บทบาทหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมีอะไร

รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร


เผยแพร่ 19 พ.ค. 2565, 15:03น.




รู้หรือไม่! อำนาจหน้าที่ของ “ผู้ว่าฯ กทม.-ส.ก.” ต่างกันอย่างไร เพื่อให้คนกรุงได้ใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ก่อนเข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 22 พ.ค.นี้

ใกล้เข้ามาแล้ว ! วันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ เป็นวันเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (ส.ก.) ดังนั้นแล้ว เมื่อเลือกตั้งทั้งผู้ว่าฯ กทม. และ ส.ก. ทั้งสองกลุ่มนี้จะเข้าไปทำงานในส่วนใด และจะทำงานต่างกัน หรือเกื้อหนุนกันอย่างไร

ทีมข่าว PPTVHD36 ร่วมกับ คณะนิเทศศาสตร์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ได้รวบรวมข้อมูลมา เพื่อให้คนกรุงได้ใช้ข้อมูลนี้ประกอบในการตัดสินใจเลือกผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่ต่อไป ดังนี้

ปัญหาทางเท้ากับ ผู้ว่าฯกทม.คนต่อไปจะแก้ไขปัญหาได้หรือไม่

ประชันหมัดเด็ดโค้งสุดท้าย ศึกชิงตำแหน่งผู้ว่าฯ กทม.

โควิดไทย 10 จังหวัดสูงสุด ยอดป่วยพุ่งเพิ่มขึ้นหลายแห่ง

บทบาทหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมีอะไร

ผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง?

ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 โดย ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  • กำหนดนโยบายและบริหารราชการเขตกรุงเทพมหานครให้เป็นไปตามกฎหมาย
  • สั่งการ อนุญาต หรืออนุมัติเกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
  • แต่งตั้งหรือถอดถอนรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รวมไปถึง เลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการอื่น ๆ
  • บริหารงานตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
  • วางระเบียบเพื่อปรับปรุงงานของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  • เป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพมหานคร
  • รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของกรุงเทพมหานคร
  • มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายอื่นได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรีหรือคณะเทศมนตรี แล้วแต่กรณีโดยอนุโลม ทั้งนี้เว้นแต่พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครจะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
เปิด 10 ปัญหาของคนกรุง ที่ผู้ว่าฯคนใหม่ต้องเร่งแก้ไข

ปี 65 คนกรุงมีสิทธิ์เลือกตั้งกว่า 4 ล้านคน สถิติ 10 ครั้งย้อนหลังไม่ถึง 70%

สก. มีอำนาจหน้าที่อะไรบ้าง?

โดยสภากรุงเทพมหานคร มีกฎหมายกำหนดให้มีอำนาจดังต่อไปนี้

  • เสนอและพิจารณาให้ความเห็นชอบในการตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
  • พิจารณาและให้ความเห็นชอบในร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ซึ่งเป็นการพิจารณางบประมาณทุกหน่วยงานของกรุงเทพมหานครที่ฝ่ายบริหารตั้งมาว่ามีเหตุผลเหมาะสมอย่างไร และจะเพิ่มหรือลดให้เป็นไปตามกระบวนการของการออกข้อบัญญัติ
  • ควบคุมการบริหารงานของฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย
  1. การตั้งกระทู้ถามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในเรื่องใด ๆ อันเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ใช้ในการควบคุมได้ทางหนึ่ง
  2. การเสนอญัตติ เพื่อให้กรุงเทพมหานครดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานคร หากที่ประชุมสภาเห็นชอบในญัตติของสมาชิกสภา จะส่งญัตติในเรื่องนั้น ๆ ให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการต่อไป
  3. การเปิดอภิปรายทั่วไป จะกระทำได้โดยสมาชิกสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 2 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เข้าชื่อเพื่อเสนอญัตติขอให้เปิดอภิปรายทั่วไปให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแถลงข้อเท็จจริง หรือแสดงความคิดเห็นในปัญหาอันเกี่ยวกับการบริหารราชการกรุงเทพมหานครได้
  4. การเป็นกรรมการสภา ซึ่งถือได้ว่าเป็นบทบาทอันสำคัญของสมาชิกที่จะควบคุมติดตามผลการบริหารงานของฝ่ายบริหารได้ เพราะคณะกรรมการของสภามีอำนาจกระทำกิจการหรือพิจารณาสอบสวนหรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครได้ แล้วรายงานต่อสภากรุงเทพมหานคร ถ้าสภากรุงเทพมหานครเห็นชอบกับรายงานของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว ประธานสภาก็จะส่งเรื่องให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการตามมติของสภาต่อไป
  5. อำนาจในการพิจารณาให้ความเห็นชอบในกิจการที่มีกฎหมายบัญญัติให้ต้องขอความเห็นชอบจากสภา หรือต้องรายงานให้สภาทราบ
  • อำนาจในการอนุมัติ ประกอบด้วย
  1. การอนุมัติข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร
  2. การอนุมัติให้ขยายเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการที่สภาแต่งตั้งออกไป ในกรณีที่ดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนด
  3. อำนาจในการวินิจฉัย
  4. ให้สมาชิกสภาภายนอก เพราะเห็นว่าได้กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียแก่เกียรติศักดิ์ของตำแหน่ง มติของสภาต้องมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวนของสมาชิกทั้งหมดของสภา
  5. ให้สมาชิกสภาลาประชุมในสมัยประชุมหนึ่งเกินกว่า 3 วัน ที่มีการประชุม
  6. กรณีมีปัญหาที่ต้องตีความข้อบังคับ ให้เป็นอำนาจของสภาที่จะวินิจฉัย
  • ร่วมกับฝ่ายบริหารในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน

ทั้งหมดนี้ แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีอำนาจในการทำงานในหลากหลายเรื่อง แต่สุดท้ายก็ยังต้องผ่านฝ่ายของสภากรุงเทพมหานครอยู่ดี หากผู้ว่าฯ กทม. มีอำนาจมากจนเกินไป อาจทำให้การบริหารงานออกมาได้ไม่ดีเท่าที่ควรจะเป็น เพราะฉะนั้นการมีสภากรุงเทพมหานครมาช่วยถ่วงดุลอำนาจหรือเสนอหาทางช่วยเหลือแก่ผู้ว่าฯ กทม.จึงเป็นผลดีกว่า

ใครที่เลือกผู้ว่าฯ กทม.ในใจแล้วนั้น การเลือก ส.ก.ที่มีคุณภาพก็เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยพัฒนากรุงเทพมหานครด้วย ดังนั้น ก่อนออกไปใช้สิทธิ์ใช้เสียงเลือกตั้ง อย่าลืมตรวจสอบรายชื่อการเลือกตั้งและเขตการเลือกตั้งของตัวเอง และที่สำคัญอย่าลืมพกบัตรประชาชนหรือสิ่งยืนยันตัวตนไปในวันเลือกตั้งด้วย

โปรแกรมถ่ายทอดสดซีเกมส์ 2021 นักกีฬาไทย ประจำวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 65

สรุปเหรียญ ซีเกมส์ 2021 ล่าสุด ประจำวันจันทร์ที่ 23 พ.ค. 65

ไม่พลาดทุกเหตุการณ์ติดตามข่าวจาก PPTV ได้ที่ Subscribe

บทบาทหน้าที่ของกรุงเทพมหานครมีอะไรบ้าง

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้ กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครสังกัดหน่วยงานใด

7. การควบคุมกรุงเทพมหานคร ประกาศของคณะปฏิบัติฉบับที่ 335 ข้อ 24 ได้กำหนดให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกรุงเทพมหานคร และมีอำนาจสั่งยุบสภากรุงเทพมหานครได้ ซึ่งแตกต่างกับการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรูปอื่นๆ ซึ่งควบคุมโดยผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ และจังหวัดก็ถูกควบคุมโดยปลัดกระทรวงมหาดไทย และ ...

ผู้ว่าราชการจังหวัดมีหน้าที่อะไร

พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 57 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจและ หน้าที่ดังนี้ (1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ (2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จังหวัด

บทบาทหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอะไรบ้าง

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจกรรม สาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุน การจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ