อากาศ ร้อนเป็นโรคอะไรได้บ้าง

อากาศ ร้อนเป็นโรคอะไรได้บ้าง

5 โรคฤดูร้อนที่ควรระวัง

1. โรคอุจจาระร่วง

อาการ : ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างน้อย 3 ครั้ง

หรือถ่ายปนมูกเลือดภายใน 24 ชั่วโมงและอาจมีอาการอาเจียน

2. โรคไข้ไทฟอยด์หรือ ไข้รากสาดน้อย

อาการ : ไข้สูงลอย ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดท้อง

ท้องอืดหรือท้องผูก ถ่ายเหลว ผื่นขึ้นตามหน้าอกหรือลำตัว

3. โรคอาหารเป็นพิษ

อาการ : มีไข้ ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน

ปวดเมื่อยตามตัว ปวดท้อง ท้องเสีย

4. อหิวาตกโรค

อาการ : ถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำอย่างมาก โดยไม่ปวดท้อง

อาจมีอุจจาระไหลพุ่งออกมาเองโดยไม่รู้ตัว สีขาวขุ่นเหมือนน้ำซาวข้าว

คลื่นไส้ อาเจียน

5. โรคไวรัสตับอักเสบ เอ

อาการ : ไข้อ่อน ๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ท้องผูก

ปวดท้องขวาบน ปวดตามกล้ามเนื้อ และข้อ

ปัสสาวะสีเข้ม ตาและตัวเหลือง

________________________________

3 ภัยสุขภาพ ที่เกิดในช่วงฤดูร้อน

1. การเจ็บป่วย และเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน

2. ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน

3. การบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการจมน้ำ

แหล่งข้อมูล : กรมควบคุมโรค

#โรคฤดูร้อน

#MedCMU #MedCMUในมือคุณ

#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

#สื่อสารองค์กรMedCMU

ภัยจากอากาศร้อนมีตั้งแต่อาการน้อยจนถึงอาการมาก ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยได้แก่ คนไข้ที่มีอาการตั้งแต่การบวมเฉพาะปลายมือ ปลายเท้า  คนไข้ที่ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เวียนหัว

ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ได้แก่ กลุ่มคนไข้ที่มีอาการขาดน้ำจากการสูญเสียความร้อนเยอะ และอีกกลุ่มคือกลุ่มฮีทสโตรกหรือโรคลมแดด เป็นกลุ่มที่รุนแรงที่สุด

ฮีทสโตรกสามารถทำให้เสียชีวิตได้ ความร้ายแรงของฮีทสโตรก คือ ร่างกายมีอุณหภูมิที่สูงขึ้น  เมื่ออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นจะทำให้ระบบในร่างกายทำงานผิดปกติไป โดยความผิดปกติเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ มึนศีรษะ ปวดศีรษะ อันนี้เป็นอาการเริ่มต้น หลังจากนั้น ถ้าเราไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ ก็จะทำให้เกิดอาการฮีทสโตรก ก็จะมีอาการที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป อาจจะมีภาวะชัก หรือว่าการหมดสติจากการที่หัวใจเราเต้นผิดจังหวะได้ และสุดท้ายคือเสียชีวิตได้

สาเหตุ

ฮีตสโตรกหรือโรคลมแดด เกิดจากภาวะที่ร่างกายมีอุณหภูมิสูงมากจนทำให้เกิดภาวะที่ร่างกายไม่สามารถปรับตัวได้ โดยอาการของกลุ่มฮีทสโตรก ส่วนใหญ่มักจะเกิดในผู้ป่วยที่อยู่กลางแดดนาน ๆ และมีอุณหภูมิกายมากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับภาวะที่มีความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป เช่น อาจจะหมดสติหรือมีภาวะชักได้ ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นลมปกติ โดยที่ประวัติที่แตกต่างกันเลยคือ ผู้ป่วยที่เป็นลมปกติไม่ได้อยู่กลางแดด

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดโรคลมแดด

  1. อุณหภูมิที่สูง
  2. ความชื้น ความชื้นที่สูงทำให้อากาศถ่ายเทไม่ดี ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นได้
  3. ภาวะแรงลม ถ้าไม่มีลม ก็ไม่สามารถพัดความร้อนได้

กลุ่มเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะโรคลมแดด

  1. กลุ่มที่ต้องทำงานอยู่กลางแจ้ง เช่น คนงานก่อสร้าง คนที่เป็นนักวิ่งมาราธอน
  2. คนสูงอายุ กลุ่มเด็ก พวกนี้จะมีการสูญเสียความร้อนได้มากกว่ากลุ่มวัยรุ่นปกติ
  3. คนไข้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ต้องใช้ยาโรคประจำตัว เช่น โรคพาร์กินสัน โรคความดันโลหิตสูง กลุ่มนี้ มีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคลมแดดได้มากขึ้น

การปฐมพยาบาล

การปฐมพยาบาลกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคฮีทสโตรก อย่างแรกคือ ต้องดูว่าคนไข้มีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไปหรือเปล่า ถ้ามีภาวะความรู้สึกตัวที่ผิดปกติไป ให้ไปคลำชีพจรดูว่าการหายใจเขาผิดปกติหรือเปล่า ถ้ามีการหายใจที่ผิดปกติ ต้องทำ CPR และโทร 1669 เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอย่างรวดเร็ว

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ยังมีความรู้สึกตัวที่ปกติดีอยู่ ก็สามารถนำผู้ป่วยเข้ามาในที่ร่มได้ และให้ผู้ป่วยดื่มน้ำให้เยอะ ๆ และรีบลดอุณหภูมิกายโดยการใช้น้ำแข็ง หรือการใช้ cool blanket คือการใช้ผ้ายาง ใส่น้ำแข็งลงไป แล้วให้ผู้ป่วยนอนอยู่ในตรงนั้น ถ้ามีพัดลม สามารถเปิดพัดลมได้

ถ้าใช้เป็นผ้าชุบน้ำ ในคนไข้ที่เป็นโรคกลุ่มฮีทสโตรก มักจะไม่ค่อยได้ผล แต่สามารถใช้ได้ โดยการเช็ดตัวให้เช็ดตัวเหมือนผู้ป่วยที่เป็นไข้ คือเช็ดสวนขึ้นมาเข้าทางหัวใจ เช็ดทางเดียว และเปิดพัดลม

การป้องกัน

การดูแลตัวเองในหน้าร้อน คืออย่าไปอยู่กลางแจ้งให้นานเกินไป ถ้ามีร่มก็สามารถใช้ร่มได้ ดื่มน้ำให้มาก ๆ ทานน้ำแข็ง ทานไอศกรีม  หรือถ้าอยู่ในบ้าน พยายามเปิดประตู หน้าต่าง อย่าอยู่ในที่อับ อย่าอยู่ในห้องปิด การอยู่ในห้องปิดจะทำให้อากาศถ่ายเทไม่ได้ แล้วเกิดความร้อนสะสม ทำให้เกิดฮีทสโตรกได้แม้อยู่ในบ้าน

ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว อย่าออกไปอยู่กลางแดดนานเกินไป ถ้าจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องออกไปอยู่กลางแจ้ง แนะนำว่าเราต้องหาเวลาเข้ามาอยู่ในที่ร่มบ้าง ถ้าเราอยู่กลางแดดนาน ๆ ก็จะเกิดฮีทสโตรกได้

สภาพอากาศของประเทศไทยช่วงนี้ร้อนมาก ซึ่งความร้อนมากถึงขนาดนี้ก็สามารถฆ่าคนให้ตายได้ แม้ไม่ค่อยพบในประเทศไทยมากนัก แต่ก็ควรที่ต้องระวังภาวะนี้ ภาวะฮีทสโตรกหรือภาวะลมแดด ซึ่งมีสาเหตุหลักมาจากความร้อนที่สูงและอบอยู่ในร่างกาย จนร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกได้ วันนี้รามาแชนแนลจะพาทุกคนมารู้จักภาวะฮีทสโตรกและวิธีรับมือภาวะนี้

 

ภาวะฮีทสโตรกคืออะไร ?

ภาวะฮีทสโตรกหรือภาวะลมแดด เกิดจากความร้อนที่สูงเกินไป ซึ่งความร้อนที่สูงเกินไปในแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะของสาเหตุ คือ

  1. ภาวะที่มีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจากการที่ร่างกายของเราและมีการเผาผลาญพลังงาน ที่สูงขึ้นจะทำให้เกิดภาวะไข้หรือว่าการที่มีความผิดปกติทางสมองทำให้ไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิในร่างกายได้
  2. มักจะเจอกันบ่อยก็ได้แก่ภาวะที่มีอุณหภูมิภายนอกสูงได้แก่ในฤดูร้อน ที่มีอุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียสขึ้นไป 
  3. สภาพแวดล้อมมีความชื้นสัมพัทธ์สูง การที่มีความชื้นสัมพัทธ์สูงจะทำให้ร่างกายของเราไม่สามารถขับเหงื่อออกมาได้ ก็จะทำให้ไม่มีทางออกของอุณหภูมิส่งผลให้ให้ความร้อนในร่างกายสูงขึ้น 

 

อาการที่เกิดขึ้นจากความร้อน 

แบ่งออกได้หลายระดับ ตั้งแต่ปวดเมื่อยเนื้อตัวธรรมดา รู้สึกอ่อนล้า จนถึงหมดสติไม่รู้สึกตัว เป็นอาการปกติไม่รู้สึกตัวจากความร้อน ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดภาวะฮีทสโตรก ถ้าผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะทำให้มีการเสียชีวิตได้ 

 

บุคคลกลุ่มไหนที่เสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรก ? 

  1. กลุ่มคนที่ทำงานกลางแจ้งที่สัมผัสกับอุณหภูมิที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 
  2. คนสูงอายุหรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเอง เนื่องจากถ้าบุคคลเหล่านี้อยู่ในห้องที่ปิดตาย ไม่มีอากาศที่ไทยไม่มีลมพัดพาความร้อนไปได้ จะทำให้ต้องอยู่กับอุณหภูมิที่สูงเป็นเวลานานสุดท้ายก็จะทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อไปได้แล้วก็จะเกิดเป็นภาวะฮีทสโตรก
  3. นักกีฬา เช่น การวิ่งมาราธอนต่าง ๆ ที่จะต้องสัมผัสอากาศที่ร้อนหรือความชื้นที่สูงทำให้ไม่สามารถขับเหงื่อได้ ก็จะทำให้เกิดภาวะที่จะเสี่ยงต่อภาวะฮีทสโตรกมากขึ้นกว่าบุคคลอื่น 
  4. คนที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันเลือด ที่ต้องทานยาขับปัสสาวะ
  5. คนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นตัวปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดภาวะฮีทสโตรกได้มากกว่าคนปกติทั่วไป 

การดูแลและป้องกันภาวะฮีทสโตรก

  1. ดื่มน้ำปริมาณมากกว่าปกติ ประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน 
  2. การหลีกเลี่ยงน่าจะอยู่ที่การแจ้งว่าอยู่ในที่ปิด
  3. ถ้าจำเป็นที่จะต้องอยู่บ้านในระยะเวลานาน ๆ ควรที่จะเปิดหน้าต่างเปิดแอร์

 

หากเจอผู้ป่วยที่มีอาการฮีทสโตรกต้องแบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ผู้ป่วยที่หมดสติและไม่หายใจให้ โทร 1669 หน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อเข้ารักษาผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว และทำการ CPR ผู้ป่วย ณ บริเวณนั้น แต่ถ้าผู้ป่วยยังสามารถหายใจได้ให้นำผู้ป่วยเข้าที่ร่มและคลายเสื้อผ้าของผู้ป่วยออก ร่วมกับการเช็ตตัวด้วยผ้าเย็น หรือใช้การฉีดสเปรย์เพื่อระบายความร้อน ร่วมกับการเปิดพัดลมได้