สำนวน “ชุบมือเปิบ” สะท้อนวัฒนธรรมใดของไทย

ที่มาของสำนวนไทย

1.มีที่มาจากธรรมชาติ  เป็นสำนวนที่เทียบเคียงมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตัวอย่างสำนวน  เช่น

        กาฝากหมายถึง กินอยู่กับผู้อื่นโดยไม่ได้ทำประโยชน์อะไรให้

            กินน้ำไม่เผื่อแล้หมายถึง มีอะไรเท่าไร่ใช้หมดในทันที

       ใจเป็นปลาซิว หมายถึง ใช้เปรียบเทียบกับคนที่ขี้ขลาด ขี้กลัว

2.ที่มาจากวัฒนธรรมการดำรงชีวิต  เช่น  ปัจจัยสี่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัย  พาหนะ  เป็นต้น  ตัวอย่างสำนวน เช่น

          ก้นหม้อไม่ทันดำหมายถึงอยู่กินกันฉันสามีภรรยาไม่นานก็ทะเลาะวิวาทหรือหย่าร้างกัน

        ชุบมือเปิบหมายถึง การฉวยโอกาส เอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตน โดยที่ตนเองไม่ได้ลงทุนลงแรง หรือมีส่วนรวม     

 3. ที่มาจากวัฒนธรรมทางสังคม ช่น  การกระทำ การทำมาหากิน การศึกษาประเพณี การละเล่น การเมืองการปกครอง  เป็นต้น  ตัวอย่างสำนวน  เช่นใดๆเลย

          ทํานาบนหลังคน  หมายถึงคนทีคิดหาผลกําไรหรือหาผลประโยชน์ใส่ตน ด้วยวิธีเบียดเบียนหรือรีดนาทาเร้นเอาจากน้ำพักน้ำแรงของผู้อื่น โดยขาดความเมตตา 

          คนตายขายคนเป็น หมายถึง คนที่ตายไปแล้ว แต่มีภาระหนี้สินมากทำให้ญาติพี่น้องหรือคนรอบข้างที่เกี่ยวข้อง ต้องเดือดร้อน รับผิดชอบชดใช้หนี้สินแทน 

    4. ที่มาจากวัฒนธรรมทางจิตใจเช่น  ทางศาสนาและความเชื่อ เป็นต้น  ตัวอย่างสำนวนไทย เช่น

         ขนทรายเข้าวัดหมายถึง การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม และปัจจุบันยังหมายถึงประเพณีไทยชนิดหนึ่งอีกด้วย

         บุญทำกรรมแต่ง หมายถึง บุญหรือบาปที่เคยกระทำไว้ในชาติปางก่อน มาส่งผลในชาตินี้ ซึ่งทำให้ให้แต่ละคน มีรูปร่างหน้าตา สวย หล่อ หรือมีชีวิตที่ดี ชั่ว แตกต่างกัน 

    5.ที่มาจากวัฒนธรรมทางศิลปะช่น  การแสดง  ดนตรี  เป็นต้น ตัวอย่างสำนวนไทย เช่น

         ประสมโรงหมายถึง พลอยเป็นตามไปด้วย

       ชักใย หมายถึง บงการอยู่เบื้องหลัง

    6.สำนวนที่มาจากวัฒนธรรมทางภาษา  วรรณคดี  ตำนาน  นิทาน  ประวัติศาสตร์ เป็นต้น ตัวอย่างสำนวนไทย  เช่น

            งอมพระรามหมายถึง มีความทุกข์ยากลำบากเต็มที่ ถูกกระทำอย่างหนักหน่วง

       ชักแม่น้ำทั้งห้า หมายความว่า พูดจาหว่านล้อมหาเหตุผลต่างๆนาๆ ให้ผู้ฟังเชื่อคำพูดเพื่อให้ได้ในสิ่งที่ต้องการ

ชุบมือเปิบ (๒ กันยายน ๒๕๕๐)

ชุบมือเปิบ

          คำว่า เปิบ มีความหมายว่า ใช้ปลายนิ้วหยิบข้าวเข้าปากตนเอง ก่อนเปิบข้าว ต้องเอามือชุบน้ำให้เปียก เป็นการทำให้มือสะอาดก่อนหยิบข้าว และเพื่อไม่ให้ข้าวติดมือเวลาเปิบข้าวเข้าปากด้วย

          คนที่พอมาถึงก็ลงนั่งชุบมือเปิบข้าวกิน โดยไม่ยอมมีส่วนในการหาอาหาร ประกอบอาหาร หรือตั้งสำรับอาหาร เป็นคนที่เอาเปรียบคนอื่น

          สำนวน ชุบมือเปิบ ใช้ตำหนิคนที่ฉวยโอกาสเอาประโยชน์หรือผลสำเร็จที่คนอื่นทำไว้มาเป็นของตน หรือขอมีส่วนร่วมในผลสำเร็จนั้นโดยที่ตนไม่ได้ช่วยลงแรงด้วย เช่น โครงการนี้ที่จริงเราก็ช่วยกันคิด อยู่ ๆ เขาก็ชุบมือเปิบเอาไปเสนอหัวหน้าว่าเป็นความคิดของเขา.    รายงานชิ้นนี้เรา ๒ คนช่วยกันทำ พอทำเสร็จเขาก็จะมาขอลงชื่อว่าได้ร่วมทำงานด้วย อย่างนี้เรียกว่า ชุบมือเปิบ.

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.