บทบาทหน้าที่ของธนาคารมีอะไรบ้าง

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. หรือแบงก์ชาติ) ได้จัดตั้ง ศคง. หรือศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2555 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางในการดำเนินงาน​​ด้านการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมการให้ความรู้ทางการเงินแก่ผู้ใช้บริการทางการเงิน

บทบาทหน้าที่ของธนาคารมีอะไรบ้าง
 

ทำไมต้องคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน

จากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการแข่งขันการให้บริการทางการเงินที่เข้มข้นขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินมีความหลากหลายและซับซ้อนยิ่งขึ้น ผู้ใช้บริการทางการเงินในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องเข้าใจบริการทางการเงินเพื่อให้สามารถเลือกใช้บริการทางการเงินที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง ลดความเสี่ยงและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้บริการ รวมทั้งรู้เท่าทันการหลอกลวงทางการเงินจากกลุ่มมิจฉาชีพ ​เพื่อไม่ตกเป็นเหยื่อภัยทางการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ด้วย

​นอกจากนี้ ในปัจจุบันผู้ใช้บริการทางการเงินมีความคาดหวังที่จะได้รับการคุ้มครองและปกป้องสิทธิทางการเงินมากขึ้น ประกอบกับ ธปท. เองก็มีหน้าที่​หรือพันธกิจที่จะต้องดูแลให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรมจากการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินภายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. มากที่สุด ทั้งหมดจึงเป็นเหตุผลว่าทำไม ธปท. จึงต้องคุ้มครอง​ผู้ใช้บริการทางการเงิน 

​โครงสร้างอ​งค์กร​​

ศคง. มีบทบาทหน้าที่อย่างไร

​ศคง. มีบทบาทหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ​

01

ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน

​เกี่ยวกับบริการทางการเงินของสถาบั​นการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่ภ​ายใต้การกำกับดูแลของ ธปท. เพื่อเป็นช่องทางรับฟัง ช่วยแก้ไขปัญหา และติดตามผลให้แก่ประชาชน รวมทั้งให้ข้อมูลเกี่ยวกับบริการทางการเงินที่ ธปท. ดูแล ได้แก่ ธนบัตร พันธบัตร และกฎระเบียบธุรกรรมเงินตราต่างประเทศ

02

ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับบริการทางการเงิน

เพื่อให้ประชาชนมีความรู้เบื้องต้นทางการเงินอย่างเพียงพอที่จะดูแลตัวเองได้ เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเอง รู้จักวางแผนการเงินสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสมและรู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมกลโกง โดยดำเนินการผ่านสื่อความรู้และการจัดกิจกรรมต่าง ​ๆ​​​​

03

ส่งเสริมบทบาทหน้าที่ของ ธปท.

ในการกำกับดูแลให้สถาบันการเงินให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นธรรม โดยการส่งผ่านข้อมูลปัญหา ข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการกำหนดนโยบายตรวจสอบและกำกับดูแลสถาบันการเงินให้ดำเนินการ​อย่างถูกต้องและคำนึงถึงสิทธิขั้น​พื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินต่อไป

ธนาคาร (อังกฤษ: bank) 

             คือสถาบันรับฝากเงินจากสาธารณชนทั่วไปและให้ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเงินฝาก แล้วนำเงินที่รับฝากไปปล่อยให้หน่วยงานเอกชนหรือรัฐบาลกู้และรับผลตอบแทนมาเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ ต่างจาก ธนาคาร (น็อนแบงก์) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร กล่าวคือไม่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการธนาคารพาณิชย์จากธนาคารแห่งประเทศไทย ไม่สามารถเปิดบัญชีเงินฝากให้แก่ประชาชน แต่สามารถให้บริการทางการเงินเฉพาะบางประเภทที่ใกล้เคียงกัน อาทิในการให้สินเชื่อระยะสั้น


ประเภทของธนาคาร
1.ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ
2.ธนาคารพาณิชย์
3.ธนาคารที่ตั้งขึ้นเฉพาะกิจ
หน้าที่ของธนาคารกลางหรือธนาคารชาติ
          ธนาคารกลางหรือธนาคารชาติทำหน้าที่ทางการเงินของประเทศ ภายใต้การควบคุมของกระทรวงการคลัง เพื่อดูแลรักษาผลประโยชน์โดยรวมของชาติมีชื่อเรียกว่า"ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารชาติ" มีหน้าที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้
1.มีอำนาจออกธนบัตรและพิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้
2.รับฝากเงินจากหน่วยงานราชการต่าง ๆ และรัฐวิสาหกิจ
3.รับฝากเงินจากธนาคารพาณิชย์
4.ให้ธนาคารพาณิชย์กู้ยืมเงิน
5.เป็นตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล ในการติดต่อธนาคารโลก
6.รักษาเสถียรภาพทางการเงินของรัฐบาล
7.ควบคุมสินเชื่อ และเป็นตัวแทนของรัฐบาลในการกำกับดูแลและควบคุมธนาคารพาณิชย์

บทบาทหน้าที่ของธนาคารกลางคืออะไร

ควบคุมปริมาณเงินของประเทศ เป็นนายธนาคารของรัฐบาลและธนาคารของนายธนาคาร ("ผู้ให้กู้ยืมแหล่งสุดท้าย") จัดการการเปลี่ยนต่างประเทศและปริมาณทองคำสำรองของประเทศ และทะเบียนหุ้นของรัฐบาล กำกับและดูแลอุตสาหกรรมการธนาคาร

ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษมีหน้าที่อะไรบ้าง

​​​​​​​หมายถึง สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินการตามนโยบายของรัฐในการพัฒนาส่งเสริมเศรษฐกิจ และสนับสนุนการลงทุนต่าง ๆ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลังซึ่งได้มอบหมายให้ ธปท. ทำหน้าที่ตรวจสอบผลการดำเนินงานและความเสี่ยง และรายงานผลการตรวจสอบไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่หลักอยู่ 3 ประการได้แก่อะไรบ้าง

3. หน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ ธนาคารพาณิชย์ไม่ว่าจะอยู่ในระบบใดก็ตาม ต่างก็มีหน้าที่คล้ายคลึงกัน กล่าวโดยทั่วไป แล้วหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์อาจจะแยกได้เป็นสามประการด้วยกัน คือ หน้าที่ในการรับฝากเงิน หน้าที่ในการสร้างเงินฝาก และหน้าที่ในการให้บริการอื่น ๆ กล่าวคือ

ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ มีอะไรบ้าง

2) ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ เป็นธนาคารที่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น · ธนาคารออมสิน จัดตั้งขึ้นเพื่อระดมเงินออมจากประชาชนทั่วไป และเป็นแหล่งเงินกู้ภายในประเทศของรัฐบาล · ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีบ้านและที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง