พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

ด้านการศึกษา

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

แม้รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจะมีระยะเวลาไม่นานนัก แต่ก็อาจกล่าวได้ว่าตลอดระยะเวลา ๑๕ ปีแห่งรัชสมัยเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง พระราชยกรณียกิจน้อยใหญ่ ในรัชกาลนี้ล้วนทรงมุ่งหมายที่จะนำพาประเทศสยามไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองทัดเทียมนานาอารยประเทศ ซึ่งจะขอยกมาแสดงพอเป็นสังเขปเฉพาะเรื่องที่สำคัญๆ ดังนี้

ทรงตระหนักว่า ประเทศชาติย่อมเจริญได้ด้วยการศึกษา ชาติใดไม่มีการศึกษาชาตินั้นย่อมเป็นป่าเถื่อน พระราชกรณียกิจสำคัญองค์แรกในรัชกาลที่ได้ทรงพระราชดำริในทันทีที่เสด็จเสวยสิริราชสมบัติจึงเป็นพระราชกรณียกิจด้านการศึกษา

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ซึ่งต่อมาพระบามสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย” ขึ้นแทนวัดประจำรัชกาลเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๕๓ พร้อมกันนั้นก็ได้โปรดให้ยกโรงเรียนมหาดเล็กซึ่งมุ่งฝึกหัดกุลบุตรออกรับราชการในกระทรวงมหาดไทยขึ้นเป็น “โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว” ก่อนที่จะโปรดให้ประดิษฐานเป็น “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๕๙

นอกจากนั้นยังได้โปรดให้ตราพระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ พ.ศ. ๒๔๖๑ เพื่อควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนเอกชนให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๔ บังคับให้เด็กทุกคนที่มีอายุตั้งแต่ ๗ ปีบริบูรณ์ จึงอาจกล่าวได้ว่าได้ทรงริเริ่มและวางรากฐานการศึกษาของชาติได้ครบบริบูรณ์นับแต่ประถม มัธยม และอุดมศึกษา

ด้านเศรษกิจและการส่งเสริมสินค้าไทย

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

คลังออมสินแห่งแรก ณ พระคลังมหาสมบัติ

พระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงประโยชน์ของการออมว่าจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาประเทศ จึงทรงจัดตั้งแบงค์ลีฟอเทีย ขึ้นแต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อฝึกหัดส่งเสริมให้มหาดเล็กข้าในกรมได้รู้จักการออมทรัพย์ และเมื่อเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้วก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง “คลังออมสิน” ขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อเป็นสถานที่รับฝากและรักษาทรัพย์ให้แก่ราษฎร อีกทั้งเป็นแหล่งปลูกฝังอุปนิสัยการออมแก่เยาวชนของชาติ

นอกจากนั้นยังได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัดขึ้น เพื่อวางรากฐานและฝึกฝนคนไทยให้รู้จักการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม รวมทั้งเพื่อทดแทนการนำเข้า รวมทั้งได้โปรดให้จัดตั้ง “สภาเผยแผ่พาณิชย์และสถิติพยากรณ์” เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทางการค้าและทำหน้าที่ส่งเสริมการค้าขายทั้งในและระหว่างประเทศ

ในตอนปลายรัชกาลยังได้โปรดเกล้าให้เตรียมการจัดงานแสดงสินค้าศิลปหัตถกรรม ผลิตผลการเกษตรและอุตสาหกรรมที่โปรดให้เรียกว่า “งานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์” ณ สวมลุมพินี เพื่อฟื้นฟู เศรษฐกิจของชาติและเผยแพร่ให้ชาวไทยและต่างชาติได้รู้จักสินค้าไทยอันเป็นการส่งเสริมการส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก แต่งานนี้ต้องล้มเลิกไปเพราะเสด็จสวรรคตเสียก่อน

ด้านการแพทย์และสาธารณะสุข

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในที่ดินส่วนพระองค์ริมถนนพระรามที่ ๔

นอกจากจะโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งวชิรพยาบาลขึ้นเมื่อวันที่ ๓ มกรคม ร.ศ.๑๓๑ แล้ว ยังได้ทรงร่วมกับพระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกันจัดสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในที่ดินส่วนพระองค์ริมถนนพระรามที่ ๔ เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แด่สมเด็จพระบรมชนกนาถ ครั้นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี สวรรคตใน พ.ศ. ๒๔๖๒ แล้วก็ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดสร้างสถานเสาวภาถวายเป็นพระบรมราชินยนุสาวรีย์แด่สมเด็จพระบรมราชชนนี

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปิดโรงกรองน้ำประปาสามเสนเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ ด้วยทรงหวังประโยชน์ว่าน้ำประปาจะเป็น “…เครื่องประหารสรรพโรคร้ายที่จะเบียดเบียนให้ร้ายแก่ประชาชนผู้เป็นพสนิกรของเรา…” รวมทั้งได้โปรดเกล้าฯให้รวมงานสุขาภิบาลจากกระทรงนครบาลและกระทรวงมหาดไทยเข้าด้วยกันจัดเป็น“กรมสาธารณสุข” ซึ่งได้เป็นกระทรวงสาธารณสุขในปัจจุบัน

ด้านกฎหมายและการศาล

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

ทรงปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลไทยให้ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศ จนสามารถยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตที่ลิดรอนเอกราชทางการศาลของไทยได้เป็นผลสำเร็จในตอนปลายรัชกาล นอกจากนั้นยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบศาลยุติธรรมใหม่ โดยโปรดยกศาลฎีกาซึ่งเดิมเคยเป็นพระราชอำนาจเป็นศาลสูงสุดไปรวมอยุ่ในกระทรวงยุติธรรม รวมทั้งโปรดให้แยกอำนาจเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมให้คงปกครองบังคับบัญชาราชการฝ่ายธุรการ ส่วนราชการฝ่าย ตุลาการทรงมอบหมายให้อธิบดีศาลฎีกาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด นับเป็นครั้งแรกที่มีการแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจบริหาร

นอกจากจะโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมร่างกฎหมายขั้นในกระทรวงยุติธรรม เพื่อทำหน้าที่ยกร่างประมวลกฎหมายและพระราชบัญญัติต่างๆ แล้วยังได้โปรดให้ตรากฎหมายที่สำคัญอีกหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติชันสูตรพลิกศพ ซึ่งกำหนดให้ผู้พิพากษามีหน้าที่ชันสูตรพลิกศพจากการฆาตกรรม ทรงยกร่างและโปรดให้ตราพระราชบัญญัติทนายความ เพื่อควบคุมความประพฤติของทนายความและคุ้มครองสิทธิของประชาชนรวมทั้งโปรดให้จัดตั้งเนติบัณฑิตยสภา ในพระบรมราชูปถัมภ์ เพื่อบำรุงวิชากฎหมาย กับได้โปรดให้จัดตั้งสภานิติศึกษาเพื่อจัดระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษาตลอดจนควบคุมการดำเนินงานของโรงเรียนกฎหมาย

ด้านการวางรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเตรียมการที่จะพระราชทานการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระกับการปกครองท้องถิ่นมาแต่แรกเสด็จเสวยราชสมบัติ จึงได้โปรดให้ขยายการศึกษาเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่พสนิกรไทยในอันที่จะมีส่วนร่วมปกครองตนเอง ในขณะเดียวกันก็ได้ทรงฝึกหัดสั่งสอนข้าราชการให้เข้าใจถึงการปกครองในระบอบประชาธิปไตยในรูปแบบต่างๆ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองจำลอง “ดุสิตธานี” ขึ้นที่พระราชวังดุสิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ ก่อนที่จะโปรดให้ย้ายไปตั้งที่พระราชวังพญาไทในปี พ.ศ. ๒๔๖๒ และในวโรกาสที่เสด็จฯ ทรงเปิดนาครศาลาหรือ ศาลารัฐบาลของมณฑลดุสิตธานี เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ได้มีพระราชดำรัสตอบคำกราบบังคมทูลของสมุหเทศาภิบาลมณฑลดุสิตธานี ตอนหนึ่งว่า

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ต่อมาบรรดาข้าราชการกระทรวงมหาดไทยซึ่งได้เป็นทวยนาครของดุสิตธานี ได้รับสนองพระราชดำริในเรื่องการจัดการปกครองตามรูปแบบที่ได้ขยายการปกครองนั้น ออกไปทั่วราชอาณาจักรในชื่อว่า “เทศบาล”

ด้านการป้องกันประเทศ ทรงให้ความสำคัญแก่การป้องกันประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะด้านการทหาร ดังจะเห็นได้จาก การที่กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้จัดสรรงบประมาณให้แก่ราชการทหารเป็นสัดส่วนโดยเฉลี่ยถึง ๑ ใน ๔ ชองงบประมาณทั้งหมด หรือ คิดเป็นประมาณร้อยละ ๒๔.๓ ของงบประมาณแผ่นดินแต่ละปีและเพื่อปรับปรุงสมรรถภาพของกองทัพ

พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกกรมทหารเรือออกจากกระทรวงกลาโหมมาตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือออกจากกระทรวงกลาโหมมาตั้งเป็นกระทรวงทหารเรือโดยเอกเทศ กับทั้งทรงจัดตั้งสภาป้องกันราชอาณาจักรขึ้นทำหน้าที่ประสานงานระหว่างฝ่ายทหารบกและทหารเรือโปรดเกล้าฯ ให้ซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยเข้ามาจากประเทศรวมทั้งเรือรบหลวงพระร่วงซึ่งเป็นเรือพิฆาตลำแรกของกองทัพเรือไทย ได้ทรงซื้อด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์และเงินที่ประชาชนร่วมบริจาคสมทบ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นาวาโท พระหาญสมุท (บุญมี พันธุมนาวิน) ไปศึกษาการใช้เรือดำน้ำในกองทัพเรืออังกฤษด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้สงวนที่ดินบริเวณอ่าวสัตหีบไว้ในกองทัพเรือใช้เป็นที่ตั้งฐานทัพเรือ เพื่อทำหน้าที่รักษาพระราชอาณาเขตด้านอ่าวไทย ส่วนการป้องกันประเทศทางอากาศได้ทรงจัดตั้งหน่วยบินทหารบกขึ้นเป็นครั้งแรก

เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ซึ่งต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นกองบินทหารบก แล้วพัฒนาเป็นกรมอากาศยานทหารบกและเป็นกองทัพอากาศในเวลาต่อมา

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

พ.ศ. ๒๔๕๔ ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง

ด้านการบำรุงขวัญประชาชนและฝึกฝนกำลังทหาร ได้ทรงจัดให้มีการซ้อมรบใหญ่ของทหารทุก ๒ ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะการเกณฑ์ทหาร พุทธศักราช ๒๔๖๐ กับพระราชบัญญัติเกณฑ์พลเรือนอุดหนุนราชการทหาร พุทธศักราช ๒๔๖๔

นอกจากนั้น ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนากองเสือป่าขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๔ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เจ้านาย ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ได้รับฝึกหัดอบรมอย่างทหารเพื่อช่วยเจ้าหน้าที่รักษาความสงบทั่วไปในเมือง เช่น ช่วยจับกุมผู้ร้าย ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้ ตลอดจนเตรียมพร้อมไว้ป้องกันรักษาดินแดนในคราวจำเป็น

ในปีเดียวกันกับที่ทรงตั้งกองเสือป่า ได้ทรงตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง คือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน เพื่อฝึกหัดเยาวชนให้มีคุณสมบัติที่ดี มีความสามัคคี ความมานะ อดทนและเสียสละเพื่อส่วนรวม พร้อมทั้งพระราชทานคติพจน์แก่เสือป่าและลูกเสือไว้ว่า “เสียชีพอย่าเสียสัตย์” กิจการลูกเสือนี้ได้ขยายตัวเจริญรุ่งเรืองไปทั่วพระราชอาณาจักรจนกระทั่งทุกวันนี้ และได้มีวิวัฒนาการเป็นกองอาสารักษาดินแดน ลูกเสือชาวบ้านและเนตรนารี เป็นต้น

ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

“ศิลป์ พีระศรี” หนึ่งในศิลปินต่างชาติ ที่โปรดให้เข้ามารับราชการ

ตลอดรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ทรงทำนุบำรุงและฟื้นฟูศิลปกรรมไทยทุกสาขา รวมทั้งทรงส่งเสริมวัฒนธรรมไทย เพราะทรงตระหนักดีว่าศิลปวัฒนธรรมเป็นสิ่งแสดงความเจริญรุ่งเรืองของชาติ

ในด้านจิตรกรรม ทรงส่งเสริมการวาดจิตรกรรมฝาผนัง ทรงพระกรุณาให้หาผู้เชี่ยวชาญด้านจิตรกรรมและประติมากรรมจากต่างประเทศเข้ามารับราชการในประเทศ ศิลปินต่างชาติที่โปรดให้หาเข้ามารับราชการในครั้งนั้นมีหลายท่าน ศิลปินที่เป็นที่รู้จักกันดีของคนไทย คือ Prof. Corrado Feroci หรือที่รู้จักในนาม “ศิลป์ พีระศรี”

ด้านสถาปัตยกรรม ทรงโปรดรูปแบบของอาคารทรงไทย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งสามัคคีมุขมาตย์ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เป็นพระที่นั่งทรงไทยองค์แรก มีลักษณะเป็นท้องพระโรง โถงสำหรับเสด็จออกขุนนาง และสามารถปรับเป็นโรงโขนรวมทั้งเป็นที่อบรมเสือป่า อาคารทรงไทยอื่นๆ ที่โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นได้แก่ หอประชุมและหอนอนโรงเรียนมหาดเล็กหลวงหรือโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน รวมทั้งตึกบัญชาการโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปัจจุบันคือ ตึกอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น

ด้านวัฒนธรรมไทย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ โดยมีพระราชประสงค์ให้นามสกุลเป็นหลักของการสืบเชื้อสายต่อเนื่องกันทางบิดาผู้ให้กำเนิด เป็นศักดิ์ศรีและแสดงสายสัมพันธ์ในทางร่วมสายโลหิตของบุคคล นอกจากนั้นยังได้โปรดพระราชทานนามสกุลแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการและพสกนิกรผู้ที่กราบบังคมทูล พระกรุณาขอพระราชทานรวมทั้งสิ้น ๖,๔๗๐ นามสกุล

ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดงานด้านวรรณกรรมมาตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ โดยทรงริเริ่มออกวารสารรายสัปดาห์สำหรับเด็กชื่อว่า The Screech Owl และได้ทรงพระราชนิพจน์เรื่องสำหรับเด็กไว้ในวารสารนี้ด้วย

พระราชนิพนธ์ในพระองค์มีเป็นจำนวนนับพันและมีทุกประเภทวรรณศิลป์ ได้แก่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราโชวาท พระบรมราชานุศาสนีย์ พระธรรมเทศนา นิทาน บทชวนหัว สารคดี บทความ ในหนังสือพิมพ์และร้อยกรอง นอกจากนี้ยังทรงพระราชนิพจน์เป็นภาษาอังกฤษไว้หลายเรื่อง

พระนามแฝงที่ทรงใช้อยู่มีเป็นจำนวนมาก เช่น ศรีอยุธยา รามจิติ พันแหลม อัศวพาหุ เป็นต้น พระราชนิพนธ์แต่ละเรื่องของพระองค์ นอกจากให้สาระและความเพลิดเพลินแล้วยังเต็มไปด้วยสุภาษิตข้อคิดและคำคม เป็นมรดกทางวรรณกรรมที่ตกทอดมาถึงปัจจุบัน

สิ่งสำคัญที่ทรงริเริ่ม

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงชาติใหม่แทน “ธงช้าง” และพระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์”

นอกจากพระราชกรณียกิจต่างๆ ดังได้บรรยายมาแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังได้ทรงริเริ่มสิ่งที่สำคัญไว้แก่ประเทศชาติและพสนิกรของพระองค์อีกมากมาย ซึ่งจะขอยกมาเพียงสังเขป ดังนี้

พ.ศ.๒๔๕๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ “พุทธศักราช” เป็นศักราชในราชการแทนการใช้ “รัตนโกสินทร ศก” เพราะทรงมีพระราชดำริว่า การใช้รัตนโกสินทร ศกไม่สะดวกสำหรับเหตุการณ์ในอดีตก่อนตั้งกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างธงชาติใหม่แทนธงช้าง มีลักษณะเป็นธง ๓ สี ประกอบด้วยสีแดง ขาว น้ำเงิน มีความหมายแทนสถาบันสูงสุด ๓ สถาบัน คือ ชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ พระราชทานนามว่า “ธงไตรรงค์” และในปีเดียวกันนั้นได้

โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชกฤษฎีกาคำนำหน้านาม พุทธศักราช ๒๔๖๐ กำหนดให้ใช้คำนำหน้านามสตรีเป็นระเบียบอย่างอารายประเทศ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ “ประกาศนับเวลาในราชการ” โดยทรงกำหนดให้เปลี่ยนวิธีนับเวลาแบบโมงยามมานับแบบสากลนิยม คือแบ่งวันหนึ่งเป็น ๒๔ ภาค แต่ละภาคเรียกว่า “นาฬิกา” และให้ถือเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนใหม่

  • ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาให้ใช้เวลาอัตราสำหรับประเทศไทยทั่วพระราชอาณาจักรเป็น ๗ ชั่วโมงก่อนเวลากรีนิช ประเทศอังกฤษ
  • พ.ศ. ๒๔๖๔ โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาด้วยคำนำหน้านามเด็ก
  • พ.ศ. ๒๔๖๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติมาตราชั่ง ตวง วัด ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้คนไทยมีวิธีชั่ง ตวง วัด เป็นแบบเดียวกันทั่วประเทศ และทรงกำหนดให้ใช้ระบบเมตริกแบบอารยประเทศตะวันตก
  • นอกจากนั้น ยังทรงขยายความสัมพันธ์ทางการทูต โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีการแลกเปลี่ยนผู้ช่วยทูตทหารครั้งแรก ทรงให้การรับรองประเทศเกิดใหม่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกขององค์การหรือสมาคมระหว่างประเทศ เช่น เป็นสมาชิกริเริ่มขององค์การสันนิบาตชาติที่ตั้งขึ้นใน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นสมาชิกสหภาพสากลไปรษณีย์องค์การอนามัยโลก สภากาชาดสากล และยามใดที่ส่วนต่างๆ ของโลกได้รับความเดือดร้อนจากภัยพิบัติ ประเทศไทยก็เข้าร่วมกับนานาชาติบริจาคเงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ทุกครั้ง

ข้อใดเป็นพระราชกรณียกิจด้านการคมนาคมของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว *

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำรุงกิจการรถไฟตามพระราชดำริในสมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขยายทางรถไฟสายใต้ไปต่อกับทางรถไฟสายมลายูของอังกฤษที่ปาดังเบซาร์และสุไหงโกลก สายเหนือไปถึงเชียงใหม่ สายตะวันออกไปถึงอรัญประเทศ สายตะวันออกเฉียงเหนือถึงหนองคายและอุบลราชธานี และให้เชื่อมทางรถไฟสายต่างๆ ไว้ที่กรุงเทพฯ ...

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีผลงานพระราชนิพนธ์เรื่องใดบ้าง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้หลายด้าน อาทิ ประเภทวรรณคดี - พระนลคำหลวง นารายณ์สิบปาง ศกุนตลา มัทนะพาธา ฯลฯ ประเภทบทละคร - หัวใจนักรบ พระร่วง โรมิโอและจูเลียต ตามใจท่าน เวนิชวาณิช ฯลฯ ประเภทธรรมะ - เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร พระบรมราโชวาทในงานวิสาขบูชา ฯลฯ

พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของรัชกาลที่ 5 ได้แก่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการเลิกทาสและไพร่ในประเทศไทย การป้องกันการเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิฝรั่งเศสและจักรวรรดิอังกฤษ ได้มีการประกาศออกมาให้มีการนับถือศาสนาโดยอิสระในประเทศ โดยบุคคลศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้อย่างอิสระ นอกจากนี้ได้มีการนำระบบจากทางยุโรป ...

บทพระราชนิพนธ์เรื่องใดของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการสนับสนุนกิจการเสือป่า ที่พระองค์ก่อตั้งมากที่สุด

รัชกาลที่ 6 พระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง หัวใจรักรบ ขึ้นในปี 2456 โดยทรงมีจุดมุ่งหมายชักจูงให้คนไทยหันมาสนับสนุนกิจการเสือป่าที่พระองค์ทรงก่อตั้งขึ้นในปี 2454.