องค์ประกอบของแผนที่ที่สําคัญมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของแผนที่
        องค์ประกอบของแผนที่ที่จะกล่าวต่อไปนี้ หมายถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่บนแผ่นแผนที่ ซึ่งผู้ผลิตแผนที่จัดแสดงไว้โดยมีความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้แผนที่ได้ทราบข่าวสารและรายละเอียดอย่างเพียงพอสำหรับการใช้แผนที่นั้น แผนที่ที่จัดทำขึ้นก็เพื่อแสดงพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งซึ่งเรียกว่า “ระวาง” ( Sheet ) องค์ประกอบแผนที่แต่ละระวาง ประกอบด้วย 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
        1. เส้นขอบระวาง ตามปกติรูปแบบของแผนที่ทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสหรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ห่างจากริมทั้งสี่ด้านของแผนที่เข้าไปจะมีเส้นกั้นขอบเขตเป็นรูปสี่เหลี่ยม ซึ่งเรียกว่าเส้นขอบระวางแผนที่ ( Border ) เส้นขอบระวางแผนที่บางแบบประกอบด้วยขอบสองชั้น เพื่อให้เกิดความสวยงาม สำหรับแผนที่ภูมิประเทศโดยทั่วไป เส้นขอบระวางมีเพียงด้านละเส้นเดียว บางชนิดมีเส้นขอบระวางเพียงสองด้านเท่านั้น ที่เส้นขอบระวางแต่ละด้านจะมีตัวเลขบอกค่าพิกัดกริด และค่าพิกัดภูมิศาสตร์ (ค่าของละติจูดและลองติจูด) หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นในแผนที่แผ่นหนึ่งเส้นขอบระวางแผนที่จะกั้นพื้นที่บนแผ่นแผนที่ออกเป็นสองส่วนด้วยกัน คือพื้นที่ภายในขอบระวางแผนที่ และพื้นที่นอกขอบระวางแผนที่
        2. องค์ประกอบภายในขอบระวาง หมายถึง สิ่งทั้งหลายที่แสดงไว้ภายในกรอบ ซึ่งล้อมรอบด้วยเส้นขอบระวางแผนที่ ตามปกติแล้วจะประกอบด้วยสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้ คือ
                1. สัญลักษณ์ ( Symbol ) ได้แก่ เครื่องหมายหรือสิ่งซึ่งคิดขึ้นใช้แทนรายละเอียดที่ปรากฏอยู่บนพื้นผิวภูมิประเทศ หรือให้แทนข้อมูลอื่นใดที่ต้องการแสดงไว้ในแผนที่นั้น
                2. สี ( Colour ) สีที่ใช้ในบริเวณขอบระวางแผนที่จะเป็นสีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดหรือข้อมูลต่าง ๆ ของแผนที่
                3. ชื่อภูมิศาสตร์ ( Geographical Names ) เป็นตัวอักษรกำกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายในขอบระวางแผนที่ เพื่อบอกให้ทราบว่าสถานที่นั้นหรือสิ่งนั้นมีชื่อเรียกอะไร
                4. ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่ง ( Position Reference Systems ) ได้แก่ เส้นหรือตารางที่แสดงไว้ในขอบระวางแผนที่ เพื่อใช้ในการกำหนดค่าพิกัดของตำแหน่งต่าง ๆ ในแผนที่นั้น
 ระบบอ้างอิงในการกำหนดตำแหน่งมีหลายชนิดที่นิยมใช้ในแผนที่ทั่วไปมี 2 ชนิดคือ
                 1. พิกัดภูมิศาสตร์ ( Geographic Coordinates ) ได้แก่ เส้นขนานและเส้นเมอริเดียนที่บอกค่าละติจูดและลองติจูด อาจแสดงไว้เป็นเส้นยาวจรดขอบระวางแผนที่ หรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันเป็นกากบาท(graticul ) อย่างเช่นแผนที่มาตราส่วน 1:50,000 หรืออาจแสดงเป็นเส้นสั้นๆ เฉพาะที่ขอบ
                   2. พิกัดกริด ( Rectangular Coordinates ) ได้แก่ เส้นขนานสองชุดที่มีระยะห่างเท่า ๆ กัน ตัดกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เส้นตรงขนานทั้งสองชุดดังกล่าวอาจแสดงไว้เป็นแนวเส้นตรงยาวจรดขอบระวางหรืออาจแสดงเฉพาะส่วนที่ตัดกันก็ได้แล้วแต่ความเหมาะสม
          3. องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง หมายถึง พื้นที่ตั้งแต่เส้นขอบระวางไปถึงริมแผ่นแผนที่ทั้งสี่ด้าน บริเวณพื้นที่ดังกล่าวผู้ผลิตแผนที่จะแสดงรายละเอียดอันเป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ใช้แผนที่ควรทราบและใช้แผนที่นั้นได้อย่างถูกต้องตรงตามความมุ่งหมายของผู้ผลิตแผนที่
                   3.1 ระบบบ่งระวาง ( Sheet identification System ) การผลิตแผนที่ภูมิประเทศที่คลุมพื้นที่กว้างใหญ่ จำนวนแผนที่ที่ผลิตขึ้นใช้ย่อมมีหลายระวางจึงต้องจัดเข้าเป็นชุด ( Series ) และเพื่อสะดวกในการใช้จึงต้องวางระบบเพื่อเรียกหรืออ้างอิงแผนที่แต่ละระวางภายในชุดขึ้น
                   3.2 มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale ) มาตราส่วนแผนที่เป็นข่าวสารหรือข้อมูลที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้บนแผ่นแผนที่ ให้ผู้ใช้แผนที่ ได้ทราบว่าแผนที่แผ่นนั้นย่อจากภูมิประเทศจริง ที่ตรงกันด้วยอัตราส่วนเท่าใด
                   3.3 คำอธิบายสัญลักษณ์ ( Legend ) ประกอบด้วยตัวอย่างสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงรายละเอียดในแผนที่แผ่นนั้น พร้อมด้วยคำอธิบายความหมายของสัญลักษณ์นั้น ๆ อาจแสดงไว้ทั้งหมดหรือเลือกแสดงเฉพาะสัญลักษณ์ที่พิจารณาเห็นว่าสำคัญและจำเป็นก็ได้
                  3.4 ศัพทานุกรม ( Glossary ) เป็นส่วนที่ผู้ผลิตแผนที่แสดงไว้เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่เกิดความเข้าใจความหมายของคำที่ใช้ในแผนที่นั้น มักจะใช้กับแผนที่ ที่มีตั้งแต่สองภาษาขึ้นไป
                  3.5 วิธีออกเสียง ( Pronunciation Guide ) มีในแผนที่ที่ใช้ตั้งแต่สองภาษาขึ้นไปด้วยความมุ่งหมายที่จะให้ผู้ใช้ออกเสียงชื่อภูมิศาสตร์ที่ใช้ในแผนที่นั้นได้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น
                  3.6 สารบาญต่าง ๆ ( Indexes ) เป็นแผนภาพแบบต่าง ๆ ที่แสดงไว้ภายนอกขอบระวางแผนที่ เพื่อแสดงข้อมูลบางอย่างที่อาจมีคามจำเป็นสำหรับผู้ใช้แผนที่ สารบาญต่าง ๆ ที่หลายชนิด ซึ่งอาจแยกอธิบายได้ดังนี้


มาตราส่วนแผนที่ ( MAP SCALE)
        มาตราส่วนแผนที่ ( Map Scale ) คือ อัตราส่วนระหว่างระยะทางในแผนที่กับระยะทางจริงที่ตรงกันในภูมิประเทศ มาตราส่วนแผนที่อาจเขียนได้เป็นสูตรดังนี้ คือ
มาตราส่วนแผนที่      =       ระยะทางในแผนที่
                                       ระยะทางในภูมิประเทศ
มี 3 รูปแบบ คือ
       1 มาตราส่วนเศษส่วน ( Representative Fraction ใช้ตัวย่อว่า RF หรือมาตราส่วนตัวเลข Numerical Scale ) คือ การบอกอัตราส่วนเปรียบเทียบระยะทางระหว่างจุดเดียวกันในภูมิประเทศ ในลักษณะของตัวเลขเป็นเศษส่วน เช่น 1:1,000 หรือ 1/1000 โดยเทียบให้ระยะแผนที่เป็นหนึ่งหน่วยเสมอ ในที่นี้หมายความว่า ระยะ 1 หน่วยในแผนที่จะเท่ากับระยะทางในภูมิประเทศ 1,000 หน่วย (ในขณะเดียวกัน)
        2 มาตราส่วนคำพูด ( Verbal Scale ) เป็นมาตราส่วนที่บอกให้ทราบโดยตรงว่า 1 หน่วยของความยาวในแผนที่เท่ากับกี่หน่วยของความยาวในภูมิประเทศจริง โดยมากใช้มาตราวัดในระบบเดียวกัน เช่น 1 นิ้ว ต่อ 1 ไมล์ หรือ 1 เซนติเมตร ต่อ 5 กิโลเมตร เป็นต้น
         3 มาตราส่วนรูปภาพ หรือมาตราส่วนบรรทัด ( Graphic Scale หรือ Bar Scale ) เป็นมาตราส่วนที่เป็นเส้นตรงซึ่งถูกแบ่งเป็นส่วน ๆ และมีตัวเลขกำกับไว้ เพื่อบอกให้ทราบว่าระยะแต่ละส่วนในแผนที่นั้นแทนระยะในภูมิประเทศจริงเท่าไรหรือเส้นทาง รวมทั้งอาคารที่ต้องการเน้นให้เห็นเด่นชัดก็แสดงด้วยลายเส้น พิมพ์แยกสีให้เห็นเด่นชัด


2. การจำแนกชนิดของแผนที่ตามขนาดของมาตราส่วน
ประเทศต่าง ๆ อาจแบ่งชนิดของแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนไม่เหมือนกัน ที่กล่าวต่อไปนี้เป็นการแบ่งแผนที่ตามขนาดมาตราส่วนแบบหนึ่งเท่านั้น
       2.1 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักภูมิศาสตร์
              2.1.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนเล็กว่า 1:1,000,000
              2.1.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:250,000 ถึง 1:1,000,000
              2.1.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:250,000
        2.2 แบ่งมาตราส่วนสำหรับนักการทหาร
             2.2.1 แผนที่มาตราส่วนเล็ก ได้แก่ แผนที่มาตราส่วน 1:600,000 และเล็กกว่า
             2.2.2 แผนที่มาตราส่วนกลาง ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนใหญ่กว่า 1:600,000 แต่เล็กกว่า 1:75,000
             2.2.3 แผนที่มาตราส่วนใหญ่ ได้แก่ แผนที่มาตราส่วนตั้งแต่ 1:75,000 และใหญ่กว่า

3. การจำแนกชนิดแผนที่ตามลักษณะการใช้งานและชนิดของรายละเอียดที่แสดงไว้ในแผนที่
        3.1 แผนที่ทั่วไป (General Map) เป็นแผนที่พื้นฐานที่ใช้อยู่ทั่วไปหรือที่เรียกว่า Base map
แผนที่แสดงทางราบ (Planimetric Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนผิวโลกเฉพาะสัณฐานทางราบเท่านั้น
แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic Map) เป็นแผนที่แสดงรายละเอียดทั้งทางแนวราบและแนวดิ่ง หรืออาจแสดงให้เห็นเป็น 3 มิติ
        3.2 แผนที่พิเศษ (Special Map or Thematic Map) สร้างขึ้นบนแผนที่พื้นฐาน เพื่อใช้ในกิจการเฉพาะอย่าง


4. การจำแนกตามมาตราฐานของสมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ(ICA)
สมาคมคาร์โตกร๊าฟฟี่ระหว่างประเทศ ได้จำแนกชนิดแผนที่ออกเป็น 3 ชนิด
        4.1 แผนที่ภูมิประเทศ (Topographic map) เป็นแผนที่ที่ให้รายละเอียด โดยทั่วๆ ไป ของภูมิประเทศ โดยสร้างเป็นแผนที่ภูมิประเทศ มาตราส่วนขนาดเล็ก กลาง และขนาดใหญ่ และได้ข้อมูลมาจากภาพถ่ายทางอากาศ และภาพถ่าย

ดาวเทียม
        4.2 ชาร์ตและแผนที่เส้นทาง (Charts and road map) เป็นแผนที่ที่สร้างขึ้นเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทาง โดยปกติจะเป็นแผนที่มาตราส่วนกลาง หรือมาตราส่วนเล็ก และแสดงเฉพาะสิ่งที่เป็นที่น่าสนใจของผู้ใช้ เช่น ชาร์ตเดินเรือ ชาร์ตด้านอุทกศาสตร์ เป็นต้น
        4.3 แผนที่พิเศษ (Thematic and special map) ปัจจุบันมีความสำคัญมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประกอบการทำวิจัยเชิงวิทยาศาสตร์ การวางแผนและใช้ในงานด้านวิศวกรรม แผนที่ชนิดนี้จะแสดงข้อมูลเฉพาะเรื่องลงไป เช่น แผนที่ดิน แผนที่ประชากร แผนที่พืชพรรณธรรมชาติ แผนที่ธรณีวิทยา เป็นต้น

- สัญลักษณ์แผนที่
สัญลักษณ์แผนที่ คือ รูปหรือเครื่องหมายหรือเส้นหรือสี ซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อใช้แสดงรายละเอียดที่ปรากฏบนพื้นผิวโลก หรือแสดงข้อมูลอื่นใดลงในแผนที่
1. จำแนกตามรูปร่างของสัญลักษณ์
         1.1 สัญลักษณ์ที่เป็นจุดหรือเป็นรูปขนาดเล็ก (Point or Pictorial Symbols) สัญลักษณ์ชนิดนี้อาจเป็นได้ทั้งที่เป็นจุด วงกลม ทรงกลม รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยมหรือรูปแบบอื่น ๆ
          1.2 สัญลักษณ์ที่เป็นเส้น (Line Symbols) เป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งที่มีความยาว เช่น ถนน ทางรถไฟ ทางน้ำ สายโทรเลข เส้นกั้นอาณาเขต เป็นต้น
           1.3 สัญลักษณ์ที่เป็นพื้นที่ (Area Symbols) เป็นสัญลักษณ์ที่แทนพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ๆ เช่น ทุ่งนา ป่าไม้ แหล่งน้ำ การใช้ที่ดิน พื้นที่สวน พื้นที่ไร่ ซึ่งบางพื้นที่นั้นอาจมีสีหรือสัญลักษณ์อื่น ๆ ประกอบ
2. จำแนกตามสิ่งที่ทดแทน
            2.1 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (Natural or Physical features) ซึ่งใช้ทดแทนสิ่งเหล่านี้ เช่น   แหล่งน้ำและระบบการระบายน้ำ   พืชพรรณธรรมชาติ  ความสูงต่ำของพื้นที่เป็นต้น
            2.2 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ( Man made features ) ซึ่งใช้ทดแทน สิ่งเหล่านี้ เช่น
การใช้ที่ดิน    การคมนาคม   สถานที่ราชการเป็นต้น
             2.3 สัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูลพิเศษ ( Special features ) เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งซึ่งผู้เขียนแผนที่ต้องการแสดงให้ผู้ใช้ทราบ เช่นเส้นกั้นอาณาเขตการปกครอง   ความสูงของผิวโลก พิกัดภูมิศาสตร์และพิกัดฉาก
- สีของสัญลักษณ์
สีของสัญลักษณ์ที่ใช้แทนรายละเอียดต่าง ๆ ของแผนที่แต่ละชุดจะมีสีมากน้อยต่างกันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนรายละเอียดบนพื้นโลกที่แสดงลงในแผนที่ สีที่ใช้นอกจากจะทำให้แผนที่สวยงามแล้ว ยังช่วยให้อ่านได้ง่ายและถูกต้องยิ่งขึ้น สำหรับแผนที่ภูมิประเทศที่กรมแผนที่จัดพิมพ์ในระบบ 4 สี ได้เลือกสีให้สอดคล้องกับสัญลักษณ์ที่ใช้ทดแทน คือ
สีน้ำเงิน ใช้แทน แหล่งน้ำ       สีเขียว ใช้แทน พืชพันธุ์ไม้     สีแดงและสีดำ ใช้แทน สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น       สีน้ำตาล ใช้แทน เส้นชั้นความสูง      และสัญลักษณ์ที่กำหนดขึ้นพิเศษไม่จำกัดสี

องค์ประกอบของแผนที่ภูมิประเทศประกอบด้วยอะไรบ้าง

ลักษณะรูปแบบระวางแผนที่ภูมิประเทศประกอบไปด้วย 5 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบภายในขอบระวางแผนที่ เส้นขอบระวางแผนที่ องค์ประกอบภายนอกขอบระวาง แผนที่ แนวจ ากัดรายละเอียดแผนที่และขอบแผนที่ ในแผนที่แต่ละระวางมีองค์ประกอบที่สาคัญ คือ องค์กอบภายในและองค์ประกอบภายนอกขอบระวาง โดยที่องค์ประกอบภายในประกอบด้วย สัญลักษณ์ สี ชื่อ ...

องค์ประกอบของแผนที่มีไว้เพื่อจุดประสงค์ใด

คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อให้ผู้ที่ใช้แผนที่ได้รับทราบรายละเอียด อย่างพอเพียง เพื่อการอ่านแผนที่ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ โดยทั่วไปจะมี 3 ประการ ก็คือ 1. รูปร่างลักษณะแผ่นแผนที่ โดยต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้ - ขอบกระดาษ (Paper Trim) ต้งอเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสและเหมาะสมกับพื้นที่แผนที่นั้นๆ

องค์ประกอบของแผนที่คือข้อใด

องค์ประกอบของแผนที่ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ภูมิประเทศแบบต่าง ๆ ป่าไม้ ปริมาณน้ำฝน และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น ที่ตั้งของเมือง เส้นทางคมนาคม พื้นที่เพาะปลูก โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ

องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของแผนที่เฉพาะเรื่องคือองค์ประกอบใด

องค์ประกอบของแผนที่เฉพาะเรื่อง คือ สิ่งที่ปรากฏอยู่บนแผนที่เพื่อให้ผู้ใช้แผนที่ทราบ ข้อมูลและรายละเอียด สำาหรับการใช้แผนที่เฉพาะเรื่อง แผนที่แต่ละระวางประกอบด้วย ชื่อแผนที่ มาตราส่วน ทิศ ระบบพิกัดของแผนที่ และคำาอธิบายสัญลักษณ์ มีรายละเอียด ดังนี้ (ดูแผนที่เฉพาะเรื่อง ประกอบ) ชื่อแผนที่