บริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียมีลักษณะทางกายภาพแบบใด เพราะเหตุใด

ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย 1

สาระสำคัญ

ทำเลที่ตั้งของประเทศในทวีปเอเชียและลักษณะทางกายภาพที่หลากหลาย

และแตกต่างกันในภูมิภาคเอเชียมีอิทธิพลสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของประชากร

ในทวีปเอเชียซึ่งการสืบค้นข้อมูลต้องเลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์อย่างเหมาะสม

ตัวชี้วัด

5.1 .1/1 เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (ลูกโลก แผนที่ กราฟ แผนภูมิ)

ในการสืบค้นข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพและสังคมของประเทศไทยและ

ทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย

จุดประสงค์การเรียนรู้

1) เลือกใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการศึกษาข้อมูลทำเลที่ตั้ง และลักษณะ

ภูมิประเทศของทวีปเอเชียได้

2) วิเคราะห์ความแตกต่างของภูมิประเทศในทวีปเอเชียได้

ที่สุดในทวีปเอเชีย

ที่สุดในทวีปเอเชีย สถานที่ ประเทศ

ลำดับที่

ที่สุดในทวีปเอเชีย

สถานที่

ประเทศ

1

ยอดเขาที่สูงที่สุด

ยอดเขาเอเวอเรสต์

เอเชียใต้และเอเชียตะวันตก

2

แม่น้ำสายที่ยาวที่สุด

แม่น้ำแยงซี

ประเทศจีน

3

เกาะที่ใหญ่ที่สุด

เกาะบอร์เนียว

ประเทศอินโดนีเซีย

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศบรูไน

4

แอ่งน้ำที่ใหญ่ที่สุด

แม่น้ำอ็อบ

ประเทศรัสเซีย

5

ทะเลสาบใหญ่ที่สุด

ทะเลสาปแคสเปียน

เอเชียกลางและ

เอเชียตะวันตกเฉียงใต้

6

ผิวน้ำต่ำที่สุด

ทะเลสาบเดดซี

ประเทศอิสราเอลและ

จอร์แดน

7

ปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด

รัฐอัสสัม

ประเทศอินเดีย

8

ผืนแผ่นดินต่ำที่สุด

ทะเลสาบไบคาล

ไซบิเรีย ประเทศรัสเซีย

ลักษณะทางกายภาพของทวีปเอเชีย 1

ลักษณะทั่วไปของทวีปเอเชีย

ขนาด

เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุด โดยมีพื้นที่ประมาณ 45,036,492 ตารางกิโลเมตร

หรือประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่แผ่นดินโลกทั้งหมด

ที่ตั้ง

ทวีปเอเชียตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 77 องศา 41 ลิปดาเหนือและลองจิจูด 24 องศา 4 ลิปดาตะวันออกถึง 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก โดยตั้งอยู่ทางซีกตะวันออกของโลก มีดินแดนที่ต่อเนื่องกับทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา โดยดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรยกเว้นบางส่วนของหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซียและติมอร์ - เลสเต

เราไปทำค วามรู้จัก

กับทวีปเอเชีย

กันเถอะ

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=

vinitsiri&month=12-2009&date=26&group=6&gblog=93

ทวีปเอเชียมีขนาดใหญ่เป็นลำดับที่ 1

อาณาเขต

ทิศเหนือ จดมหาสมุทรอาร์กติก จุดเหนือสุดของทวีป คือแหลมเชลยูสกินประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย อยู่ที่ละติจูด 77 องศา 45 ลิปดาเหนือ

ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแปซิฟิก มีช่องแคบแบริงกั้นระหว่างทวีปเอเชียกับทวีปอเมริกาเหนือ จุดตะวันออกสุดของทวีป คือแหลมอีสต์ประเทศสหพันธรัฐรัสเซียอยู่ที่ลองจิจูด 169 องศา 40 ลิปดาตะวันออก

ทิศใต้ จดมหาสมุทรอินเดีย จุดใต้สุด คือเกาะรอติ ประเทศอินโดนีเซียอยู่ที่ละติจูด 11 องศาใต้ น่านน้ำตอนใต้ ได้แก่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซียอ่าวโอมานและอ่าวเอเดน

ทิศตะวันตก จดทวีปยุโรปมีทะเลสาบแคสเปียน ทะเลดำ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน

เทือกเขาอูราลเป็นพรมแดนธรรมชาติ และติดกับทวีปแอฟริกามีทะเลแดงเป็นพรมแดน

ธรรมชาติ จุดตะวันตกสุดคือแหลมบาบาประเทศตุรกีอยู่ที่ลองจิจูด 26 องศา เกาะใหญ่

ที่สำคัญ ได้แก่ เกาะไซปรัส

ทิศตะวันตกของทวีปเอเชียติดกับทวีปใด ?

ที่มา : หนังสือสังคมศึกษา

ศาสนา และวัฒนธรรม

หน้า 173

ภูมิประเทศลักษณะ

ทิศตะวันตกของทวีปเอเชียติดกับทวีปแอฟริกาเราไปสำรวจ กันเลย

เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่จึงทำให้มีลักษณะภูมิประเทศที่หลากหลาย อาจแบ่งได้ 6 เขตดังนี้

1. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ โครงสร้างส่วนใหญ่อยู่ในเขตหินเก่าอายุมากกว่า 1,000

ล้านปีที่เรียกว่า แองการาชีลด์ ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบขนาดใหญ่ มีแม่น้ำ

อ็อบ (Ob) แม่น้ำเยนีเซย์ (Yenisey)และแม่น้ำลีนา อากาศหนาวเย็นมากฤดูหนาวลำน้ำ

จะแข็งตัวการคมนาคมขนส่งไม่สะดวกทำการเพาะปลูกไม่ได้จึงทำให้มีประชากรอาศัย

อยู่น้อยคงจะหนาวน่าดู

แม่น้ำเยนีเซย์ในไซบิเรียเป็นเขตที่มีอากาศหนาวเย็นใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้น้อย จึงมีประชากรเบาบาง

ที่มา : http://04varvara.wordpress.com/tag/krasnoyarsk-krai/

เหตุใดเขตที่ราบตอนเหนือจึงมีประชากรอาศัยอยู่น้อย ?

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสายต่างๆ ในทวีป เกิดจากการพัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมกันจนกลายเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกทำให้มีประชากรหนาแน่น ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ที่ราบลุ่มของแม่น้ำสายสำคัญในทวีปยังเคยเป็นแหล่งอารยธรรมตั้งแต่สมัยโบราณ ปัจจุบันเป็นที่ตั้งถิ่นฐานและเมืองใหญ่ที่ราบลุ่มที่สำคัญของทวีปเอเชียได้แก่

ที่ราบลุ่มแม่น้ำหวางเหอ (แม่น้ำเหลือง) แม่น้ำฉางเจียง (แยงซีเกียง) และแม่น้ำ

ซีเจียง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง แม่น้ำโขง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำอิรวดี ในภูมิภาคเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้

ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา แม่น้ำสินธุและแม่น้ำพรหมบุตร ในภูมิภาคเอเชียใต้

เพราะการคมนาคมไม่สะดวกและทำการเพาะปลูกไม่ได้

เหตุใดเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำจึงมีประชากรหนาแน่น ?

http://www.painaima.com/resources/webboard/wb0409/wb0409_t590_r11362.jpg

มีใครสนใจจะไปพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์กันบ้างไหมยอดเขาเอเวอเรสต์ ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก

ที่มา : www.comscience.net/index.php?topic=1070.225

3. เขตเทือกเขาสูง อยู่ในเขตเทือกเขาหินใหม่ อายุหินทางธรณีวิทยา 30-40 ล้านปี

วางตัวในแนวตะวันออก - ตะวันตก โดยมีความสูงจากทางตะวันตกแล้วค่อยๆ ลาดต่ำลง

ทางตะวันออก พื้นที่ทางตอนกลางของเขตเทือกเขามีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง

จุดรวมของที่สูงเรียกว่า ชุมเขาปามีร์หรือปามีร์นอต (Pamir Knot) มีความสูงประมาณ

3,500 - 4,500 เมตร เทือกเขาสูงที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย (Himalaya) ซึ่งมี

ความยาวประมาณ 2,400 กิโลเมตร มียอดเขาที่สูงอยู่หลายยอด ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก

คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ มีความสูงประมาณ 8,848 เมตร

เพราะดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

ยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในโลกคือยอดเขาใด ?

4. เขตที่ราบสูงทางตอนกลางทวีป เป็นที่ราบสูงที่อยู่ระหว่างเขาหินใหม่เกิดขึ้นประมาณ 40 ล้านปี ที่ราบสูงที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ซึ่งเป็นที่ราบสูงที่มีขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงหยุนหนานซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีนและที่ราบสูงที่มีลักษณะเหมือนแอ่ง คือ แอ่งทาริม (Tarim Basin) ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนหลุนชาน ซึ่งมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก ความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 800 - 1,400 เมตร และมีลักษณะภูมิอากาศแห้งแล้งเป็นเขตทะเลทรายเรียกว่า ทากลามากัน (Takla Makan)ทะเลทราย ทากลามากัน

ชื่อมาจากภาษาอุยกูร์ แปลว่า เข้าแล้วออกไม่ได้

ที่มา : http://institute-smile.blogspot.com

/2011_06_01_archive.html

โอ้โห !

ทำไมอากาศถึงได้แตกต่างกันจังเลยนะ

ยอดเขาเอเวอเรสต์

ที่ราบสูงที่มีขนาดใหญ่และสูงที่สุดคือที่ราบใด ?

ที่ราบสูงทิเบตทุรกันดารและหนาวเย็น

5. เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ เป็นเขตที่ราบสูงหินเก่าที่อยู่ในบริเวณ

คาบสมุทร เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่ทางตอนใต้ของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดกกันในประเทศ

อินเดียลักษณะเด่นของที่ราบสูงเดกกันคือ เกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดินส่วนหนึ่งของ

ทวีปแอนตาร์กติกาเคลื่อนขึ้นไปชนกับแผ่นดินทวีปเอเชียจนเกิดเป็นเทือกเขาสูง ส่วนที่ราบสูง

อาหรับ (Arabia) ในคาบสมุทรอาหรับ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกทำให้เกิดแนว

หุบเหวลึก เกิดเป็นทะเลแดง (Red Sea) นอกจากนี้ก็ยังมีที่ราบสูงอิหร่านในประเทศอิหร่าน

และอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอานาโตเลียในประเทศตุรกี ที่ราบสูงอาหรับในประเทศซาอุดี-

อาระเบีย เป็นทะเลทรายมีลักษณะอากาศแห้งแล้ง

ที่ราบสูงทิเบต

ที่ราบสูงที่เกิดจากการเลื่อนตัวเข้าชนของทวีปแอนตาร์กติกา คือที่ราบสูงใด ?

ที่ราบสูงอานาโตเลียในประเทศตุรกี

ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=vinitsiri&month

=06-2010&date=18&group=64&gblog=9

6. เขตเกาะและหมู่เกาะ นอกจากภูมิประเทศในภาคพื้นทวีปแล้วโดยโครงสร้างทางธรณีวิทยาและลักษณะภูมิประเทศของเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเกาะและหมู่เกาะอย่างชัดเจน เช่นบริเวณหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ของอินเดียและบริเวณของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวันและญี่ปุ่น ในบริเวณดังกล่าวเป็นหินเปลือกโลกที่มีอายุน้อยกว่ายุดเทอร์เชียรี (ตั้งแต่ 65 ล้านปีถึงปัจจุบัน) เรียกว่า วงแหวนไฟแปซิฟิก (The Pacific ring of fire) ดังนั้นจึงยังมีปรากฏการแผ่นดินไหวและภูเขาไฟปะทุอยู่เสมอ การเกิดนามิครั้งสำคัญในประเทศไทยก็เกิดจากแผ่นดินไหวทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะสุมาตรา นอกจากนี้ภูเขาไฟที่สำคัญ ได้แก่ ภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเชีย ภูเขาไฟมายอนในฟิลิปปินส์ และภูเขาไฟฟุจิในญี่ปุ่น

ที่มา : http://www.oocities.org/painino/

fuji.html

ภูเขาไฟเมราปีระเบิดในอินโดเนียเซีย

ที่มา : www. chaoprayanews.com/2010/10/26/

อินโดฯเฝ้ าระวัง-ภูเขาไฟ/ภูเขาไฟ เนี๊ย !

มีทั้งที่สวยงามและที่น่ากลัวแล้วเพื่อนๆ คิดยังไงบ้างคะ

ที่ราบสูงเดกกัน

ใบงานที่ 1

เรื่อง ลักษณะภูมิประเทศทวีปเอเชีย

คำชี้แจง : ให้นำอักษรด้านขวามือเติมลงในช่องว่างหน้าข้อความซ้ายมือให้สัมพันธ์กัน

1. ……… บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นของทวีป ก. ชุมเขาปามีร์

2. ……… ที่ราบสูงที่สูงที่สุดในโลก ข. แหลมบาบา

3. ……… ที่ราบสูงเก่าทวีป ค. เจ้าพระยา อิรวดี

4. ……… แม่น้ำสายสำคัญในประเทศจีน ง. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ

5. ……… ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก จ. หวางเหอ ฉางเจียง

6. ……… เป็นจุดรวมเทือกเขาของทวีป ฉ. ที่ราบสูงเดกกัน

7. ……… ภูเขาไฟในอินโดนีเซีย ช. ที่ราบสูงทิเบต

8. ……… ที่ราบลุ่มแม่น้ำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซ. ที่ราบลุ่มแม่น้ำ

9. ……… ประชากรอาศัยเบาบางเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ณ. เอเวอเรสต์

10. ……… จุดตะวันตกสุดของทวีป ญ. กรากะตัว

ทำเสร็จแล้ว

ไปตรวจคำตอบ

กันเลยคะเพื่อนๆ

 สภาพแวดล้อมทางกายภาพของทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย เป็นดินแดนที่อยู่ทางซีกโลกตะวันออกและได้ชื่อว่าเป็นทวีปที่มีสิ่งตรงกันข้ามและสิ่งที่เป็นที่สุดของโลกอยู่หลายๆ อย่าง เช่น เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือมีเนื้อที่ประมาณ 44,648,953 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่สูงที่สุดในโลก คือ ยอดเขาเอเวอเรสต์ซึ่งมีความสูง ประมาณ 8,850 เมตรหรือ 29,028 ฟุต มีท้องทะเลที่ลึกที่สุดอยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิก บริเวณมาเรียนาเทรนช์โดยจุดที่ลึกคือ Challenger ในประเทศฟิลิปปินส์ ลึกประมาณ 11,033 เมตร มีอากาศหนาวเย็นที่สุด (ยกเว้นทวีปแอนตาร์กติกา) อยู่ตอนเหนือของไซบีเรีย อากาศร้อนแห้งแล้งที่สุดที่ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ มีปริมาณฝนตกประจำปีมากที่สุดในโลก คือ มอสินราม (Mawoynraw) ประเทศอินเดีย และยังเป็นทวีปที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอีกด้วยเนื่องจากทวีปเอเชียเป็นทวีปที่กว้างใหญ่และมีหลายบริเวณที่มีลักษณะแตกต่างกันมาก เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา จึงแบ่งทวีปเอเชียเป็นภูมิภาคต่างๆ ตามสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ดังนี้

1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 11 ประเทศ โดยมีเนื้อที่และเมืองหลวง ดังนี้

ประเทศ

เนื้อที่

เมืองหลวง

1. ราชอาณาจักรไทย

2. สหภาพเมียนมาร์

3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

 4. ราชอาณาจักรกัมพูชา

5. สาธารณรัฐสังคมนิยม เวียดนาม

 6. มาเลเซีย

 7. สาธารณรัฐสิงคโปร์

8. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์

9. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

10. เนการาบรูไนดารุสซาลาม

11. ติมอร์-เลสเต

514,000

 676,552

236,800

181,040

329,556

329,749

647

300,000

1,904,569

 5,770

14,86

กรุงเทพมหานคร

ย่างกุ้ง

เวียงจันทน์

 พนมเปญ

ฮานอย

กัวลาลัมเปอร์

สิงคโปร์

 มะนิลา

 จาการ์ตา

 บันดาร์เสรีเบกาวัน

 ดิลี

2. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย 5 ประเทศ โดยมีเนื้อที่และเมืองหลวง ดังนี้

ประเทศ

เนื้อที่

เมืองหลวง

1. สาธารณรัฐประชาชนจีน

2. มองโกเลีย

 3. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)

4. สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)

 5. ญี่ปุ่น

9,596,960

 1,565,000

120,540

98,480

 372,313

เป่ย์จิง, ปักกิ่ง

 อูลานบาตอร์

เปียงยาง

โซล

โตเกียว

3. ภูมิภาคเอเชียใต้ ประกอบด้วย 8 ประเทศ โดยมีเนื้อที่และเมืองหลวง ดังนี้

ประเทศ

เนื้อที่

ประชากร

1. สาธารณรัฐอินเดีย

2. สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน

3. สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ

4. สหพันธ์สาธารณรัฐเนปาล

5. ราชอาณาจักรภูฏาน

6. สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา

7. สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน

8. สาธารณรัฐมัลดีฟส์

3,284,590

803,940

 144,000

140,800

47,000

 65,610

647,500

300

นิวเดลี

อิสลามาบัดหรืออิสลามมาบาดธากา

กาฐมาณฑุ

ทิมพู

โคลัมโบ

คาบูล

มาเล

4. ภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ประกอบด้วย 15 ประเทศ โดยมีเนื้อที่และเมืองหลวง

ประเทศ

เนื้อที่

เมืองหลวง

1สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน

 2. สาธารณรัฐอิรัก

 3. สาธารณรัฐตุรกี

4. สาธารณรัฐไซปรัส

 5. สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย

 6. สาธารณรัฐเลบานอน

7. รัฐอิสราเอล

 8. ราชอาณาจักรฮัซไมต์จอร์แดน

9. ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

 10. รัฐคูเวต

 11. รัฐสุลต่านโอมาน

 12. รัฐกาตาร์

 13. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

14. ราชอาณาจักรรัฐบาห์เรน

 15. สาธารณรัฐเยเมน

1,648,000

437,072

 780,580

 9,250

185,180

10,400

20,770

97,740

1,960,582

17,820

212,460

11,000

82,880

620

527,968

เตหะราน

 แบกแดด

อังการา

นิโคเซีย

 ดามัสกัส

 เบรุติยาด

เทลอาวีฟ

อัมมาน

ริยาด

คูเวตซิตี

มัสกัต

โดฮา

อาบูดาบี

มานามา

ซานา

5. ภูมิภาคเอเชียกลาง ประกอบด้วย 8 ประเทศ โดยมีเนื้อที่และเมืองหลวง ดังน

ประเทศ

เนื้อที่

เมืองหลวง

1. สาธารณรัฐคาซัคสถาน

2. เติร์กเมนิสถาน

3. สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน

4. สาธารณรัฐคีร์กีซ

5. สาธารณรัฐทาจิกิสถาน

 6. สาธารณรัฐอาร์เซอร์ไบจาน

7. สาธารณรัฐจอร์เจีย

8. สาธารณรัฐอาร์มีเนีย

2,717,300

 488,100

 447,400

198,500

 143,100

86,600

 69,700

 29,800

อัสตานา

 อาชกาบัต

 ทาชเคนต์

บิชเคก

ดูชานเบ

บากู

ทบิลิซิ

 เยเรวาน

แหล่งข้อมูล :เนื้อที่ : Fachbork 2009.

ลักษณะทางกายภาพ

ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเนื้อที่ประมาณ 44,391,162 ตารางกิโลเมตร (17,139,455 ตารางไมล์) หรือใหญ่กว่าทวีปอเมริกาเหนือ 1.8 เท่า ใหญ่กว่าทวีปยุโรป 4.5 เท่าและใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียซึ่งเป็นทวีปเล็กที่สุด 5.8 เท่า ทวีปเอเชียตั้งอยู่ทางซีกตะวันออกของโลก ดินแดนเกือบทั้งหมดอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ยกเว้นบางส่วนของหมู่เกาะในประเทศอินโดนีเซียระยะทางจากเหนือสุดคือแหลมเชลยูสกิน ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย จนถึงใต้สุดของทวีปคือ บริเวณ เกาะโรติประเทศติมอร์-เลสเต มีความยาวประมาณ 6,500 กิโลเมตร และตะวันออกสุดคือแหลมเดชเนฟประเทศสหพันธรัฐรัสเซียถึงตะวันตกสุดคือ แหลมบามา ประเทศตุรกียาวประมาณ 9,600 กิโลเมตร ซึ่งแผ่นดินที่กว้างใหญ่ทำให้ภูมิอากาศของทวีปเอเชียมีความแตกต่างกันมาก ระหว่างส่วนที่อยู่ใกล้ทะเลกับส่วนที่อยู่ลึกเข้าไปในทวีป

 ที่ตั้ง

ทวีปเอเชียตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 1 องศา 15 ลิปดาเหนือ ถึง 77 องศา 41 ลิปดาเหนือ และลองจิจูด 24 องศา 4 ลิปดาตะวันออกถึง 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตก เอเชียเป็นทวีปที่อยู่ทางตะวันออกสุดเมื่อเทียบกับทุกทวีป จึงทำให้ประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชียมีเวลาเร็วกว่าประเทศที่อยู่ในทวีปอื่นๆ ยกเว้นทวีปออสเตรเลีย พื้นที่เกือบทั้งหมดของทวีปเอเชียอยู่ในซีกโลกเหนือ จึงทำให้ฤดูกาลต่างๆ มีช่วงระยะเวลาตรงกับทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ แต่ตรงกันข้ามกับทวีปออสเตรเลีย

อาณาเขตติดต่อ

ทวีปเอเชียมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

 ทิศเหนือ ติดต่อกับมหาสมุทรอาร์กติก ในทะเลคารา ทะเลแลปทิฟ ทะเลไซบีเรียตะวันออกและทะเลชุกช์ ส่วนที่เป็นแผ่นดินเหนือสุดอยู่ที่แหลมเชลยูสกิน ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย เกาะขนาดใหญ่ทางตอนเหนือ ได้แก่ เซเวียร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย และเกาะแรงเกล

 ทิศใต้ ติดต่อกับมหาสมุทรอินเดีย น่านน้ำตอนใต้ได้แก่ อ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ อ่าวเปอร์เซีย อ่าวโอมานและอ่าวเอเดน จุดใต้สุดแผ่นดินอยู่ที่แหลมปิไอ ประเทศมาเลเซีย โดยมีเกาะใหญ่ทางทิศใต้ของทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาะลังกา เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา และเกาะชวา

ทิศตะวันออก ติดต่อกับมหาสมุทรแปซิฟิก ในเขตทะเลแบริง ทะเลโอค็อตสค์ ทะเลญี่ปุ่นทะเลเหลือง ทะเลจีนตะวันออก และทะเลจีนใต้โดยมีคาบสมุทรสำคัญ คือ คาบสมุทรคัมซัตคาคาบสมุทรเกาหลีและคาบสมุทรอินโดจีน เป็นส่วนของแผ่นดินใหญ่ด้านนี้ แผ่นดินที่อยู่ตะวันออกสุด คือปลายแหลมโดจนอวา ประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ที่ลองจิจูด 169 องศา 40 ลิปดาตะวันตกเกาะใหญ่ที่อยู่รายล้อมทางด้านตะวันออก ได้แก่ เกาะแซคาลิน หมู่เกาะของประเทศญี่ปุ่น เกาะไต้หวัน หมู่เกาะประเทศฟิลิปปินส์ และหมู่เกาะประเทศอินโดนีเซียทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลแดง คลองสุเอซ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลดำ เทือกเขาคอเคซัส ทะเลแคสเปียน และเทือกเขาอูราล บริเวณตะวันตกสุด คือ ที่แหลมบาบา ประเทศตุรกีที่ลองจิจูด 26 องศา 4 ลิปดาตะวันออก โดยมีเกาะสำคัญ คือ เกาะใหญ่ ได้แก่ เกาะไซปรัส

โครงสร้างทางธรณีวิทยา

ของทวีปเอเชียความกว้างใหญ่ไพศาลของทวีปเอเชีย ทำให้ผืนแผ่นดินของทวีปเอเชียมีลักษณะทางธรณีวิทยาทุกรูปแบบ กล่าวคือ มีโครงสร้างของเปลือกโลกสลับซับซ้อนเป็นภูเขาสูงชัน มีรอยทบตัวรอยหัก รอยเลื่อน และรอยคดโค้งที่เกิดจากการดันและอัดตัวของเปลือกโลกมากมาย นอกจากนี้ยัง มีส่วนของแผ่นดินที่ยกตัวและทรุดต่ำ ทำให้เกิดที่ราบสูงและแอ่งแผ่นดิน บางส่วนเป็นที่ลาด และที่ราบระดับต่ำ กลายเป็นที่สะสมของตะกอนยุคใหม่ ทวีปเอเชียมีทั้งหินที่เก่าแก่ตั้งแต่ก่อนยุคแคมเบรียน ได้แก่ หินไนส์และหินชีสต์ในเขตหินเก่าแองการาในไซบีเรีย จนกระทั่งหินยุคใหม่ๆ ในยุคเทอร์เซียรีและควอเทอร์นารีซึ่งกำลังอัดตัวและสะสมตัวในปัจจุบัน

ลักษณะภูมิประเทศ

ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศแตกต่างกันมาก โดยในส่วนที่เป็นภาคพื้นทวีปแบ่งออกเป็นเขตต่างๆ ได้6 เขต ดังนี้

1. เขตที่ราบต่ำตอนเหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำสำคัญ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบขนาดใหญ่ เช่น แม่น้ำอ็อบ แม่น้ำเยนีเซย์และแม่น้ำลีนา ไหลผ่านบริเวณที่ราบที่มีอาณาเขตกว้างขวางเรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย อยู่บริเวณตอนบนของทวีปในเขตประเทศรัสเซีย บริเวณนี้จะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่หนาวเย็นมากจนน้ำกลายเป็นน้ำแข็งในฤดูหนาว

2. เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ ได้แก่ ดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำสายต่างๆ ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบ เนื่องจากการพัดพาเอาดินตะกอนมาทับถมกันจนกลายเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำ ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง เหมาะแก่การเพาะปลูก ส่วนใหญ่อยู่ทางเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำหวางเหอ ที่ราบลุ่มแม่น้ำฉางเจียว ในประเทศจีน ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา และที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศปากีสถาน อินเดีย และบังกลาเทศ ตามลำดับ ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส ในประเทศอิรัก ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง ในประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ในประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินตอนล่าง ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิรวดีในประเทศพม่า เป็นต้น บริเวณเขตนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญของทวีปและมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมากที่สุด

3. เขตเทือกเขาสูง เป็นเขตเทือกเขาหินใหม่ตอนกลาง ประกอบไปด้วยที่ราบสูงและเทือกเขาจำนวนมาก เทือกเขาสูงที่สำคัญเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาที่แยกตัวไปจากจุดรวมที่เรียกว่า ชุมเขาปามีร์ (Pamir Knot) หรือภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ปามีร์ดุนยา แปลว่า หลังคาโลก มีความสูงประมาณ 3,500-4,500 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากชุมเขาปามีร์มีเทือกเขาสูงของทวีปเอเชียหลายแนว ซึ่งอาจแยกออกได้ดังนี้

3.1 เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกัน-โยมา และเทือกเขาที่มีแนวต่อเนื่องลงมาทางใต้มีบางส่วนที่จมหายไปในทะเล และบางส่วนโผล่ขึ้นมาเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิก ถัดจากเทือกเขาหิมาลัยขึ้นไปทางเหนือมีเทือกเขาที่แยกไปทางตะวันออก ได้แก่ เทือกเขาคุนหลุน เทือกเขาอัลตินตัก เทือกเขานานชานและแนวที่แยกไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเทียนชาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขาคินแกน เทือกเขายาโบลโนวีเทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโกลีมา

 3.2 เทือกเขาที่แยกไปทางทิศตะวันตก แยกเป็นแนวเหนือและแนวใต้ แนวเหนือได้แก่ เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาเอลบูชร์ ส่วนแนวทิศใต้ได้แก่ เทือกเขาสุไลมาน เทือกเขาซากรอส ซึ่งเมื่อเทือกเขาทั้งสองนี้มาบรรจบกันที่อาร์เมเนียนนอตแล้ว ยังแยกออกอีกเป็น 2 แนวในเขตประเทศตุรกีคือ แนวเหนือเป็นเทือกเขาบอลติกและแนวใต้เป็นเทือกเขาเตารัส เป็นต้น

 4. เขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เป็นที่ราบสูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหินใหม่ เฉลี่ยความสูงมากกว่า 600 เมตร ที่ราบสูงเหล่านี้ยกตัวขึ้นมาในยุคต่างๆ กัน ที่ราบสูงที่สำคัญๆ ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบตซึ่งเป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่และสูงที่สุดในโลก อยู่สูงจากระดับทะเลประมาณ 4,800 เมตร (15,000 ฟุต) ที่ราบสูงหยุนหนาน ทางใต้ของประเทศจีน และที่ราบสูงที่มีลักษณะเป็นแอ่งแผ่นดินชื่อ ตากลามากัน (Takla Makan) ซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาเทียนชานกับเทือกเขาคุนหลุน แต่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลมาก มีอากาศแห้งแล้งและเป็นเขตทะเลทราย

5. เขตที่ราบสูงตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้เป็นเขตที่ราบสูงหินเก่าที่อยู่ในบริเวณ คาบสมุทร เป็นที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ทางตอนใต้ของทวีปเอเชีย มีความสูงไม่มากเท่ากับที่ราบสูงทางตอนกลางของทวีป ที่ราบสูงที่สำคัญ ได้แก่ ที่ราบสูงเดกกัน ในประเทศอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่านในประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอนาโตเลีย ในประเทศตุรกีและที่ราบสูงอาหรับ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย เป็นทะเลทราย มีลักษณะอากาศแห้งแล้ง ลักษณะพื้นที่จะยกสูงทางตะวันตกแล้วค่อยๆ ลาดเทต่ำทางทิศตะวันออก

6. เขตหมู่เกาะภูเขาไฟ ตั้งอยู่ในเขตหินใหม่ บริเวณหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งหมู่เกาะเหล่านี้เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟทั้งที่ดับแล้วและยัง คุกรุ่นอยู่ซึ่งมีโอกาสที่จะปะทุขึ้นมาได้อีก เช่น ภูเขาไฟในประเทศญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ดินแดนดังกล่าวมักเกิดแผ่นดินไหวขึ้นบ่อยๆ ดินบริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูก

ลักษณะภูมิอากาศ

เนื่องจากเอเชียเป็นทวีปที่กว้างใหญ่และมีลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันมาก ดังนั้นจึงทำให้ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศแตกต่างกันตามไปด้วย ทั้งนี้โดยมีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของทวีปเอเชีย ได้แก่

1. ที่ตั้ง ทวีปเอเชียเป็นดินแดนที่มีขนาดกว้างใหญ่มาก ตั้งอยู่ระหว่างศูนย์สูตรจนถึงขั้วโลกโดยมีเส้นศูนย์สูตร เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิลลากผ่าน ทำให้มีเขตอากาศต่างๆ ของโลกทุกชนิด กล่าวคือ บริเวณที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตรเป็นเขตร้อน ส่วนที่อยู่ใกล้เส้นทรอ-ปิกออฟแคนเซอร์เป็นเขตอบอุ่น และเขตที่อยู่ใกล้เส้นอาร์กติกเซอร์เคิลเป็นเขตหนาวเย็นแบบขั้วโลก

 2. ความใกล้ -ไกลทะเล ทวีปเอเชียมีขนาดกว้างใหญ่มาก ดินแดนบางส่วนที่อยู่ติดชายทะเลจะได้รับอิทธิพลจากทะเล ทำให้อากาศระหว่างกลางวันกลางคืนและระหว่างฤดูกาลไม่แตกต่างกันมากนัก สำหรับดินแดนตอนกลางของทวีปที่อยู่ห่างไกลจากมหาสมุทร ที่อิทธิพลของพื้น น้ำไม่สามารถเข้าไปถึงภายในทวีปได้โดยเฉพาะบริเวณตั้งแต่ตะวันตกเฉียงใต้จนถึงตอนกลางของทวีป จะมีพื้นที่แห้งแล้งเป็นบริเวณกว้างขวางและมีลักษณะอากาศรุนแรง คือ ฤดูร้อนมีอากาศร้อนจัดและฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด

3. ความสูงและความกว้างของภูเขาตอนกลางทวีป เนื่องจากตอนกลางของทวีปเอเชียมีเทือกเขาสูงและที่ราบสูงเป็นบริเวณกว้างขวาง จึงทำให้มีลักษณะภูมิประเทศที่ไม่สู้จะอำนวยประโยชน์มากนัก เพราะเทือกเขาสูงจะขวางกั้นลมทะเลที่จะพัดเข้าสู่ภายในทวีป ทำให้ภาคกลางภาคตะวันตก และภาคเหนือของทวีปไม่ได้รับอิทธิพลจากพื้นน้ำ จึงมีอากาศแห้งแล้ง ทำให้เกิดทะเลทราย การที่ทวีปเอเชียมีลักษณะภูมิประเทศสูงต่ำแตกต่างกันอย่างมาก ทำให้ลักษณะอากาศแตกต่างกันทั้งๆ ที่อยู่ในเขตละติจูดเดียวกัน เช่น ที่ราบที่เมืองเดลีอยู่ที่ละติจูด 28 องศาเหนือ ไม่เคยมีหิมะเลย แต่ที่ยอดเขาดัวลากีรีซึ่งสูง 8,172 เมตร และยอดเขาหิมาลัย ซึ่งอยู่ในละติจูด เดียวกันมีหิมะและน้ำแข็งปกคลุมตลอดปี

 4. ลมประจำที่พัดผ่าน ทวีปเอเชียมีลมประจำหลายชนิดพัดผ่าน ได้แก่

4.1 ลมประจำฤดู เช่น ลมมรสุม ซึ่งมีอิทธิพลต่อทวีปเอเชียมาก เกิดจากความแตกต่าง ของความกดอากาศเหนือพื้นทวีปทางซีกโลกเหนือและพื้นมหาสมุทรทางซีกโลกใต้ในฤดูร้อนลมจะพัดจากมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกซึ่งมีความกดอากาศสูงเข้าสู่บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำในทวีป ทำให้ฝนตกทั่วไปทางชายฝั่งภาคใต้และภาคตะวันออกของทวีปซึ่งเป็นด้านรับลมสำหรับในฤดูหนาวพื้นแผ่นดินมีความกดอากาศสูงกว่า ลมจะพัดจากทวีปไปสู่มหาสมุทรที่มีความกดอากาศต่ำจึงเป็นลมแห้งแล้ง ลมประจำที่พัดผ่านมี2 ทิศทาง คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดระหว่างเดือนพฤศจิกายน- กุมภาพันธ์

4.2 พายุหมุนเขตร้อน พายุหมุนที่พัดในทวีปเอเชีย ที่สำคัญได้แก่ พายุไต้ฝุ่นที่ก่อตัวในมหาสมุทรแปซิฟิก พายุไซโคลนที่ก่อตัวในมหาสมุทรอินเดีย เป็นลมพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคพื้นทวีป ทำให้มีฝนตกหนักและพายุรุนแรง ในบางครั้งได้สร้างความเสียหายแก่บ้านเรือนและทรัพย์สิน รวมทั้งชีวิตของผู้คนเป็นจำนวนมาก

 5. กระแสน้ำ บริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำอุ่นแถบศูนย์สูตรซึ่งแยกขึ้นมาทางตอนเหนือกลายเป็นกระแสน้ำอุ่นคุโระชิโอ ส่วนทางตะวันออกเฉียงเหนือได้รับอิทธิพลของกระแสน้ำเย็นเบริงหรือกระแสน้ำเย็นโอะยะชิโอะ กระแสน้ำทั้งสองนี้จะมาพบกันแถบ ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศญี่ปุ่นบริเวณหมู่เกาะคูริล ทำให้มีปลาชุกชุมในย่านนี้อิทธิพลของกระแสน้ำทั้งสองนี้ทำให้ชายฝั่งตะวันออกของญี่ปุ่นมีอากาศอบอุ่นกว่าชายฝั่งตะวันตกส่วนกระแสน้ำในมหาสมุทรอินเดียจะไหลไปตามทิศทางของลมมรสุม

การแบ่งเขตภูมิอากาศของทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชียมีภูมิอากาศที่แตกต่างกันอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวมาแล้ว ถ้าจำแนกเขตอากาศตามแบบของเคิปเปิน (Köppen) ซึ่งใช้อุณหภูมิปริมาณน้ำฝน และลักษณะพืชพรรณธรรมชาติเป็นเกณฑ์จะจำแนกได้10 เขต ดังนี้

1. ภูมิอากาศแบบร้อนชื้นหรือแบบป่าดิบชื้น (Af) อยู่ระหว่างเส้นละติจูดที่ 10 องศาเหนือ ถึง 10 องศาใต้ บริเวณนี้จะมีอุณหภูมิสูงตลอดปีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนไม่มากนัก มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 2,500 มิลลิเมตรต่อปีจึงเป็นพื้นที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์และมีประชากรหนาแน่น ได้แก่ บริเวณภาคใต้ของประเทศไทยมาเลเซีย สิงคโปร์อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าดิบ มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่นส่วนบริเวณปากแม่น้ำและชายฝั่งจะเป็นป่าชายเลน

2. ภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) หรือร้อนชื้นแถบมรสุม เป็นดินแดนที่อยู่เหนือเส้นละติจูด 10 องศาเหนือขึ้นไป มีฤดูแล้งและฤดูฝนสลับกันประมาณปีละ 6 เดือน เขตนี้เป็นเขตที่ได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ปริมาณน้ำฝนจะสูงในบริเวณด้านรับลมและมีปริมาณฝนน้อยในเขตเงาฝนได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย คาบสมุทรอินโดจีน และหมู่เกาะฟิลิปปินส์เกือบทั้งหมด พืชพรรณธรรมชาติในเขตนี้เป็นป่าไม้ผลัดใบ พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่เป็นใบไม้กว้างและเป็นไม้เนื้อแข็งที่มีค่าในทางเศรษฐกิจ เช่น ไม้สัก ไม้จัน ไม้ประดู่ เป็นต้น ทั้งนี้มีลักษณะเป็นป่าโปร่งมากกว่าป่าไม้ในเขต ร้อนชื้น ซึ่งบางแห่งอาจมีไม้ขนาดเล็กขึ้นปกคลุมบริเวณพื้นดินชั้นล่าง และบางแห่งมีป่าไผ่หรือหญ้าขึ้นปะปนอยู่ด้วย

 3. ภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนาหรือทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Aw) มีลักษณะอากาศคล้ายกับแบบมรสุมเขตร้อน มีความแตกต่างระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวอย่างชัดเจน มีฝนตกในฤดูร้อนและแห้งแล้งในฤดูหนาว ปริมาณฝนประมาณ 1,000 -1,500 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิกลางคืนเย็นกว่ากลางวัน ได้แก่ บริเวณตอนกลางของอินเดียพม่า และคาบสมุทรอินโดจีน พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่งแบบป่าเบญจพรรณ ลึก เข้าไปในทวีปจะเป็นทุ่งหญ้าสะวันนาซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดีในฤดูฝนและเหี่ยวเฉาตายในฤดูหนาวเนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง

4. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) มีลักษณะคล้ายเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนลักษณะอากาศจะอบอุ่นในฤดูหนาว ร้อนในฤดูร้อน มีฝนตกตลอดปีได้แก่ ภาคตะวันออกของจีนภาคใต้ของญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลีฮ่องกง พืชพรรณธรรมชาติมีทั้งป่าไม้ผลัดใบซึ่งพบในประเทศจีนและเกาหลีทางใต้ และป่าไม้ผสมซึ่งพบทางเหนือที่มีอากาศหนาวกว่า พันธุ์ไม้สำคัญ ได้แก่ต้นโอ๊ก เมเปิล และถ้าขึ้นไปทางด้านเหนือจะมีอากาศหนาว พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นไม้สนที่มีใบเขียวตลอดปีการทำไร่นาในบริเวณที่มีอากาศแบบอบอุ่นชื้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

5. ภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป (Dwa, Dwb) เป็นเขตที่มีความแตกต่างมาก ระหว่างอุณหภูมิในฤดูหนาวและฤดูร้อน ซึ่งอากาศจะหนาวจัดในฤดูหนาว มีอุณหภูมิเฉลี่ยถึง -7 องศาเซลเซียส อากาศจะร้อนจัดในฤดูร้อนเนื่องจากเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันยาวนานกว่ากลางคืนปีละ 5-6 เดือน นอกจากนี้ในฤดูร้อนจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 750-1,000 มิลลิเมตรต่อปีได้แก่ บริเวณทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน เกาหลีเหนือ ภาคเหนือของญี่ปุ่น และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไซบีเรีย พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าผสมระหว่างป่าไม้ผลัดใบและป่าสน ลึกเข้าไปเป็นทุ่งหญ้า

6. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs) ในฤดูร้อนอุณหภูมิจะสูง อากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก อากาศจะอบอุ่นชื้น เพราะได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกที่พัดผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเข้ามา ได้แก่ บริเวณชายฝั่งของประเทศตุรกีเลบานอน ซีเรีย อิสราเอลพืชพรรณธรรมชาติจะเป็นไม้ต้นเตี้ย ไม้พุ่มมีหนาม และพืชที่มีเปลือกหนา ได้แก่ ส้ม มะนาว และมะกอก ตลาดผลไม้ในประเทศตุรกีส่วนใหญ่จะเป็นผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวที่ปลูกได้ดีในเขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน

 7. ภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นทวีป (Dw) มีฤดูร้อนสั้น แต่ฤดูหนาวซึ่งมีมวลอากาศเย็นปกคลุมยาวนาน พิสัยของอุณหภูมิระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาวมีมาก ในฤดูร้อนอบอุ่น มีฝนตกพบบริเวณตอนเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน พืชพรรณธรรมชาติเป็นไม้จำพวกสนโอ๊ก และบูช

8. ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BW) มีลักษณะแห้งแล้ง ท้องฟ้าโปร่ง แดดแรงอากาศร้อนตลอดปีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปีมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืน กล่าวคือ ในตอนกลางวันอุณหภูมิจะสูง อากาศร้อนจัดและในตอนกลางคืนอุณหภูมิต่ำ อากาศจะหนาวเย็น เขตอากาศแบบนี้จะกระจายกันเป็นหย่อมๆ แต่ที่มีบริเวณกว้าง ได้แก่ ทะเลทรายอาหรับ ทะเลทรายธาร์ทะเลทรายโกบีที่ราบสูงทิเบต และที่ราบสูงอิหร่าน ซึ่งเป็นดินแดนที่อยู่ภายในทวีปหรือบริเวณที่มีภูเขาปิดล้อม ทำให้อิทธิพลของมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึงพืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าสลับป่าโปร่ง เป็นพืชที่ทนต่อความแห้งแล้งและต้องการน้ำน้อย ได้แก่ อินทผลัมและไม้ประเภทมีหนาม เช่น กระบองเพชร สำหรับในเขตทะเลทรายบริเวณที่มีน้ำและต้นไม้ขึ้นได้เรียกว่า โอเอซิส การเลี้ยงสัตว์แบบเร่ร่อนในเขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย

 9. ภูมิอากาศแบบขั้วโลกหรือแบบทุนดรา (ET) เขตภูมิอากาศแบบทุนดราจะมีฤดูหนาวที่ยาวนานและอากาศหนาวจัด อุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง มีหิมะปกคลุมตลอดปีไม่มีฤดูร้อนได้แก่ ตอนเหนือสุดของทวีปเอเชียบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรอาร์กติก พืชพรรณธรรมชาติสามารถขึ้นได้บ้างในฤดูร้อน ได้แก่ ตะไคร่น้ำและมอส

10. ภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เขตภูมิอากาศแบบพื้นที่สูง อุณหภูมิจะมีความแตกต่างกันตามระดับความสูง อุณหภูมิจะลดลงประมาณ 1 องศาเซสเซียสต่อความสูง 180 เมตร มีหิมะปกคลุมตลอดปีได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาฮินดูกูช เทือกเขาคุนหลุน

ทรัพยากรธรรมชาติ

ทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปเอเชีย มีดังนี้ 1. ทรัพยากรแร่ ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรแร่หลายชนิด โดยเฉพาะแร่เศรษฐกิจ ซึ่งกระจายอยู่ในภูมิภาคต่างๆ ที่สำคัญ มีดังนี้

1.1 ถ่านหิน ทวีปเอเชียมีถ่านหินมากที่สุดในโลก คือ ประมาณ 3 ใน 5 ของปริมาณถ่านหินสำรองของโลก แหล่งสำคัญอยู่แถบลุ่มแม่น้ำหวางเหอในประเทศจีนซึ่งเป็นแหล่งถ่านหินที่สำคัญที่สุดของเอเชีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย และในเขตไซบีเรียบริเวณลุ่มแม่น้ำคุซเนตสก์ ลุ่มแม่น้ำเยนีเซย์ ลุ่มแม่น้ำเลนา และในเกาะคิวชู ตอนใต้สุดของเกาะฮนชูและเกาะฮกไกโดในประเทศญี่ปุ่น

 1.2 เหล็ก ทวีปเอเชียมีเหล็กอยู่ถึง 2 ใน 3 ของปริมาณเหล็กสำรองของโลก แหล่งสำคัญอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำฉางเจียงและแมนจูเรียในประเทศจีน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของที่ราบสูงเดกกันในประเทศอินเดีย

1.3 ดีบุก ทวีปเอเชียผลิตแร่ดีบุกได้มากที่สุดในโลก แหล่งสำคัญ ได้แก่ ในประเทศมาเลเซียซึ่งได้ชื่อว่าเป็นแหล่งผลิตดีบุกที่สำคัญของโลก เกาะในอินโดนีเซีย ภาคใต้ของประเทศไทยและทางตอนใต้ของพม่า

 1.4 ปิโตรเลียม ได้แก่ น้ำมันและก๊าซธรรมชาติทวีปเอเชียเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดในโลก คือ บริเวณอ่าวเปอร์เซียซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันใหญ่ที่สุดของเอเชีย ทะเลเหลือง ทะเลจีนใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แถบเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียวนอกจากนี้ทวีปเอเชียยังมีแร่อยู่อีกหลายชนิดที่มีปริมาณมาก เช่น ทังสเตน โครไมต์แมงกานีส ปรอท สังกะสีไมกา รัตนชาติเป็นต้น

2. ทรัพยากรดิน ในทวีปเอเชียมีดินหลายประเภท ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรดินย่อมแตกต่างกันไปตามภูมิอากาศและภูมิประเทศ แบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่

2.1 ทรัพยากรดินในเขตอากาศแบบทุนดราและไทกา ในเขตนี้มีอุณหภูมิต่ำตลอดปีการสลายตัวของหินและอินทรียวัตถุเป็นไปอย่างช้ามาก ดินจึงมีความอุดมสมบูรณ์น้อยไม่สามารถนำทรัพยากรดินมาใช้ในการเกษตรได้

 2.2 ทรัพยากรดินในเขตอบอุ่น ในเขตนี้มีปริมาณน้ำฝนปานกลาง ดินมีการซึมชะของธาตุอาหารในดินน้อย จึงมีความอุดมสมบูรณ์มาก เหมาะสำหรับการเพาะปลูก

2.3 ทรัพยากรดินในเขตแห้งแล้งและที่สูง ดินในเขตนี้เป็นดินที่ขาดความชื้น การระเหยของน้ำในดินมีอยู่มากดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ขาดอินทรียวัตถุ

2.4 ทรัพยากรดินในเขตร้อนชื้น ส่วนใหญ่เป็นดินลูกรัง เนื่องจากมีฝนตกชุก น้ำฝนชะล้างแร่ธาตุซึมลงสู่ดินในระดับลึก จึงทำให้ดินไม่มีความอุดมสมบูรณ์ไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก

2.5 ทรัพยากรดินในเขตร้อน เป็นดินที่อุดมสมบูรณ์มีแร่ธาตุในดินมาก ได้แก่ ดินตะกอนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำต่างๆ และดินภูเขาไฟในหมู่เกาะญี่ปุ่น หมู่เกาะอินโดนีเซีย และ หมู่เกาะฟิลิปปินส์เหมาะแก่การเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของชาวเอเชีย

 3. ทรัพยากรน้ำ ทวีปเอเชียมีแหล่งน้ำตามธรรมชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมและเขตศูนย์สูตร ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลและเป็นภูมิประเทศด้านรับลม ซึ่งจะมีฝนตกชุกจึงเป็นบริเวณที่มีทรัพยากรน้ำอุดมสมบูรณ์นอกจากนี้ตอนกลางของทวีปที่มีภูเขาสูงจึงเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสายในทวีปเอเชียที่ไหลออกในทุกทิศทุกทางส่วนพื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปหรือด้านเงาฝนที่มีปริมาณน้ำฝนน้อยจะเป็นเขตแห้งแล้ง และบางแห่งมีการสร้างเขื่อนที่มีแม่น้ำสายยาวไหลผ่าน สามารถนำทรัพยากรน้ำมาใช้ประโยชน์ได้

 4. ทรัพยากรป่าไม้ทวีปเอเชียเป็นทวีปที่มีป่าไม้มากที่สุดและมีหลายประเภท แหล่งป่าไม้ที่สำคัญมี3 เขต ดังนี้4.1 ป่าไม้ในเขตอากาศหนาวเย็น เป็นแหล่งไม้เนื้ออ่อนที่สำคัญที่สุดของทวีป เป็นเขตป่าสนที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลมาก เรียกว่า ป่าไทกา

4.2 ป่าไม้ในเขตอบอุ่นเป็นป่าผลัดใบ ซึ่งเป็นป่าไม้ใบกว้างหรือป่าไม้เนื้อแข็งผสมป่าสน ได้แก่ ไม้เมเปิล ไม้โอ๊ก และไม้วอลนัต

 4.3 ป่าไม้ในเขตร้อนส่วนใหญ่เป็นป่าดงดิบมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น ได้แก่ ไม้ มะฮอกกานีไม้มะเกลือ ไม้ยาง ส่วนในเขตร้อนที่มีฤดูแล้งยาวนาน ทรัพยากรส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งมีไม้สัก ไม้มะค่า ไม้แดง และไม้ประดู่ เป็นไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ

5. ทรัพยากรสัตว์ ในทวีปเอเชียมีสัตว์หลายชนิด ทั้งสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า โดยเฉพาะใน พื้นที่ป่าไม้เขตร้อนและพื้นที่ป่าไม้เขตอบอุ่นจะมีสัตว์ป่าอยู่ชุกชุม ส่วนสัตว์น้ำมีทั้งน้ำจืดและน้ำเค็มอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแหล่งน้ำ

เพราะเหตุใดบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียจึงมีลักษณะภูมิประเทศเป็นทะเลทราย

ลักษณะภูมิอากาศ แบ่งออกเป็น 4 เขต อากาศส่วนใหญ่ของเอเชียกลางแห้งแล้งเป็นทะเลทรายและกึ่งทะเลทรายในเขตอบอุ่น เพราะอยู่ในเขตอิทธิพลของลมที่พัดมาจากเขตความกดอากาศสูงภายในทวีปไม่มีความชื้นมีแต่ความแห้งแล้ง อยู่ห่างไกลจากทะเลและมีภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและเทือกเขาเป็นขอบ ทำให้ได้รับอิทธิพลความชื้นจากทะเลน้อย

ทวีปเอเชียมีลักษณะทางกายภาพที่สําคัญอย่างไร

ทวีปเอเชีย มีทั้งเขตเทือกเขาสูง เป็นเทือกเขาที่เกิดใหม่เกิดจากการโก่งตัว เขตที่ราบต่ำ ภาคเหนือ เกิดจากการทับถมของดินตะกอนจากแม่น้ำในเขตนี้มีความ สำคัญค่อนข้างน้อย เพราะอากาศ หนาวมากเขตที่ราบสูงตอนกลางทวีป เช่นที่ราบสูง ทิเบตที่ราบสูงหินเก่าทางใต้ เช่นที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูง เดคคานและเขตที่ราบลุ่ม แม่น้ำเกิดจากการ ...

ภูมิภาคใดของทวีปเอเชียที่มีประชากรมากที่สุดเพราะเหตุใด

เอเชียใต้ หรือ ชมพูทวีป หรือ อนุทวีป เป็นทวีปที่อยู่ทางใต้ของทวีปเอเชีย เป็นต้นกำเนิดพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เอเชียใต้มีพื้นที่ประมาณ 5,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือร้อยละ 10 ของทวีปเอเชีย ภูมิภาคนี้ยังเป็นภูมิภาคที่มีประชากรมากที่สุดอีกแห่งหนึ่งของโลก มีจำนวนประชากรกว่า 1 พันล้านคนอาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้ ซึ่งคิด ...

ภูมิภาคเอเชียใต้มีลักษณะทางกายภาพเป็นอย่างไร

1. ภูมิภาคเอเชียใต้มีลักษณะภูมิประเทศเป็นอย่างไร ทางเหนือเป็นภูเขาสูง ทางใต้เป็นที่ราบสูงเดคคาน มหาสมุทรล้อมรอบชายฝั่งทั้งด้านตะวันออกและตะวันตก มีพื้นที่เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือรวงผึ้ง