สิ่งใดที่ถือว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Show

สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นปัญหาที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยเป้นหนึ่งในกลุ่มประเทศแรกที่ลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติใน ค.ศ. 1948 และดูเหมือนมีความมุ่งมั่นที่จะรักษาข้อกำหนด อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ผู้มีอำนาจมักละเมิดสิทธิมนุษยชนของชาติไทยด้วยการลอยนวลพ้นผิด[1][2] ตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ถึง 1988 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (AI) รายงานว่ามีการกลบเกลื่อนคดีฉาวโฉ่เกี่ยวกับการกักขังตามอำเภอใจมากกว่าหนึ่งพันราย การบังคับบุคคลให้สูญหาย 50 ครั้ง และการทรมานและการวิสามัญฆาตกรรมอย่างน้อย 100 ครั้ง นับตั้งแต่ปีนั้น ทาง AI แสดงให้เห็นว่าแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย และสถิติสิทธิมนุษยชนของไทยโดยรวมยังคงเป็นปัญหา[3]:358-361 รายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ใน ค.ศ. 2019 ขยายภาพรวมของ AI ที่เน้นเฉพาะกรณีของประเทศไทย เนื่องจากรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่งช่วงกลาง ค.ศ. 2019 สถิติสิทธิมนุษยชนของไทยยังคงไม่มีสัญญาณการเปลี่ยนแปลง[4][5]:7-8

การรับรองในกฎหมาย[แก้]

สนธิสัญญานานาชาติ[แก้]

ใน ค.ศ. 1948 ประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มชาติแรกที่ลงนามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ[6] โดยทำตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองในเรื่องเสรีภาพ สิทธิทางการเมือง และเสรีภาพพลเมืองตั้งแต่ ค.ศ. 1997

โครงสร้างการคุ้มครองทางกฎหมายในประเทศ[แก้]

มีการริเริ่มสิทธิใหม่ ๆ ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ซึ่งรวมถึงสิทธิในการเข้าถึงการศึกษาแบบให้เปล่า สิทธิในชุมชนท้องถิ่น และสิทธิในการต่อต้านโดยสันติซึ่งการกระทำใด ๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ สิทธิเด็ก คนชรา ผู้พิการ และความเสมอภาคทางเพศ เสรีภาพของสารสนเทศ สิทธิในสาธารณสุข การศึกษาและสิทธิผู้บริโภคก็ได้รับการรับรองเช่นกัน รวมแล้ว มีสิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รับรอง 40 สิทธิ เปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ที่รับรองเพียง 9 สิทธิ[7]

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2560) ซึ่งร่างขึ้นโดย องค์กรซึ่งได้รับแต่งตั้งจากคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองขณะนั้น ระบุไว้ในมาตรา 4 ว่า "ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง"[8] มาตรา 25 ถึง 49 ได้บรรยายขอบเขตของสิทธิเฉพาะในบางด้าน เช่น ความยุติธรรมทางอาญา การศึกษา การไม่เลือกปฏิบัติ ศาสนา และเสรีภาพในการแสดงออก การก้าวก่ายชีวิตส่วนตัว ข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัว โดยจำนวนมาตรา ในเรื่องสิทธิลดลง 14 มาตรา เมื่อเทียบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันกำหนดสิทธิต่าง ๆ โดยให้อยู่ในหมวด 3 และไม่มีส่วนของสิทธิ ซึ่งแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่กำหนดให้มีส่วนของสิทธิแบ่งเป็น 9 ส่วน บททั่วไป ความเสมอภาค สิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคล สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน สิทธิเสรีภาพในการศึกษา สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ

การจัดอันดับสิทธิและเสรีภาพขององค์การนอกภาครัฐ[แก้]

ใน ค.ศ. 2020 รายงานสำรวจรายปีของฟรีดอมอินเดอะเวิลด์และรายงานฟรีดอมเฮาส์ของสหรัฐ ซึ่งมีหน้าที่พยายามวัดระดับประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองในทุกประเทศ ปรับปรุงอันดับประเทศไทยจากไม่เสรีเป็นเสรีบางส่วน เนื่องจากข้อจำกัดในการชุมนุมลดลงเล็กน้อยและควบคุมการเลือกตั้งอย่างเข้มงวดได้ยุติช่วงเวลาคณะผู้ยึดอำนาจการปกครองโดยตรง แม้จะพบข้อบกพร่องที่สำคัญก็ตาม[9] อย่างไรก็ตาม มีการปรับจากเสรีบางส่วนเป็นไม่เสรีอีกครั้งจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ พรรคฝ่ายค้านที่เป็นที่นิยมในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2019 และรัฐบาลที่ปกครองโดยทหาร นำโดยนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา การปราบปรามผู้เรียกร้องการปฏิรูปประชาธิปไตยในการประท้วงในประเทศไทย ค.ศ. 2020–2021[10] ใน ค.ศ. 2021 พระมหากษัตริย์และรัฐบาลเผด็จการทำให้เสรีภาพพลเมืองแย่ลงด้วยการใช้กฎหมายความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างรุนแรงต่อผู้ประท้วง ระบบความยุติธรรมที่ไม่น่าไว้วางใจ จำกัดเสรีภาพในการพูด และไม่มีเสรีภาพในการสมาคม[11] ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชันก็แย่ลงจากอันดับ 36 ไปเป็น 35 ซึ่งอยู่ในประเทศที่ 110 จาก 180 ประเทศ[12]

อันดับของประเทศไทยโดยฟรีดอมเฮาส์, หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ และองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
ปี ฟรีดอมเฮาส์ หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์องค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ
อันดับในรายงาน ฟรีดอมอินเดอะเวิลด์ ดัชนีประชาธิปไตย[note 1]ดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชัน[note 2]
อันดับเสรีภาพ[note 3]
เสรี, เสรีบางส่วน, ไม่เสรี
สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
เสรีภาพของพลเมือง
ดัชนีประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยสมบูรณ์, ประชาธิปไตยบกพร่อง, กึ่งอำนาจนิยม, อำนาจนิยม
คะแนนโดยรวม การรับรู้ความทุจริต
ทางการเมือง
2019[16] เสรีบางส่วน 6 / 40 26 / 60 ประชาธิปไตยบกพร่อง 6.32 36
2020 ไม่เสรี 5 / 40 25 / 60 ประชาธิปไตยบกพร่อง 6.04 36
2021 ไม่เสรี 5 / 40 24 / 60 ประชาธิปไตยบกพร่อง 6.04 35

การละเมิดสิทธิมนุษยชน[แก้]

ในรายงานของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลไทยเป็นต้นเหตุของการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายกรณี โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนใต้ ในสงครามปราบปรามยาเสพติด ในการจับและจองจำผู้ต้องหา ในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังในเรือนจำ และในการจำกัดเสรีภาพการแสดงออก ในบางครั้งเจ้าหน้าที่ที่กระทำผิดอาจถูกจับและลงโทษหรือปลดออก แต่สิทธิการได้รับยกเว้นโทษตามกฎอัยการศึก พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้เจ้าหน้าที่ไม่ถูกลงโทษตามสมควร ส่วนการละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยคนทั่วไปและอาชญากร ได้แก่ การค้ามนุษย์ การบังคับค้าบริการทางเพศ การเลือกปฏิบัติ โดยผู้ถูกละเมิด ได้แก่ ผู้ลี้ภัย แรงงานต่างชาติ แรงงานเด็ก สตรี กลุ่มชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ[17]

การค้ามนุษย์[แก้]

การค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย ซึ่งมีทั้งการล่อลวงและการลักพาชายจากกัมพูชาโดยนักค้ามนุษย์และขายให้แก่เรือประมงผิดกฎหมายซึ่งจับปลาในอ่าวไทยและทะเลจีนใต้ ชายเหล่านี้ได้รับสัญญาว่าจะได้ทำงานที่มีรายได้ดีกว่า แต่กลับถูกบังคับให้ทำงานเป็นทาสบนเรือนานถึง 3 ปี[18] การค้าเด็กก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่สำคัญในประเทศไทยเช่นกัน โดยการบังคับให้เด็กที่ถูกลักพาซึ่งมีอาจมีอายุน้อยเพียง 4 ปีเป็นทาสเพื่อบริการทางเพศในนครใหญ่อย่างกรุงเทพมหานครและภูเก็ต กิจกรรมดังกล่าวแพร่กระจายมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบทของประเทศ[19] อย่างไรก็ตามในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการพัฒนาสิทธิมนุษยชนด้านการประมง โดยคณะกรรมาธิการยุโรปได้ให้ใบเขียวแก่ประเทศไทย เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม[20]

สิทธิทางการเมือง[แก้]

หลังการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 ประชาชนถูกลิดรอนเสรีภาพในการแสดงออกและเดินทางอย่างรุนแรง มีบุคคลหนีคำสั่งเรียกให้มารายงานตัวและหมายจับของศาลทหารไปต่างประเทศหลายคน กองทัพสั่งห้ามการชุมนุมทางการเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมือง พระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เป็นกฎหมายการชุมนุมฉบับใหม่ที่ออกมาหลังรัฐประหาร และมีเนื้อหาละเมิดสิทธิในการชุมนุมอย่างชัดเจน[21]

ในการประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เพื่อจำกัดการชุมนุม ทั้งที่ก่อนหน้านี้อ้างว่าใช้เพื่อควบคุมการระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศเท่านั้น[22]

เสรีภาพสื่อ[แก้]

พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAPA) หมายเหตุว่า สภาพแวดล้อมด้านสื่อของประเทศไทยก่อนเกิดรัฐประหารถือว่าเป็นสื่อที่เสรีและมีชีวิตชีวาที่สุดประเทศหนึ่งในเอเชีย แต่เสื่อมลงอย่างรวดเร็วหลังการยึดอำนาจของฝ่ายทหาร พันธมิตรสื่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชี้ว่า มีการปิดสถานีวิทยุชุมชนราว 300 แห่งทั่วประเทศ การสกัดกั้นช่องข่าวเคเบิลเป็นระยะ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อปรากฏข่าวเกี่ยวกับทักษิณ ชินวัตร หรือวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์) และการระงับเว็บไซต์ไทยบางเว็บที่อภิปรายถึงการเข้าแทรกแซงประชาธิปไตยไทยของกองทัพ SEAPA ยังชี้ว่า ขณะที่ดูเหมือนจะไม่มีการปราบปรามนักหนังสือพิมพ์ และผู้สื่อข่าวทั้งต่างชาติและชาวไทยเหมือนจะมีอิสระที่จะสัญจร สัมภาษณ์ และรายงานรัฐประหารตามที่เห็นสมควร แต่การเซ็นเซอร์ตัวเองยังเป็นปัญหาอยู่ในห้องข่าวของไทย สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ยังได้ออกกฎหมาย พระราชบัญญัติ การชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 เพื่อควบคุมการชุมนุม ในปี พ.ศ. 2560 เอกชัย หงส์กังวาน ได้แสดงความจำนงผ่านเว็บไซด์เฟซบุ๊คว่าเขาจะใส่เสื้อสีแดง ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ซึ่งตรงกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ถูกควบคุมตัว[23] ในปี พ.ศ. 2561 รัฐบาลประสบความสำเร็จในการห้ามการวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ประชาชนชาวไทยส่วนหนึ่งแม้ไม่เห็นด้วยต่อสถาบันกษัตริย์แต่สื่อมวลชนในประเทศไทยเลือกที่จะไม่รายงานข่าวมากกว่ารายงานข่าวที่เป็น ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์อาทิทรงประทับอยู่ที่ต่างประเทศมากกว่าอยู่ภายในประเทศ นับตั้งแต่ทรงขึ้นครองราชย์[ต้องการอ้างอิง]

การใช้กำลังเกินกว่าเหตุของกำลังความมั่นคง[แก้]

สงครามยาเสพติดของรัฐบาลเมื่อ พ.ศ. 2546 เป็นเหตุให้มีวิสามัญฆาตกรรมกว่า 2,500 คน ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ค้ายาเสพติด[24] สภาพเรือนจำและศูนย์กักกันผู้อพยพประจำจังหวัดบางแห่งมีคุณภาพไม่ดี ใน พ.ศ. 2547 กว่า 1,600 คนเสียชีวิตในเรือนจำหรือในการควบคุมตัวของตำรวจ ในจำนวนนี้ 131 คน เสียชีวิตเพราะการกระทำของตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจทหารในภาคเหนืออาทิที่จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดเชียงราย ยังทำการวิสามัญฆาตกรรม คนร้ายที่ทำการขนส่งยาเสพติดมากกว่า 30 คน[ต้องการอ้างอิง]

มีการรายงานปัญหาต่าง ๆ ในจังหวัดภาคใต้ เกี่ยวกับความไม่สงบในภาคใต้ของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ได้รับความสนใจมาก ทนายความสิทธิมนุษยชนมุสลิม สมชาย นีละไพจิตร มีรายงานว่าถูกก่อกวน ขู่ จนหายสาบสูญโดยถูกบังคับไปในท้ายที่สุด เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2547 หลังเขากล่าวหาว่าถูกทรมานโดยกำลังความมั่นคงของรัฐ[25] ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2547 ได้เกิดเหตุการณ์ทั่ว 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีผู้เสียชีวิตรวม 113 ศพ แบ่งเป็นประชาชนในพื้นที่หรือผู้ก่อความไม่สงบ 108 ศพ ทหารตำรวจ 5 ศพ ท่ามกลางการประกาศกฎอัยการศึกของกองทัพ แม้ว่าผู้เสียชีวิตทั้ง 108 รายเป็นผู้ก่อการไม่สงบแต่เจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารได้สังหารพวกเขาในวันดังกล่าว[ต้องการอ้างอิง]

ใน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร กล่าวว่า เขาเชื่อว่า สมชาย นีละไพจิตร เสียชีวิต และกำลังความมั่นคงของรัฐดูเหมือนจะมีส่วนรับผิดชอบ[26] จนสุดท้ายมีตำรวจถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการเสียชีวิตของสมชาย นีละไพจิตร 5 นาย แม้ว่าการไต่สวนจะจบด้วยการพิพากษาลงโทษ 1 คน ซึ่งมีการกลับคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[27] คำตัดสินดังกล่าวถูกคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชนเอเชียประณาม[28] และอังคณา นีละไพจิตร ภรรยาของสมชาย ประกาศเจตนาของเธอว่าจะอุทธรณ์คดีต่อไปถึงชั้นฎีกา[27] ต่อมาในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ศาลฎีกาได้พิพากษา ยกฟ้อง[29]

สิทธิของผู้ต้องหา[แก้]

ผู้ต้องหาคดีความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ไทยเผชิญกับอุปสรรคในการขอประกันตัวก่อนการพิจารณาคดี ทำให้หลายคนถูกคุมขังเป็นเวลาหลายเดือนก่อนมีการพิจารณาคดี[30] มีผู้ต้องขังเสียชีวิตในการคุมขัง ทั้งแขวนคอตัวเอง และอีกคนผลชันสูตรพลิกศพแจ้งว่าติดเชื้อในกระแสเลือด เช่น สุริยัน สุจริตพลวงศ์ (หมอหยอง)[31] ผู้ต้องขังในคดีนี้มักพบเห็นว่าเดินเท้าเปล่าและมีโซ่ล่ามข้อเท้าเมื่อนำตัวมาศาล[32]

สิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ[แก้]

ประเทศไทยขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศที่อดกลั้นและเป็นมิตรต่อกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศมากที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย[33] โดยที่กิจกรรมทางเพศของเพศเดียวกันนั้นชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ พ.ศ. 2500[34] รัฐบาลไทยยังส่งเสริมให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติท่องเที่ยวในประเทศไทยเพราะเป็นประเทศที่ต้อนรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างดี[35] ทว่า การเลือกปฏิบัติและการดูถูกเหยียดหยามกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศก็ยังปรากฏอยู่กว้างขวางในสังคมไทย[36]

การปฏิบัติต่อทหารเกณฑ์[แก้]

องค์การนิรโทษกรรมสากลออกรายงานในปี 2562 อ้างอดีตทหารเกณฑ์ชาวไทย ระบุว่า ในกองทัพไทยมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนทหารเกณฑ์หลายกรณีเป็นเรื่องปกติ เช่น การธำรงวินัยด้วยการทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธ การล่วงละเมิดทางเพศ การลงโทษที่ดูหมิ่นศักดิ์ศรี รวมทั้งการข่มขืนกระทำชำเราทหารที่เป็นเกย์[37] และในเดือนมีนาคม 2563 กล่าวหาว่าทหารเกณฑ์ของไทยเผชิญกับการละเมิดอย่างเป็นสถาบันแต่ถูกทางการทหารปิดปากอย่างเป็นระบบ[38]

หมายเหตุ[แก้]

  1. จากอันดับหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ใน ค.ศ. 2010[13] ประชาธิปไตยสมบูรณ์มีคะแนนโดยรวมที่ 10 ถึง 8 ประชาธิปไตยบกพร่องมีคะแนนโดยรวมที่ 7.9 ถึง 6 กึ่งอำนาจนิยมมีคะแนนโดยรวมที่ 5.9 ถึง 4 และอำนาจนิยมมีคะแนนโดยรวมที่ 3.9 ถึง 1 ยิ่งคะแนนมากขึ้นเท่าใด มีความเป็นประชาธิปไตยจึงมากขึ้นเท่านั้น
  2. ตามดัชนีการรับรู้การทุจริตระหว่างประเทศเพื่อความโปร่งใสรายปี[14] ขอบเขตคะแนนตั้งแต่ 100 (ทุจริตน้อย) ถึง 0 (ทุจริตมาก)
  3. จากการจัดอันดับของฟรีดอมเฮาส์ใน ค.ศ. 2021[15]

อ้างอิง[แก้]

  1. Fenn, Mark (22 January 2015). "Thailand's Culture of Impunity". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
  2. "Culture of impunity and the Thai ruling class: Interview with Puangthong Pawakapan". Prachatai English. 3 October 2016. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
  3. Amnesty International Report 2017/18; The State of the World's Human Rights (PDF). London: Amnesty International. 2018. ISBN 9780862104993. สืบค้นเมื่อ 24 November 2018.
  4. McDonald, Taylor (25 July 2019). "Thailand fails to address rights abuse: HRW". ASEAN Economist. สืบค้นเมื่อ 25 July 2019.
  5. To Speak Out is Dangerous; Criminalization of Peaceful Expression in Thailand (PDF). New York: Human Rights Watch. October 2019. ISBN 9781623137724. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
  6. "Human Rights: UDHR: Universal Declaration of Human Rights". Concordian International School. สืบค้นเมื่อ 2018-11-24.
  7. Thanet Aphornsuvan, The Search for Order: Constitutions and Human Rights in Thai Political History เก็บถาวร 2008-02-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 2001 Symposium: Constitutions and Human Rights in a Global Age: An Asia Pacific perspective
  8. "Draft Constitution of the Kingdom of Thailand 2016 Unofficial English Translation" (PDF). Office of the United Nations Resident Coordinator in Thailand. United Nations. June 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-08-16. สืบค้นเมื่อ 29 September 2016.
  9. "Thailand: Freedom in the World 2020 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
  10. "Thailand: Freedom in the World 2021 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
  11. "Thailand: Freedom in the World 2022 Country Report". Freedom House (ภาษาอังกฤษ).
  12. "2021 Corruption Perceptions Index - Explore the results". Transparency.org (ภาษาอังกฤษ).
  13. "Democracy Index 2010" (PDF). 2010. สืบค้นเมื่อ 2 December 2010.
  14. "Corruption Perceptions Index 2020". Transparency International.
  15. "Freedom in the World Research Methodology". Freedom House (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 28 November 2021.
  16. "Democracy Index 2020: In sickness and in health?". EIU.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2021.
  17. Country Reports on Human Rights Practices for 2015
  18. "Forced to Fish: Cambodia's sea slaves". The Guardian Weekly, Jan. 30, 2009.
  19. " New York Review", 25 June 2008
  20. ไทยเฮ! อียูปลดใบเหลืองแล้ว หลังไทยแก้ปัญหาประมงตามหลักสากล
  21. "รายงานหน้า2 : พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ กับปัญหาสิทธิเสรีภาพ". มติชนออนไลน์. 22 November 2020. สืบค้นเมื่อ 5 June 2021.
  22. "ครบ 1 ปี ใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมโควิด-19 ควรไปต่อหรือพอแค่นี้". BBC ไทย. สืบค้นเมื่อ 7 April 2021.
  23. 'เอกชัย' ถูกทหารเชิญ 'ไปเที่ยวกาญจนบุรี' หลังโพสต์เฟซบุ๊กจะใส่เสื้อแดงวันที่ 26
  24. ดู:
    • "Thailand War on Drugs Turns Murderous, 600 Killed This Month -- Human Rights Groups Denounce Death Squads, Executions". Drug War Chronicle, Feb. 21, 2003.
    • "A Wave of Drug Killings Is Linked to Thai Police". By Seth Mydans. April 8, 2003. New York Times. [1] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    • Amnesty International report: Thailand: Grave developments - Killings and other abuses เก็บถาวร 2011-07-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
    • Human Rights Watch. Detailed report: Thailand: Not Enough Graves: IV. Human Rights Abuses and the War on Drugs
    • Matthew Z Wheeler. "From Marketplace to Battlefield: Counting the Costs of Thailand's Drug War." [2] เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน [3] [4] เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. May 28, 2003. ICWA Letters เก็บถาวร 2013-10-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Institute of Current World Affairs.
    • "Thailand: Not Smiling on Rights" เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. July 18, 2005. Asian Centre for Human Rights. See page 24, the section called "Killings in the war against drugs".
    • "US-Thailand's 'License To Kill'. 2274 Extra-Judicial Killings In 90 Days". The Akha Journal of the Golden Triangle. By Matthew McDaniel. Vol. 1. No. 2. October 2003. Relevant section of journal 2: 2p6.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Cover and first part of journal 2: 2p1.pdf เก็บถาวร 2016-03-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Link list for all parts of the journals เก็บถาวร 2016-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
    • Timeline of Thailand's "War on Drugs". July 7, 2004. Human Rights Watch.
    • "Letter from Asia; She Tilts Against Power, but Don't Call Her Quixotic." By Jane Perlez. July 7, 2004. New York Times.
    • Thailand 2003. Extrajudicial drug-war killings of innocent people. Photo gallery. Press/media links, and human rights reports.
    • "Institutionalised torture, extrajudicial killings & uneven application of law in Thailand" เก็บถาวร 2012-05-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. April 2005. See Annex 5 for a "Partial list of persons reported killed during the 'war on drugs' (revised)." Asian Legal Resource Centre. From Vol. 04 - No. 02: "Special Report: Rule of Law vs. Rule of Lords in Thailand" เก็บถาวร 2007-09-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
    • Bangkok Post, August 3, 2007. "Kanit to chair extrajudicial killings probe" เก็บถาวร 2007-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน.
    • "Most of those killed in war on drug not involved in drug". November 27, 2007. The Nation (an English-language newspaper in Thailand). [5] เก็บถาวร 2012-09-11 ที่ archive.today
    • "Southeast Asia: Most Killed in Thailand's 2003 Drug War Not Involved With Drugs, Panel Finds". November 30, 2007. Drug War Chronicle.
    • "Thailand's drug wars. Back on the offensive". January 24, 2008. The Economist.
  25. "Missing Thai lawyer 'harassed'". BBC News. 9 August 2005. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  26. "Missing Thai lawyer 'harassed'". BBC News. 13 January 2006. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  27. ↑ 27.0 27.1 "Policeman acquitted in Somchai case". Bangkok Post. 12 March 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  28. "THAILAND: Verdict on Somchai's case--his wife, daughter could not be plaintiffs; not enough evidence to convict accused". Asian Human Rights Commission. 17 March 2011. สืบค้นเมื่อ 24 April 2011.
  29. "ศาลฎีกายกฟ้อง 5 ตำรวจ คดีอุ้มทนายสมชายปี47". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
  30. World Report 2014: ประเทศไทย. Human Rights Watch.
  31. รมว.ยธ. แถลง'หมอหยอง'เสียชีวิตแล้ว ติดเชื้อในกระแสเลือด
  32. The Draconian Legal Weapon Being Used to Silence Thai Dissent. Time.
  33. Top gay-friendly destinations เก็บถาวร 2015-02-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Lonely Planet
  34. Assessment of sexual health needs of males who have sex with males in Laos and Thailand หมายเหตุ: ในรายงานได้ระบุว่าโทษผิดธรรมดามนุษย์ (Offences against the human order) ที่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญาฯ นั้นได้ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) แต่ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 ซึ่งเป็นกฎหมายแทนที่กฎหมายลักษณะอาญาฯ เริ่มมีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2500 (ค.ศ. 1957) เป็นต้นไป
  35. "Go Thai. Be Free". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-19. สืบค้นเมื่อ 2019-04-06.
  36. Rising LGBT discrimination challenges Thailand’s culture of tolerance Asian Correspondent
  37. ""เราก็แค่ของเล่นของพวกเขา" เปิดรายงานการล่วงละเมิดทหารเกณฑ์ในไทย". BBC ไทย. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 27 March 2021.
  38. "Weeks after Korat massacre, Amnesty report describes conscript abuses". Bangkok Post. Reuters. 23 March 2020. สืบค้นเมื่อ 23 March 2020.

บรรณานุกรม[แก้]

ข่าว[แก้]

  • Glahan, Surasak (11 October 2016). "Impunity breeds political violence" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
  • Horn, Robert (16 December 2013). "Thai politics ruled by 'culture of impunity'". Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.
  • Neelapaijit, Angkhana (12 March 2019). "Impunity remains victims' obstacle to real justice" (Opinion). Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 19 August 2019.

หนังสือ[แก้]

  • Haberkorn, Tyrell (23 July 2019). In Plain Sight: Impunity and Human Rights in Thailand. University of Wisconsin Press. ISBN 978-0-299-31444-6.
  • Muntarbhorn, Vitit (7 October 2016). The Core Human Rights Treaties and Thailand (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-04-32667-5.
  • Selby, Don (May 2018). Human Rights in Thailand (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. ISBN 978-0-8122-5022-0.
  • Sorajjakool, Siroj (15 October 2013). Human Trafficking in Thailand: Current Issues, Trends, and the Role of the Thai Government. Silkworm Books. ISBN 978-1-63102-194-7.
  • Streckfuss, David (13 September 2010). Truth on Trial in Thailand: Defamation, Treason, and Lèse-Majesté. Routledge. ISBN 978-1-136-94203-7.
  • "Thailand". Human RIghts in Asia-Pacific: Review of 2019 (PDF). London: Amnesty International. 2020. pp. 62–64. สืบค้นเมื่อ 31 January 2020.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • Freedom of expression in Thailand - IFEX
  • Asian Human Rights Commission - Thailand homepage
  • Rule of Lords Weekly column on human rights & the rule of law in Thailand and Burma
  • Royal Thai Police catalogue or torture and murder
  • Thailand 2003. Extrajudicial drug-war killings of innocent people. December 6, 2009. Photo gallery. Press/media links, and human rights reports.

อะไรเป็นหลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย

๓. หลักการสําคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความ เป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ได้รับรองศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ไว้ และกําหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำาเนินการปฏิบัติงาน ตามอำนาจหน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน

หลักการของสิทธิมนุษยชนมีอะไร

หลักสิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ เสมอภาค เป็นธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีที่อยู่อาศัย มี อาหารการกิน มี ยารักษาโรค มี การศึกษา ไม่ถูกทํา ร้าย มีความ ปลอดภัย แสดงความคิดเห็น เลือกอาชีพ เลือก คู่ครอง เดินทาง ชุมนุมโดยไม่มี อาวุธ ได้รับการปฏิบัติ เท่าเทียม(ทั้งใน ศักดิ์และสิทธิ์) ไม่ถูกเลือกปฏิบัติ ไม่โดนเอาเปรียบ

หลัก สิทธิมนุษยชน มี ความ สําคัญ อย่างไร

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาพของบุคคลที่ได้ รับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย ตามสัญญาที่ประเทศไทยมี พันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตาม

แนวคิดตามข้อใดเป็นต้นกำเนิดของสิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน (Human Rights) มีพัฒนาการมาจากความพยายามของมนุษย์ที่จะทําให้ศักดิ์ศรี ของ มนุษยชนได้รับการเคารพ ได้การริเริ่มใส่ใจดูแลจากมวลหมู่ประชาชนด้วยการต่อสู้เพื่อเสรีภาพและความ เสมอภาคให้เกิดขึ้นในดินแดนต่างๆ ทั่วโลก โดยจุดเริ่มต้นของแนวความคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนเกิดจาก บรรดานักคิดที่มาจากหลากหลายประเพณีและศาสนา ต่อ ...