ขึ้นทะเบียนประกันสังคมแรงงานต่างด้าวใช้เอกสารอะไรบ้าง

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 สำนักงานประกันสังคม แจ้ง "แรงงานต่างด้าว" ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย ย่อมได้รับความคุ้มครองตามหลักสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานเหมือนผู้ประกันตนคนไทย เพราะทุกคนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนกัน โดย "ประกันสังคม" พร้อมดูแลสวัสดิการ-สิทธิประโยชน์ "แรงงานต่างด้าว" 3 กลุ่ม แต่ต้องขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย

เอกสารที่ต้องใช้ 

สำหรับ ลูกจ้างชาวต่างชาติ/ต่างด้าว/บุคคลที่ราบสูง
1. กรอกแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน สปส.1-03
2. สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ เอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง
3. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
4. สำเนาเอกสารการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวกรณีพิเศษ (Smart Visa)

ทั้งนี้ กรณีขึ้นทะเบียนผู้ประกัน ต่างด้าว/ต่างชาติ ที่มี Smart Visa นายจ้างยื่นเอกสารขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนสามารถใช้ Smart Visa แทนใบอนุญาตการทำงานได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

"ประกันสังคม" จะคุ้มครอง 7 กรณี สำหรับ  "แรงงานต่างด้าว" ดังนี้

  1. กรณีคลอดบุตร
  2. กรณีการสงเคราะห์บุตร
  3. กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
  4. กรณีทุพพลภาพ
  5. กรณีชราภาพ
  6. กรณีว่างงาน
  7. กรณีเสียชีวิต

เงื่อนไขการคุ้มครอง "แรงงานต่างด้าว"

แรงงานต่างด้าวที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
  • จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit) 
  • หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองไทยแต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย

นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ชาวต่างด้าวไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับ "ประกันสังคม" คือ ชาวต่างด้าวที่เป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ หาบเร่ และการค้าแผงลอย ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี หรือมีลักษณะการทำงานเป็นแบบครั้งคราว  

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคม ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม หรือโทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

🎀การขึ้นทะเบียนประกันสังคม🎀 🌼หลังจากที่เด็กมีใบอนุญาติทำงาน แจ้งตม. แจ้งจัดหางาน เรียบร้อยแล้ว 1....

Posted by กลุ่มนายจ้างที่ใช้แรงงานต่างด้าว : โครงการนายจ้างสีขาวฯ on Saturday, October 6, 2018

ประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตนที่เป็นสมาชิกประกันสังคม เพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน


ผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิประกันสังคม ต้องมีเงื่อนไขอย่างไร


1. กรณีเจ็บป่วย

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนเดือนที่รับสิทธิ 


2. กรณีคลอดบุตร

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบครบ 5 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่คลอดมีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตรโดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง


3. กรณีทุพพลภาพ

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ


4. กรณีเสียชีวิต

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบครบ 1 เดือน ภายใน 6 เดือน ก่อนเดือนถึงแก่ความตาย


5. กรณีสงเคราะห์บุตร

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบครบ 12 เดือน ภายใน 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน โดยจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตร เหมาจ่ายเดือนละ 600 บาท/บุตร 1 คน/เดือน คราวละไม่เกิน 3 คน ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์


6. กรณีชราภาพ

- เงินบำเหน็จชราภาพ

  • กรณีจ่ายเงินสมทบต่ำกว่า 12 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จ ชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบเฉพาะส่วนของผู้ประกันตน
  • กรณีจ่ายเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไป แต่ไม่ครบ 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเท่ากับจำนวนเงินสมทบ ที่ผู้ประกันตนและนายจ้างจ่ายสมทบ พร้อมผลประโยชน์ตอบแทน ตามที่สำนักงานประกันสังคมประกาศกำหนด

- เงินบำนาญชราภาพ

ได้รับเงินบำนาญชราภาพร้อยละ 20ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย


7. กรณีว่างงาน

ผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนการว่างงาน


โดยผู้ประกันตนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมจากสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตนได้ที่นี่ >>

เช็กประกันสังคมมาตรา 33 ได้สิทธิอะไรบ้าง

เช็กประกันสังคมมาตรา 39 ได้สิทธิอะไรบ้าง

เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 40 ได้สิทธิอะไรบ้าง


นอกจากนี้เมื่ออายุ 60 ปีขึ้นไป ผู้ประกันตนจะได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ 


1. เงินบำเหน็จชราภาพ : เป็นเงินก้อนที่จ่ายครั้งเดียวจบ

2. เงินบำนาญชราภาพ : เป็นเงินที่จ่ายทุกเดือนตลอดชีวิต


ทั้งนี้ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุ 55 ปี และต้องการรับเงินชราภาพ จะต้องลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนของประกันสังคมก่อน โดยสามารถยื่นเอกสารขอรับเงินกรณีชราภาพได้ภายใน 1 ปีหลังจากลาออก เพราะหากไม่ยื่นภายในเวลาที่กำหนด ผู้ประกันตนอาจถูกตัดสิทธิ์รับเงินชราภาพได้ โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของเงินบำเหน็จและเงินบำนาญชราภาพได้ เกษียณอายุประกันสังคม ได้รับสิทธิอะไรบ้าง

ต่างด้าวทำประกันสังคมต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ใช้ 1. แบบฟอร์มขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน (สปส.1-03) 2. สาเนาใบอนุญาตทางาน + สาเนาหนังสือเดินทาง หรือ สาเนาใบอนุญาตทางาน + สาเนาบัตรประจาตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)

แรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมไหม

2.1 กองทุนประกันสังคม แรงงานต่างด้าวต้องขึ้นทะเบียน กับส านักงานประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ในอัตรา 5% ของค่าจ้าง นายจ้างจ่ายสมทบ 5% รัฐบาล 2.75% ได้รับสิทธิประโยชน์7 กรณีคือ กรณีเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ ตายที่ไม่เนื่องจากการท างาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

ต่างด้าวเบิกค่าคลอดบุตรใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอรับเงินคลอดบุตร มีดังนี้ สำเนาสูติบัตรบุตร 1 ชุด (กรณีคลอดบุตรแฝดให้แนบสำเนาสูติบัตรของคู่แฝดด้วย) สำเนาทะเบียนสมรส หรือหากไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้แนบหนังสือรับรองของผู้ประกันตนกรณีไม่มีทะเบียนสมรส ใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายบริการทางการแพทย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคลอดบุตร

ต่างด้าวเช็คสิทธิประกันสังคมยังไง

สำหรับใครที่มี สิทธิประกันสังคม และ อยากเช็คสิทธิ์ของตนเองนั้นสามารถทำได้ทั้งเช็คจากทางเว็บไซต์ และ การดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือโทร 1506 เพื่อความสะดวกสบายของเราเอง