พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองอะไร

พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองอะไร

14 มิ.ย.63 - พลเรือเอกชุมศักดิ์ นาควิจิตร ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ผบ.กร.) พร้อมด้วย พันเอกหญิง กัลยกร นาควิจิตร ประธานชมรมภริยากองเรือยุทธการ ประธานฝ่ายฆราวาส และพระครูปลัดสมศักดิ์ ตาณรโต เจ้าอาวาสวัดนาจอมเทียน ประธานฝ่ายสงฆ์ ร่วมประกอบพิธีอัญเชิญ พระบรมรูปทรงม้าทำศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ขึ้นประดิษฐานยังแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ ให้เป็นอนุสรณ์สถาน หน้าศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วัดนาจอมเทียน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

พระครูปลัดสมศักดิ์ กล่าวว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา วัดแห่งนี้ได้มีโบสถ์ไม้เก่าแก่ เคยเป็นที่พักกองทัพทหารของสมเด็จพระเจ้าตากสิน เมื่อครั้งรวบรวมไพร่พลเพื่อรบกับพม่าตีเอากรุงศรีอยุธยากลับคืน ด้วยวีรกรรมอันกล้าหาญ เข้ายึดเมืองจันทบุรีของเจ้าตาก เย็นวันที่ 14 มิ.ย.2310 สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้ใช้ยุทธวิธี “ทุบหม้อข้าว” โดยออกคำสั่งให้ทหารทุกนาย “เมื่อกินอาหารแล้ว ให้ทุบหม้อข้าวเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ ถ้าตีเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”

ก่อนสามารถชนะศึกตีเมืองจันทบุรีได้ ในวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช 1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ 15 มิ.ย.2310 เวลาประมาณ 03.00 น.หลังเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือน

ด้วยเหตุนี้ วัดนาจอมเทียน จึงได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าทำศึก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อเชิดชูวีรกรรมอันกล้าหาญ และให้คนไทย ได้สักการะรำลึกถึงบุญคุณของพระองค์ท่าน ที่ทำให้คนไทยมีแผ่นดินอยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาตราบจนทุกวันนี้

พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองอะไร

พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองอะไร

พระเจ้าตากสินเข้าตีเมืองอะไร

6.6 �������稾����ҵҡ�Թ����Ҫ�֧���͡�ѹ����������ͧ�����ͧ���������觾ѡ��� �ͧ�Ѿ ��ѧ�ҡ�ս�Ҿ����͡�����͹��ا�����ظ����������� ? �������ç���͡�ʴ�����ͧ����1. ������价ҧ���ѹ�͡������˵ؼ��������»�С�ùѺ������õս�Ҿ��� ���͡�Ѻ���ͧ�ҡ������觷���������� �е�ͧ��ҹ�Թᴹ��ǹ���١�����ִ���������� ����ͧ�ҡ�ͧ������㹤�����ͺ��ͧ�ͧ����
2. ��кҷ���稾�Ш�Ũ������� �ç�ѹ��ɰҹ�֧��÷��ç���͡���ͧ�ѹ����բͧ����ҵҡ��� �鹨ҡ���ͧ��价ҧ���ѹ�͡��鹾��Ҥ�� �����������ú�ǹ
3. �ѹ����� ��������ͧ��½�觷��ŷҧ��ҹ���ѹ�͡ ���ٹ���ҧ�ͧ��õԴ��͡Ѻ��ǹ���� �� �Դ��͡Ѻ�ѡ���� ��� ��оط����
4. ���������ͧ�ѹ�����������繷ҧ����˹յ��价����������

��С���Ӥѭ����ѡ���������չѡ����ѵ���ʵ��Ԩ�óҡѹ�ѡ��� ���ͧ�ѹ����������ͧ������稾����ҡ�ا������ ���ʴ��Ҥ�Ң�� ��з����ͧ���繹�¡ͧ���¹���������ͧ�ҡ ��鹷ҧ�ҡ-��ظ�� �ź��� ���ͧ �ѹ����� ��� ��鹷ҧ�����ͧ����������դ����ӹҭ

��觷���Ӥѭ����ش��� �ѹ����� �����ͧ����ժ����������������ҵ��á�ҡ����˹��� �����դ�������¡Ѻ����ҵҡ 㹰ҹз���繨չ����������ǡѹ ����Թ�ҧ����ͧ�ѹ����ա��� ����Թ�ҧ��Ѻ����Թᴹ��赹���ѡ �������֡��ʹ�������褹������ѡ�ѡ����������

����������� �˵ؼ�����Ѻ���ͧ����ç���͡�ѹ����������ͧ�ѡ��� ��Ы�ͧ����ͧ�Ѿ (�Ը� ��������ǧ��, 2529 : 69 ; ��ѡ���ͧ�ѹ�������л���ѵ���ʵ�����ͧ�ѹ�����, 2536 : 61 )

เหตุใดเจ้าตากจึงต้องทุบหม้อตีเมืองจันท์?

เผยแพร่: 19 ส.ค. 2558 10:53   โดย: โรม บุนนาค


เมื่อพระเจ้าตากสินนำทหารเพียง ๕๐๐ คน แหวกวงล้อมของพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยา ทรงมุ่งไปภาคตะวันออกก็เพราะไม่มีกองทัพใหญ่ของพม่าอยู่ย่านนั้น คงมีแต่กองกำลังเล็กๆตั้งรักษาการไว้แค่ชลบุรี แต่ก็ต้องปะทะกับทหารพม่าถึง ๔ ครั้ง เมื่อกิตติศัพท์ที่พระยาตากมีชัยชนะต่อกองทหารพม่ามาตลอด ทำให้ราษฎรที่หลบซ่อนอยู่ในป่า และนายซ่องที่รวมตัวกันป้องกันครอบครัวจากทหารพม่า เข้ามาสวามิภักดิ์เป็นอันมาก รวมทั้งพระระยอง ชื่อบุญ ซึ่งว่าราชการเมืองระยอง เมื่อทราบข่าวว่าพระยาตากกำลังยกมาด้านตะวันออก เกรงจะทำร้ายตัว จึงไปดักต้อนรับขออ่อนน้อมที่กลางทาง มอบข้าวสารให้หนึ่งเกวียนและเชิญเข้าเมือง แต่พระยาตากได้ตั้งค่ายที่วัดลุ่ม นอกเมืองระยอง

แม้พระระยองจะอ่อนน้อมต่อพระยาตาก แต่กรมการเมืองระยองหลายคนกลับเห็นว่าพระยาตากเป็นกบฏ เพราะขณะนั้นกรุงศรีอยุธยายังไม่เสียแก่พม่า จึงคบคิดที่จะเข้าตีค่ายที่วัดลุ่ม แต่มีคนที่สวามิภักดิ์นำความมาบอก พระยาตากจึงเตรียมรับแล้วโต้กลับจนเข้ายึดเมืองระยองได้

การเข้ายึดเมืองระยองนี้ ทำให้ฐานะของพระยาตากกลายเป็นกบฏไปทันทีเพราะกรุงศรีอยุธยายังไม่แตก จึงต้องเลยตามเลย แต่ก็ยังไม่ได้ตั้งตัวเป็นกษัตริย์ คำสั่งที่ออกไปเรียกว่า “พระประศาสน์” ในระดับที่เจ้าเมืองเอกใช้เท่านั้น ส่วนพวกบริวารพากันเรียกว่า “เจ้าตาก” แต่นั้นมา

ขณะนั้นหัวเมืองใหญ่สุดในทะเลภาคตะวันออกก็คือเมืองจันทบุรี ยังคงมีเจ้าเมืองปกครองตามปกติและมีกำลังมาก เจ้าตากใคร่หยั่งท่าทีว่าเจ้าเมืองจันทบุรีจะร่วมมือด้วยหรือไม่ จึงส่งทูตถือศุภอักษรไปแจ้งว่า พระยาตากได้มาตั้งรวบรวมผู้คนที่เมืองระยอง หมายจะไปรบกับพม่าให้พระนครพ้นจากอำนาจข้าศึก ขอให้พระยาจันทบุรีเห็นแก่บ้านเมือง ช่วยกันปราบปรามพม่าให้กรุงศรีอยุธยาผาสุกดังแต่ก่อน

พระยาจันทบุรีรับสาสน์แล้วก็ตอบรับว่าจะมาปรึกษาหารือที่เมืองระยองใน ๑๐ วัน ตอนนี้ขอส่งเสบียงอาหารมาให้ก่อน

ครั้นถึงกำหนด ๑๐วัน พระยาจันทบุรีก็ไม่ได้มาตามสัญญา ส่งแต่กรมการเมืองนำข้าวเปลือกอีก ๔ เกวียนมาให้

ต่อมาถึงเดือน ๕ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาก็แตก คนที่มีกำลังอยู่ตามหัวเมืองก็อยากจะตั้งตัวเป็นใหญ่กันทั้งนั้นด้วยแผ่นดินว่างอำนาจ พระยาจันทบุรีก็เพ้อด้วยเพราะถูกยุจากคนรอบตัว โดยเฉพาะขุนรามและหมื่นซ่อง กรมการเมืองระยองที่หนีไปจากการเข้าปล้นค่ายพระยาตาก ซ่องสุมกำลังอยู่ที่บ้านประแส แขวงเมืองจันทบุรี คุมสมัครพรรคพวกออกปล้นวัวควายช้างม้าของชาวระยองอยู่เนืองๆ เจ้าตากเห็นว่าจะต้องปราบปรามให้ราบคาบ จึงนำทหารไปบ้านประแส บ้านไร่ บ้านตร่ำ เมืองแกลง ระดมยิงด้วยปืนใหญ่จนแตกกระเจิง ขุนรามและหมื่นซ่องหนีไปหาพระยาจันทบุรี

พระยาจันทบุรีคาดว่าเจ้าตากจะต้องมาตีเมืองจันทบุรีต่อแน่ จึงคบคิดกับขุนรามและหมื่นซ่อง เห็นว่าเจ้าตากมีฝีมือเข้มแข็ง ทั้งรี้พลก็ชำนาญศึก จะสู้ซึ่งหน้าคงไม่ไหว จำจะใช้อุบายล่อเข้ามาในเมือง ก็จะกำจัดได้โดยง่าย

เมื่อคิดได้ดังนั้น พระยาจันทบุรีจึงนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป ให้เป็นทูตไปเชิญเจ้าตากมาเมืองจันทบุรี แจ้งว่าพระยาจันทบุรีมีความเจ็บแค้นข้าศึกที่มาย่ำยีกรุงศรีอยุธยา จึงเต็มใจจะมาช่วยเจ้าตากปราบยุคเข็ญ และเห็นว่าเมืองระยองเป็นเมืองเล็ก จะเป็นที่รวบรวมกองทัพใหญ่ได้ยาก จึงขอเชิญไปตั้งที่จันทบุรีซึ่งเป็นเมืองใหญ่และมีอาหารอุดมสมบูรณ์ จะได้ปรึกษาหารือเตรียมยกไปกู้กรุงศรีอยุธยาจากข้าศึกให้จงได้

เจ้าตากฟังความแล้วก็ไม่ไว้วางใจพระยาจันทบุรี แต่เมื่อปรึกษาแม่ทัพนายกองแล้วเห็นว่าควรจะยกไปเพื่อให้รู้แน่ หากประสงค์ร้ายก็จะได้จัดการเสีย

เจ้าตากนำทัพตามพระสงฆ์ไป ๕ วันก็ถึงบางกระจะหัวแหวน ห่างเมืองจันทบุรี ๒๐๐ เส้น พระยาจันทบุรีให้ปลัดกับขุนหมื่นกรมการเมืองออกมาต้อนรับ บอกว่าจัดที่ให้ตั้งทำเนียบไว้ที่ริมน้ำฟากใต้ตรงข้ามเมือง เจ้าตากก็สั่งให้ทัพหน้าตามปลัดเมืองไป แต่ยังไม่ทันถึงเมืองจันทบุรีก็มีผู้มาบอกให้ทราบว่า พระยาจันทบุรีพร้อมขุนรามและหมื่นซ่องระดมคนไว้ในเมือง จะออกมาโจมตีตอนข้ามแม่น้ำ เจ้าตากจึงให้ม้าเร็วไปส่งข่าวทัพหน้า สั่งให้เลี้ยวกระบวนไปทางเหนือ ตรงไปวัดป่าแก้ว ห่างประตูท่าช้างเพียง ๔ เส้น

พระยาจันทบุรีเห็นเจ้าตากไม่เดินไปตามแผนก็ตกใจ รีบให้ไพร่พลขึ้นรักษาเชิงเทิน แล้วให้ขุนพรหมธิบาลซึ่งคุ้นเคยกับเจ้าตากมาก่อนออกมาเชื้อเชิญให้เข้าไปในเมือง เจ้าตากจึงว่า ที่พระยาจันทบุรีให้พระสงฆ์ไปเชิญมาคิดอ่านกู้กรุงศรีอยุธยากัน ก็เข้าใจว่าเป็นความบริสุทธิ์ใจจึงมา แต่เมื่อมาถึงแล้วก็ไม่ได้ออกมาต้อนรับอย่างผู้น้อยกับผู้ใหญ่ เพราะเจ้าเมืองกำแพงเพชรถือศักดินาหมื่น มียศเป็นผู้ใหญ่กว่าพระยาจันทบุรี แต่กลับเรียกระดมคนเข้าประจำหน้าที่เชิงเทิน ทั้งยังคบหาขุนรามหมื่นซ่องที่ทำร้ายเราไว้เป็นมิตร พระยาจันทบุรีทำเหมือนหนึ่งเป็นข้าศึกกับเรา ถ้าจะให้เราเข้าไปในเมือง พระยาจันทบุรีก็ควรออกมาหาเราก่อน หรือส่งตัวขุนรามกับหมื่นซ่องออกมา แล้วพระยาจันทบุรีออกมาทำสัตย์สาบาลให้เราไว้ใจ จะรักใคร่นับถือเหมือนเป็นพี่น้องกันต่อไป พระยาจันทบุรีก็ตอบออกมาว่าขุนรามหมื่นซ่องมีความกลัวไม่กล้าออกมา ทั้งพระยาจันทบุรีก็ไม่ยอมออก ส่งแต่สำรับเครื่องเลี้ยงดูมาให้ เจ้าตากขัดเคืองจึงสั่งให้กลับไปบอกพระยาจันทบุรีว่า เมื่อไม่เห็นแก่ไมตรีแล้ว ก็รักษาเมืองไว้ให้ดีเถิด พระยาจันทบุรีก็สั่งปิดประตูเมืองเตรียมรับมือเต็มที่ ด้วยเชื่อว่าตัวมีกำลังมากกว่า

เจ้าตากรู้สถานะของตัวเองว่า อยู่ในที่คับขันเสียแล้ว ข้าศึกที่อยู่ในเมืองมีกำลังมากกว่า เป็นแต่ครั่นคร้ามไม่กล้าออกมาสู้ซึ่งหน้า แต่ถ้าหากเจ้าตากล่าถอยเมื่อใด ข้าศึกก็จะออกมาล้อมตีได้หลายทางเพราะชำนาญพื้นที่ และถ้าจะตั้งประจันหน้ากันต่อไปก็จะขาดเสบียงอาหาร เหมือนหนึ่งคอยให้ข้าศึกเลือกเวลาโจมตีเอาตามใจชอบ

ด้วยความเป็นชายชาตินักรบ เห็นว่าถ้าชิงลงมือก่อนจะได้เปรียบ จึงเรียกนายทัพนายกองมาสั่งว่า

“เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเย็นกินเสร็จแล้ว ทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมด หมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองพรุ่งนี้ ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ ก็จะได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”

นายทัพนายกองเห็นอาญาสิทธิ์เจ้าตากมาแต่ก่อน จึงไม่มีใครกล้าขัดขืน ครั้นเวลาค่ำเจ้าตากจึงให้ทหารแอบไปซุ่มตัวมิให้ชาวเมืองรู้ สั่งให้คอยฟังเสียงปืนสัญญาณเข้าปล้นเมืองพร้อมกัน แต่อย่าให้ออกเสียงอื้ออึง จนเมื่อพวกไหนเข้าเมืองได้แล้วจึงค่อยโห่ร้องขึ้นให้ด้านอื่นรู้

ครั้นพอได้ฤกษ์ ๓ นาฬิกา เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชร ให้ยิงปืนสัญญาณบอกทหารให้เข้าปล้นเมืองพร้อมกัน ส่วนเจ้าตากก็ขับช้างจะพุ่งเข้าพังประตูเมือง พวกชาวเมืองที่รักษาอยู่บนกำแพงจึงระดมยิงลงมา นายท้ายช้างเกรงเจ้าตากจะเป็นอันตรายจึงเกี่ยวช้างทรงให้ถอยออก เจ้าตากขัดพระทัยชักพระแสงดาบหันมาจะฟัน นายท้ายช้างตกใจร้องขอชีวิต แล้วไสช้างกลับเข้าชนบานประตูเมืองพังลง พวกทหารก็กรูกันเข้าประตูเมืองพร้อมโห่ร้อง ทหารพระยาจันทบุรีรู้ว่าข้าศึกเข้าเมืองได้ก็พากันละทิ้งหน้าที่เผ่นหนีเอาตัวรอด พระยาจันทบุรีพาครอบครัวลงเรือหนีไปได้

เมื่อเจ้าตากเข้าเมืองจันทบุรีได้นั้นเป็นวันอาทิตย์ เดือน ๗ ปีกุน พ.ศ.๒๓๑๐ หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว ๒ เดือน