กระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

ครบเครื่องการดูแลสุขภาพ ไลฟ์สไตล์ การป้องกันโรค การเงินเพื่อสุขภาพ สำหรับวัยทำงาน

ปัจจุบันคำว่า “เมตาบอลิซึม” ถูกนำมาใช้กันในหลาย ๆ กรณี เกือบจะเรียกได้ว่าตลอด 24 ชม.ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนนอน เช้า กลางวัน เย็น ทานอาหาร ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก ความอ้วน บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของเมตาบอลิซึมกัน

ความสำคัญของเมตาบอลิซึม

เมตาบอลิซึม (Metabolism) เป็นกระบวนการทางเคมีที่ร่างกายเปลี่ยนสารอาหารและน้ำให้กลายเป็นพลังงานเพื่อให้เซลล์ของอวัยวะในแต่ละระบบร่างกาย สามารถทำงานตามหน้าที่ได้อย่างปกติ เช่น การหายใจเข้า – ออกของระบบหายใจ การเคลื่อนย้ายเลือด สารอาหาร ออกซิเจนของระบบไหลเวียนโลหิต การย่อยอาหารโมเลกุลเล็กให้กลายเป็นสารอาหารของระบบย่อยอาหาร รวมถึงการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และการรักษาสมดุลของภาวะต่าง ๆ ในร่างกายให้คงที่ (Homeostasis) เช่น อุณหภูมิ ความดันเลือด ความสมดุลของน้ำและเกลือแร่ ความเป็นกรดเป็นด่าง ความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ภายในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่แตกต่างกันในระดับหนึ่งได้ เช่น มนุษย์สามารถอยู่ได้ในสภาพอากาศที่ร้อนหรือเย็นในระดับหนึ่ง โดยที่ยังไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

กระบวนการทางเคมี

กระบวนการสลาย (Catabolism) เป็นกระบวนการสลายสารอาหาร เช่น กลูโคส กาแลกโทส ฟรุกโทส กรดอะมิโน กรดไขมัน ที่ถูกดูดซึมจากการย่อยอาหารตามปกติ โดยการสลายสารอาหารดังกล่าวเกิดขึ้นในเซลล์ เรียก การหายใจระดับเซลล์ (Cellular respiration) และจะได้พลังงานที่ถูกเก็บไว้ในรูปของสารประกอบ ATP ซึ่งพร้อมสำหรับร่างกายในการเปลี่ยนเป็นพลังงาน

กระบวนการสร้าง (Anabolism) เป็นกระบวนการทางเคมีในการนำพลังงานที่ได้จากกระบวนการสลายและมีเอนไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา มาใช้ในการเปลี่ยนสารโมเลกุลเล็ก ให้กลายเป็นสารโมเลกุลใหญ่ เช่น สร้างโปรตีนจากกรดอะมิโน สร้างไกลโคเจนจากน้ำตาลกลูโคส ทั้งนี้เพื่อนำมาใช้ในการซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ที่สึกหรอ

การเผาผลาญพลังงาน

พลังงานที่ได้จากกระบวนการเมตาบอลิซึม จะถูกเผาผลาญผ่าน 3 ช่องทางหลัก ประกอบด้วย

อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกาย (Basal Metabolic Rate: BMR) คือ ปริมาณพลังงานที่เผาผลาญในขณะที่ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหวทำกิจกรรมใด ๆ รวมไปถึงพลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ควบคุมระบบอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานปกติหรืออยู่ในภาวะคงที่ (Homeostasis) อัตราความต้องการเผาผลาญของร่างกายนี้ คิดเป็นร้อยละ 50-80 โดยจะมีความแตกต่างกันไปจากหลายปัจจัย เช่น เพศ โดยผู้ชายจะมีอัตราการเผาผลาญวันละประมาณ 1,700 กิโลแคลอรี่ (7,100 กิโลจูล) ส่วนผู้หญิงมีอัตราการเผาผลาญวันละประมาณ 1,400 กิโลแคลอรี่ (5,900 กิโลจูล) นอกจากนั้นยังมีเรื่องของมวลกล้ามเนื้อ อายุ พฤติกรรมการรับประทาน การตั้งครรภ์ สภาพอากาศ เป็นต้น

พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนไหวร่างกาย (Physical Activity) เป็นพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญหรือใช้ไปขณะเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น นั่ง ยืน เดิน วิ่ง ขับรถ ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 25 – 35 โดยพลังงานที่ต้องใช้จะเพิ่มขึ้นเป็น 50 เท่า หรือมากกว่านั้นระหว่างที่ออกกำลังกาย จึงมีการแนะนำให้ออกกำลังกายที่หนักเพียงพอและต่อเนื่องอย่างน้อย 30 นาทีเป็นประจำ

พลังงานที่ใช้ย่อยอาหาร (Thermic Effect of Food) เป็นพลังงานที่ใช้ในการรับประทาน ย่อย และเผาผลาญอาหาร โดยการใช้พลังงานส่วนนี้คิดเป็นร้อยละ 5 – 10 โดยอัตราการเผาผลาญจะเพิ่มขึ้นหลังจากบริโภคอาหารเข้าไปได้สักพัก และจะพุ่งขึ้นสูงในช่วง 2 – 3 ชั่วโมงต่อจากนั้น การเพิ่มขึ้นของอัตราการเผาผลาญจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ร้อยละ 2 – 30 ขึ้นอยู่กับปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทาน เช่น
ไขมัน เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 0 – 5 คาร์โบไฮเดรต เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 5 – 10 โปรตีน เพิ่มอัตราการเผาผลาญร้อยละ 20 – 30 เป็นต้น

ทั้งนี้พลังงานส่วนเกินจากการเผาผลาญ ร่างกายจะมีกระบวนการเพื่อนำมาเก็บไว้ในรูปของไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกาย

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.healthcarethai.com  biochem.md.chula.ac.th  th.wikipedia.org
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com

Post Views: 8,294

กระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

กระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใส่ใจในสุขภาพหรือกำลังมองหาวิธีที่จะช่วยให้รูปร่างของคุณคงที่อยู่ละก็ คุณคงเริ่มหาข้อมูลที้เกี่ยวข้องมาบ้างแล้ว และแน่นอนว่าหลายคนอาจเคยได้ยินคำว่า ‘ระบบการเผาผลาญ/เมแทบอลิซึม’ กันมาบ้างแล้ว แต่ทว่าความหมายของเมแทบอลิซึม (Metabolism) และระบบเผาผลาญนั้นมันคือความหมายเดียวกันหรือไม่? แล้วทั้งสองคำนี้เกี่ยวข้องกับการปรับรูปร่างอย่างไร? หรือแม้แต่มันเกี่ยวข้องกับมนุษย์เราจริงหรือ? ซึ่งวันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ 

ทำความเข้าใจ ‘เมแทบอลิซึม’ มันคือระบบเผาผลาญใช่หรือไม่?

เมแทบอลิซึม (Metabolism) คือ กระบวนการทางเคมีที่เกิดขึ้นจริงในร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยเกิดเป็นกระบวนการ 2 กระบวนการติดต่อกัน นั่นก็คือ การสลายสารอาหารที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวัน เช่น ข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ ไข่ นม ผลไม้ หรือผักต่าง ๆ ด้วยวิธีการสลายสารอาหารเหล่านี้ให้ขนาดของโมเลกุลเล็กลง ยกตัวอย่างเช่น การสลายสารอาหารในข้าว (คาร์โบไฮเดรต) ไปเป็นน้ำตาลชนิดกลูโคส เป็นต้น ซึ่งกระบวนการแรกนี้เรียกว่า แคทาบอลิซึม (Catabolism) 

จากนั้นร่างกายของเราจะนำโมเลกุลขนาดเล็กที่ได้จากการย่อยสารอาหารเหล่านี้ไปใช้งานต่อไป ซึ่งหากร่างกายนำเอาสารอาหารเหล่านี้ไปสร้างเป็นพลังงานที่เอาไว้ใชในชีวิตประจำวันหรือซ่อมแซมส่วนที่สึกหลอ เราจะเรียกกระบวนการที่สองนี้ว่า แอนาบอลิซึม (Anabolism) แต่ถ้าปริมาณสารอาหารที่เราได้รับต่อวันนั้นมีมากเกินกว่าที่ร่างกายจำเป็นต้องเอาไปใช้งาน ร่างกายของเราจะสะสมพลังงานเหล่านี้ไว้ใช้ในยามจำเป็นในรูปของไขมันแทนนั่นเอง

ดังนั้นจะให้พูดง่ายๆ ก็คือเมแทบอลิซึมคือระบบเผาผลาญนั่นเอง เพราะจาก 2 ขั้นตอนที่เกิดขึ้นเมื่อเรารับประทานอาหาร ก็คือการนำอาหารที่รับประทานเข้าไปย่อยให้อยู่ในขนาดที่เล็กลง แล้วนำเอาโมเลกุลขนาดเล็กเหล่านี้ไปใช้ในการสร้างพลังงานให้กับร่างกายของสิ่งมีชีวิตต่อไปนั่นเอง มันคือรักษาสมดุลให้กับร่างกายของเรา แปลว่าถ้าเรากินในปริมาณที่พอเหมาะ เราก็จะมีระบบเผาผลาญที่สมดุลนั่นเอง

ความสำคัญของเมแทบอลิซึมต่อสิ่งมีชีวิต

กระบวนการเมแทบอลิซึม มีอะไรบ้าง

ตามที่ได้อธิบายความหมายของเมแทบอลิซึมไปข้างต้นแล้ว เพื่อนๆ น่าจะเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวิธีทำงานของระบบเผาผลาญในร่างกายของเรามากขึ้นแล้ว คำถามคือแล้วระบบนี้สำคัญขนาดไหนต่อสิ่งมีชีวิตหรือ? คำตอบคือสำคัญมากค่ะ เพราะเรียกง่ายๆ ก็คือ ระบบนี้เป็นระบบที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกายของพวกเรานั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกินอะไรเข้าไปก็ตาม ร่างกายของเราจะมีการพิจารณาว่าสามารถนำเอาสารอาหารใดไปใช้ได้บ้าง และแน่นอนว่าถ้ามีมากจนเกินความจำเป็น ร่างกายเราก็จะเก็บรักษาสารอาหารเอาไว้ในรูปของไขมันนั่นเอง 

หากร่างกายของเรามีอัตราการเผาผลาญที่ลดต่ำลงหรือขาดหายไป อาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตมีสารอาหารอยู่ในร่างกายในปริมาณที่มากจนเกินไป โดยที่ไม่สามารถนำเอาสารอาหารเหล่านี้เปลี่ยนไปเป็นพลังงานได้ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือประชากรส่วนใหญ่คงจะตัวใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักมากขึ้นนั่นเอง ถ้าเป็นเช่นนี้จริงหรือไม่ที่เมื่อคนเราอายุมากขึ้นจะมีอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมที่ลดต่ำลง? 

หากอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมลดต่ำลงจะส่งผลต่อเราอย่างไรบ้าง

หลายคนคงเคยได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าหากเราอายุมากขึ้นระบบเผาผลาญจะแย่ลงหรืออัตราการเกิดเมแทบอลิซึมจะลดต่ำลงไปโดยปริยาย คำถามคือมันเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? 

นักชีววิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของมนุษย์ได้ทำการศึกษาและเปรียบเทียบมนุษย์ในวัยตั้งแต่ 8 วัน ถึง 95 ปี โดยงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Science ฉบับเดือนสิงหาคม 2021 ซึ่งพบว่าแท้จริงแล้วอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญหากคุณมีอายุมากขึ้น เพราะช่วงวัย 20-60 ปี ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการนี้แต่อย่างใด 

แต่สิ่งที่ทำให้คนที่มีอายุมากขึ้นมีน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น น่าจะเป็นเพราะการสูญเสียปริมาณกล้ามเนื้อ (muscle mass) ไปต่างหาก และด้วยปริมาณฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไป การทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ลดต่ำลง ตลอดจนการรับประทานอาหารที่มากเกินจำเป็น สิ่งเหล่านี้มีโอกาสที่จะเป็นเหตุผลของการมีน้ำหนักที่มากขึ้นด้วย

วิธีการรักษาอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมทำได้อย่างไรบ้าง?

เชื่อว่าหลายคนที่มีอายุเกิน 30 ปี (อย่างเช่นผู้เขียน) คงเกิดคำถามขึ้นมาบ้างแล้วว่า แล้วทีนี้จะทำอย่างไรให้ระบบเผาผลาญของเรายังคงทำงานได้ดีอยู่ล่ะ? เป็นคำถามที่พวกเราทุกคนถามซ้ำไปมาและคำตอบก็คงเป็นอย่างเดิมอยู่เสมอ นั่นคือ การควบคุมและดูแลรูปแบบการใช้ชีวิตในประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ โดยเน้นที่โปรตีนและวิตามินเป็นหลัก เช่น หากคุณชอบผัดกระเพรา คุณสามารถเลือกทานผผัดกระเพราที่มีเนื้อสัตว์มากกว่าปกติและทานข้าวให้น้อยลง เป็นต้น 

การควบคุมอาหารคือปัจจัยสำคัญของกระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์เรา ไม่ว่าจะเป็นการลดน้ำหนัก การรักษารูปร่าง หรือแม้แต่การเพิ่มหรือคงระบบเผาผลาญให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สิ่งเหล่านี้ล้วนได้รับผลกระทบจากการเลือกอาหารเข้าไปรับประทานทั้งสิ้น ดังนั้นถ้าคุณต้องการลดน้ำหนัก คุณก็เพียงแค่ทานแป้งและไขมันในปริมาณที่น้อยลง และออกกำลังกายเพื่อกระตุ้นระบบเผาผลาญให้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นควบคู่ไปด้วย เพียงเท่านี้น้ำหนักของคุณก็จะลดลงแล้วค่ะ

แต่ทว่าคุณต้องการสร้างซิกซ์แพ็กหรือกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ในร่างกายให้ดูแข็งแรงและได้สัดส่วนมากยิ่งขึ้น จากที่คุณต้องลดอาหารจำพวกแป้งและไขมัน คุณก็แค่เพิ่มการรับประทานอาหารจำพวกโปรตีนที่จะสามารถช่วยสนับสนุนการสร้างกล้ามเนื้อเพิ่มขึ้น และออกกำลังกายชนิดเพิ่มน้ำหนักหรือเวทเทรนนิ่งให้มากขึ้น เพียงเท่านี้คุณก็จะมีหุ่นที่สวยแล้ว

ฟังดูผิวเผินเหมือนจะง่าย แต่สิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความอดทนและความสม่ำเสมอ หากคุณตั้งใจแล้วคุณก็จะได้ผลลัพธ์ตามที่คุณต้องการ! และนี่อาจะเป็นสิ่งที่สามารถช่วยคุณได้

  • รับประทานอาหารให้เป็นเวลาและทานอาหารในปริมาณที่น้อยแต่บ่อยขึ้น เพื่อลดการเผาผลาญในอัตราที่ช้าลงหากคุณรับประทานอาหารในปริมาณที่มาก และแทนที่จะได้สารอาหารตามที่เรารับประทานเข้าไปจริง ๆ ท้ายที่สุดหากมีมากจนเกินไปร่างกายจะเปลี่ยนรูปจากสารอาหารเหล่านั้น (ไกลโคเจนที่ได้จากคาร์โบไฮเดรต หรือ กรดอะมิโนที่ได้จากโปรตีน) ไปเป็นไขมันแทนนั่นเอง
  • ทานอาหารในปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสม โดยปกติแล้วผู้หญิงจะต้องได้รับประทานอาหารประมาณ 1,600 – 2,400 แคลอรี่ต่อวัน ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ 2,000 – 3,000 แคลอรี่ต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับกิจวัตรประจำวันด้วย
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ การดื่มน้ำสะอาดเป็นสิ่งที่ถูกพูดถึงและสอนกันมาอย่างยาวนานว่าการดื่มน้ำให้ได้วันละ 8 แก่ว เป็นสิ่งที่ควรทำ ในบทความนี้ก็ยังยื่นยันเช่นนั้นว่าน้ำเป็นตัวช่วยหลักในการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย และมีงานวิจัยหนึ่งพบว่าการดื่มน้ำวันละ 1.5 ลิตร สามารถลดน้ำหนักได้ในกลุ่มของผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินในช่วงอายุ 18-23 ปี นั่นเอง
  • ลดความเครียดลง ความเครียดส่งผลอย่างมากต่อฮอร์โมนในร่างกายของเรา อีกทั้งยังส่งผลต่อการนอนหลับของเราอีกด้วย ซึ่งการอัตราเกิดเมแทบอลิซึมจะได้รับอิทธิพลและผลกระทบโดยตรงอย่างแน่นอน

บทสรุปความสำคัญของเมแทบอลิซึมต่อสิ่งมีชีวิต

จากข้อมูลที่เราได้ทำการค้นคว้ามานี้คงจะแสดงให้เพื่อนๆ ได้เห็นบ้างแล้วว่าระบบต่าง ๆ ในร่างกายของเรานั้นสำคัญมากเพียงใด โดยเฉพาะระบบหลักของการสร้างพลังงานเพื่อเก็บไว้ใช้ในร่างกายอย่าง “เมแทบอลิซึม” ดังนั้นเราก็ควรที่จะดูแลและรักษาร่างกายเพื่อคงการมีสุขภาพที่ดีโดยไม่ต้องไปเข้าคอร์สหรือหาหมอที่ไหน คุณสามารถสร้างสิ่งเหล่านี้ได้ด้วยตนเอง เพียงแค่คุณจะต้องทำความเข้าใจถึงความสำคัญและหลักการทำงานของมันเสียก่อน เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถดูแลร่างกายที่คุณรักได้ตราบนานเท่านาน

กระบวนการเมแทบอลิซึมมีกี่ประเภทอะไรบ้าง

เมแทบอลิซึมแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ 1) การเปลี่ยนแปลงระหว่าง macromolecule กับหน่วยโครงสร้าง (building unit) 2) การเปลี่ยนแปลงระหว่างหน่วยโครงสร้างกับโมเลกุล ง่ายๆ เช่น acetyl CoA. 3) การเผาผลาญโมเลกุลง่ายๆ ให้เป็นของเสีย เช่น CO.

มีกระบวนการเมแทบอลิซึมคืออะไร

เมแทบอลิซึม คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงสารอาหารที่มีปฏิกิริยาทางชีวเคมีเกิดขึ้นหลายขั้นตอนให้เป็นพลังงานภายในเซลล์ และมีเมแท บอไลต์เกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลของปฏิกิริยาทางชีวเคมีท่ีมีทั้งกระบวนการสลายสารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก เรียกว่า แคแทบอลิซึม (catabolism) และกระบวนการสร้างสารโมเลกุลเล็กให้เป็นสารโมเลกุลใหญ่ เรียกว่า ...

ทำไม สิ่งมีชีวิตต้องมีกระบวนการเมตาบอลิซึม

คำตอบคือสำคัญมากค่ะ เพราะเรียกง่ายๆ ก็คือ ระบบนี้เป็นระบบที่ช่วยรักษาสมดุลให้กับร่างกายของพวกเรานั่นเอง เพราะไม่ว่าเราจะกินอะไรเข้าไปก็ตาม ร่างกายของเราจะมีการพิจารณาว่าสามารถนำเอาสารอาหารใดไปใช้ได้บ้าง และแน่นอนว่าถ้ามีมากจนเกินความจำเป็น ร่างกายเราก็จะเก็บรักษาสารอาหารเอาไว้ในรูปของไขมันนั่นเอง