ความรับผิดชอบของตนเองมีอะไรบ้าง

ทำไมความรับผิดชอบต่อสังคมจึงสำคัญยิ่งกว่าเดิมในยุค New Normal คำตอบคือ เมื่อเทคโนโลยีเจริญรุดหน้า สังคมของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่ในชุมชนหรือประเทศเท่านั้น แต่เชื่อมต่อกันจนเป็นสังคมโลก จากการระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ทำให้เราเห็นว่า โรคติดต่อนี้เดินทางไปพร้อมๆ กับผู้คน สู่ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จากเอเชีย สู่ ยุโรป จากยุโรป สู่ อเมริกา ผู้คนสัญจรไปมาหาสู่กันจำนวนมาก จนเราไม่อาจหาที่มาของโรคนี้ได้อย่างแน่ชัด

จากเหตุการณ์นี้ทำให้โลกต้องปรับเปลี่ยน ผู้คนต้องปรับวิถีชีวิตใหม่ จนเกิดเป็นคำว่า New Normal ขึ้นมา แต่คำๆ นี้จะไม่มีประโยชน์เลย หากคนๆ หนึ่งขาดความรับผิดชอบต่อสังคม ในขณะที่ประเทศของเราเริ่มควบคุมการระบาดของโรคได้ดีขึ้นแล้ว สมมติว่ามีคนๆ หนึ่ง เกิดติดเชื้อ Covid-19 ขึ้นมาแต่ปกปิด เพราะคิดว่าจะหายได้เอง ไม่ระมัดระวังป้องกัน ยังคงไปเที่ยว กินอาหาร ใช้ชีวิตปกติ เพราะเขาคิดว่าใครจะติดก็ไม่เห็นเป็นไร สุดท้ายก็หายได้เองทุกคน จนทำให้เกิดการระบาดขึ้นมาใหม่อีกครั้ง มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นเพียงเพราะคำว่า ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม คำเดียว

ไม่เพียงเท่านั้น โลกที่เชื่อมโยงกันผ่านระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นโซเชียล มีเดีย ต่างๆ การส่งข้อความหรือแสดงความคิดเห็น ทำได้อย่างรวดเร็วเพียงปลายนิ้วคลิ๊ก จะเกิดอะไร หากคนๆ หนึ่งขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และนำเสนอข้อมูลที่เป็นเท็จ ใช้สื่อออนไลน์ที่ทำให้เกิดผลเสียต่อคนส่วนใหญ่ เราในฐานะพ่อแม่ผู้ปกครอง คงไม่อยากให้ลูกของเรา เป็นคนๆ นั้น คนที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม…จนทำให้สังคมเดือดร้อน ใช่ไหมคะ?
เมื่อเป็นเช่นนี้ เรามาดูวิธีที่จะปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมให้แก่เด็กๆ ซึ่งเป็นอนาคตของโลกยุคใหม่กันดีกว่าค่ะ

สอน New Normal ต้องมาพร้อมความรับผิดชอบต่อสังคม
จะว่าไปแล้วคำว่า New Normal อาจไม่ใช่อะไร แต่หมายถึงการปลูกฝังความรับผิดชอบต่อสังคมให้เข้มข้นขึ้นกว่าเดิม ไม่ใช่เพียงแค่รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเอง หรือทำตามกฎหมายเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการทำสิ่งต่างๆ อย่างระมัดระวังมากขึ้น เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบสังคมโดยรวมอีกด้วย ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองสามารถสอนเด็กๆ ได้ด้วยวิธีต่อไปนี้ค่ะ

สอนความเห็นอกเห็นใจ
เด็กๆ จะรับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไร หากเขาไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบต่อสังคมจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เด็กๆ คำนึงถึงผู้อื่น ว่าจะได้รับผลกระทบจากการกระทำของตนเองหรือไม่อย่างไร ควรสอนให้ลูกรู้จักสังเกตอารมณ์ของตัวเอง เมื่อลูกเศร้า โกรธ ดีใจ เสียใจ พ่อแม่ควรช่วยลูกสะท้อนอารมณ์ เช่น “ลูกเศร้าเพราะพี่ไม่แบ่งขนมใช่ไหม” หรือ “ลูกไม่ได้แบ่งขนมให้น้อง ลูกคิดว่าน้องจะรู้สึกอย่างไรคะ” การถามเช่นนี้ ช่วยให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าการกระทำของเขาจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อื่นเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ การสอนความเห็นอกเห็นใจ เป็นพื้นฐานสำคัญของการสร้างทักษะความรับผิดชอบต่อสังคมของลูกต่อไปในอนาคต

เริ่มจากรับผิดชอบตัวเอง
ก่อนที่เด็กๆ จะรับผิดชอบต่อสังคมและคนรอบกายได้ พวกเขาจำเป็นต้องรับผิดชอบตัวเองให้ได้ก่อนค่ะ เริ่มจากเรื่องง่ายๆ คือ การดูแลรับผิดชอบกิจวัตรประจำวัน รู้เวลาและลงมือทำโดยพ่อแม่ไม่ต้องคอยบอก เมื่อรับผิดชอบตัวเองได้ดีแล้ว อาจขยายขอบเขตมาสู่การรับผิดชอบหน้าที่ภายในบ้าน เช่น เก็บผ้า ล้างจาน ทำความสะอาดห้องของตัวเอง โดยมอบหมายให้เป็นหน้าที่ประจำของเด็กๆ ระบุวันเวลาชัดเจน และรอดูว่าเด็กๆ ทำสำเร็จหรือไม่ หากขาดตกบกพร่อง ควรชี้ให้เด็กเห็นว่า สิ่งที่เขาละเลยส่งผลต่อคนอื่นอย่างไร เช่น เมื่อตื่นสาย ทำให้ไปเรียนไม่ทัน พ่อแม่ก็ไปทำงานสายไปด้วย หรือ เมื่อไม่เก็บผ้า จนฝนตก ผ้าเปียก ทำให้แม่ต้องซักผ้าซ้ำอีกครั้ง ทั้งเสียเวลา และเปลืองน้ำ เปลืองไฟ สิ่งสำคัญคือ อธิบายให้ลูกเข้าใจ แทนการตำหนิ ชี้ให้ลูกเห็นผลเสียของความไม่รับผิดชอบที่เกิดขึ้น

มองภาพรวมของสิ่งต่างๆ
เคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว ไหมคะ คำกล่าวนี้เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะสอนลูกว่าทุกสรรพสิ่งในโลกนี้เชื่อมโยงถึงกัน การกระทำของคนๆ หนึ่งอาจส่งผลต่อคนอีกซีกโลกได้ อย่างกรณีของ Covid-19 แม้เราจะไม่รู้ต้นตอแน่ชัดว่ามาจากที่ใดบนโลก แต่มันก็ส่งผลกระทบต่อคนทั่วโลกนับล้านๆ ชีวิต ดังนั้น การตัดสินใจทำอะไรบางอย่าง แม้จะเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ก็อาจส่งผลกระทบต่อคนอื่นๆ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น เมื่อเด็กตัดสินใจไม่ทำการบ้าน เด็กย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง ขณะที่พ่อแม่ก็ได้รับผลกระทบด้วยเมื่อคุณครูเรียกผู้ปกครองเข้าพบ ผลกระทบทางอ้อมเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่ลางาน ย่อมส่งผลถึงเพื่อนร่วมงานที่ต้องทำงานแทน เป็นต้น เมื่อเด็กๆ มองเห็นภาพรวมของสิ่งต่างๆ ที่เชื่อมโยงกัน เขาก็จะเข้าในถึงความรับผิดชอบต่อสังคมได้ง่ายขึ้น

ตัวอย่างที่ดี…มีความสำคัญ
เราจะสอนเด็กๆ ให้รับผิดชอบต่อสังคมได้อย่างไร หากเรายังทิ้งขยะลงพื้น เราจะสอนให้เด็กๆ นึกถึงคนอื่นๆ ได้อย่างไร หากเรายังขับรถปาดหน้า หรือแซงคิวทุกครั้งที่มีโอกาส ในบางครั้งเด็กๆ อาจไม่ฟังสิ่งที่เราพูด แต่พวกเขาไม่เคยพลาดที่จะเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่ที่เห็นเป็นประจำ การสอนลูกให้รับผิดชอบต่อสังคม จึงไม่อาจสำเร็จได้ หากว่าผู้ใหญ่ไม่ปรับเปลี่ยนไปพร้อมกับเด็กๆ สิ่งแรกที่ควรทำอย่างสม่ำเสมอคือ รับผิดชอบอารมณ์ของตัวเอง บ่อยครั้งที่ผู้ใหญ่อาจเหน็ดเหนื่อยจากภาระมากมาย แต่การหงุดหงิดใส่ลูก หรือระบายอารมณ์ด้วยน้ำเสียงและท่าทีกราดเกรี้ยวต่อเด็กๆ ไม่ได้ทำให้อะไรดีขึ้น กลับกันเด็กๆ อาจเรียนรู้ว่า เมื่อมีอารมณ์เชิงลบ พวกเขาก็แค่ระบายกับบางสิ่งบางอย่าง โดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไร เพราะฉะนั้น ความรับผิดชอบต่อสังคมในเด็กๆ จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มขึ้นจากผู้ใหญ่ภายในครอบครัวนั่นเอง

 

 การกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นไปตามความคาดหวังตามตำแหน่งในอาชีพหรือตำแหน่งที่สังคมกำหนดขึ้น ซึ่งโครงสร้างของบทบาทประกอบด้วย ลักษณะที่เฉพาะของแต่ละบุคคล การแสดงพฤติกรรมและตำแหน่งที่ครองอยู่ หรือพฤติกรรมที่คนในสังคมต้องทำตามสถานภาพในกลุ่มหรือสังคม
โดย บทบาท (Role) สามารถแยกได้ 4 ประเภทหลักดังนี้
1. บทบาทที่คาดหวัง (Role expectation) ทุกสังคมจะมีบทบาทให้ทุกคนปฏิบัติตามแต่ละสถานภาพ หรือเรียกว่า
2. บทบาทที่กระทำจริง (Role performance) ในชีวิตจริงทุกคนอาจไม่ได้ปฏิบัติตามบทบาทที่สังคมกำหนดไว้ เพราะต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์
3. บทบาทที่ขัดแย้ง (Role conflict) การอยู่ในสังคมทุกคนจะมีบทบาทที่ต้องกระทำแตกต่างกันหลายบทบาท การแสดงบทบาทหลายบทบาทในเวลาเดียวกัน
4. บทบาทที่ถูกบังคับ (Role strain) หากในการกระทำตามบทบาทนั้นเกิดความไม่เต็มใจที่จะทำตามบทบาทที่กำหนดไว้
การที่บุคคลมีบทบาทต่อสังคม และปฏิบัติตามหน้าที่ที่สังคมยอมรับ มีความสำคัญเป็นอันมาก เพราะทำให้การจัดระเบียบสังคมดีขึ้น เป็นการควบคุมสังคมให้เป็นระเบียบ ถ้าคนไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ตามบทบาทของตนในสังคมให้สมกับสถานภาพที่ได้รับ ก็จะทำให้สังคมเสียระเบียบ ทำให้เกิดปัญหาและความยุ่งยากให้แก่สังคม
แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทซึ่งสรุปได้ว่า บทบาทจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1.1 รู้สภาพของตนในสังคม
1.2 คำนึงถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น
1.3 คำนึงถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับผู้อื่น และ
1.4 ประเมินผลการแสดงบทบาทของตนเอง

หน้าที่ (DUTY) หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร เป็นต้นความสอดคล้องของสถานภาพและบทบาทของบุคคลที่มาของหน้าที่
1. ผลจากการที่คุณเป็นมนุษย์
2. ผลจากการที่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนอื่น
3. เป็นหลักในการในความประพฤติหนึ่งของบุคคล
4. เป็นสิ่งคาดหวังของตนในการทำหน้าที่ตามคุณธรรม
    ความรับผิดชอบ RESPONSIBILITY หมายถึง ลักษณะของบุคคลที่แสดงออกถึงความเอาใจใส่ จดจ่อตั้งใจ มุ่งมั่นต่อหน้าที่การงาน การศึกษาเล่าเรียน และการเป็นอยู่ของตนเอง และ ผู้อยู่ในความดูแล ตลอดจนสังคม อย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตามความมุ่งหมายในเวลาที่กำหนด ยอมรับผลการกระทำทั้งผลดีและผลเสียที่เกิดขึ้น รวมทั้งปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้นเป็นความผูกพันในการที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงไปได้ และความสำเร็จนี้เกี่ยวข้องกับปัจจัย 3 ประการ คือ พันธะผูกพัน หน้าที่การงาน และวัตถุประสงค์แบ่งประเภทความรับผิดชอบไว้ดังนี้
1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง หมายถึง
การรับรู้ฐานนะและบทบาทของตนที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมจะต้องดำรงตนให้อยู่ในฐานนะที่ช่วยเหลือตัวเองได้ รู้จักว่าสิ่งใดถูก สิ่งใดผิด ยอมรับผลการกระทำของตนเองทั้งที่เป็นผลดีและผลเสีย เพราะฉะนั้นบุคคลที่มีความรับผิดชอบในตนเองย่อมจะไตร่ตรองดูให้รอบคอบก่อนว่า สิ่งที่ตนเองทำลงไปนั้นจะมีผลดีผลเสียหรือไม่และจะเลือกปฏิบัติแต่สิ่งที่จะก่อให้เกิดผลดีเท่านั้น
2. ความรับผิดชอบต่อสังคม หมายถึง ภาระหน้าที่ของบุคคลที่จะต้องเกี่ยวข้อง และมีส่วนร่วมต่อสวัสดิภาพของสังคมที่ตนเองดำรงอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหลายสิ่งหลายอย่าง ตั้งแต่สังคมขนาดเล็ก ๆ จนถึงสังคมขนาดใหญ่ การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมีผลกระทบต่อสังคมไม่มากก็น้อย บุคคลทุกคนจึงต้องมีภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องปฏิบัติต่อสังคม ดังต่อไปนี้
2.1 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่พลเมือง ได้แก่
การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคม การรักษาทรัพย์สินของสังคม การช่วยเหลือผู้อื่น และการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น
2.2 ความรับผิดชอบต่อครอบครัว ได้แก่
การเคารพเชื่อฟังผู้ปกครอง การช่วยเหลืองานบ้านและการรักษาชื่อเสียงของครอบครัว
2.3 ความรับผิดชอบต่อโรงเรียน ได้แก่
ความตั้งใจเรียน การเชื่อฟังครู – อาจารย์ การปฏิบัติตามกฎของโรงเรียนและการรักษาสมบัติของโรงเรียน
2.4 ความรับผิดชอบต่อเพื่อน ได้แก่ การช่วยตักเตือนแนะนำเมื่อเพื่อนกระทำผิด การช่วยเหลือเพื่อนอย่างเหมาะสม การให้อภัยเมื่อเพื่อนทำผิดการไม่ทะเลาะและ เอาเปรียบเพื่อน และการเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน
บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบตามหลักศาสนา
ศาสนาพุทธ
    ทิศ 6 : บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ทางสังคม ดุจทิศที่อยู่รอบตัว 1. ปุรัตถิมทิศ (ทิศเบื้องหน้า คือ ทิศตะวันออก ได้แก่ มารดาบิดา เพราะเป็นผู้มีอุปการะแก่เรามาก่อน 

ก. บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ดังนี้ 1) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ 2) ช่วยทำการงานของท่าน 3) ดำรงวงศ์สกุล 4) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท 5) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน 

ข. บิดามารดาย่อมอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ 1) ห้ามปรามจากความชั่ว 2) ให้ตั้งอยู่ในความดี 3) ให้ศึกษาศิลปวิทยา 4) หาคู่ครองที่สมควรให้ 5) มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร2. ทักขิณทิศ (ทิศเบื้องขวา คือ ทิศใต้ ได้แก่ ครูอาจารย์ เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ควรแก่การบูชาคุณ 

ก. ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นทิศเบื้องขวา ดังนี้ 1) ลุกต้อนรับ 2) เข้าไปหา (เพื่อบำรุง คอยรับใช้ ปรึกษา และรับคำแนะนำ เป็นต้น) 3) ใฝ่ใจเรียน (คือ มีใจรัก เรียนด้วยศรัทธา และรู้จักฟังให้เกิดปัญญา) 4) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ 5) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ (คือ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ) 

ข. ครูอาจารย์ย่อมอนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ 1) ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี 2) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง 3) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง 4) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่คณะ 5) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนฝึกให้รู้จักเลี้ยงตัวรักษาตนในอันที่จะดำเนินชีวิตต่อไปด้วยดี)3. ปัจฉิมทิศ (ทิศเบื้องหลัง ทิศตะวันตก ได้แก่ บุตรภรรยา เพราะติดตามเป็นกำลังสนับสนุนอยู่ข้างหลัง 

ก. สามีบำรุงภรรยา ผู้เป็นทิศเบื้องหลัง ดังนี้ 1) ยกย่องให้เกียรติสมกับฐานะที่เป็นภรรยา 2) ไม่ดูหมิ่น 3) ไม่นอกใจ 4) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้ 5) หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส 

ข. ภรรยาย่อมอนุเคราะห์สามี ดังนี้ 1) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย 2) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี 3) ไม่นอกใจ 4) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ 5) ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง4. อุตตรทิศ (ทิศเบื้องซ้าย ทิศเหนือ ได้แก่ มิตรสหาย เพราะเป็นผู้ช่วยให้ข้ามพ้นอุปสรรคภัยอันตราย และเป็นกำลังสนับสนุน ให้บรรลุความสำเร็จ 

ก. บุคคลพึงบำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นทิศเบื้องซ้าย ดังนี้ 1) เผื่อแผ่แบ่งปัน 2) พูดจามีน้ำใจ 3) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน 4) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน 5) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน 

ข. มิตรสหายย่อมอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ 1) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน 2) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน 3) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ 4) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก 5) นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร5. เหฏฐิมทิศ (ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ คนรับใช้และคนงาน เพราะเป็นผู้ช่วยทำการงานต่างๆ เป็นฐานกำลังให้ 

    ก. นายพึงบำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นทิศเบื้องล่าง ดังนี้ 1) จัดการงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังความสามารถ 2) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่ 3) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลให้ยามเจ็บไข้ เป็นต้น 4) ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ 5) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาสอันควร 

    ข. คนรับใช้และคนงานย่อมอนุเคราะห์นาย ดังนี้ 1) เริ่มทำการงานก่อนนาย 2) เลิกงานทีหลังนาย 3) ถือเอาแต่ของที่นายให้ 4) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น 5) นำเกียรติคุณของนายไปเผยแพร่6. อุปริมทิศ (ทิศเบื้องบน ได้แก่ สมณพราหมณ์ คือ พระสงฆ์ เพราะเป็นผู้สูงด้วยคุณธรรม และเป็นผู้นำทางจิตใจ 

    ก. คฤหัสถ์ย่อมบำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นทิศเบื้องบน ดังนี้ 1) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา 2) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา 3) จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา 4) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ 5) อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย 4
    ข. พระสงฆ์ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้ 1) ห้ามปรามจากความชั่ว 2) ให้ตั้งอยู่ในความดี 3) อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี 4) ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง 5) ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง 6) บอกทางสวรรค์ คือทางชีวิตที่มีความสุขความเจริญเห็นว่า บุคคลแต่ละคนย่อมจะมีความสัมพันธ์ต่อกันไม่โดยฐานะใดก็ฐานะหนึ่ง และความสัมพันธ์ขั้นมูลฐานในสังคมที่ควรจะได้รับการปรับปรุง 

ความรับผิดชอบต่อตัวเองมีอะไรบ้าง

คือ 1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ 1.1 ความรับผิดชอบในการรักษาสุขภาพอนามัย 1.2 ความรับผิดชอบในการจัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค 1.3 ความรับผิดชอบด้านสติปัญญาและความสามารถ 1.4 ความรับผิดชอบในด้านความประพฤติ 1.5 ความรับผิดชอบด้านมนุษยสัมพันธ์ 1.6 ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจส่วนตัว 1.7 ความรับผิดชอบด้านการงานที่ได้รับมอบหมาย

หน้าที่รับผิดชอบ มีอะไรบ้าง

1. หน้าที่และความรับผิดชอบต่อตนเอง.
1.1 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ผู้อื่น.
1.2 ยึดหลักคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน.
1.3 ให้เกียรติผู้รู้ทั้งผู้ที่อาวุโสกว่า ผู้ที่เท่าเทียมกัน.
1.4 รักษาจรรยาบรรณวิชาชีพ.
2.1 มีความซื่อสัตย์ต่อผู้บังคับบัญชา.
2.2 รายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาตามความเหมาะสม.

การรับผิดชอบต่อตนเอง ทำอย่างไร

7 วิธีที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ “ รับผิดชอบ “ มากขึ้น.
1 . รับผิดชอบคำพูด อารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเอง ... .
2 . หยุดกล่าวโทษคนอื่น ... .
3 . หยุดบ่น ... .
4 . จัดการให้ตัวเองมีความสุข ... .
5 . ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ... .
6 . หยุดผลัดวันประกันพรุ่ง ... .
7 . มีวินัยกับตาราง.

มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม มีอะไรบ้าง

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือส่วนรวม หมายถึง รู้จักฐานะหน้าที่ความ รับผิดชอบของตนเองที่มีต่อสังคม อันได้แก่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประโยชน์แก่สังคม ส่วนรวม 16.