ผลงานสําคัญของออกญาโกษาธิบดี ปาน คืออะไร

สยามรัฐออนไลน์ 7 เมษายน 2561 08:53 น. วัฒนธรรม

ผลงานสําคัญของออกญาโกษาธิบดี ปาน คืออะไร

รฦก / วัฒนรักษ์ [email protected] “โกษา”

ผลงานสําคัญของออกญาโกษาธิบดี ปาน คืออะไร
ช่วงโหนกระแส “ออเจ้า” ท่านผู้อ่านนอกจากจะคุ้นเคยกับบรรดาจมื่นทั้งหลายแล้ว คงจะประทับใจผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีประวัติสำคัญในวงประวัติศาสตร์ของไทยไทยอีกไม่น้อย โดยเฉพาะตำแหน่ง “โกษาธิบดี” ชื่อตำแหน่ง “โกษาธิบดี” เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา คือข้าราชการที่ทำหน้าที่ในงาน “คลัง” จัดการเกี่ยวกับพระราชทรัพย์ โดยเฉพาะการเก็บส่วยสาอากรซึ่งเป็นผลประโยชน์แผ่นดิน ถ้าใช้ภาษาแนวการเมืองปัจจุบันก็ต้องถือเป็นหนึ่งในสี่เสือที่เป็นผู้ช่วยบริหารการปกครอง 4 ส่วนแบบจตุสดมภ์ อันประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา มีการจารึกในประวัติศาสตร์ว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นยุคที่มีการจัดเก็บภาษีอากรรุ่งเรืองมาก โดยที่การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา หรือที่เรียกกันในสมัยนั้นว่า ส่วยสาอากร ได้มีการแบ่งการจัดเก็บออกเป็น 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา ซึ่งลักษณะการจัดเก็บภาษีอากรดังกล่าว กรณีจังกอบและส่วย จะจัดเก็บในรูปของการบังคับจัดเก็บจะได้รับประโยชน์ในทางอ้อม ส่วนอากรและฤชานั้น ผู้ถูกจัดเก็บจะได้รับผลประโยชน์จากรัฐโดยตรง หากมุ่งมองไปในประวัติศาสตร์รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช คนไทยส่วนใหญ่จะรู้จักผู้ดำรงตำแหน่ง “โกษาธิบดี” อย่างน้อย 2 ท่าน คือ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ซึ่งดำรงตำแหน่งพระคลังระหว่าง พ.ศ. 2200 – 2226 ทั้งท่านโกษาเหล็กและท่านโกษาปาน เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต(บัว) พระนมของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์อยุธยาตามประวัติศาสตร์นั้น ส่วนพ่อนั้นขุนนางเชื้อสายมอญ ว่ากันว่าเป็นสายของพระยาเกียรติ์ พระยาราม เกิดในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และเป็นพระนัดดาหรือหลานชายในสมเด็จพระเอกาทศรถ เจ้าพระยาโกษาเหล็กเกิดใน พ.ศ. 2175 อยู่ในวัยเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์นับเป็นวีรบุรุษคนสำคัญอีกคนหนึ่ง เพราะก่อนหน้าที่สมเด็จพระนารายณ์จะเสด็จขึ้นครองราชย์นั้น ท่านเป็นเสมียนยอดนักรบคู่ใจของสมเด็จพระนารายณ์ ซึ่งเป็นที่เรียกกันทั่วไปว่า “ขุนเหล็ก” ส่วนเจ้าพระยาโกษาปาน เป็นน้องชายของเจ้าพระยาโกษาเหล็ก ก็นับเป็นผู้ที่มีจิตใจที่หาญกล้าเด็ดเดี่ยวมิใช่น้อย ท่านได้เคยออกทัพจับศึก และมีชัยชนะในการศึกหลายครั้งหลายครา เป็นต้นว่า ครั้งที่นำกรุงศรีอยุธยาไปทำสงครามกับพม่าถึงกรุงอังวะนั้น ท่านก็ได้ชัย และยังได้ปราบปรามหัวเมืองที่ยังกระด้างกระเดื่องต่างๆ ให้สงบราบคาบได้ เมื่อครั้งท่านได้บรรดาศักดิ์เป็นออกพระวิสุทธิสุนทร ได้รับแต่งตั้งเป็นทูตออกไปเจริญสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศส ซึ่งคณะทูตไปฝรั่งเศสครั้งนั้น นอกจากจะมีออกพระวิสุทธิสุนทรเป็นราชทูตแล้ว ยังมีออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นอุปทูต และออกขุนศรีวิศาลวาจาเป็นตรีทูต พร้อมทั้งบาทหลวงเดอ ลีออง และผู้ติดตาม รวมกว่า 40 คน ออกเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาในวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2229 ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2229 ณ พระราชวังแวร์ซายและเดินทางกลับเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2230 ท่านโกษาปานนอกจากที่จะมีชั้นเชิงลีลาและฝีมือในการทูตในการเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จนได้รับการยกย่องชื่นชมจากชาวฝรั่งเศสแล้ว ยังมีเรื่องเล่าขานกันว่าได้นำเอาวิชาความรู้ทางด้านคาถาคงกระพันชาตรีอันเป็นความเชื่อดั้งเดิมของไทยเราแต่สมัยโบราณไปอวดให้เป็นที่ประจักษ์แก่หน้าพระเนตรพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และทหารฝรั่งเศสทั้งปวง ที่สำคัญก็คือ ท่านยังเป็นปู่ของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ซึ่งเป็นบิดาของสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก พระราชบิดาของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกอีกด้วย

โกษาปาน : เมื่อรูปปั้นแห่งการเริ่มสัมพันธ์อยุธยา-ปารีส 334 ปีก่อน หายไป 1 คืนในฝรั่งเศส

29 มิถุนายน 2020

ผลงานสําคัญของออกญาโกษาธิบดี ปาน คืออะไร

ที่มาของภาพ, Facebook/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส

รูปปั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) ราชทูตแห่งสยามซึ่งประดิษฐานอยู่ ณ ถนนสยาม (Rue de Siam) เมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส ถูกนำกลับมาคืนไว้ที่เดิมแล้วเมื่อกลางดึกวันที่ 28 มิ.ย. (ตามเวลาในฝรั่งเศส) หลังจากหายไปจากฐานอนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรีเมื่อวันที่ 27 มิ.ย.

พล.ต.ต.ญาณพงศ์ โสมาภา ผู้บังคับการกองสารนิเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีความใกล้ชิดกับโครงการจัดสร้างรูปหล่อโกษาปานเมื่อปี 2562 ในโอกาส 333 ปี การเดินทางจากสยามประเทศสู่ฝรั่งเศสของคณะราชทูตสยาม ให้ข้อมูลกับบีบีซีไทยเมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 29 มิ.ย. (ตามเวลาในประเทศไทย) ว่า รูปปั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดีได้หายไปจากที่ประดิษฐานเมื่อวันที่ 27 มิ.ย. คาดว่าถูกขโมย ในเวลาต่อมาของวันที่ 29 มิ.ย. เจ้าหน้าที่สถานทูตไทยในกรุงปารีส ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ศาลาว่าการเมืองแบรสต์ ว่ามีผู้นำรูปปั้นมาคืนที่ฐานเดิมเมื่อกลางดึกวันที่ 28 มิ.ย.

"รูปปั้นไม่มีความเสียหาย แต่ตั้งหันหน้าผิดทิศ เข้าใจว่าผู้ก่อเหตุนำกลับมาคืนด้วยความรีบเร่ง ทำให้ตั้งหันหน้าผิดทิศ" พล.ต.ต.ญาณพงศ์กล่าวและให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศาลาว่าการเมืองแบรสต์ได้ตัดสินใจนำรูปปั้นพระยาโกษาธิบดีซึ่งทำจากบรอนซ์ มูลค่าประมาณ 1 ล้านบาทไปเก็บรักษาที่ศาลาว่าการเมืองก่อน ระหว่างที่ทางเมืองแบรสต์จัดสรรงบประมาณเพื่อปรับปรุงฐานอนุสรณ์สถานให้สูงขึ้น ซึ่งคาดว่าจะใช้งบประมาณ 7,000-10,000 ยูโร (ประมาณ 243,000-348,000 บาท)

  • เปิดเอกสารรัฐบาลอังกฤษว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง 24 มิ.ย. 2475 และความขัดแย้งของผู้ก่อการ
  • สำรวจความคิด “คณะราษฎร” ผ่านมรดกทางวัฒนธรรม
  • เหลนกษัตริย์เมียนมาจี้ไทยหยุดฉาย “เพลิงพระนาง”
  • เชื้อพระวงศ์ "คองบอง" ทายาทกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า

ความเป็นมาประติมากรรมเจ้าพระยาโกษาปาน ณ ถนนสยาม

โครงการก่อสร้าง "โกษาปาน อนุสรณ์สถานแห่งมิตรไมตรี" ที่ถนนสยาม ณ เมืองแบรสต์ ริเริ่มโดยสมาคมครูภาษาฝรั่งเศสแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในโอกาศครบ 333 ปี การเดินทางของคณะราชทูตสยามที่นำโดยเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) หรือออกพระวิสุทธสุนทรไปยังฝรั่งเศส

วันที่ 3 พ.ย. 2562 กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเจิมรูปหล่อเจ้าพระยาโกษาปานซึ่งออกแบบและสร้างสรรค์โดยอาจารย์วัชระ ประยูรคำ ก่อนที่จะนำไปตั้งที่ถนนสยาม เมืองแบรสต์ ซึ่งเป็นจุดที่สันนิษฐานว่าคณะราชทูตสยามได้มาขึ้นบกที่นี่เป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 3 ศตวรรษก่อน โดยมีพิธีเปิดอนุสรณ์สถานเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2563

ราชทูตผู้นี้ไปทำอะไรที่ฝรั่งเศสเมื่อ 334 ปีที่แล้ว

ข้อมูลจากเว็บไซต์นิตยสารศิลปวัฒนธรรมระบุว่า คณะทูตที่พระวิสุทธสุนทร หรือ โกษาปาน เป็นหัวหน้าในการเดินทางไปยังฝรั่งเศสเมื่อปี 2228 นั้นถือเป็น "คณะทูตยุคบุกเบิกของสยาม" โดยก่อนหน้านั้นมีการติดต่อค้าขายกับจีนและอินเดีย และมีการทำสนธิสัญญากับโปรตุเกสเป็นชาติแรก แต่ก็ยังไม่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ

รศ. ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี และอาจารย์กุลชาติ ชัยมงคล ระบุในบทความ "พระราชานุกิจพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสในการรับทูตสยาม : หลักฐานใหม่จากปารีส ในโอกาส 333 ปี ความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส" ว่า คณะทูตออกเดินทางจากไทยเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. ปี 2228 ใช้เวลาประมาณ 6 เดือนโดยเรือโดยสารของฝรั่งเศสไปถึงท่าเรือเมืองแบรสต์ ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2229 และเดินทางต่อด้วยกระบวนรถม้าเข้ากรุงปารีส ถึง ณ พระราชวังแวร์ซายส์ วันที่ 1 ก.ย. 2229

เมืองแบรสต์ อยู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส เป็นระยะทางราว 600 กม.

ข้อมูลประกอบนิทรรศการในเว็บไซต์ของพระราชวังแวร์ซายส์ระบุถึงการเดินทางในครั้งนั้นว่า สมเด็จพระนารายณ์มหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงต้องการให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงสนพระทัยให้สยามเป็นคู่ค้าของบริษัทอีสต์อินเดียของฝรั่งเศส และสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ต้องการกระชับความแน่นแฟ้นให้มากขึ้นอีกหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือทางการทหารแล้ว

ที่มาของภาพ, Facebook/สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส

คำบรรยายภาพ,

พิธีเปิดอนุสรณ์สถานโกษาปานเมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2563

ด้านพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ต้องการให้สยามเป็นเครื่องยืนยันว่าฝรั่งเศสไม่ได้มีอิทธิพลแค่ในยุโรป และจะช่วยให้ฝรั่งเศสมีความสำเร็จทางการค้าเหนือฮอลแลนด์ ซึ่งมีอิทธิพลในเอเชียเป็นอย่างมากในตอนนั้น

รศ. ดร. ปรีดี พิศภูมิวิถี ระบุในบทความ "333 ปี เมื่อโกษาปานไปฝรั่งเศส" ซึ่งตีพิมพ์ในเว็บไซต์มติชนเมื่อ ส.ค. ปีที่แล้วว่า โกษาปานพำนักอยู่ที่เมืองแบรสต์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จะทรงจัดขบวนรถม้ามารับและทรงสั่งให้เจ้าเมืองต่าง ๆ ช่วยดูแลเรื่องที่พักและอาหารระหว่างที่คณะราชทูตสยามเดินทางเข้ากรุงปารีส

รศ. ดร. ปรีดี ระบุในบทความอีกว่า ต่อมาในวันที่ 1 ก.ย. ปี 2229 โกษาปานนำคณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ ท้องพระโรงกระจก พระราชวังแวร์ซายน์ โดยพระราชานุกิจของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 บันทึกเหตุการณ์ ณ วันนั้นว่า

"คณะทั้งหมดเดินตัดผ่านห้องพระตำหนักจนถึงพระทวารทางเข้าท้องพระโรง บรรดาขุนนางสยามเมื่อแลเห็นพระเจ้าแผ่นดินประทับอยู่แต่ไกลๆ บนพระโธรน ก็ถวายความเคารพโดยไม่ถอดลอมพอกออก พวกเขาประนมมือยกขึ้นในระดับปาก อันเป็นการแสดงความเคารพ แล้วก็โน้มตัวลงไปข้างหน้าอย่างต่ำที่สุด แล้วยกตัวขึ้นมาใหม่ ทำซ้ำ 3 หน จากนั้นค่อยขยับเข้าไปทีละน้อยจนใกล้ถึงพระโธรนที่ประทับ เมื่อถึงฐานล่างพวกเขาก็คุกเข่า และถวายบังคับ 3 ครั้ง เฉพาะพักตร์ แล้วนั่งราบอยู่เช่นนั้นตลอดเวลาที่เข้าเฝ้า"

ข้อมูลนิทรรศการของพระราชวังแวร์ซายส์ซึ่งจัดขึ้นเมื่อปีที่แล้วก็ระบุถึงเหตุการณ์วันที่ 1 ก.ย. ปี 2229 ไว้เช่นกัน โดยรวบรวมจากเอกสารและคำบอกเล่าว่า คณะราชทูตสยามตื่นตาตื่นใจกับธรรมเนียมแปลก ๆ และความมั่นใจในตัวเองของคนฝรั่งเศส และพระราชวังแวร์ซายน์ เป็นสวรรค์ที่มีคนแต่งตัวอย่างหรูหรา มีท่าทีที่ดูภูมิใจในตัวเองและก็ดูแปลกตา

พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงประทับอยู่บนที่นั่งที่สูงขึ้นไป 9 ขั้นบันได พร้อมกับพระโอรส และขุนนาง ประดับกายด้วยทองและหินมีค่า คณะราชทูตสยามใช้เวลา 4 วันในการรวบรวมของขวัญที่นำมาถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 หลังจากใช้เวลาหลายเดือนในการเลือกสรรจากของมีค่าในสยาม

ข้อมูลจากเว็บไซต์พระราชวังแวร์ซายส์ระบุอีกว่า โกษาปาน บอกว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ทรงไม่ประทับใจกับของขวัญที่พวกเขานำมาถวายนัก

"เป็นงานยากที่จะเจรจาธุรกิจกับชาติที่ต้องการข้อตกลงทางการค้าแบบผูกขาด ต้องการเปลี่ยนให้กษัตริย์ของเราไปนับถือศาสนาที่มีพระเจ้าองค์เดียว… อย่างไรก็ดี การเจรจาของเราก็เป็นไปด้วยดี และก็หวังว่าการพบปะพูดคุยในครั้งต่อไปจะได้ผลมากกว่านี้" นี่คือคำพูดของโกษาปาน ที่ผู้จัดนิทรรศการแต่งขึ้นโดยอิงจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เพื่อให้ผู้เข้าชมนิทรรศการเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ดี ข้อมูลนิทรรศการนี้บอกว่า การเดินทางมาในครั้งนี้ถือว่าล้มเหลว หลังสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต พระเพทราชาปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ต้นราชวงศ์บ้านพลูหลวง และทรงตัดความสัมพันธ์กับต่างชาติทั้งหมดยกเว้นกับฮอลแลนด์

ส.สีมา เขียนในบทความ "เล่าเรื่อง พระเพทราชา ตกกระไดพลอยโจน" บนเว็บไซต์นิตยสารศิลปวัฒนธรรมว่า พระราชกรณียกิจทางการเมืองอย่างหนึ่งของสมเด็จพระเพทราชาคือ "กรณีขับไล่กองทหารฝรั่งเศสจากป้อมบางกอกให้พ้นจากสยาม"

ผลงานที่สำคัญของออกญาโกษาธิบดีคืออะไร

ออกญาโกษาธิบดี (ปาน) ได้รับการยกย่องสรรเสริญในเรื่องความสามารถทำให้ไทยเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติ และจากบุคลิกของท่านที่เฉลียวฉลาด มีมารยาทเรียบร้อย ช่างสังเกต ช่างจดจำ พูดจาหลักแหลมคมคาย ทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการประกาศชื่อเสียง และเกียรติคุณของประเทศชาติ จากผลงาน การเป็นหัวหน้าคณะราชทูตไทยไปเจริญสัมพันธไมตรีกับ ...

โกษาปาน มีความสําคัญอย่างไร

เจ้าพระยาโกษาธิบดี นามเดิม ปาน (พ.ศ. 2176 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2242) เป็นขุนนางในอาณาจักรอยุธยาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นเอกอัครราชทูตคนสำคัญที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2229.

เจ้าพระยาโกษาธิบดีมีหน้าที่อะไร

โกษาธิบดี เป็นตำแหน่งเสนาบดีหรือเจ้ากรมพระคลัง มียศบรรดาศักดิ์เป็น ออกญา (พระยา) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคลังคือดูแลการเก็บรายได้และรายจ่ายของกรม ทุกกรม และมีหน้าที่ตัดสินคดีที่เกิดขึ้นในศาลของตนเอง (ควอริช เวลล์ ๒๕๑๙ : ๑๔๐- ๑๔๑

บทบาทสำคัญของออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชคือข้อใด

ออกพระวิสุทธิ์สุนทร (ปาน) ได้เดินทางไปกับเรือฝรั่งเศส ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้กระทำหน้าที่เป็นผู้แทนของราชสำนักกรุงศรีอยุธยาอย่างถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณีการเข้าเฝ้า จนชาวฝรั่งเศสได้กล่าวยกย่องชื่นชมคณะทูตไทย ซึ่งถือว่าการไปเจริญสัมพันธไมตรีที่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ ...