เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง

อัปเดตเมื่อ 30 ก.ค. 2564

ก่อนที่จะเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับงาน ต้องรู้จักก่อนว่าการเชื่อมคืออะไร เครื่องเชื่อมคืออะไร ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเชื่อมเพื่อใช้ในการต่อเชื่อมชิ้นงานได้ ในส่วนของเครื่องเชื่อม คือเครื่องผลิตกระแสไฟเชื่อม เพื่อใช้ในการเชื่อมประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน

ผู้ที่สนใจในงานเชื่อมจะต้องเลือกใช้เครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นด้านคุณสมบัติของการใช้งาน หรือคุณภาพของชิ้นงานเชื่อมฯลฯ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาดมีดังนี้

1.เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding)

เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ เป็นกระบวนการโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์(Electrode)กับชิ้นงาน ซึ่งเครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม

ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง

ข้อดี - เชื่อมได้เร็ว

- เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส

- พกพาสะดวก/ราคาประหยัด

ข้อเสีย - ควันมาก

- ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง

- ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ

2.เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW)

เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) หรือเครื่องเชื่อมอาร์กอน เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉี่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (รวมถึงชิ้นงานที่บางๆ)

ตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC

ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง

ข้อดี - การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม

- ความแข็งแรงของแนวเชื่อม

- สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ

ข้อเสีย - เชื่อมได้ช้า

- ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม

- การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน

3.เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas)

เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมคาร์บอน(CO2) เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้การป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้แก๊ส CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน หากจะเชื่อมอลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานทุกประเภท

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง

ข้อดี - เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว

- การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ

ข้อเสีย -ไม่เหมาะกับการเคลื่อนย้ายบ่อยๆ

4.เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma)

เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) เป็นเครื่องตัดที่ต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้าส่งไปที่ลมที่มีความเร็วตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสม่า (Solid liquid gas plasma) ลมพลาสม่าผลักออกไปตัดชิ้นงาน เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลสและอลูมิเนียมตามลำดับ

เครื่องเชื่อมไฟฟ้ามี2ชนิดอะไรบ้าง

ข้อดี - สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย

- สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย

ข้อเสีย - ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel

- คุณภาพงานต้องขึนกับความชํานาญของผู้ใช้

- เครื่องตัดพลาสม่าต้องเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองบ่อย

กำลังไฟเครื่องเชื่อม (Current Range)

การเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน

หากสงสัยเกี่ยวกับสินค้าตู้เชื่อม เครื่องเชื่อมต่างๆ สามารถติดต่อเราได้ที่ หรือ Line ID: @kovet ทีมงานที่เชี่ยวชาญของเรายินดีให้คำปรึกษา

ชนิดของเครื่องเชื่อมไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

หากพิจารณาลักษณะพื้นฐานแล้วจะสามารถแบ่งเครื่องเชื่อมไฟฟ้า ออกได้ 2 ชนิดคือเครื่องเชื่อมชนิดกระแสคงที่ (CC) และเครื่องเชื่อมชนิดแรงดันไฟฟ้าคงที่ (CV) โดยความแตกต่างนี้พิจารณาจากคุณลักษณะของ Volt Ampere Curves ซึ่งได้จากการกำหนดจุดระหว่างกระแสเชื่อมกับแรงเคลื่อนในขณะทำการเชื่อมนั่นเอง

ตู้เชื่อมไฟฟ้ามีกี่ระบบ

1. ตู้เชื่อมอาร์กอน หรือตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/ ...

เครื่องอ๊อกเหล็กมีกี่แบบ

เลือกเครื่องเชื่อมอย่างไรให้เหมาะสมกับงาน?.
2.เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW).
3.เครื่องเชื่อมแบบMIG (Metal Inert Gas).
4.เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma).

การเชื่อมมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

งานเชื่อม คืออะไร?.
การเชื่อมแก็ส (Gas Welding).
การเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding).
การเชื่อมอัด (Press Welding).
การเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding).
การเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding).
การเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding).