายามดำเนินงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนให้ดีที่สุดและเต็มความสามารถของพวกเราทุกคน เพื่อช่วยกันผลักดันให้ชมรมของเราเดินหน้าทำงานเพื่อสังคม และเพื่อให้ชุมชนแต่ละที่มีกิจกรรมสร้างสุขภาพ โดยเฉพาะ การออกกำลังกาย   และจะเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมแต่ละอำเภอ โดยมีกรรมการทุกท่านให้ความร่วมมือเพื่อให้งานของเราสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

2. รองประธานชมรมฯ      จำนวน 2  ท่าน  ได้แก่ 1. นางมาลี   ฉัตราภรณ์วิเชียร  อายุ ……….ปี  ตัวแทนจากชมรมสร้างสุขภาพอ.ท่ายาง ที่อยู่  316 หมู่ 1 ต.ท่ายาง อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี2. นายแผน       ลาภหลาย  อายุ ……….ปี  ตัวแทนจากชมรมสร้างสุขภาพอ.ชะอำที่อยู่  150 หมู่ 11 ต.เขาใหญ่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

3.  เลขานุการชมรมฯ /   ผู้ช่วยเลขา                1. นางมัทนา    กงเพ็ชร   ตัวแทนชมรมสร้างสุขภาพ ต.บ้านหม้อ อ.เมืองที่อยู่   89 หมู่ 1  ต.บ้านหม้อ  อ.เมือง  จ.เพชรบุรี2. นางอารี       ยนะสมิต   ตัวแทน จากชมรมสร้างสุขภาพ ต.โพไร่หวาน อ.เมือง จ.เพชรบุรีที่อยู่  83 หมู่ 2 ต.โพไร่หวาน อ.เมือง จ.เพชรบุรี

4. ฝ่ายทะเบียนชมรมฯ   จำนวน 3 ท่าน ได้แก่                1. นางสาว เมตตา ช้างพลาย    ที่อยู่  53 หมู่ 4 ต.สมอพลือ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี                2. นางนิโลบล  กิจสุดแสง       ที่อยู่ 33 หมู่ 2 ต.ท่าเสน  อ.บ้านลาด จ. เพชรบุรี                3.นางสังวาล   อภิรัตนโยธิน    ที่อยู่ชมรมสร้างสุขภาพ (โพธิ์ใหญ่) อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี

5. ฝ่ายเหรัญญิกชมรมฯ  จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ 1. นายศักดิ์สิทธิ์   เอกรัตนโชติ  ที่อยู่ 262 หมู่ 2 ต.บ้านแหลม อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี  โทร. 032-483-0222. นาง วรรณศิริ   พูลสวัสดิ์   ที่อยู่ 89 หมู่ 6 ต.แก่งกระจาน  อ.แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี 

6. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ชมรม จำนวน 3  ท่าน ได้แก่                1. นางสาวกัญจนา   วัฒนากร  ที่อยู่ 68 หมู่ 11 ต.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี                2. นางบุญนำ    ทหารเพรียง    ที่อยู่84 หมู่ 6 ต.ท่ายาง   อ.ท่ายาง  จ.เพชรบุรี                3. นางประจวบ   กิติยายาม      ที่อยู่ 98 หมู่ 7  ต.แก่งกระจาน   อ. แก่งกระจาน จ.เพชรบุรี

7. ฝ่ายกิจกรรมชมรมฯ จำนวน  6  ท่าน ได้แก่                  1. นางสาวยุพิน      จันทร์เสงี่ยม  ที่อยู่ 218 หมู่ 4  ต.ท่าคอย อ.ท่ายาง  จ.เพชรบุรี2. นายจรูญ  ชุนหวิจิตรา ที่อยู่ 384 หมู่ 4 อ.หนองหญ้าปล้อง  จ.เพชรบุรี3. นายเสน่ห์    เสือนาค    ที่อยู่ 23 หมู่ 6 ต.ต้นมะม่วง อ.เมือง จ.เพชรบุรี4. นางสุมาลี    สินเดระดาษ  ที่อยู่ 37 ถ.รถไฟ ต.คลอง-กระแชง อ.เมือง จ.เพชรบุรี5. นายวีระพงศ์    สีบุหงา  ที่อยู่  16 ถ.มาตยาวงษ์  ต.ท่าราบ  อ.เมือง จ.เพชรบุรี6. นายอำนวย     จ่าราช    ที่อยู่  71  หมู่ 4  ต.เขาใหญ่  อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี

8. ฝ่ายประเมินผลชมรมฯ  จำนวน 2 ท่าน ได้แก่         1. นายอนันต์   อรรถพรชัย  ที่อยู่ 243  หมู่ 4  ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี2.นายสุเชาว์   สมสิทธิ์จินตนา ที่อยู่ 12/2  หมู่ 2 ต.หนองชุมพลเหนือ อ.เขาย้อย  จ.เพชรบุรี

ซึ่งคณะกรรมการทั้งหมดได้รับการแต่งตั้ง จากผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบุรีตามคำสั่งที่ 958 /2550 ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2550 เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการชุดนี้ จะอยู่ในวาระ ครั้งละ 2 ปี หวังเป็นอย่างยิ่งว่าตัวแทนชมรมสร้างสุขภาพระดับจังหวัดทั้งหมด จะมีส่วนช่วยประสานความร่วมมือ ร่วมใจ  ช่วยกันขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประชาชนจังหวัดเพชรบุรีให้แข็งแรงได้อีกแรงหนึ่ง.  

ชมรมสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

๓.ชมรมสร้างสุขภาพ (Health Promotion Club) เป็นกลุ่มบุคคลที่มีความสนใจเหมือนกัน รวมตัวกันจัดตั้งชมรมเพื่อดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี.
อ ออกกำลังกาย.
อ อาหาร.
อ อนามัยสิ่งแวดล้อม.
อ อารมณ์.
อ อโรคยา.
อ อบายมุข.

นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างไรในการจัดการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน

๑. ส่งเสริมให้คนไทยทุกกลุ่มอายุ ออกกำลังกาย วันละ ๓o นาที อย่างน้อย ๓ วันต่อสัปดาห์อย่างสม่ำเสมอ ๒. ส่งเสริมให้คนไทยเลือกซื้อและบริโภค อาหาร ที่สะอาดมีคุณค่า และปลอดสารปนเปื้อน ๓. ส่งเสริมให้คนไทยสร้าง อนามัย สิ่งแวดล้อมในชุมชนเพื่อความสะอาดปลอดภัยของที่อยู่อาศัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อสุขภาพ

การสร้างเสริมสุขภาพ มีอะไรบ้าง

ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติโรคควรฉีดวัคซีนป้องกันโรค.
รักษาความสะอาดของใช้ต่างๆ.
ไม่คุลกคลีกับผู้ป่วย.
ไม่รับประทานอาหารสุกๆดิบ.
ออกกำลังสม่ำเสมอ.
ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหาร หลังจากถ่ายอุจจาระ.
ติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวสุขภาพ.
ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย.

การสร้างเสริมสุขภาพหมายถึงอะไร

การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมที่ให้โดยตรงแก่บุคคลครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อสร้างเสริมความตระหนักและขีดความสามารถของบุคคลในการดูแลสุขภาพของตนเอง การป้องกันโรค หมายความว่า บริการหรือกิจกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ให้โดยตรงแก่บุคคล ครอบครัวหรือกลุ่มบุคคล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค