โรคเกี่ยวกับมดลูก มีอะไรบ้าง

เป็นที่ทราบกันดีว่า เพศหญิงจะมีความเสี่ยงกับอาการป่วยหลายอย่างมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะโรคในระบบสืบพันธุ์ หรือโรคในโพรงมดลูก จะมีความละเอียดอ่อน และมีความซับซ้อนมากเป็นพิเศษ ซึ่งเมื่อผู้หญิงส่วนมาก ไม่กล้าที่จะมาปรึกษาแพทย์เพราะเขินอาย ไม่กล้าที่จะไปตรวจภายใน จึงทำให้บ่อยครั้ง เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น ก็มักจะอดทน และหาวิธีแก้ปัญหาเอง รอจนทนความเจ็บปวดไม่ไหว สุดท้ายจึงทำให้การมาพบแพทย์นั้นก็อาจสายเกินไป ที่จะทำการรักษาให้หายดี ดังนั้น การทำความเข้าใจเรื่องโรคในโพรงมดลูก จึงเป็นสิ่งที่ผู้หญิงทุกคนไม่ควรมองข้าม เพื่อให้เรารู้เท่าทันโรค และเกิดความกลัวที่มากกว่าความอาย และได้รับการรักษาได้ทันท่วงที จนหายเป็นปกติ กลับมามีชีวิตที่สดใสได้อีกครั้ง

โพรงมดลูก ส่วนสำคัญที่หลายคนมองข้าม

เยื่อบุโพรงมดลูกมีความหนาประมาณ 5-6.7 มิลลิเมตร เป็นผนังด้านในสุดของมดลูก ซึ่งในแต่ละรอบประจำเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกจะได้รับการกระตุ้นจากฮอร์โมนเพศหญิงจากรังไข่ให้เจริญเติบโตหนาตัวขึ้น เพื่อรองรับการฝังตัวของไข่ที่ผสมกับตัวอสุจิ เพื่อการเจริญเติบโตเป็นทารก แต่เมื่อไม่มีการฝังตัวของไข่ เยื่อบุโพรงมดลูกจะลอกตัว เกิดเป็นประจำเดือนขึ้น เลือดที่ออกจึงไม่ใช่เป็นการขับเลือดเสียของร่างกาย

โรคที่เกี่ยวกับโพรงมดลูกมีอะไรบ้าง

  • โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

เป็นภาวะที่มีเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายกับเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญอยู่นอกมดลูก โดยมักพบที่รังไข่ ท่อนำไข่ ลำไส้ หรือผนังด้านนอกของมดลูก บางคนไม่มีอาการแสดงใด ๆ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการปวดท้องน้อย หรือมีบุตรยาก ซึ่งโรคนี้ไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด แต่มีการรักษาหลายวิธีที่อาจช่วยลดอาการปวดหรือช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

  • เยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ

ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ เป็นภาวะที่มีการอักเสบติดเชื้อที่มักเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียในเยื่อบุโพรงมดลูก โดยส่วนมากเป็นการติดเชื้อโรคที่อยู่ในช่องคลอดหรือที่ปากมดลูกที่ลุกลามขึ้นไปในโพรงมดลูกภาวะติดเชื้อในเยื่อบุโพรงมดลูกพบได้ในผู้หญิงทุกวัย แต่พบในวัยเจริญพันธุ์สูงกว่าในวัยอื่นๆ

  • โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

เป็นโรคของผู้ใหญ่ มักพบในอายุตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป โดยพบได้สูงขึ้นในช่วงวัยหมดประจำเดือนแล้ว แต่ก็สามารถพบในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่าได้เช่นกัน อาการที่พบได้ในผู้ป่วยโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ เช่น มีประจำเดือนบ่อย หรือมาก หรือ กะปริบกะปรอย และโดยเฉพาะมีเลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว มีตกขาว มีกลิ่นเหม็น เมื่อเป็นในระยะที่มากขึ้น ก้อนเนื้อโตจนกดเบียดทับกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติทางปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีการกดเบียดทับเนื้อเยื่อประสาทในช่องท้องน้อย/อุ้งเชิงกราน ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ช่วงล่าง(Low back pain) เรื้อรัง

การตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีการส่องกล้องโพรงมดลูก(Hysteroscopy)

การส่องกล้องโพรงมดลูกจะเริ่มโดยการใช้ยาระงับปวดเฉพาะที่ การดมยาสลบ จากนั้นแพทย์จะเริ่มจากใส่อุปกรณ์ถ่างขยายช่องคลอด(speculum)เข้าไปในช่องคลอด จากนั้นจะนำกล้องส่องโพรงมดลูก(hysteroscope)ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกล้องส่องทางไกลขนาดเล็ก ใส่ผ่านปากมดลูกเข้าไปในมดลูก แพทย์จะตรวจผิวเยื่อบุโพรงมดลูกและจุดที่ท่อนำไข่มาเปิดออกผ่านทางจอวีดีโอ

โรคเกี่ยวกับมดลูก มีอะไรบ้าง

การรักษาโดยวิธีการผ่าตัดผ่านกล้องโพรงมดลูก

การผ่าตัดส่องกล้องโพรงมดลูก เป็นการใช้กล้อง ส่องผ่านทางปากมดลูกเข้าไปที่โพรงมดลูก เพื่อวินิจฉัยความผิดปกติภายในโพรงมดลูก และผ่าตัดโดยไม่ต้องเปิดแผลหน้าท้องและผนังมดลูกและจะใช้อุปกรณ์เล็กๆใส่ผ่านกล้องเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อตัดเนื้อเยื่อหรือทำหัตถการที่จำเป็นต่างๆ นับเป็นการตรวจและรักษาไปในคราวเดียวกันได้อีกด้วย

จุดเด่นของการผ่าตัดด้วยวิธีการส่องกล้องโพรงมดลูก

  • จะไม่มีแผลที่หน้าท้อง ไม่มีร่องรอยแผลเป็น
  • แผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กทำให้กระทบต่ออวัยวะภายในน้อยลงมาก
  • ลดปัญหาภาวะแทรกซ้อน
  • ลดการเกิดพังผืดหลังผ่าตัด
  • เจ็บน้อย หายไว ฟื้นตัวเร็ว ไม่ต้องพักฟื้นที่ รพ.หลายวัน
  • หลังผ่าตัดสามารถกลับไปทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติภายใน 1-2 สัปดาห์

ความอายเป็นบ่อเกิดของการทวีความรุนแรง ที่จะทำให้ผู้หญิงทุกคนตกอยู่ในที่นั่งลำบาก ดังนั้น ถ้าหากเราต้องการเป็นผู้หญิงที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย นอกจากการดูแลสุขภาพตัวเองให้ดีแล้ว การตรวจสุขภาพประจำปี การตรวจภายใน ตรวจโรคเฉพาะผู้หญิง จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เราไม่ควรชะล่าใจ เพราะแต่ละปีที่ผ่านไป วัยที่สูงขึ้น คือที่มาของความเสี่ยงโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้ และก็มีเพียงแค่การตรวจภายในเท่านั้น ที่จะทำให้เราพบสาเหตุของโรคร้าย และรักษาได้ทันท่วงที

ดยอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น การตั้งครรภ์ เนื้องอกในมดลูก โรคมะเร็งบางชนิด เป็นต้น เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัว หรือรู้สึกหนักบริเวณช่องท้องส่วนล่าง ปกติแล้วภาวะมดลูกโตไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่หากมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีเลือดออกบริเวณช่องคลอด มีอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน เป็นต้น ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้

อาการของมดลูกโต

ภาวะมดลูกโตส่วนใหญ่ไม่ใช่การเจ็บป่วยที่ร้ายแรง ซึ่งในบางครั้งอาจไม่แสดงอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการดังต่อไปนี้

  • เจ็บปวดระหว่างมีเพศสัมพันธ์
  • ปวดระหว่างมีประจำเดือน และมีเลือดออกมากกว่าปกติ
  • รู้สึกแน่นและหนักบริเวณช่องท้องส่วนล่าง

อย่างไรก็ตาม อาการของภาวะมดลูกโตอาจเป็นสัญญาณของโรคอันตรายอย่างมะเร็งได้ ดังนั้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจหากมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ดังต่อไปนี้ ร่วมกับอาการข้างต้น

  • ปวดหลัง
  • ปวดกระดูกเชิงกราน
  • เป็นตะคริวที่ท้อง
  • มีเลือดออกจากช่องคลอดแม้ไม่ได้มีประจำเดือน

โรคเกี่ยวกับมดลูก มีอะไรบ้าง

สาเหตุของมดลูกโต

ภาวะมดลูกโตเกิดได้จากหลายสาเหตุ บางอย่างก็ไม่ใช่สาเหตุอันตราย อย่างการตั้งครรภ์ที่จะทำให้มดลูกขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งปกติแล้วมดลูกจะมีขนาดประมาณเท่ากับลูกแอปเปิ้ล แต่เมื่อตั้งครรภ์อาจทำให้มดลูกขยายตัวจนมีขนาดเท่ากับลูกแตงโมได้ โดยมดลูกจะหดตัวกลับสู่สภาพเดิมหลังคลอดประมาณ 1 เดือน

ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจทำให้เกิดภาวะมดลูกโตได้ ซึ่งบางสาเหตุก็อาจเป็นอันตรายร้ายแรง มีดังนี้

เนื้องอกในมดลูก อาจมีเนื้องอกเจริญเติบโตขึ้นได้ทั้งด้านในและด้านนอกของผนังมดลูก ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะนี้ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจเกิดจากปัจจัยบางอย่าง เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจน กรรมพันธุ์ และความอ้วน เป็นต้น โดยเนื้องอกในมดลูกเป็นสาเหตุหลักอย่างหนึ่งของภาวะมดลูกโต ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ คือ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปเจริญเติบโตบริเวณผนังมดลูก โดยสาเหตุนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่ปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดภาวะนี้ คือ ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่มีน้อยลงในผู้หญิงอายุมากกว่า 30 ปี หรือผู้ที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน อีกทั้งผู้หญิงที่เคยผ่านการผ่าคลอดก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะนี้เช่นเดียวกัน

มะเร็งในระบบสืบพันธุ์ โรคมะเร็งที่เกิดในบริเวณระบบสืบพันธุ์อย่างมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก อาจเป็นสาเหตุของภาวะมดลูกโตได้ โดยขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้อร้ายและขนาดของมดลูกด้วย

การวินิจฉัยมดลูกโต

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยภาวะมดลูกโตอาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติภายในร่างกาย จึงมักถูกตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อรับการตรวจสุขภาพทั่วไปและตรวจภายใน โดยแพทย์อาจวิเคราะห์ได้จากการคลำบริเวณหน้าท้องร่วมกับการอัลตราซาวด์บริเวณมดลูก เพื่อตรวจหาความผิดปกติ เช่น เนื้องอก ก้อนมะเร็ง เป็นต้น

ย่างไรก็ตาม หากรู้สึกได้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นบริเวณช่องท้องส่วนล่างหรือในมดลูก หรือมีอาการผิดปกติที่อาจเป็นสัญญาณของภาวะนี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาอย่างเหมาะสม

การรักษามดลูกโต

การรักษาภาวะมดลูกโตขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการด้วย ซึ่งสามารถรักษาได้ด้วยวิธีการแตกต่างกันไป ดังนี้

มดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่

ผู้ที่มีภาวะนี้ส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องรักษา แต่อาจต้องใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวด โดยแพทย์อาจให้ยาไอบูโพรเฟนเพื่อช่วยให้อาการอักเสบดีขึ้น และอาจให้ยาคุมกำเนิดหรือใช้ห่วงคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนผสมอยู่ เพื่อบรรเทาอาการปวดและช่วยให้เลือดไหลน้อยลง ทำให้เนื้องอกหยุดเจริญเติบโต แต่หากอาการรุนแรง แพทย์อาจแนะนำให้ผ่าตัดมดลูกด้วย

มดลูกโตจากเนื้องอกในมดลูก

สามารถรักษาเหมือนกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ได้ หรืออาจรักษาโดยการผ่าตัดนำเนื้องอกในมดลูกออก ส่วนวิธีการผ่าตัดนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเนื้องอกและบริเวณที่เกิดเนื้องอก นอกจากนี้ อาจรักษาด้วยการอุดเส้นเลือด (Embolization) โดยแพทย์จะใช้ท่อขนาดเล็กสอดเข้าไปในมดลูก และปล่อยอนุภาคเพื่อตัดเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงเนื้องอก ซึ่งจะทำให้เนื้องอกมีขนาดเล็กลงได้

มดลูกโตจากโรคมะเร็ง

อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการฉายรังสีหรือรับยาเคมีบำบัด ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ อาจต้องใช้วิธีผ่าตัดนำก้อนเนื้อหรือนำมดลูกออกไป

ภาวะแทรกซ้อนของมดลูกโต

อาการมดลูกโตนั้นไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลข้างเคียงใด ๆ ต่อร่างกาย แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดมดลูกโต อาจส่งผลให้เกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ดังนี้

  • มีอาการปวดและไม่สบายตัว
  • ท้องผูก เนื่องจากมดลูกโตจนไปเบียดลำไส้และไส้ตรง
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากมดลูกไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • มีปัญหาด้านการเจริญพันธุ์ หรือประสบภาวะมีบุตรยาก
  • อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทารกในครรภ์

การป้องกันมดลูกโต

ภาวะมดลูกโตมักเป็นส่วนหนึ่งของโรคหรือภาวะอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดมดลูกโต ฉะนั้น การป้องกันภาวะมดลูกโตจึงอาจต้องป้องกันโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เป็นต้นเหตุ ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • ลดน้ำหนัก เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกในมดลูก
  • ผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป ควรปรึกษาแพทย์เรื่องการรับมือเมื่อมีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดน้อยลง
  • ตรวจร่างกายและตรวจภายในเป็นระยะสม่ำเสมอ
  • เข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เป็นสาเหตุในการเกิดมดลูกโต เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก เป็นต้น

    จะรู้ได้ไงว่ามดลูกผิดปกติ

    ภาวะมดลูกผิดปกติแต่กำเนิด (Congenital uterine anomalies) เป็นสาเหตุของอาการปวดในอุ้งเชิงกราน, เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด, ภาวะแท้งเป็นอาจิณ, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือตรวจพบในผู้ป่วยที่มาหาแพทย์ด้วยอาการผิดปกติทางนรีเวชวิทยาอื่นๆ ผู้ป่วยที่ตรวจร่างกายพบความผิดบางอย่าง เช่น มีผนังกั้นแบ่งในช่องคลอด (longitudinal ...

    โรคในมดลูกมีอะไรบ้าง

    4 โรคไม่ใช่มะเร็ง แต่ผู้หญิงไม่ควรมองข้าม.
    แต่ถ้าคุณผู้หญิงมีอาการเหล่านี้ ... .
    1) โรคเนื้องอกมดลูก ... .
    2) ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่และช็อกโกแลตซีสต์ ... .
    3) ถุงน้ำหรือซีสต์ที่รังไข่ (Ovarian Cyst) ... .
    4) โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) ... .
    แนวทางรักษาโรค.

    มดลูกผิดปกติเกิดจากอะไร

    โรคมดลูกโตพบได้จากหลายสาเหตุหลัก ได้แก่ เนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มะเร็งในระบบสืบพันธุ์ แต่ส่วนใหญ่ที่พบคือ โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) คือ การที่เนื้อเยื่อในโพรงมดลูกเจริญหรือแทรกซึมเข้าไปในกล้ามเนื้อมดลูก ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดภาวะอักเสบเรื้อรังจนเกิดพังผืดในชั้นกล้าม ...

    โรคใดเกิดขึ้นในผู้หญิง

    สาว ๆ ต้องรู้!.
    1. มะเร็งเต้านม ... .
    2. มะเร็งปากมดลูก ... .
    3. โรคมะเร็งปอด ... .
    4. มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ... .
    5. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ... .
    6. โรคเนื้องอกมดลูก ... .
    7. ถุงน้ำหรือซีสต์ที่รังไข่ ... .
    8. โรคมดลูกโตจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่.