จบป.โท นิติ ทํางานอะไรได้บ้าง

Posted by SAU TEAM on Apr 2, 2020 2:49:24 PM

จบป.โท นิติ ทํางานอะไรได้บ้าง

เรียนรู้เส้นทางสาย นิติศาสตร์ กับ SAU จบแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

    เมื่อกฎหมายกลายเป็นเรื่องสำคัญ คณะ นิติศาสตร์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งคณะยอดฮิตที่หลายคนเลือกเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย นอกจากจะสร้างความรู้ด้านกฎหมายให้แล้ว การเรียนในคณะนี้ยังสร้างโอกาสให้คุณสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายไม่ได้มีเพียงแค่อาชีพทนายความหรือผู้พิพากษาเท่านั้น อีกทั้งยังได้รับค่าตอบแทนที่ดีด้วย แล้วอาชีพน่าสนใจเหล่านั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลย!

   

เรียนจบคณะนิติศาสตร์ นอกจากจะประกอบอาชีพสายกฎหมายที่มีทั้งงานของภาครัฐและเอกชนแล้ว คุณยังสามารถนำความรู้ด้านกฎหมายไปใช้ในการทำงานในสายงานอื่น ๆ ได้ด้วย เช่น ด้านการเงิน, วิชาการ, สังคมสงเคราะห์ และการเมือง เป็นต้น โดยมีอาชีพที่น่าสนใจ ดังนี้

  • นิติกร ก้าวแรกของคนเรียนจบนิติศาสตร์
        นิติกร ทำหน้าที่ดูแลงานทุกอย่างด้านกฎหมายของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา วิเคราะห์ วางแผน เขียนโครงการ วางระเบียบ เสนอความเห็น หรืองานเอกสารที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย โดยผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้อาจจะยังไม่ต้องมีใบอนุญาตว่าความหรือตั๋วทนาย ทำให้เป็นอาชีพที่นิยมสำหรับเด็กจบใหม่ ซึ่งค่าตอบแทนที่จะได้เริ่มต้นประมาณ 15,000-18,000 บาท
  • ผู้จัดการและพนักงานฝ่ายบุคคล อีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจ
        ฝ่ายบุคคล มีหน้าที่สำคัญในการสรรหาแะจัดสรรคบุคลากรเข้ามาทำงาน โดยจะต้องบริหารจัดการ พัฒนา และประเมินผลอย่างเป็นระบบ โดยส่วนมากจะได้ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 17,000 บาทขึ้นไป
  • เจ้าหน้าที่สินเชื่อ สายงานด้านการเงินที่คุณก็ทำได้
         เจ้าหน้าที่สินเชื้อ เป็นตำแหน่งงานที่จะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในด้านกฎหมาย และกฎระเบียบด้านการเงินต่าง ๆ โดยจะทำหน้าที่ดูแลเรื่องของสภาวะลูกหนี้ทั้งหมด พิจารณาการให้สินเชื่อ และแจกแจงข้อกฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 15,000-16,000 บาท
  • ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย อีกหนึ่งอาชีพสายกฎหมาย
         ที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และแนะนำด้านกฎหมาย เช่น การทำธุรกรรมทางการเงิน การร่างสัญญาต่าง ๆ เป็นต้น ให้แก่หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ซึ่งค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 20,000 บาทขึ้นไป โดยจะเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์การทำงาน
  • ผู้พิพากษา ผู้ที่นั่งอยู่บนบัลลังก์ศาล
         ผู้พิพากษา มีหน้าที่หลักในการควบคุมการดำเนินคดีในชั้นศาล โดยมีอำนาจในการพิพากษาคดีที่ฟ้องร้องกันในศาลให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ค่าตอบแทนเริ่มต้นประมาณ 50,000 บาทขึ้นไป
  • นักวิชาการและอาจารย์ งานด้านกฎหมายสายวิชาการ
         มีหลายคนเลือกศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ต่อยอดความรู้ด้านกฎหมาย เพื่อประกอบอาชีพนักวิชาการและอาจารย์สอนกฎหมายในมหาวิทยาลัย ซึ่งค่าตอบแทนที่ได้เริ่มต้นประมาณ 40,000 บาทขึ้นไป
  • พนักงานอัยการ อาชีพที่หลายคนใฝ่ฝัน
         พนักงานอัยการ มีหน้าที่สำคัญคือ รักษาผลประโยชน์ของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนวยความยุติธรรมในสังคม โดยผู้ที่ประกอบอาชีพนี้จะได้รับค่าตอบแทนสูงถึงหลักแสนเลยทีเดียว
  • ทนายความ อาชีพอิสระที่คนเรียนสายกฎหมายทำได้
         ทนายความ มีหน้าที่สำคัญในการผดุงความยุติธรรม โดยรับปรึกษากฎหมาย ให้บริการด้านกฏหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านให้คำแนะนำต่อลูกความเกี่ยวกับปัญหาอื่นๆของกฎหมายในแง่ของธุรกิจและส่วนบุคคล รวมทั้งเป็นผู้ใช้กฎหมายดำเนินการแทนคู่ความทั้งทางอาญาและแพ่ง โดยค่าตอบแทนอาจสูงถึงหลักแสน หากมีประสบการณ์ในการทำงานมามาก อีกทั้งยังขึ้นอยู่กับงานที่ได้รับด้วย

         นอกจากนี้ ยังมีงานราชการสายยุติธรรมของบรรดากระทรวงต่าง ๆ เช่น เจ้าพนักงานสรรพากร ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ตำรวจ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าพนักงานคุมประพฤติ ข้าราชการสำนักงานกฤษฎีกา ศุลกากร นายทหารฝ่ายพระธรรมนูญ ปลัดอำเภอ ปลัดเทศบาล ปลัดอบจ. เป็นต้น

         บรรดาอาชีพเหล่านี้ คงจะแสดงให้เห็นชัดเจนแล้วว่า เรียนจบนิติศาสตร์มีอาชีพรองรับที่แน่นอน และมีสายงานค่อนข้างหลากหลาย เพราะความรู้ด้านกฎหมายสามารถนำต่อยอดในการประกอบอาชีพสายอื่น ๆ ได้มากมาย ดังนั้น คณะนิติศาสตร์จึงเป็นอีกหนึ่งคณะน่าเรียนที่มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เปิดสอน ซึ่งใครที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมหรือสมัครเรียนได้ที่ www.sau.ac.th/

จบป.โท นิติ ทํางานอะไรได้บ้าง

Topics: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์, SAU, นิติศาสตร์, ทนายความ, นักกฎหมาย

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา เช่น วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper), นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) และ นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values)

นิติศาสตร์ (Jurisprudence) คำดังกล่าวในภาษาอังกฤษ เป็นคำเก่าที่ใช้ตั้งแต่สมัยโรมัน โดยมาจากภาษาละตินว่า jurisprudentium มีรากศัพท์จาก "juris" แปลว่า กฎหมาย และ "prudentium" แปลว่า ความฉลาด ซึ่งรวมแล้วแปลว่า "ความรู้กฎหมายหรือวิชากฎหมาย" โดยในประมวลกฎหมายของพระเจ้าจัสติเนียน จะกล่าวไว้ในมูลบทนิติศาสตร์ฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษแล้วว่า "jurisprudence is the knowledge of things devine and human; the science of the just and the unjust"

การเรียนการสอนนิติศาสตร์ในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ได้ทรงก่อตั้ง "โรงเรียนกฎหมาย" ขึ้นในกระทรวงยุติธรรม ซึ่งเปิดการเรียนการสอนโดยคณาจารย์ส่วนใหญ่เป็นตุลาการ ต่อมาได้มีการยุบโรงเรียนกฎหมายไปจัดตั้งเป็น "คณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์" ขึ้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2476 หลังจากนั้นเพียง 8 เดือน นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเดิม ไม่พอใจที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย แต่โรงเรียนกฎหมายไม่ได้ยกฐานะ ดร.ปรีดี พนมยงค์ จึงรับปากว่าจะช่วย

ในที่สุดจึงมีการออก "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง" ให้โอนคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปสังกัดมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ ซึ่งปัจจุบัน คือ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงอาจกล่าวได้ว่าการโอนโรงเรียนกฎหมายไปสังกัดคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการโอนไปเพียงชั่วคราวเท่านั้น ทำให้คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะนิติศาสตร์แห่งแรกของประเทศไทย อันสืบทอดโดยตรงจากโรงเรียนกฎหมายเดิม

นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

เรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน อย่างมีระเบียบและมีความสุข

ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป

เรียนเหมือนกันทุกสาขา เช่น จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเริ่มเรียนความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย

ปี 2 เริ่มเรียนวิชาบังคับ

ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม ฯลฯ เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษ

ปี 3 เรียนในด้านกฎหมายเข้มข้นขึ้น

เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

ปี 4 เรียนในเชิงลึกขึ้น

ปีสุดท้ายที่เรียนก็จะมีเรียนกฎหมายนิติปรัชญา เช่นแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเรียนหลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายแรงงาน หลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายการคลัง การภาษีอากร และวิชาเลือกทางกฎหมายที่คณะกำหนด

คณะนิติศาสตร์ จบมาทำงานอะไร?

  • ผู้พิพากษา/ตุลาการ
  • พนักงานอัยการ
  • ทนายความ
  • ผู้สอนในสถานศึกษา
  • ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกร
  • ประกอบธุรกิจ/อาชีพอิสระ
  • รับราชการ