ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

  • รายชื่อพิพิธภัณฑ์
  • พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

แผนที่แสดงตำแหน่งที่ตั้ง


ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

เขตบางกอกใหญ่ จ. กรุงเทพมหานคร

สาระสังเขป

พระราชวังเดิม ปัจจุบันอยู่ภายในพื้นที่ทำการของกองทัพเรือ ถือเป็นพระราชวังแห่งเดียวที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อปี พ.ศ. 2311 โดยตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ป้อมวิไชยประสิทธิ์ อาคารสำคัญที่เก่าแก่ที่สุดคือ ท้องพระโรงอายุ่กว่า 250 ปี เป็นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกว่าราชการ แต่ก่อนอาคารนี้เป็นไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมด้วยการก่ออิฐถือปูน อาคารเก๋งจีนคู่หลังเล็ก ภายในจัดแสดงอาวุธจากสมัยกรุงธนบุรี อาทิ ปืนคาบศิลา ดาบญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีหมู่อาคารอื่นๆ ได้แก่ ที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ศาลศีรษะปลาวาฬ เรือนเขียว และป้อมวิไชยประสิทธิ์ ที่เคยใช้เป็นด่านเก็บภาษีปากเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

  • ข้อมูลการเข้าชม
  • ผังจัดแสดง
  • แผ่นพับ
  • เอกสารที่เกี่ยวข้อง
  • วัตถุจัดแสดง

ที่อยู่:

กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม ถ.อรุณอมรินทร์ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600

โทรศัพท์:

0-2475-4117, 0-2466-9355

วันและเวลาทำการ:

เปิดทุกวัน เว้นวันหยุดราชการ 8.30-15.30 น.

ค่าเข้าชม:

ค่าเข้าชมบุคคลทั่วไป 60 บาท นักเรียน นักศึกษา 20 บาท การเข้าชมเป็นหมู่คณะควรทำจดหมายถึงประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

อีเมล:

ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ท้องพระโรงกรุงธนบุรีเกี่ยวกับด้านใด

โดย:

วันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555

ทร.เดินหน้าสร้างพิพิธภัณฑ์สมเด็จพระเจ้าตากฯ

ชื่อผู้แต่ง: | ปีที่พิมพ์: 7/2/2539

ที่มา: ผู้จัดการรายวัน

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

สาระน่ารู้ กรุงธนบุรี

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา: กรุงเทพฯ: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม โบราณสถานรางวัลยูเนสโก

ชื่อผู้แต่ง: ศิริรัตน์ สาโพธิ์สิงห์ | ปีที่พิมพ์: 12/23/2547

ที่มา: เดลินิวส์

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม สถานที่พระราชสมภพของพระมหากษัตริย์ 3 พระองค์

ชื่อผู้แต่ง: สายสุนีย์ สิงหทัศน์ | ปีที่พิมพ์: Oct-48

ที่มา: อสท.

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

นำชมพระราชวังเดิม

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ | ปีที่พิมพ์: 2545

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม (พระราชวังกรุงธนบุรี)

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณในพระราชวังเดิม | ปีที่พิมพ์: 2543

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

พระราชวังเดิม พ.ศ. ๒๕๔๑

ชื่อผู้แต่ง: มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม กองทัพเรือ | ปีที่พิมพ์: 2541

ที่มา:

แหล่งค้นคว้า: ศมส.

โดย: ศมส.

วันที่: 13 มีนาคม 2555

เมื่อเทียบกับสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และรัตนโกสินทร์แล้ว นับว่ากรุงธนบุรีเป็นสมัยที่สั้นมากของไทย

ระยะเวลาที่เปิดพระราชวังกรุงธนบุรี หรือ ‘วังเดิม’ พระราชวังแห่งเดียวของสมัยธนบุรี ก็สั้นมากเช่นเดียวกัน

ปัจจุบันบริเวณรอบวังแห่งนี้เป็นพื้นที่ทำการของกองทัพเรือ ทำให้โดยทั่วไปแล้ววังนี้จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้ามาดูได้อย่างอิสระแค่ 1 วันต่อปี คือวันที่ 28 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันปราบดาภิเษกพระเจ้าตากสินมหาราช แต่ปีนี้ทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมขยายระยะเวลาเปิดวังเพิ่มขึ้นเป็น 14 วัน ตั้งแต่วันที่ 14 – 28 ธันวาคม 2563 ในช่วงเวลา 09.00 – 15.30 น.

โอกาสอันดีนี้ทำให้ The Cloud ขอเข้าไปเดินดูและเก็บภาพสวยๆ มาเล่าให้ฟังก่อนว่าของเด็ดของดีที่หากไปแล้วจะพลาดไม่ได้มีอะไรบ้าง

วังนี้มีพื้นที่ไม่ใหญ่โตนัก แต่กลับมีสิ่งต่างๆ ให้ดูมากมาย

รัชสมัยอาจสั้น พื้นที่วังอาจเล็ก แต่คุณค่านั้นล้นหลามไม่น้อยไปกว่าวังอื่นไหน

01

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

การจะเข้าวังเดิม ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเดินผ่านประตูโรงเรียนนายเรือ หรือ ประตูสามสมอ ซุ้มสีขาวขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ตรงกับอนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินมหาราช หันหน้าเข้าริมน้ำเจ้าพระยา ประตูนี้ฝั่งหนึ่งจะเขียนว่ากองทัพเรือ หมายถึงกลุ่มองค์กรที่ใช้งานบริเวณนี้อยู่ในปัจจุบัน ส่วนอีกฝั่งจะเขียนว่าโรงเรียนนายเรือ องค์กรซึ่งเคยใช้พื้นที่นี้ในอดีต เรื่องมีอยู่ว่าพื้นที่แห่งนี้เป็นวังเรื่อยมา จนรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้เปลี่ยนที่นี่เป็นโรงเรียนนายเรือ และเมื่อเวลาผ่านไปพื้นที่ก็เริ่มไม่เหมาะสม ทำให้โรงเรียนนายเรือย้ายไปที่สมุทรปราการ และที่นี่ก็กลายเป็นกองทัพเรือแทน

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

นั่นคือสาเหตุที่ทำไมข้างๆ ประตูแห่งนี้จึงมีแผ่นจารึกลายพระหัตถเลขาของรัชกาลที่ 5 กล่าวถึงการยกเขตพระราชฐานให้เป็นโรงเรียนนายเรือว่า “มีความปลื้มใจซึ่งได้เหนการทหารเรือมีรากหยั่งลงแล้ว จะเปนที่มั่นสืบไปในภายหน้า”

ส่วนชื่อประตูสามสมอมาจากสัญลักษณ์ประจำโรงเรียนนายเรือที่วาดอยู่บนประตู หากดูดีๆ มันคือรูปสมอ 3 ตัวที่คล้องรวมไว้ด้วยห่วงสมอ โดยมีจักรอยู่ด้านหลังนั่นเอง

02

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

คนส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาในบริเวณวังเดิมก็จะเริ่มที่ท้องพระโรงอายุเก่าแก่ 250 ปี นี่เป็นสิ่งปลูกสร้างที่เก่าแก่ที่สุดในบริเวณ ภายในบริเวณพระที่นั่งองค์เหนือ หรือลานของท้องพระโรง เป็นที่ซึ่งพระเจ้าตากสินมหาราชทรงออกว่าราชการ เมื่อก่อนอาคารนี้เป็นไม้ทั้งหมด แต่ปัจจุบันบูรณะซ่อมแซมด้วยปูนและหินอ่อนจนดูทันสมัย

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

เมื่อเข้าไปภายในส่วนพระที่นั่งองค์ใต้ หรือส่วนที่เป็นห้องของท้องพระโรง จะเห็นโต๊ะเก้าอี้ที่จัดไว้รับแขกของกองทัพเรือ แต่ส่วนที่ฉันประทับใจคือพระบรมฉายาลักษณ์ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่แขวนอยู่สุดห้อง นี่คือพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าตากสินมหาราช โดยผศ.ธณฤษภ์ ทิพย์วารี อาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ที่วาดด้วยสีน้ำมัน เทคนิคการวาดจะออกแนวยุโรป เพราะเป็นภาพวาดยุคหลังแล้ว ส่วนเค้าโครงพระพักตร์ของพระองค์ อาจารย์ใช้อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสินที่วงเวียนใหญ่เป็นแบบ

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

03

เมื่อเดินต่อมาที่เก๋งจีนคู่หลังเล็ก ข้างในจะพบอาวุธจากสมัยกรุงธนบุรีมากมายหลายชนิด ชิ้นที่โดดเด่นคือปืนคาบศิลาที่มีความยาวจากด้ามจับถึงปากกระบอกถึง 145 เซนติเมตร

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

กรุงธนบุรีนั้นติดต่อกับต่างประเทศหลากหลาย หนึ่งในหลักฐานยืนยันคือเหล่าดาบญี่ปุ่นที่เป็นเครื่องราชบรรณาการ ดาบที่สวยสุดซึ่งจัดแสดงอยู่ในห้องนี้คือดาบญี่ปุ่นคร่ำทองที่ประดับด้วยลวดลายลงรักปิดทองทั่วทั้งฝัก เป็นศิลปะผสมผสานไทยญี่ปุ่นที่สื่อถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้ดี

ในตู้เดียวกันกับดาบญี่ปุ่นมีดาบจตุลังคบาท เป็นดาบเล่มใหญ่ที่ตั้งชื่อตามผู้ใช้ นั่นคือทหารผู้มีหน้าที่ปกป้องเท้าช้างทั้งสี่เท้าไม่ให้ศัตรูเข้ามาล้มช้างได้ สังเกตที่ด้ามดาบแล้วเห็นว่าเป็นงาช้าง เวลาทำความสะอาดดาบเหล่านี้น่าจะเหนื่อยมาก เพราะงาช้างเป็นของหนักเอาการ คาดว่าคนสมัยก่อนตัวใหญ่กว่าพวกเราเยอะ ทำให้พวกเขาใช้งานดาบที่ทั้งใหญ่ทั้งหนักเหล่านี้ได้

ข้างๆ กันกับดาบจตุลังคบาทมีดาบหัวช้างวางอยู่ โดยรวมแล้วดาบนี้มีลักษณะคล้ายกับดาบจตุลังคบาท แค่ต่างกันตรงที่ปลายสุดของดาบจะตัดเป็นทรงเหมือนหัวช้าง ดูๆ ไปแล้วออกแนวน่ารักและใช้ยากมากกว่าจะดีต่อการรบ

04

ออกจากเก๋งหลังเล็กแล้ว เดินเข้าเก๋งจีนคู่หลังใหญ่ต่อเลย ข้างในเก๋งนี้จะเล่าเรื่องการติดต่อค้าขายในสมัยกรุงธนบุรี แต่ก่อนจะหันไปดูวัตถุที่จัดแสดงอยู่เต็มห้อง สิ่งหนึ่งที่สะดุดตาฉันคือแผนที่ซึ่งแขวนอยู่ทางซ้ายมือของฉัน สิ่งนี้คือแผนที่ของสายลับพม่าที่เข้ามาเป็นไส้ศึกได้เก็บข้อมูลแล้ววาดเอาไว้ ถ้าดูใกล้ๆ จะเห็นความละเอียดขนาดรู้ว่าโรงช้าง โรงม้า และพระราชฐานชั้นใน อยู่ตรงไหนบ้าง โชคดีที่พม่าเกิดปัญหาภายในประเทศเสียก่อน แผนที่นี้เลยไม่ได้ใช้งาน

อีกฝั่งหนึ่งของเก๋งใหญ่มีแผนที่อีกแผ่นหนึ่ง นี่คือแผนที่ของแต้เฮอ (หรือที่เราคุ้นกันในชื่อเทพเจ้าซำปอกง) นักเดินเรือผู้เชี่ยวชาญของจีน พอดูแล้วจะเห็นว่าแผนที่เป็นลักษณะยาวๆ วาดเพียงแค่ส่วนชายฝั่งทั้งหมด สาเหตุเพราะแต้เฮอเดินทางโดยไม่มีเข็มทิศ เขาจึงสำรวจโลกด้วยการแล่นเรือติดชายฝั่งไปเรื่อยๆ จากจีนมาถึงเวียดนาม สยาม เลยไปถึงอินเดียเลย

05

รู้หรือไม่ว่าพระเจ้าตากสินมหาราชเคยพระราชนิพนธ์บทละครรามเกียรติ์ไว้ถึง 4 ตอน นี่คือสาเหตุที่ในเก๋งหลังใหญ่มีตัวอย่างการแสดงรามเกียรติ์ตอนหนุมานเกี้ยวนางวานรินจำลองไว้ด้วย

06

เมื่อเดินออกมาจากเก๋งจีนทั้งสองหลังแล้ว ก่อนจะเดินไปดูส่วนอื่นของวัง ขอแนะนำให้หันกลับไปดูเก๋งทั้งคู่สักนิด ในขณะที่เก๋งหลังเล็กออกแบบอย่างจีนล้วนๆ เก๋งหลังใหญ่ซึ่งสร้างในภายหลังได้ผสมศิลปะไทยเข้าไปด้วย ส่วนน่าสนใจอยู่ที่ลวดลายบนหน้าจั่วของเก๋งจีนคู่หลังใหญ่ ที่มีรูปค้างคาวกับเหรียญอยู่ ตามคติจีนค้างคาวเป็นสัตว์นำโชคตัวหนึ่ง เพราะชื่อที่พ้องเสียงกับคำมงคลในภาษาจีน

07

หนึ่งในสิ่งที่พลาดไม่ได้แบบสุดๆ ของที่นี่คือศาลศีรษะปลาวาฬ ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาแต่เก่าก่อนแล้ว ปลาวาฬในที่นี้หมายถึงวาฬบรูด้าที่เคยมาเกยตื้นตายแถวบริเวณนี้จนซากเน่าเปื่อยเหลือแต่กระดูก ผู้คนก็นำมาบูชา โดยเชื่อว่าจะช่วยให้หาปลาได้สำเร็จตามเป้าหมาย คาดว่าแต่ก่อนมีกระดูกครบทั้งตัว แต่ศาลที่ฉันยืนดูอยู่ตอนนี้เหลือเพียงกระดูกศีรษะ ซึ่งเป็นส่วนที่ขุดเจอบริเวณใต้ศาลพระเจ้าตากสินที่ตั้งอยู่ข้างกัน และเมื่อขุดค้นพบว่ามีฐานของศาลบางอย่างอยู่ในบริเวณ จึงสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นศาลบูชาวาฬนี่เอง ทำให้เกิดการตั้งศาลขึ้นอีกครั้ง

08

เก๋งทรงอเมริกันสูง 2 ชั้น คืออาคารที่อยู่อาศัยหลังสุดท้ายภายในบริเวณวังเดิม เพราะเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารตกแต่งด้วยสีเขียวอ่อน เพราะเป็นสีของความสูงศักดิ์ในสมัยนั้น บนหน้าจั่วมีสัญลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวประดับอยู่ ตอนนี้อาคารปิดปรับปรุง แต่ในอนาคตจะเปิดชั้นสองเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้บัญชาการทหารเรือคนแรก รวมถึงทรงเป็นผู้คิดตำราปืนใหญ่ของไทย ทำให้ด้านหน้าของเก๋งแห่งนี้มีปืนใหญ่ตั้งอยู่ ปืนใหญ่นี้เป็นปืนแบบเดียวกับที่ติดตั้งอยู่บนเรือรบ สมัยที่วังเดิมกลายเป็นโรงเรียนนายเรือ ปืนใหญ่กระบอกนี้เป็นเครื่องมือใช้ฝึกของเหล่านักเรียน ให้ลองหมุนลองหันให้คล่องมือ ก่อนจะไปใช้ปืนใหญ่จริงๆ บนเรือ

09

อีกฝั่งหนึ่งของสนามหญ้าสีเขียวชอุ่มมีเรือนเขียวตั้งอยู่ข้างเนินดินที่คนในบริเวณเรียกกันว่า เขาดิน เรือนเขียวเคยเป็นห้องพยาบาล ซึ่งตั้งขึ้นหลังจากวังเดิมกลายเป็นโรงเรียนนายเรือแล้ว เพราะเมื่อมีโรงเรียนทหาร ก็ต้องมีห้องรักษาพยาบาลเตรียมไว้เผื่อบาดเจ็บ ปัจจุบันอาคารนี้ใช้รับแขกและชมวีดีทัศน์ แต่แค่เข้าไปดูความสวยงามของตัวอาคารที่ทำจากไม้ทั้งหมดก็คุ้มค่าแล้ว

10

ก่อนกลับอย่าลืมแวะจุดสำคัญอีกส่วนที่อยู่นอกกำแพงวัง นั่นคือป้อมวิไชยประสิทธิ์ ป้อมนี้ตั้งชื่อตามผู้ควบคุมการก่อสร้าง คือคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิชเยนทร์นั่นเอง ป้อมนี้ใช้เป็นด่านเก็บภาษีปากเรือในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ โดยจะมีโซ่ขนาดใหญ่ยักษ์ล่ามจากป้อมนี้ข้ามไปยังป้อมที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินี เมื่อใครจ่ายภาษีแล้วก็จะปล่อยให้เรือผ่านไปโดยการหย่อนโซ่ลงใต้น้ำ โซ่ที่ว่านี่เก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (วังหน้า) ใครอยากรู้ว่าใหญ่ขนาดไหนก็ลองไปดูได้

เมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชเดินทัพจากจันทบุรีมาถึงป้อมแห่งนี้ มองเห็นว่าเป็นสมรภูมิที่ดี จึงขึ้นบกมายึดและเปลี่ยนชื่อเป็นป้อมวิไชยประสิทธิ์ หน้าที่หลักของป้อมเป็นการสอดส่องและป้องกันข้าศึกเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้

พระราชวังกรุงธนบุรี หรือ วังเดิม

สิ่งที่พลาดไม่ได้ของป้อมนี้ คือปืนใหญ่สมัยใหม่ 4 กระบอกซึ่งหันหน้าเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา นี่คือปืนใหญ่สำหรับยิงสลุตในงามเฉลิมฉลองใหญ่ๆ ต่างๆ เช่น งานเฉลิมพระชนมพรรษาของบุคคลในราชวงศ์ ทุกวันนี้ก็ยังใช้งานเสมอ ที่นี่เป็นตัวแทนของกองทัพเรือ ในขณะที่กองทัพบกจะยิงที่สนามหลวง และกองทัพอากาศจะยิงที่ดอนเมือง ทั้งสามกองทัพจะยิงพร้อมกัน โดยใช้ปืน 4 กระบอกยิงวนไปเรื่อยๆ จนครบ 21 นัด

พระราชวังเดิมตั้งอยู่ที่เลขที่ 1 ถนนวังเดิม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ 10600

เปิดให้เข้าชมโดยไม่ต้องขออนุญาตตั้งแต่ 14 ถึง 28 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00-15.30 น.

วิธีการเดินทาง จะเข้าจากประตูใหญ่ริมถนนอรุณอมรินทร์ที่เขียนว่ากองทัพเรือ แล้วเดินอ้อมกำแพงวังมาเข้าประตูสามสมอทางริมน้ำก็ได้ หรือจะนั่งเรือข้ามฟากจากท่าเตียนมาลงท่าวัดอรุณฯ แล้วเดินต่อมาก็ได้  

ขอขอบคุณข้อมูลและความช่วยเหลือจาก พลเรือตรีหญิงอารยา อัมระปาล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพเรือ, วราวุธ เสมาเงิน เจ้าหน้าที่กราฟิก และศุภวรรณ ชวรัตนวงศ์ หัวหน้าสำนักงานและวิชาการ จากมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม