จรรยาบรรณในการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

สื่อมวลชนกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media)

ดร.ณัชชา พัฒนะนุกิจ

สาขาวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

ปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการติดต่อสื่อสารมาเป็นอันดับหนึ่ง We are social และ Hootsuite ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต มือถือ โซเชียลมีเดีย และแพลตฟอร์มต่างๆ ของคนทั่วโลกออกมาเป็นรายงานที่ชื่อว่า ‘Digital in 2018’ พบสิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของคนไทยในยุคดิจิทัลจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศเรา 57 ล้านคน (82% ของประชากร) มีผู้ใช้โซเชียลมีเดีย 51 ล้านคน ประเทศไทยใช้เวลาสูงสุด เฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ (9 ชั่วโมง 29 นาที) และบราซิล (9 ชั่วโมง 14 นาที) ส่วนโซเชียลมีเดียที่คนไทยใช้เยอะที่สุดคือ Facebook (75%) การสำรวจยังพบว่าคนไทยใช้สมาร์ทโฟนใช้เพื่อถ่ายรูปหรือวิดีโอสูงถึง 54%, ใช้แทนนาฬิกาปลุก 42%, ใช้เช็คข่าวสาร 26%, ใช้จัดตารางนัดหมายหรือจดบันทึกสิ่งต่างๆ 25% (Brand Buffet, 2561: ออนไลน์ 2561)

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบัน ได้มีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการนำเนอข่าว เพิ่มช่องทางที่สื่อมวลชนสามารถรายงานข่าวได้อย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊ก(Facebook) และ ทวิตเตอร์ (Twitter) พฤติกรรมในการเข้าถึงสื่อโซเชียลมีเดียส่งผลให้ “ทุกคนเป็นสื่อได้” เพราะถูกออกแบบให้ใช้ง่ายบนโทรศัพท์มือถือ ทุกคนสามารถนำเสนอข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าสื่อดังกล่าวมีอิทธิพลเรื่องความเร็วของการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร (เทียนทิพย์ เดียวกี่,2559) นักวิชาชีพวงการสื่อมวลชนถือได้ว่าได้รับผลกระทบโดยตรงความรวดเร็วที่เกิดขึ้นทำให้การเสนอข้อมูลข่าวสารไม่มีความรอบคอบเท่าที่ควร (เทียนทิพย์ เดียวกี่, 2559)

ปัญหาของการนำเสนอเนื้อหาข่าวสารในยุคดิจิทัล

จากความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมคนในสังคมยุคดิจิตอลและลักษณะการทำข่าวแบบคอนเวอร์เจนซ์ เราจะพบว่าสาธารณชนมีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทั่วไปสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆด้วยตนเองมีช่องทางเปิดให้ผู้รับสารกับองค์กรสื่อมีช่องทางปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันได้ (interactive) ทำให้คนในสังคมสามารถเข้าถึงสื่อได้หลากหลายประเภทและช่องทางมากขึ้นยุคข่าวสารไร้พรมแดนที่ผู้รับสารสามารถตัดสินใจเลือกรับสารได้ตามความพอใจของตนเอง (Active audience)(Little John, 1999) ทำให้การบริโภคเนื้อหาข่าวสารมีความหลากหลาย องค์กรสื่อลดบทบาทของสื่อในการเป็นนายทวารข่าวสารหรือ Gatekeeper และบทบาทในการกำหนดสิ่งที่ประชาชนจะรับรู้ผ่านสื่อในการรับรู้เรื่องราวต่างๆ เกิดการพัฒนารูปแบบข่าวและการเล่าเรื่องที่ใช้เทคโนโลยีมัลติมีเดียมากขึ้นจนเกิดการตั้งคำถามเรื่องจริยธรรมจรรยาบรรณของสื่อสรุปไว้ดังนี้ (Kendyl Salcito, 2561: ออนไลน์, อิสรานิวส์,2558: ออนไลน์)

  1. ความรวดเร็วและความหลากหลายของข้อมูลทำให้เกิดการบิดเบือนข้อเท็จจริงเกิดข่าวลือเกิดความคิดเห็นที่ตรวจสอบไม่ได้
  1. มีแรงกดดันให้สื่อบางสื่อลดเพดานจริยธรรมลงหันไปทำข่าวที่เต็มไปด้วยอารมณ์สีสันดึงเรตติ้งของผู้ชม เพิ่มพื้นที่การขายข่าวเพื่อความอยู่รอดขององค์กร
  2. สาธารณชนเริ่มตั้งคำถามตอบประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล การเข้าถึงข้อมูลหรือการนำข้อมูลที่มีอยู่ในออนไลน์มาใช้โดยไม่ได้ขออนุญาต หรือขาดการอ้างอิงที่ถูกต้อง
  3. เกิดความสับสนต่อการนิยามใครคือนักข่าวในเมื่อใครๆก็สามารถที่จะเผยแพร่ข้อมูลและรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
  1. ปัญหาจริยธรรมสื่อในปัจจุบันตกต่ำมากขึ้น เช่น การนำเสนอข่าวเกินจริง ใส่ความคิดเห็น ตั้งตนเองเป็นผู้พิพากษาตีตราผู้ตกเป็นข่าว ไม่แยกแยะระหว่างผลประโยชน์องค์กรกับส่วนรวม สาเหตุอาจเกิดจากคนในแวดวงวิชาชีพไม่มีโอกาสได้เรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ หรือตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องจริยธรรม (อิสรานิวส์,2558: ออนไลน์)

จรรยาบรรณทางวิชาชีพสื่อมวลชน

จรรยาบรรณ หมายถึง ประมวลกฎเกณฑ์ความประพฤติหรือประมวลมารยาทของผู้ประกอบอาชีพต้องเป็นเอกลักษณ์ทางวิชาชีพ ใช้ความรู้ มีองค์กรหรือสมาคมควบคุม (จรวยพร ธรณินทร์, 2554)

จริยธรรมสื่อมวลชนจึงหมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติของสื่อมวลชน (สมสุข หินวิมาน และคณะ, 2557)

จรรยาบรรณของสื่อมวลชนจึงหมายถึง หลักคุณธรรมของผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชน ที่มารวมตัวกันเป็นสมาคมวิชาชีพ สร้างขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบอาชีพนักสื่อสารมวลชนให้มีความรับผิดชอบ

เสรีภาพบนความรับผิดชอบในวิชาชีพสื่อมวลชน

ข้อปฏิบัติสำคัญที่สื่อมวลชนที่มีความรับผิดชอบพึงกระทำ ได้แก่ สื่อจะต้องรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นจริงอย่างละเอียดรอบด้าน และตรวจสอบอย่างรอบคอบโดยพิจารณาดูบริบทที่เหตุการณ์นั้นได้เกิดขึ้นสื่อมวลชนจะต้องสร้างเวทีแห่งการแสดงและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมถึงเป็นช่องทางที่จะแสดงความคิดเห็นของสาธารณะสื่อมวลชนจะต้องเป็นตัวแทนของคนทุก ๆ กลุ่มในสังคมและจะต้องนำเสนอเป้าหมายและคุณค่าของสังคมอย่างชัดเจน  (กาญจนา แก้วเทพ, 2556)

Lasswell (1948) และ Wright (1974) (อ้างในอรอนงค์สวัสดิ์บุรีและพงศ์ภัทรอนุมัติราชกิจ,2554) ได้กล่าวถึงการทาหน้าที่ของสื่อมวลชนว่ามีบทบาทหน้าที่ในการสอดส่องดูแล (Surveillance) และรายงานเหตุการณ์ในสังคมปทัสถานสื่อมวลชนตามทฤษฎีว่าด้วยความรับผิดชอบทางสังคม (The social Responsibility Theory) มีหลัก 3 ประการคือ

  1. ให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพในการมีส่วนร่วมและเลือกรับข่าวสาร
  2. สื่อต้องมีอิสรภาพและเสรีภาพในการนำเสนอข่าว
  3. สื่อต้องตระหนักถึงประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ

McQuail (1994 อ้างถึงใน พงษ์ วิเศษสังข์, 2554) ได้กล่าวถึงความรับผิดชอบของสื่อมวลชนมีอยู่ 5 ประการ ได้แก่

  1. สอดส่องดูแล ระแวดระวัง เหตุการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อประชาชนโดยสื่อจะต้องตื่นตัวในการสอดส่องเหตุการณ์สำคัญ ๆ ป้องกันเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น
  2. ประสานความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆให้ประชาชนได้รับรู้ความคิดเห็นในหลากหลายมิติ
  3. สั่งสอน ถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมและประเพณีที่ดีต่อสังคม
  4. ให้ความบันเทิงถ่ายทอดผ่านวัฒนธรรมและประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์
  5. รณรงค์ท่ามกลางปัญหาเก่า ปัญหาใหม่ที่เกิดขึ้นมากมายเป็นหน้าที่ของสื่อในการรวบรวมพลังและผลักดันประชาชนให้เกิดทัศนคติและพฤติกรรมที่สร้างสรรค์ทางสังคมร่วมกัน สร้างความเป็นนํ้าหนึ่งใจเดียวกันหลักการสำคัญของทฤษฎีความรับผิดชอบต่อสังคม สามารถสรุปได้ดังนี้ (พีระ จิระโสภณ, 2551)

5.1 สื่อมวลชนควรจะต้องยอมรับและปฏิบัติให้ลุล่วงในภาระหน้าที่ที่เป็นพันธกิจต่อสังคม

5.2 สื่อมวลชนจะต้องบรรลุถึงมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน

5.3 สื่อมวลชนควรจะต้องควบคุมตนเองภายใต้กรอบแห่งกฎหมายและสถาบันที่ธำรงอยู่

5.4 สื่อมวลชนควรจะต้องหลีกเลี่ยงสิ่งใดก็ตามที่อาจนำไปสู่อาชญากรรม ความรุนแรง หรือ

ความไม่สงบ หรือแสดงความก้าวร้าวต่อเชื้อชาติหรือศาสนาของชนกลุ่มน้อยในสังคม

5.5 สื่อมวลชนโดยทั่วไปควรจะเปิดกว้างและสะท้อนความหลากหลายของสังคม

5.6 สังคมและสาธารณะมีสิทธิที่จะคาดหวังการปฏิบัติในระดับมาตรฐานที่สูงของสื่อมวลชน

และการเข้าแทรกแซงอาจจะต้องถือว่าไม่เป็นเรื่องผิด หากเพื่อความดีงามของสาธารณะ

5.7 นักวารสารศาสตร์และนักวิชาชีพสื่อมวลชนจะต้องเป็นที่วางใจหรือเชื่อถือได้ของสังคม

เห็นได้ว่า มีนักวิชาการได้กล่าวถึงข้อปฏิบัติที่เป็นแนวทางความรับผิดชอบของสื่อมวลชนอยู่อย่างมากมาย ส่วนใหญ่เน้นไปที่บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสมในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชนภายใต้เสรีภาพและความรับผิดชอบ

แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณของสื่อมวลชนในโซเชียลมีเดีย (Social Media)

ที่ผ่านมาในวงการวิชาการด้านสื่อมวลชนและวิชาชีพ ได้ร่วมระดมความคิดเห็น ผ่านบทความวิชาการ งานวิจัย บทสัมภาษณ์ หรือเวทีการประชุมสัมมนาวงการวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นต้น เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางร่วมกันในการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณกลุ่มคนที่ทำงานในวงการสื่อมวลชน ผู้เขียนได้สรุปแนวทางการแก้ปัญหาทางด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณ ดังนี้ (สุทธิชัยหยุ่น (2555), วัฒนีภูวทิศ (2556),การดาร่วมพุ่ม (2557),ศิริวรรณอนันต์โท (2558),เทียนทิพย์ เดียวกี่ (2559)

1.ระดับองค์กรต่างๆ ที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสื่อมวลชน ควรสร้างความตระหนักในเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อแก่ผู้ที่ทำหน้าที่สื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง เช่น การฝึกอบรมวิชาชีพสื่อมวลชนแก่ผู้ปฏิบัติงาน การประชุมสัมมนาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน (เทียนทิพย์ เดียวกี่,2559)

2.ระดับองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ควรสร้างความเชื่อมั่นให้กับสังคมด้วยการเปิดโอกาสให้องค์กรหรือบุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบจริยธรรมจริยธรรมวิชาชีพของสื่อได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม (ศิริวรรณอนันต์โท, 2558)

ทั้งนี้กระบวนการทำงานระดับผู้บริหารในองค์กรสื่อมวลชนควรมีการวางมาตรการการรับบุคคลเข้าทำงานในองค์กร ให้ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ในความรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้นและควรออกใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนเมื่อกระทำผิดสามารถยึดคืนได้ (วัฒนีภูวทิศ, 2556)

ส่วนระดับผู้ปฏิบัติการในองค์กรสื่อมวลชน ควรช่วยกันตรวจสอบการกรองข่าวสารก่อนออกสู่สาธารณะ (เทียนทิพย์ เดียวกี่, 2559) ลดความเสี่ยงในผิดพลาดด้วยการประชุมโต๊ะข่าวในกองบรรณาธิการแสดงให้เห็นว่าได้ผ่านกระบวนการถกเถียงแสดงความคิดเห็นร่วมกันมาแล้ว (การดาร่วมพุ่ม, 2557)

3.ระดับสถาบันการศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการต่าง ๆ มีส่วนสำคัญที่จะเน้นย้ำถึงความสำคัญของจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพสื่อมวลชนในระบบการเรียนการสอนและควรปูพื้นฐานสร้างนักข่าวรุ่นใหม่ตั้งแต่ระดับเยาวชนด้วย (สุทธิชัยหยุ่น, 2555)

บทสรุป

สื่อมวลชนกับจริยธรรมและจรรยาบรรณในยุคโซเชียลมีเดีย (Social Media)เป็นเรื่องที่มีการถกมาตลอด ตราบเท่าที่การทำหน้าที่สื่อยังไม่สามารถสลัดเรื่องทุนนิยมออกไปได้ ก็ปฏิเสธได้ยากที่จะไม่ยุ่งเกี่ยวกับผลประโยชน์ไม่ด้านใดก็ด้านหนึ่งที่บางครั้งมีผลต่อการทำงานหน้าที่ของสื่อ จนเป็นสิ่งที่ถกมาตลอดเรื่องจริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อมวลชน ปัญหาดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นสื่อมวลชนหน่วยงานการควบคุมการเข้ามาเป็นเจ้าของสื่อของนายทุน รวมถึงการสร้างจิตสำนึกด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบให้กับสื่อมวลชน มีข้อบังคับที่ชัดเจนมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างสังคมสื่อที่เอื้อต่อการสร้างกรอบจริยธรรม สื่อมวลชนให้ขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งสังคม

บรรณานุกรม

ภาษาไทย

การดา ร่วมพุ่ม. (2557). สื่อมวลชนกับการรายงานข่าวสิทธิเด็ก. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิต. 8(1), 31-53.

สืบค้นจาก http://www.dpu.ac.th/commarts/journal/upload/issue/lkxEvMl6tw

กาญจนา แกวเทพ. (2556). สื่อสารมวลชน:ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ.

พีระ จิระโสภณ. (2551). ปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร หนวยที่ 10. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พัชราภา  เอื้อมอมรวณิช. (2560). สื่อมวลชนเสรีภาพและความรับผิดชอบ วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์.11(4).

พงษ วิเศษสังข. (2554). ความรับผิดชอบของสื่อมวลชน. ในการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 25 พฤษภาคม 2554.

(น. 22-29). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เทียนทิพย์ เดียวกี่. (2559). จริยธรรมและจรรยาบรรณสื่อในการนำข่าว ยุคดิจิตอล. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า

2(2), 125–143.

จรวยพร ธรณินทร์. (2554). ความหมายและหลักการของคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ และธรรมาภิบาล (เว็บไซต์)

สืบค้นจาก http://charuaypontorranin.com/index.php?lay=show&ac=article&ld=5375831

ศิริวรรณอนันต์โท. (2558). จริยธรรมวิชาชีพสื่อมวลชนการศึกษาในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน.วารสารอิศราปริทัศน์ 4 (6),

(7–25) สืบค้นจาก https://www.presscouncil.or.th/?p=1473

มาลี บุญศิริพันธ. (2556). วารสารศาสตรเบื้องตน: ปรัชญา และแนวคิด.(พิมพครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.

แรนดัล เดวิด. (2559). คนขาว ฉลาดทํางานศตวรรษที่ 21.(สุนันทา แยมทัพ, ผูแปล).กรุงเทพฯ: โครงการจัดพิมพคบไฟ.

สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2557). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์ (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุทธิ ชัยหยุ่น. (2555). อนาคตของข่าว. สมุทรปราการ: บริษัท ดับบลิวพีเอส ประเทศไทย จำกัด.

วัฒนี ภูวทิศ. (2556). บทบาทเชิงจริยธรรมของนักหนังสือพิมพ์ในการรายงานข่าวสารหน้าหนึ่งในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงราย. 15(1), 97-107. สืบค้นจาก http://www.research.cmru.ac.th/2014/journal/file/15-01-009.pdf.

อรอนงค์ สวัสดิ์บุรี และ พงศ์ภัทร อนุมัติราชกิจ. (2554). ผลกระทบของสื่อต่อวิกฤติชาติ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 31(4), 69-84. สืบค้นจาก http://www.utcc.ac.th/ public_content/files/001/31_4-5.pdf.

อิสรานิวส์. 2558: ออนไลน์.เรื่อง จริยธรรมสื่อ: สอนคน สอนใคร สอนอย่างไร.

สืบค้นจาก https://www.isranews.org/thaireform-doc-mass-comm/38733-ethics-for-mass-media.html.

Brand Buffet. 2561: ออนไลน์.เรื่อง Digital in 2018 สำรวจพฤติกรรมคนไทยในยุคดิจิทัล. สืบค้นจากhttps://thematter.co/quick-bite/digital-2018/44856.

ภาษาอังกฤษ

Harrison, J. (2006). News. London: Routledge.

Littilejohn, S. W. (1999). Theories of Human Communication. CA :Wadsworth Publishing Company.

Ravi, B. K. (2012). Media and social responsibility: A critical prespective with special reference to television. Academic Research International. 2(1), 306-325.

Shoemaker, P. J. (2006). News and newsworthiness: a commentary. Communications. 31, 105-111.

Kendyl Salcito. (2561). New Media Trends สืบค้นhttps://www.scribd.com/document/264992826/New-Media-Trends.

ดาวน์โหลดไฟล์บทความ

ข้อใดเป็นจรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์

1. จรรยาบรรณการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์.
ให้ระมัดระวังการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น.
ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้.
ไม่กระทำการรบกวนผู้อื่นด้วยการโฆษณาเกินความจำเป็น.
ดูแลและแก้ไขหากตกเป็นเหยื่อจากโปรแกรมอันไม่พึงประสงค์ เพื่อป้องกันมิให้คนอื่นเป็นเหยื่อ.

กฎหมายเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

ระวัง! เรื่องต้องห้าม เสี่ยงผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์.
การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.
ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.
ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท.

มารยาทในการอยู่ร่วมกันในสังคมออนไลน์มีอะไรบ้าง

มารยาททั่วไปในการใช้อินเทอร์เน็ต.
1. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำร้ายหรือรบกวนผู้อื่น.
2. ไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการทำผิดกฎหมายหรือผิดศีลธรรม.
3. ไม่เจาะระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของตนเองและผู้อื่น.
4. ไม่ใช้บัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้อื่นและไม่ใช้เครือข่ายที่ไม่ได้รับอนุญาต.

จริยธรรมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีกี่ประการ

1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น 2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น 3. ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในไฟล์ของผู้อื่น 4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร