วันพืชมงคลตรงกับวันที่เท่าไร

วันพืชมงคลตรงกับวันที่เท่าไร

พระราชพิธีพืชมงคล คืออะไร? การทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืช อาทิ ข้าวเปลือกจ้าว, ข้าวเหนียว, ข้างฟ่าง, ข้าวโพด, ถั่ว, งา, เผือก, มัน ตามความเชื่อว่าเมล็ดพันธุ์เหล่านั้นจะปราศจากโรคภัย ให้ความอุดมสมบูรณ์ เจริญงอกงามดี

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ คืออะไร? พิธีไถนาหว่านเมล็ดข้าว เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่าฤดูกาลแห่งการเพาะปลูกได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และยังเป็นสิริมงคล สร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกร

นอกจากนี้จะมีพิธีพยากรณ์ "พระโคเสี่ยงทาย" ให้เลือกกินอาหาร 7 อย่าง คือ ข้าวเปลือก, ข้าวโพด, ถั่วเขียว, งา, เหล้า, น้ำ, หญ้า มีความหมาย ดังนี้

  • กินข้าว,ข้าวโพด : ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
  • กินถั่ว,งา : ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • กินน้ำ,หญ้า : น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์
  • กินเหล้า : การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

Cr. เนื้อหา กรุงเทพธุรกิจ

แรงงาน

10 พ.ค. 2565 เวลา 21:45 น.6.9k

"วันพืชมงคล 2565" ปีนี้ตรงกับวันที่ 13 พ.ค. 65 (แต่ละปีจะไม่ตรงกัน) ชวนคนไทยรู้จักขั้นตอนต่างๆ ใน "พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" พร้อมมาตรการป้องกันโควิดที่ปีนี้ประกาศลดจำนวนผู้เข้าร่วมลง 50%

หลังจากงดจัดงานไปหลายปี ล่าสุดปีนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เตรียมพร้อมจัดงาน "วันพืชมงคล 2565" และ "พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ภายในงานอย่างเคร่งครัด

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ชวนส่องประวัติที่มา ความสำคัญ และขั้นตอนต่างๆ ใน "พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" ที่คนไทยควรรู้ โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร ผู้เป็นกำลังสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหารและระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

  • ชมภาพ ในหลวง ทรงเจิมพระยาแรกนา-เทพีในการพระราชพิธีพืชมงคล พุทธศักราช 2565
  • ในหลวง ราชินี เสด็จฯ ไปในการพระราชพิธีพืชมงคล พุทธศักราช 2565
  • "กรมการข้าว" เตรียมแจก 6 พันธุ์ข้าวพระราชทาน เนื่องใน "วันพืชมงคล 2565"
  • เปิดประวัติ "วันพืชมงคล" การเสี่ยงทายและคำทำนาย
  • "วันพืชมงคล" เป็น "วันหยุดราชการ" ไหม?

1. เปิดประวัติ "วันพืชมงคล" เริ่มต้นในสมัยสุโขทัย

"พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ" มีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยในสมัยนั้นพระมหากษัตริย์จะทรงเสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพระราชพิธฯ

วันพืชมงคลตรงกับวันที่เท่าไร

ต่อมาสมัยกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์ไม่ได้เสด็จฯ มาแต่จะทรงจำศีลเงียบ 3 วัน และมอบอาญาสิทธิ์ให้ “เจ้าพระยาจันทกุมาร” เป็นผู้แทนพระองค์

ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ผู้แรกนาได้เปลี่ยนเป็น “เจ้าพระยาพลเทพ” คู่กันกับการยืนชิงช้า ถัดมาอีกในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการเปลี่ยนกฎระเบียบ คือ ให้ถือว่าผู้ใดยืนชิงช้า ก็ให้ผู้นั้นเป็นผู้แรกนา

อีกทั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 นอกจากพิธีพราหมณ์ที่สืบต่อกันมาอยู่แล้ว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิธีทางสงฆ์เพิ่มเติม จึงกำเนิด “พระราชพิธีพืชมงคล” เริ่มต้นตั้งแต่บัดนั้นมา

2. วันพืชมงคล จัดให้มี 2 พระราชพิธีฯ

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประกอบด้วย 2 พระราชพิธีหลักๆ คือ พระราชพิธีพืชมงคล และ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ซึ่งมีความแตกต่างกันดังนี้

  • พระราชพิธีพืชมงคล : เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพันธุ์พืชต่าง ๆ อาทิ ข้าวเปลือกจ้าว, ข้าวเหนียว, ข้างฟ่าง, ข้าวโพด, ถั่ว, งา, เผือก, มัน เพื่อให้พันธุ์เหล่านั้นปราศจากโรคภัย อุดมสมบูรณ์ มีความเจริญงอกงามดี
  • พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ : เป็นพิธีเริ่มต้นไถนาหว่านเมล็ดข้าว เพื่อเป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนา ทำไร่ เพาะปลูก ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นสิริมงคล และบำรุงขวัญเกษตรกร 

3. การเสี่ยงทายผ้านุ่ง และพระโคเสี่ยงทาย

ในพระราชพิธีฯ แต่ละปี จะมีการ "พยากรณ์" ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารของปีนั้นๆ 2 ช่วง คือ ช่วงแรกพระยาแรกนาจะเสี่ยงทายจากผ้านุ่งแต่งกาย โดยเลือกหยิบจากผ้าลาย 3 ผืน คือ สี่คืบ, ห้าคืบ, หกคืบ

ช่วงที่สอง เป็นการเสี่ยงทายจากอาหารเลี้ยงพระโค 7 อย่าง คือ ข้าวเปลือก, ข้าวโพด, ถั่วเขียว, งา, เหล้า, น้ำ, หญ้า โดยผลคำทายขึ้นอยู่กับความยาวของผ้าที่สุ่มเลือก และอาหารที่พระโคเลือกกิน มีดังนี้

  • ถ้าหยิบผ้าได้สี่คืบ : น้ำจะมากสักหน่อย นาในที่ดอนจะได้ผลบริบูรณ์ดี นาในที่ลุ่มอาจจะเสียหาย ได้ผลไม่เต็มที่
  • ถ้าหยิบได้ผ้าห้าคืบ : น้ำจะมีปริมาณพอดี ข้าวกล้าในนาจะได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าหยิบได้ผ้าหกคืบ : น้ำจะน้อย นาในที่ลุ่มจะได้ผลบริบูรณ์ดี แต่นาในที่ดอนจะเสียหาย ได้ผลไม่เต็มที่
  • ถ้าพระโคกินข้าว,ข้าวโพด : ธัญญาหาร ผลาหาร จะบริบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินถั่ว,งา : ผลาหาร ภักษาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี
  • ถ้าพระโคกินน้ำ,หญ้า : น้ำท่าจะบริบูรณ์พอสมควร ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์
  • ถ้าพระโคกินเหล้า : การคมนาคมจะสะดวกขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจรุ่งเรือง

วันพืชมงคลตรงกับวันที่เท่าไร

4. ขั้นตอน "พระราชพิธีฯ แรกนาขวัญ" ปี 2565

  • วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.09 น. 

ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ทำหน้าที่ "พระยาแรกนา ประจำปี 2565" เป็นประธานใน พิธีบวงสรวงบูรพกษัตริย์ เทวดา องค์พระพิรุณทรงนาค พญานาค และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นผู้ดูแล และมีเทพีคู่หาบทอง เทพีคู่หาบเงิน ร่วมในพิธี

  • วันที่ 12 พฤษภาคม 2565

เป็นวันสวดมนต์เริ่มการ “พระราชพิธีพืชมงคล” พระราชพิธีทางสงฆ์ ประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่างๆ และถือเป็นวันเกษตรกร

  • วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เวลา 08.19 - 08.49 น.

เป็นวัน “พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ” (วันไถหว่าน) เป็นพิธีพราหมณ์ ประกอบพระราชพิธี ณ มณฑลพิธีท้องสนามหลวง 

5. มาตรการป้องกันโควิด-19 ในพระราชพิธีฯ 

สำหรับปีนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีความพร้อมในการจัดงานพระราชพิธีฯ ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยการ

  • ลดจำนวนผู้เข้าร่วมพระราชพิธีพิธีลง 50% 
  • มีการเว้นระยะห่าง
  • ตรวจคัดกรองโรคในวันงานอย่างเคร่งครัด
  • งดโปรยแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวในพระราชพิธีฯ แต่แจกผ่านการลงทะเบียนในระบบออนไลน์ (ปิดการลงทะเบียนแล้ว ณ วันที่ 8 พ.ค. 2565)
  • ขอความร่วมมือเกษตรกรและประชาชนรับชมการถ่ายทอดสดพระราชพิธีฯ ในวันที่ 13 พฤษภาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 8.00 น. เป็นต้นไป ผ่านทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย และช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดโควิด-19  

วันพืชมงคลตรงกับวันใด

ข่าวประชาสัมพันธ์.
วันพืชมงคล 13 พฤษภาคม 2565..
พิธีพืชมงคล เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เผือก มัน เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัย และให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี.

วันพืชมงคล 2564 ตรงกับวันที่เท่าไร

วันพืชมงคล วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564.

วันพืชมงคลตรงกับกี่ค่ำ

วันพืชมงคล 2564 ปีนี้ ตรงกับ วัน10 พ.ค. ตรงกับ แรม 14 ค่ำ เดือน 6 วันพืชมงคล คือ วันที่กำหนดให้มีพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ นับว่าเป็นพระราชพิธีที่มีความเก่าแก่สืบต่อมาตั้งแต่โบราณเพื่อเสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้กับเกษตรกรของชาติ อีกทั้งยังเป็นการระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรที่มีต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งการจัดพระราชพิธี ...

วันพืชมงคล ตรงกันทุกปีไหม

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพิธีสิริมงคล เพื่อบำรุงขวัญเกษตรกร จึงได้กำหนดวันประกอบพระราชพิธีในวันดีที่สุดของแต่ละปี โดยเลือกวันขึ้นแรมฤกษ์ยามอันเป็นอุดมฤกษ์ตามตำราโหราศาสตร์ และอยู่ในระหว่างเดือน ๖ ทางจันทรคติ พระราชพิธีนี้จึงไม่ได้กำหนดวันในแต่ละปีตามปฏิทินได้แน่นอน ตามปกติแล้ววันพระราชพิธีพืชมงคล ...