ช่าง ที่ เกี่ยวกับการควบคุม เครื่องกล ไฟฟ้า มี อะไรบ้าง

งานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า

สมรรถนะ
    1. ต่อวงจรและควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
    2. ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่องในงานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า

เกณฑ์การปฎิบัติงาน (Performance Criteria)
    1. อ่านแบบ/เงื่อนไขการทำงานและเตรียมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า   
    2. ต่อวงจร/เขียนโปรแกรมควบคุมเครื่องกลไฟฟ้าตามแบบที่กำหนด  

    3. ตรวจสอบการทำงานและแก้ไขข้อบกพร่องตามเงื่อนไขที่กำหนด   

ขอบเขต (Range)
    1. วัสดุ อุปกรณ์ที่เลือกใช้ขึ้นกับชนิด/ขนาดของเครื่องกลไฟฟ้าที่ควบคุม
    2. การต่อวงจร/เขียนโปรแกรมควบคุมเครื่องกลไฟฟ้าเป็นไปตามแบบและระยะเวลาที่กำหนด

หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Requirements)
    หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ (The Performance Evidence Required)
        1. การทำงานของเครื่องกลไฟฟ้าตามเงื่อนไขที่กำหนด    (คลิกชมผลงาน)
        2. แบบวงจร/โปรแกรมควบคุมไฟฟ้า    (คลิกชมผลงาน)
        3. แบบบันทึกผลการปฏิบัติงาน    (คลิกชมผลงาน)
    หลักฐานความรู้ที่ต้องการ (The Knowledge Evidence Required)
        1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
        2. หลักการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ในงานควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
        3. หลักการออกแบบวงจร/โปรแกรมควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
        4. หลักการตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง
        5. การเขียนบันทึกผลการปฏิบัติงาน

แนวทางการประเมิน (Guidance to Assessors)
    1. ติดตั้งวงจรการควบคุมได้ตามแบบ/เงื่อนไขที่กำหนด
    2. ความถูกต้องของแบบวงจร/โปรแกรมควบคุมไฟฟ้า
    3. วงจรการควบคุมทำงานตามเงื่อนไขที่กำหนด
    4. ความถูกต้องของบันทึกผลการปฏิบัติงาน

สาขาวิชาช่างไฟฟ้า

          สาขาวิชาช่างไฟฟ้า ผลิตกำลังคนที่มีความรู้และทักษะในระดับเทคนิค สามารถปฏิบัติงานที่ใช้เทคนิคควบคุมการทำงาน มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการทางสังคม ชุมชน และสถานประกอบการ สามารถประกอบอาชีพอิสระและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ

1. ชื่อหลักสูตร

                ชื่อภาษาไทย         :  หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
             ชื่อภาษาอังกฤษ      : Diploma in Electrical Technology

2. ชื่อปริญญา

                ชื่อเต็มภาษาไทย         :  ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  ปวส.สาขาวิชาช่างไฟฟ้า
                ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ     :  Diploma in Electrical Technology
                ชื่อย่อภาษาไทย          :  Dip.in Electrical Technology

3. จำนวนหน่วยกิจที่เรียนตลอดหลักสูตร

                จำนวนหน่วยกิจรวมตลอดหลักสูตร     84 หน่วยกิต

4. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

  • ช่างเทคนิคติดตั้งระบบไฟฟ้าในอาคาร และโรงงานอุตสาหกรรม
  • นักออกแบบระบบไฟฟ้าในอาคาร และเครื่องจักรกลไฟฟ้า
  • นักวิเคราะห์ และซ่อมบำรุงอุปกรณ์ไฟฟ้าในงานอุตสาหกรรม
  • ช่างเทคนิคควบคุมระบบเครื่องจักรในงานอุตสาหกรรม
  • ช่างทดสอบอุปกรณ์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

5. ปรัชญาและความสำคัญ

                ผลิตกำลังคนที่มีความรู้และทักษะในระดับเทคนิค สามารถปฏิบัติงานที่ใช้เทคนิคควบคุมการทำงาน มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพและกิจนิสัยที่เหมาะสมในการทำงาน สอดคล้องกับความต้องการทางสังคม ชุมชน และสถานประกอบการ สามารถประกอบอาชีพอิสระและพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ

6. วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีคุณสมบัติ
    • เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถปฏิบัติการเชิงวิชาการ ในด้าน วงจรไฟฟ้าและเครื่องมือวัดไฟฟ้า การควบคุมและติดตั้งระบบไฟฟ้า เครื่องกลไฟฟ้า ระบบควบคุมในอุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์
    • เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ช่างเทคนิคหรือผู้ช่วยวิศวกร ในการควบคุมระบบไฟฟ้า และการควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง การควบคุมงาน การประสานงานและติดตามผลงานเพื่อเสนอต่อหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้บริหาร
    • เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การตรวจซ่อม บำรุงรักษาเครื่องจักรและเครื่องมืออุปกรณ์ไฟฟ้า ทั้งภาครัฐและเอกชน การประกอบกิจการส่วนบุคคล
    • เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์กิจนิสัย สามารถใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้า ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ และการแสดงออกในเจตคติที่ดีต่อการปฏิบัติวิชาชีพ
    • เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย มีความซื่อสัตย์สุจริต อดทน ขยันมั่นเพียร ตรงต่อเวลา สำนึกในจรรยาบรรณวิชาชีพของตนเสมอ รับผิดชอบต่อหน้าที่ สังคมและประเทศชาติ

7. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

  • แผน ก เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาวิชาช่างไฟฟ้า สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง สาขาวิชาช่างเครื่องมือวัด สาขาวิชาช่างไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สาขาวิชาช่างอิเล็กทรอนิกส์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
  • แผน ข เป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า

8. การคัดเลือกผู้เข้าศึกษา

  • ให้เป็นไปตามระเบียบการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย หรือการคัดเลือกตามวิธีการอื่นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยกำหนด

9. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 9,500 บาท รวมตลอหลักสูตร 42,700 บาท (สำหรับแผน ก)
  • ค่าธรรมเนียมการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 9,500 บาท รวมตลอหลักสูตร 47,500 บาท (สำหรับแผน ข)

10. ระยะเวลาการศึกษา

  • ระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และ 1 ภาคฤดูร้อน (สำหรับแผน ก)
  • ระยะเวลา 2 ปีการศึกษา และ 2 ภาคฤดูร้อน (สำหรับแผน ข)

เล่มหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาช่างไฟฟ้า

เข้าสู้เว็บไซต์ สาขาวิชาช่างไฟฟ้า

สมัครเรียนคลิ๊ก