ผลกระทบจากวิกฤตการเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ มีอะไรบ้าง

ผลกระทบจากวิกฤตการเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ มีอะไรบ้าง

         �������Դ�ѭ�ҴԹ�������������觼š�з���ͤ�����������������ͧ�ɵá� �ѭ�Ҥ�������������ͧ�Թ����Ӥѭ�ͧ����� ����
          - �ѭ�ҡ�ê���ҧ�ѧ���¢ͧ�Թ �����˹�ҴԹ����դ����ش�����ó��٭����价����ż�ԵŴŧ������� �Թ���١����ҧ�ѧ���¨е��С͹������觹�� ��������Թ��ͧ�պ��� ����ҳ 134.54 ��ҹ��� ���������� 41.95 �ͧ��鹷���駻����
          - �ѭ�ҴԹ�Ҵ�Թ�����ѵ�� ������������͡����л�١ 191 ��ҹ��� ���������� 59.5 �ͧ��鹷���駻����
          - �ѭ�ҷ���Դ�ҡ��Ҿ�����ҵԢͧ�Թ�����Ѻ�������ѵ�Ҥ����ع�ç�ͧ�ѭ�Ҩҡ��á�зӢͧ������ �� �Թ��� �Թ������ �Թ��� ��дԹ���¨Ѵ�������ҳ 182 ��ҹ��� �繵�

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง สิ่งมีชีวิตทุกชนิดสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องอาศัยน้ำ นอกจากนี้ น้ำยังเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม หรือภาคบริการ ทรัพยากรน้ำเป็นทรัพยากรที่มีอยู่จำกัด ในโลกมีน้ำอยู่ประมาณ 1,234 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็นน้ำจืดเพียงร้อยละ 5 และประมาณ 4 ใน 5 ของน้ำจืดที่มีอยู่ เป็นน้ำแข็งในเขตขั้วโลก นอกจากนี้ยังเป็นน้ำใต้ดินถึงร้อยละ 99 ของน้ำจืดที่เป็นของเหลว (USGS,2011) คุณค่าของทรัพยากรน้ำขึ้นอยู่กับที่ตั้งแม่น้ำ วัตถุประสงค์การนำมาใช้และการหมุนเวียน ผู้ที่อยู่ใกล้แม่น้ำมักเป็นผู้ที่ได้ประโยชน์จากการใช้แม่น้ำดังกล่าว ทำให้การกระจายทรัพยากรน้ำไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเท่าเทียมกัน เช่นประเทศจีนและอินเดียที่มีประชากรมากกว่า 1 ใน 3 ของประชากรโลก แต่มีทรัพยากรน้ำน้อยกว่า ร้อยละ 10 ของทรัพยากรน้ำทั่วโลก ประชากรจีนมีน้ำให้บริโภคได้เฉลี่ยอยู่ที่ 2,117 ลูกบาศก์เมตรต่อปี เทียบกับอินเดียที่ 1,614 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ขณะที่สหรัฐอเมริการอยู่ที่ 9,943 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าน้ำ ร้อยละ 80 ที่เกษตรกรของอินเดียใช้อยู่จะหมดไป หากว่ายังคงมีการใช้น้ำในระดับที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากทรัพยากรน้ำมีปัญหาในเรื่องการเคลื่อนย้าย เพราะค่าใช้จ่ายที่สูงมากในการเคลื่อนย้ายจากแหล่งหนึ่งไปยังอีกแหล่งหนึ่งซึ่งต้องใช้การสูบน้ำ รวมถึงระบบชลประทานอันมีผลให้น้ำมีการเปลี่ยนทิศทางเข้าสู่แหล่งอื่น ทำให้ผู้ที่อยู่ต้นน้ำได้รับประโยชน์จากแม่น้ำมากกว่าผู้ที่อยู่ปลายน้ำ (พงษ์ศักดิ์ ฮุ่นตระกูลและสมยศ อรรคฮาดสี, 2553) จะเห็นได้ว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจรวมถึงจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำในแม่น้ำทั่วโลก สภาพแม่น้ำในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ปัญหาส่วนใหญ่มาจากความต้องการน้ำของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีการนำน้ำจากแม่น้ำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในชุมชน และการเกษตรกรรมที่ขยายพื้นที่เพื่อการผลิตอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของประชากร ประกอบกับภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณน้ำลดลงและภาวะน้ำท่วม ส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตในแม่น้ำและคุณภาพน้ำในแม่น้ำเสื่อมโทรม กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่เกิดปัญหาคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมที่เกิดจากการที่ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรมและระบบการเกษตรปล่อยลงสู่แหล่งน้ำโดยไม่ผ่านการบำบัด และในกลุ่มประเทศนี้กำลังขยายฐานการผลิตทางด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมทำให้การใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ และปัญหาน้ำท่วม ปัญหาทรัพยากรน้ำในกลุ่มประเทศด้วยพัฒนาส่วนใหญ่เป็นการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะกลุ่มประเทศในทวีปแอฟริกาทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งในการจัดสรรทรัพยากรน้ำ ในส่วนทวีปเอเชียปัญหาเกิดจากนโยบายของภาครัฐที่ต้องการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบกับประชาชนที่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำ รวมถึงคุณภาพน้ำเสื่อมโทรมในแม่น้ำสายหลักและภาวะน้ำท่วม

2. ปัญหาการมีน้ำมากเกินไป เป็นผลมาจากการตัดไม้มากเกินไป ทำให้เกิดน้ำท่วมไหลบ่าในฤดูฝน สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน

3. ปัญหาน้ำเสีย เป็นปัญหาใหม่ในปัจจุบัน สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำเสีย ได้แก่

น้ำทิ้งจากบ้านเรือน ขยะมูลฝอยและสิ่งปฎิกูลที่ถูกทิ้งสู่แม่น้ำลำคลอง

น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม

น้ำฝนพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างจากแหล่งเกษตรกรรมลงสู่แม่น้ำลำคลอง

น้ำเสียที่เกิดขึ้นนี้ส่งผลเสียหายทั้งต่อสุขภาพอนามัย เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ และมนุษย์ ส่งกลิ่นเหม็น รบกวน ทำให้ไม่สามารถนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งการอุปโภค บริโภค เกษตรกรรม

เป็นแหล่งกำเนิดของสัตว์น้ำและพืชหลากหลายชนิด นอกจากนั้นน้ำยังมีประโยชน์ในด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม มีประโยชน์สำหรับครัวเรือน ในการดื่มกิน ใช้ประกอบอาหาร หรือใช้ชำระล้างร่างกายและสิ่งสกปรกต่างๆ และน้ำยังทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่สิ่งมีชีวิต

คุณสมบัติของน้ำที่เป็นประโยชน์สำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตมากที่สุดก็คือ น้ำบริสุทธิ์ สะอาด ปราศจากเชื้อโรคและสารพิษเจือปน

ในอดีตมนุษย์สามารถนำทรัพยากรน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ได้ ต่างจากปัจจุบันที่เกิดปัญหาด้านคุณภาพของน้ำ หรือเกิดมลพิษทางน้ำจนไม่สามารถนำน้ำจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติมาใช้ได้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ

สาเหตุที่ก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ

  1. เกิดจากน้ำทิ้งและสิ่งปฏิกูลจากแหล่งชุมชน เช่น น้ำที่ใช้ซักฟอกทำความสะอาดซึ่งส่วนใหญ่มีสารอินทรีย์ปะปนมากับน้ำทิ้งเหล่านั้นจนทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ
  2. น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมหากโรงงานมีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงในแหล่งน้ำทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่ายเพราะมีปริมาณมากและสารปนเปื้อนมีอัตราสูง
  3. น้ำเสียที่เกิดจากธรรมชาติ อาจเกิดจากการเน่าเสียเมื่อน้ำอยู่ในสภาพนิ่งไม่มีการไหลเวียนถ่ายเท
  4. เกิดจากพื้นที่ทำการเกษตร เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่นิยมใช้น้ำยาปราบศัตรูพืชกันมากขึ้น จึงทำให้มีสารตกค้างอยู่ตามต้นพืชและพื้นผิวดิน เมื่อฝนตกและพัดพาเอาสารพิษที่ตกค้างลงสู่แม่น้ำลำคลองก็ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำขึ้นได้

ผลกระทบที่เกิดจากมลพิษทางน้ำ

  1. กระทบต่อวงจรชีวิตของสัตว์น้ำ เช่นน้ำเสียที่เกิดจากสารพิษอาจทำให้ปลาและสิ่งมีชีวิตตายทันที ส่วนน้ำเสียที่เกิดจากออกซิเจนในน้ำลดต่ำลง อาจทำลายพืชและสัตว์น้ำเล็กๆที่เป็นอาหารของปลา ทำให้ความอุดมสมบูรณ์หรือแหล่งอาหารของสัตว์น้ำลดลง
  2. เป็นแหล่งแพร่ระบาดของเชื้อโรค เช่น อหิวาตกโรค บิด และท้องเสีย
  3. มีผลกระทบต่อการเพาะปลูก เพราะน้ำเสียที่มีความเป็นกรดและด่างไม่เหมาะสำหรับทำการเกษตร
  4. มีผลต่อกระทบต่อทัศนียภาพ เพราะความสวยงามของแหล่งน้ำสามารถใช้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หรือจัดกิจกรรมทางน้ำเพื่อความบันเทิงได้
  5. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ เช่น มีกลิ่นเหม็นจากน้ำเน่าเสีย

วิธีป้องกันปัญหามลพิษทางน้ำ

  1. ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการเรียนรู้และเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์น้ำ
  2. สร้างจิตสำนึกให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำ
  3. รณรงค์ให้หน่วยงาน องค์กรต่างๆมีการบำบัดและขจัดสารพิษก่อนที่จะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำ
  4. รณรงค์ให้ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในครัวเรือน
  5. ช่วยกันป้องกันน้ำเน่าเสีย ไม่ทิ้งขยะและสิ่งปฏิกูลหรือสารพิษลงในแหล่งน้ำ หรือท่อระบายน้ำ

ปัญหาน้ำเน่าเสียหรือการเกิดมลพิษทางน้ำ ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ดังนั้นการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็ก เยาวชน รวมทั้งพ่อแม่ผู้ปกครองและประชาชนทั่วไป ให้ตระหนักถึงผลเสียและรับรู้การป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสียอย่างถูกต้อง เป็นการแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำอย่างถูกวิธีและได้ผลอย่างยั่งยืน