การบวชพระ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

(ที่มา: หนังสือ”มนต์พิธีแปล” รวบรวมโดย พระครูอรุณธรรมรังษี (เอี่ยม สิริวณโณ) วัดอรุณราชวราราม (คณะ ๓))

การเตรียมตัวก่อนบวช

ผู้จะบวชเรียกว่า อุปสัมปทาเปกข์ หรือ นาค ซึ่งต้องท่องคำบาลีหรือที่เรียกกันว่าขานนาคให้คล่องเพื่อใช้ในพิธี โดยต้องฝึกซ้อมกับพระอาจารย์ให้คล่องก่อนทำพิธีบวชเพื่อจะได้ไม่เคอะเขิน
นอกจากนี้มีหลายสิ่งหลายอย่างที่ต้องคิด ต้องเตรียมตัว และทำเมื่อคิดจะบวชดังต่อไปนี้ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าจะต้องทำทั้งหมดเพราะว่าทั้งนี้ให้คำนึงถึงความเหมาะสม และกำลังทรัพย์ด้วย ขั้นตอนบางอย่างไม่จำเป็นต้องมีก็ได้

ผู้อุปสมบทต้องไปหาผู้เป็นอุปัชฌายะ หัดให้คุ้นเคยกับระเบียบแบบแผนต่าง ๆ ไว้ และท่องคำต่อไปนี้ให้จำได้จนขึ้นใย คือคำขอบรรพชาอุปสมบท วิธีทำพินทุ อธิษฐาน และวิธีวิกัปจีวร คำกรวดน้ำ วิธีแสดงอาบัติ คำอนุโมทนา คือบทยถาสัพพี คำพิจารณาปัจจัยสี่ และคำสวดทำวัตรเช้า-เย็น ทั้งหมดนี้คำขอบรรพชาและอุปสมบทสำคัญที่สุดต้องจำได้แม่นยำจริง

สถานที่ทำพิธี

โรงอุโบสถ ประชุมสงฆ์ ๒๘ รูป มีพระอุปัชฌาย์ ๑  พระกรรมวาจารย์ ๑  พระอนุสาวนาจารย์ ๑ (สองรูปหลังนี้เรียกว่า พระคู่สวด) อีก ๑๐ – ๒๕ รูป เรียกว่า พระอันดับ

คำขอขมาบิดา มารดา และญาติผู้ใหญ่เพื่อลาบวช

“กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ที่ข้าพเจ้าได้เคยประมาทล่วงเกินท่านต่อหน้าก็ดี ลับหลังก็ดี ทั้งตั้งใจก็ดี มิได้ตั้งใจก็ดี ขอให้ท่านจงอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้านับแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนตราบเท่านิพพาน เทอญ”

เครื่องอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่นๆ ที่ควรมีหรือจำเป็นต้องใช้

๑.ไตรครอง ได้แก่ สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑
–ถ้าผู้ขอบวชสูง ๑๖๐-๑๖๙ ซม. ใช้ผ้า ๑.๙๐ ม.
–ถ้าผู้ขอบวชสูง ๑๗๐-๑๗๕ ซม. ใช้ผ้า ๒.๐๐ ม.
–ถ้าผู้ขอบวชสูง ๑๗๖-๑๘๕ ซม. ใช้ผ้า ๒.๑๐-๒๒๐ ม.
๒.บาตร แบบมีเชิงรองพร้อมด้วยฝา ถลกบาตร สายโยค ถุง ตะเครียว
๓.มีดโกน พร้อมทั้งหินลับมีดโกน
๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย
๕.เครื่องกรองน้ำ (ธมกรก)
๖.เสื่อ หมอน ผ้าห่ม มุ้ง
๗.จีวร สบง อังสะ ผ้าอาบ ๒ ผืน (อาศัย)
๘.ตาลปัตร ย่าม ผ้าเช็ดหน้า ร่ม รองเท้า
๙.โคมไฟฟ้า หรือตะเกียง ไฟฉาย นาฬิกาปลุก

๑๐.สำรับ ปิ่นโต คาว หวาน จานข้าว ช้อนส้อม ผ้าเช็ดมือ
๑๑.ที่ต้มน้ำ กาต้มน้ำ กาชงน้ำร้อน ถ้วยน้ำร้อน เหยือกน้ำและแก้วน้ำเย็น กระติกน้ำแข็ง กระติกน้ำร้อน
๑๒.กระโถนบ้วน กระโถนถ่าย
๑๓.ขันอาบน้ำ สบู่และกล่องสบู่ แปรงและยาสีฟัน ผ้าขนหนู กระดาษชำระ
๑๔.สันถัต (อาสนะ)

ข้อที่ ๑-๕ เรียกว่า อัฏฐบริขาร ซึ่งถือเป็นส่ิงจำเป็นที่ขาดเสียมิได้ มีความหมายว่า บริขาร ๘ แบ่งเป็นผ้า ๕ อย่าง คือ สบง ๑ ประคตเอว ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ากรองน้ำ ๑ และเหล็ก ๓ อย่าง คือ บาตร ๑ มีดโกน ๑ เข็มเย็บผ้า ๑ นอกจากนั้นแล้วแต่ความจำเป็นในแต่ละแห่งและกำลังทรัพย์

ไตร วางไว้บนพานแว่นฟ้า บาตร สวมไว้ในถุงตะเครียว ภายในบาตรใส่มืดโกน หินลับมีดโกน เข็มพร้อมกล่องเข็มและด้าย และเครื่องกรองน้ำ

การบวชนาคและแห่นาค

การจัดกระบวนแห่ประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ คือ
๑.การแสดงต่างๆ เช่น หัวสิงโต สิงโต (ถ้ามี)
๒.แตร หรือ เถิดเทิง (ถ้ามี)
๓.ของถวายพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด
๔.ไตรครอง ซึ่งมารดาของผู้บวชมักจะเป็นผู้อุ้ม (มีสัปทนกั้น)
๕.ผู้บวชพนมมือถือดอกบัว ๓ ดอก ธูป ๓ ดอก เทียน ๒ เล่ม (มีสัปทนกั้น)
๖.บาตร และตาลปัตร ซึ่งบิดาของผู้บวชเป็นผู้สะพายและถือ
๗.ของถวายพระอันดับ
๘.บริขารและเครื่องใช้อย่างอื่นของผู้บวช

ถ้ามีไตรถวายพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด ต้องมีสัปทนกั้นอีก ๓ คัน ของถวายพระอุปัชฌาย์มีพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ กรวยขอนิสัย ซึ่งภายในกรวยมีหมากพลูหรือเมี่ยงและบุหรี่ นอกนั้นแล้วแต่จะเห็นสมควร ควรจัดของถวายสำหรับพระอุปัชฌาย์เป็นพิเศษ รองลงมาคือพระคู่สวด รองลงมาอีกคือ พระอันดับ

เมื่อจัดขบวนเรียบร้อยแล้วก็เคลื่อนขบวนเข้าสู่พระอุโบสถ เวียนขวารอบนอกขันธสีมา จนครบ ๓ รอบ ก่อนจะเข้าโบสถ์ก็ต้องวันทาเสมาหน้าพระอุโบสถเสียก่อนว่า วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจติยัง สัพพะ เม โทสัง ขะมะถะ เม ภันเต

เมื่อเสร็จแล้วก็โปรยทานก่อนเข้าสู่พระอุโบสถโดยให้บิดามารดาจูงติดกันไป เสร็จแล้วผู้บวชก็ไปกราบพระประธานด้านข้างพระหัตถ์ขวาขององค์พระ รับไตรครองจากมารดาบิดา จากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวชตามหลักพระธรรมวินัยต่อไป

วิธีบรรพชาอุปสมบท

ในหนังสือกล่าวถึงบทสวด และข้้นตอนการบรรพชาอุปสมบทสองแบบ คือ
๑. แบบอุกาสะ
๒. แบบเอสาหัง
ทั้งนี้ผู้บวชต้องติดต่อกับเจ้าอาวาสและพระอุปัชฌาย์ ทางพระจะแจ้งให้ทราบว่าต้องท่องบทไหน

ของที่คนทางบ้านต้องเตรียม

๑.ของโปรยทาน
๒.อาหารเลี้ยงแขก
๓.ซองป้จจัยสำหรับพระอุปัชฌาย์ พระคู่สวด และพระอันดับ

ของที่ต้องเตรียมวันโกนหัว

๑.ใบบัว ๑ ใบ
๒.กรรไกรขลิบผม ๑ อัน
๓.มีดโกนขนนก ๑ อัน

ขั้นตอนการบวชพระ (ที่มา: วัดบวรนิเวศ)

๑.ครอบครัว ญาติ ตัดปอยผม
๒.พระพี่เลี้ยงโกนผมนาค
๓.กล่าวคำขอขมาลาบวช กราบพ่อ-แม่ ท่านละ ๑ ครั้ง (ไม่แบมือ) และรับมอบผ้าไตรจากพ่อแม่ญาติผู้ใหญ่
๔.ถ่ายภาพนาคหน้าโบสถ์
๕.นาคโปรยทานหน้าโบสถ์
๖.พ่อแม่พานาคเข้าประตูโบสถ์
๗.นำผ้าไตรส่งให้เจ้าหน้าที่ นำดอกไม้ธูปเทียนไหว้พระประธานในโบสถ์
๘.ทำพิธีเปล่งวาจาขออุปสมบท กราบพระอุปัชฌาย์ หยิบผ้าไตรวางไว้บนท่อนแขน กล่าวคำขออุปสมบท เอสาหัง
๙.กล่าวจบวางผ้าไตรลง ฟังพระอุปัชฌาย์สอนกัมมัฏฐาน แล้วกล่าว เกสาโลมาฯ
๑๐.พระอุปัชฌาย์สวมอังสะให้นาค
๑๑.ออกไปครองผ้าไตรจีวร ด้านหลังโบสถ์ (ญาติไปเก็บชุดนาคด้วย)
๑๒.เปล่งวาจาขอสรณะและศีล ๑๐ จากพระอาจารย์
๑๓.รับศีลแล้ว ไปรับประเคนบาตรจากพ่อแม่
๑๔.คลานเข่า ถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่พระอุปัชฌาย์ และกล่าวคำขอนิสัย
๑๕.พระกรรมวาจารย์ คล้องบาตรให้
๑๖.พระคู่สวด สอบถามอันตรายิกธรรม (คุณสมบัติ)
๑๗.กราบสงฆ์
๑๘.เปล่งวาจาขอญัตติกรรม สังฆัมภันเต
๑๙.ฟ้งอนุสาสน์บาลีจากพระอุปัชฌาย์
๒๐.ถวายเครื่องไทยธรรม กรวดน้ำ เสร็จพิธี

ขั้นตอนการบวชพระ (ที่มา: เวบ Pantip)

ขั้นตอนของวัดโดยส่วนใหญ่
1. ตัดปอยผม   จะต้องมีใบบัวใบใหญ่ เพื่อใช้รับเศษผม  และกรรไกร  เพื่อนๆญาติๆ ก็จะทำการตัดปอยผม
2. โกนศีรษะ  ตรงนี้เป็นขั้นตอนของพระอาจารย์ ท่านจะโกนให้ครับ  เราดูเฉยๆ  ขั้นตอนนี้ ควรมีแชมพูให้นาคฟอกหัวก่อน เพื่อให้โกนง่าย
3. ขอขมาพ่อแม่ ญาติพี่น้อง เพื่อนฝูง   ตรงนี้  นาคจะมายกธูปเทียนแพ ขอขมาพ่อแม่ญาติพี่น้อง และ กล่าวลาบวช   เราก็นั่งน้ำตาไหลไปก็ละกัน
4. เดินแห่ไปอุโบสถ และ เวียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ  ในขั้นตอนนี้  แล้วแต่วัดนะครับ  บางวัดอนุญาตให้มีแตรวง กลองยาว  ให้ร้องรำทำเพลง   แต่บางวัดจะให้เดินแห่โดยสงบ   ผมแนะนำว่า ให้เดินอย่างสงบ และ สวดสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ  สังฆคุณ ในแต่ละรอบ  จะดีกว่าครับ   ในขั้นตอนนี้  พ่ออุ้มบาตร ถือตาลปัตร  แม่ถือไตร   ญาติพี่น้องก็ถือหมอน ที่นอน กลด อัฏฐบริขาร  สังฆทาน
5. นาควันทาสีมา   นาคจะทำการกล่าวคำวันทาสีมาหน้าพระอุโบสถ  เป็นการทำความเคารพพระอุโบสถ
6. นาคเดินเข้าพระอุโบสถ   ตามความเชื่อเก่าๆ ก็คือ ต้องจับชายผ้าขาวของนาคส่งไปจนเข้าโบสถ์ ถึงจะได้บุญมาก โดยมากจะให้นาคเข้าโบสถ์ไปก่อน  ส่วนญาติพี่น้อง จะตามเข้าไป ก็ได้ครับ  แต่ต้องนั่งแยกจากหมู่สงฆ์ และนั่งฟังอย่างสงบ  อย่าเข้าไปคุย
7. นาควันทาพระประธาน  ด้วยคำกล่าวเดียวกับวันทาสีมา   เราก็ฟังเฉยๆละกัน
8. ต่อไปจะเข้าขั้นตอนของการบรรพชาก่อน  คือ บวชเณร    เราก็นั่งฟังไปครับ จะมีการวันทาพระอุปัชฌาย์ และถวายธูปเทียนแพต่อท่าน   เมื่อสมาทานศีล 10 และขอนิสสัย แล้ว จะให้หันไปรับผ้าไตรจากพ่อแม่   จากนั้น อุปัชฌาย์จะคล้องอังสะให้  แล้วออกไปเปลี่ยนเป็นห่มจีวร เป็นเณร
9. เณรเข้ามารับบาตรจากพ่อแม่   แล้วเข้ามาหาอุปัชฌาย์ ท่านจะบอกอัฏฐบริขาร   จากนั้นก็เริ่มกระบวนการซ้อมขานนาค (ซ้อมสวดอันตรายิกธรรม)  โดยพระคู่สวด  ท่านจะออกไปซักซ้อมการตอบคำถาม  แล้วจึงค่อยเริ่มจริง
10. เมื่อสวดอันตรายิกธรรมเรียบร้อย  จะเรียกว่าเป็น อุปสัมปทาเปกข์ (คือ บุคคลเตรียมอุปสมบท)   ซึ่งจะต้องเข้าไปกล่าวคำขออุปสมบท   แล้วก็นั่งคุกเข่า มาราธอนต่อเนื่อง  ราวๆ 10-15 นาที   นั่งจนปวดเมื่อยอย่างหนักเชียวครับ  เมื่อสวดครบ 3 ครั้ง ก็จะเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์
11. หลังจากนั้น อุปัชฌาย์จะให้โอวาท  ก็แล้วแต่ว่าจะนานแค่ไหน  ก่อนจบ มักจะถวายปัจจัยแด่พระอุปัชฌาย์ และ พระคู่สวด  รวมถึง ไทยทาน
12. เมื่อพระท่านออกไปกันแล้ว  มักจะนิยมให้พระใหม่นั่งรับบาตร  โดยญาติพี่น้องก็จะถวายปัจจัย  เราก็ถวายใส่บาตรท่านครับ  ซึ่งปัจจัยที่ได้  พระก็มักจะเอาไปทำบุญต่อครับ

คำถามโลกแตก

เงินใส่ย่ามพระใหม่ เมื่อพระสึกเป็นฆราวาสแล้ว นำออกมาใช้ได้หรือไม่
– ส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้นำติดตัวมาใช้ เพราะเป็นเงินสงฆ์ ที่ญาติโยมทำบุญด้วยความศรัทธาต่อพระสงฆ์ ต่อศาสนา อาจนำมาช่วยค่าใช้จ่ายในการจัดงานพิธีบวชได้ ควรนำไปทำบุญชำระหนี้สงฆ์ ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้แก่วัด หรือนำไปทำบุญต่อให้หมด

พิธีการส่วนใหญ่เป็นการยกตัวอย่างแนะนำเพื่อเป็นความรู้ รายละเอียดสามารถติดต่อทางวัดที่คุณลูกค้าบวชได้ครับ

การบวชพระ ต้องเตรียมอะไรบ้าง

ถ้าจะบวชต้องเตรียมอะไรบ้าง

เครื่องบวช มีรายการอะไรบ้าง.
ผ้าไตรครองผู้บวช.
ผ้าไตรอาศัยผู้บวช.
ผ้าไตรถวายพระอุปัชฌาย์ - พระคู่สวด.
ต้นเทียนถวายพระอุปัชฌาย์ - พระคู่สวด.
กรวยถวายพระอุปัชฌาย์ - พระคู่สวด.
สัปทนดอกใหญ่.
ตาลปัตร.
ขาตั้งตาลปัตร.

เตรียมเครื่องบวชพระมีอะไรบ้างพันทิป

1. ไตรครอง ๑ ชุด ประกอบด้วย อันตรวาสก อุตราสงค์สังฆาฏิ กายพันธน์ ผ้าอังสะ และผ้ารัดอก ๒. บาตร พร้อมทั้งเชิงรอง สลกบาตร สายสพาย ๓. มีดโกนพร้อมทั้งหินลับมีดโกน ย่าม (ย่าม สีน้ำตาล) ๔.เข็มเย็บผ้า พร้อมทั้งกล่องเข็มและด้าย

งานบวชทำยังไง

พีธีการบวช 1. ตอนเย็นก่อนบวชจะมีพิธีโกนหัวนาค ณ โรงพิธีประชุมสงฆ์ นาคทั้งหลายจะรับศีล อาราธนาพระปริตร พระสงฆ์พรมน้ำมนต์และสระผมนาค ผู้ที่โกนหัวอาจเป็นพระสงฆ์หรือพ่อแม่ จากนั้นญาติผู้ใหญ่จะโกนด้วยเล็กน้อย 2. หลังจากนั้นอาบบน้ำ เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาว เรียกว่า " เจ้านาค "

บวชพระต้องสวดอะไรบ้าง

เอส้าหั้ง ภันเต , สุจิระปะรินิพบุ๊ตัมปิ, ตัง ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉ้ามิ, ธัมมัญจะ , ภิกขุสั้งฆัญจะ , ละเภยยาหั้ง ภันเต , ตัสสะ ภะคะวะโต , ธัมมะวินะเย , ปัพบั๊ชยัง , ละเภยยัง , อุปะสั้มปะดัง.